Friday, 17 May 2024
ภาคอุตสาหกรรม

‘สุริยะ’ สั่ง กรอ. เดินหน้า ‘พัฒนา-ยกระดับ’ ผู้รับบำบัดกำจัดของเสียอันตรายภาคอุตสาหกรรม

สุริยะ สั่งการกรมโรงงานอุตสาหกรรมเดินหน้านโยบายส่งเสริมการจัดการของเสียที่เกิดจากภาคอุตสาหกรรมให้มีประสิทธิภาพ ดันผู้ประกอบการน้ำดีเข้าสู่ระบบอนุญาตอัตโนมัติ (AI) หวังสร้าง มาตรฐานการปฏิบัติงานที่ดีแก่ผู้รับบำบัดและกำจัดของเสีย เพื่อเป็นแรงผลักดันให้ภาคอุตสาหกรรมก้าวไปสู่การพัฒนาและสร้างจิตสำนึกในการรักษาสิ่งแวดล้อม  

นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม (รวอ.) เปิดเผยว่า ได้สั่งการให้กรมโรงงานอุตสาหกรรม เร่งดำเนินการพัฒนามาตรฐานการจัดการหรือการให้บริการกำจัดและบำบัดสิ่งปฏิกูลของผู้ให้บริการให้ได้มาตรฐานตามหลักวิชาการและถูกต้องตามกฎหมายได้อย่างเหมาะสมมากที่สุด และสร้างจิตสำนึกในการรักษาสิ่งแวดล้อม โดยผลักดันให้ผู้ประกอบการเข้าสู่ระบบอนุญาตอัตโนมัติ (AI) ซึ่งการดำเนินการดังกล่าวเป็นการยกระดับการทำงานของกระทรวงอุตสาหกรรมที่จะขับเคลื่อนประเทศเข้าสู่ความ เป็น Digital Government ตามนโยบาย Thailand 4.0 ของรัฐบาล สอดรับกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม แห่งชาติฉบับที่ 12 ยุทธศาสตร์ที่ 4 การเติบโตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน

ภาคอุตสาหกรรมจับตาสินค้าต้นทุนราคาพุ่งต่อเนื่อง

นายเกรียงไกร เธียรนุกุล รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยว่า สถานการณ์วิกฤตยูเครน-รัสเซีย ได้ส่งผลกระทบต่อต้นทุนการผลิตของภาคอุตสาหกรรม ทำให้ราคาสินค้าจะมีการทยอยปรับราคาเพิ่มสูงขึ้น แม้ที่ผ่านมาทุกกลุ่มอุตสาหกรรมพยายามตรึงราคา แต่เนื่องจากผู้ประกอบการแต่ละมีสต๊อกไม่เท่ากัน จึงอาจจะต้องมีการทยอยปรับขึ้นราคา 

ทั้งนี้จะเห็นได้ว่า เมื่อราคาน้ำมันเพิ่มขึ้น 1 เหรียญดอลลาร์สหรัฐ ก็ทำให้ราคาค้าปลีกเพิ่มขึ้น 0.25 บาท ดังนั้นถ้าน้ำมันเพิ่ม 10 เหรียญ ก็ทำให้ราคาค้าปลีกเพิ่มขึ้น 2.5 บาท ล่าสุดผู้ผลิตบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป ซึ่งเป็นตัวดัชนีของผู้บริโภค ก็มีการขอปรับขึ้นราคา เนื่องจากข้าวสาลี ที่เป็นวัตถุดิบผลิตที่สำคัญ ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์รัสเซีย-ยูเครน 

'กรมโรงงานฯ' รับนโยบาย 'รมว.ปุ้ย' อำนวยความสะดวกนักลงทุน  ใช้ระบบออนไลน์อนุมัติ ร.ง.4 ชู!! เร็ว โปร่งใส ดันภาค อุตฯ ไทยโตต่อเนื่อง

(1 เม.ย.67) นายจุลพงษ์ ทวีศรี อธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า จากสถิติข้อมูลการออกใบอนุญาต ร.ง.4 ในปี 2565-2566 พบว่า กรมโรงงานอุตสาหกรรมมีการออกใบอนุญาตให้ตั้งและขยายโรงงานที่มีขนาดใหญ่จำนวนกว่า 800 โรงงานต่อปี เพิ่มขึ้นจากเดิมถึง 3 เท่า เมื่อเทียบกับปี 2563-2564 

โดยเฉพาะในปี 2566 ที่ผ่านมา มีการอนุญาตให้ตั้งโรงงานอุตสาหกรรมทั่วประเทศ (นอกนิคมฯ) จำนวน 2,598 โรงงาน มูลค่าการลงทุนกว่า 356,140 ล้านบาท เพิ่มขึ้นกว่า 23% เมื่อเทียบกับปี 2565 และเกิดการจ้างงานกว่า 106,631 คน สอดรับกับการที่บีโอไอได้รับคำขอรับการส่งเสริมการลงทุนในปี 2566 มูลค่ารวม 8.5 แสนล้านบาท ซึ่งเป็นระดับสูงสุดในรอบ 9 ปี โดยเมื่อพิจารณาเฉพาะมูลค่าการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) มีการเติบโตสูงถึง 72% จากปีก่อน

นายจุลพงษ์ กล่าวว่า นอกจากนี้ช่วง 6 เดือนที่ผ่านมาตามปีงบประมาณ 2567 มีมูลค่าการลงทุนจากการอนุญาตให้ตั้งและขยายโรงงานอุตสาหกรรมนอกนิคมไปแล้วกว่า 255,586.74 ล้านบาท และหากพิจารณาเฉพาะปี 2567 ก็พบว่ามีการลงทุนตั้งและขยายโรงงานอุตสาหกรรมนอกนิคมในช่วง 3 เดือนแรกของปีแล้วกว่า 70,000 ล้านบาท

ทั้งหมดนี้สะท้อนให้เห็นถึงการลงทุนในภาคอุตสาหกรรมที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องภายหลังวิกฤตโควิด-19 ซึ่งเป็นผลมาจากการที่นายกรัฐมนตรีและคณะเข้าร่วมเจรจาด้านความร่วมมือกับผู้นำประเทศต่าง ๆ ตลอดจนการพบปะหารือกับภาคธุรกิจ ชักชวนการลงทุน สร้างความเชื่อมั่น จัดกิจกรรมเจรจาธุรกิจและจับคู่ผู้ประกอบการไทยและต่างประเทศมาอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งมีนโยบาย Ease of doing business โดยให้หน่วยงานที่ออกใบอนุญาต พิจารณาปรับปรุงแก้ไขกฎระเบียบที่เป็นอุปสรรคต่อการทำธุรกิจ เพื่อให้การประกอบธุรกิจอุตสาหกรรมในไทยได้รับความสะดวกรวดเร็ว ซึ่งการดำเนินการดังกล่าวส่งผลให้เกิดการขยายตัวของการลงทุนอย่างมีนัยสำคัญ

นายจุลพงษ์ กล่าวต่อว่า ขณะเดียวกัน กรมโรงงานอุตสาหกรรมยังได้ขับเคลื่อนนโยบายของนางสาวพิมพ์ภัทรา วิชัยกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ที่เน้นย้ำให้มุ่งยกระดับการบริหารจัดการภาครัฐเพื่ออำนวยความสะดวกในการให้บริการอย่างมีประสิทธิภาพ และปรับปรุงกระบวนการทำงานให้เป็นดิจิทัล โดยได้สั่งการให้เร่งนำระบบอนุญาตออนไลน์ (Digital-License) ของกระทรวงอุตสาหกรรมมาใช้งานในทันที เพื่ออำนวยความสะดวกผู้ประกอบการในการขอรับใบอนุญาตได้อย่างรวดเร็ว โปร่งใส และสามารถตรวจสอบติดตามได้ในทุกขั้นตอน สอดคล้องกับบริบทสังคมดิจิทัลและรองรับการลงทุนของภาคอุตสาหกรรมที่มีอัตราการลงทุนของโรงงานขนาดใหญ่ในแต่ละปีเพิ่มขึ้นเฉลี่ย 10-20% ตั้งแต่ปี 2563 มาจนถึงปัจจุบัน

"ปัจจุบันมีการยื่นขอรับใบอนุญาต ร.ง.4 เพิ่มเข้ามาอย่างต่อเนื่องและอยู่ระหว่างการพิจารณาของกรมโรงงานอุตสาหกรรม จำนวน 22 โรงงาน แสดงให้เห็นถึงทิศทางและแนวโน้มการเติบโตของภาคอุตสาหกรรมไทยได้อย่างเป็นรูปธรรม ดังนั้นขอให้นักลงทุนและผู้ประกอบการมั่นใจและเชื่อมั่นว่า กรมโรงงานอุตสาหกรรมพร้อมดูแลอำนวยความสะดวกในการประกอบธุรกิจอุตสาหกรรมในทุกมิติ และพร้อมส่งเสริมการตั้งโรงงานที่มีมาตรฐาน เพื่อรองรับการลงทุนและการพัฒนาภาคอุตสาหกรรมของประเทศให้เติบโตคู่ชุมชนอย่างยั่งยืน” นายจุลพงษ์ กล่าวปิดท้าย


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top