Monday, 24 June 2024
พันตำรวจเอกทวีสอดส่อง

พันตำรวจเอก ทวี สอดส่อง รับหนังสือร้องทุกข์-ข้อร้องเรียนจากประชาชน ณ ศูนย์บริการร่วมกระทรวงยุติธรรม ด้วยตนเอง

พันตำรวจเอก ทวี สอดส่อง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม รับหนังสือร้องทุกข์ ข้อร้องเรียนต่าง ๆ จากประชาชนด้วยตนเองที่ศูนย์บริการร่วมกระทรวงยุติธรรม สำนักงานปลัดกระทรวงยุติธรรม กระทรวงยุติธรรม อาคารกระทรวงยุติธรรม ชั้น 1 ถนนแจ้งวัฒนะ แขวงทุ่งสองห้อง เขตหลักสี่ กรุงเทพมหานคร 

ผู้สื่อรายงานเพิ่มเติมว่า ศูนย์บริการร่วมกระทรวงยุติธรรม เป็นการบริการแบบเบ็ดเสร็จ ให้ประชาชนเข้าถึงบริการงานยุติธรรมด้วยความสะดวก รวดเร็ว ทั่วถึง และเป็นธรรม โดยกระทรวงยุติธรรม มีช่องทางการให้บริการประชาชนในการรับเรื่องราวร้องทุกข์ และรับคำขอใช้บริการด้านงานยุติธรรม ผ่านช่องทางออนไลน์ คู่กันด้วย

ทั้งนี้ ศูนย์บริการร่วมกระทรวงยุติธรรม มีเจ้าหน้าที่ให้บริการ ณ จุดบริการ เพื่ออำนวยความยุติธรรมให้แก่ประชาชนด้วย ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ หมายเลขโทรศัพท์ 02-141-5100 หรือ สายด่วนยุติธรรม 1111 กด 77

'พันตำรวจเอก ทวี สอดส่อง' รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม แถลงนโยบายรัฐบาล ประกาศฟื้นฟูหลักนิติธรรม-ไม่ยืนฝั่งคนทำผิด

เมื่อวานนี้ ( 12 กันยายน 2566 ) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อเวลา 21.25น. ที่ผ่านมา พันตำรวจเอก ทวี สอดส่อง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม กล่าวว่า ขอเรียนว่า วันนี้รัฐบาลยังไม่ได้ทำงาน การทำงานได้ต้องหลังแถลงนโยบาย นโยบายเป็นทิศทางให้เห็น 4 ปีข้างหน้าจะบริหารงานไปทิศทางใด ในส่วนกระทรวงยุติธรรม ผมถือเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญที่สุด เนื่องจากรัฐบาลนี้หยิบการฟื้นฟูหลักนิติธรรมขึ้นมา หลักนิติธรรม เป็นหลักพื้นฐานในการปกครองระบอบประชาธิปไตย และเป็นหลักในการควบคุมการใช้อำนาจของทุกหน่วยงาน ไม่ใช้อำนาจตามอำเภอใจ อันนี้คือ บทบาทสำคัญที่ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ต้องรับนโยบาย ขณะที่สิ่งที่ท้าทาย คือ เราต้องนำตัวชี้วัด มาตรฐานหลักนิติธรรม การคอร์รัปชัน ในฐานะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ต้องเข้าไปแก้ไข ผู้ที่ดูอยู่ในกระบวนการยุติธรรม ต้องไม่ไปยืนในฝั่งผู้กระทำความผิด หลักนิติธรรม คือ บ้านเมืองต้องปราศจากคอร์รัปชัน ขณะที่รัฐบาลต้องโปร่งใส และต้องส่งเสริมสิทธิพื้นฐาน ไม่ว่าเรื่องแรงงาน ชุมชน ป่าไม้ การปกป้องนักสิทธิมนุษยชน ที่ออกมาต่อสู้

ผู้สื่อข่าวรายงานเพิ่มเติมว่า พันตำรวจเอก ทวี สอดส่อง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม กล่าวถึงกรณีคำถาม นโยบายรัฐบาลนี้ ทำไมไม่มีเรื่องนโยบายภาคใต้ ผมได้สอบถามที่ประชุม ครม.แล้วว่า ทำไม นโยบายรัฐบาล ทั้ง 14 หน้าไม่มีเรื่องภาคใต้ ก็ได้รับคำตอบ เรามีอยู่แล้ว แต่ไม่ได้เอามาเขียน เรื่องแก้ปัญหาจังหวัดชายแดนใต้ 

"ส่วนกรณียาเสพติดร้ายแรง บทบาทกระทรวงยุติธรรมได้เปลี่ยนวิธีแก้ปัญหา คือ เราเอาประมวลยาเสพติดขึ้นมาใช้ ประมวลกฎหมายยาเสพติดใช้ตั้งแต่ปี 2564 แต่กฎหมายลูกล่าช้าก็ยังไม่ประกาศใช้" พันตำรวจเอก ทวี สอดส่อง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม กล่าว

พันตำรวจเอก ทวี สอดส่อง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม เปิดงานชักพระที่จังหวัดยะลา

เมื่อวานนี้ (30 ตุลาคม 2566) พันตำรวจเอก ทวี สอดส่อง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม เป็นประธานในพิธีเปิดงานประเพณีชักพระประจำปี 2566 ซึ่งเทศบาลนครยะลาจัดขึ้นระหว่าง วันที่ 30 ตุลาคม - 2 พฤศจิกายน 2566 ณ ศูนย์เยาวชนเทศบาลนครยะลา โดยมีนายอำพล พงศ์สุวรรณ ผวจ.ยะลา รอง ผวจ.ยะลา ผู้บริหารเทศบาลนครยะลา ตลอดจนพี่น้องประชาชนในพื้นที่เข้าร่วม

พันตำรวจเอก ทวี สอดส่อง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม กล่าวว่า ประเพณีชักพระเป็นประเพณีที่มีความเป็นเอกลักษณ์เฉพาะท้องถิ่น ได้รับการสืบทอดมาแต่บรรพบุรุษและสืบสานมาจนถึงปัจจุบัน ทราบว่าจังหวัดยะลาได้จัดกิจกรรมประเพณีชักพระมาอย่างต่อเนื่องโดยเทศบาลนครยะลาเป็นหน่วยงานหลัก มีหน่วยงานภารรัฐและเอกชนสนับสนุนการจัดกิจกรรมเป็นจำนวนมาก ทำให้พี่น้องชาวจังหวัดยะลาและจังหวัดใกล้เคียงได้ร่วมกันสืบสานประเพณีอันดีงาม ก่อให้เกิดความรักความสามัคคีของผู้คนในชุมชน ยังเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจในพื้นที่ เป็นการสร้างความเชื่อมั่น เสริมความมั่นใจ และเปิดโอกาสให้พี่น้องประชาชน ไม่ว่าไทยพุทธหรือมุสลิม ให้สามารถดำรงชีวิตภายใต้สังคมพวัฒนธรรมตามอัตลักษณ์ของตนในทุกศาสนา

พันตำรวจเอก ทวี สอดส่อง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม กล่าวเพิ่มเติมว่า มีความยินดีอย่างยิ่งในการให้การสนับสนุนการจัดกิจกรรมประเพณีชักพระในครั้งนี้ ได้ร่วมเป็นส่วนหนึ่งกับพี่น้องประชาชนในการสืบสานประเพณีอันดีงามให้อยู่คู่กับท้องถิ่นของเรา ทำให้พี่น้องประชาชนชาวยะลาและจังหวัดใกล้เคียงร่วมกันสร้างบุญกุศลแสดงออกถึงความรักความสามัคคีในการร่วมมือมือใจการประดิษฐ์เรือพระและการชักพระหรือลากพระเพื่อมาร่วมงานครั้งนี้ ในครั้งนี้จึงได้ร่วมสนับสนุนการแสดงคอนเสิร์ต "บิว กัลยาณี" ศิลปินคนใต้ เพื่อสร้างความสุขให้กับประชาชน

พันตำรวจเอก ทวี สอดส่อง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม หารือ คกก.แก้ปัญหาพีมูฟ เคาะแนวทางช่วยประชาชน

เมื่อวานนี้ (2 พฤศจิกายน 2566) ผู้สื่อข่าวรายงานจากห้องประชุม 10-01 ชั้น 10 กระทรวงยุติธรรม ถนนแจ้งวัฒนะ แขวงทุ่งสองห้อง เขตหลักสี่ กรุงเทพมหานคร ว่า เมื่อเวลา 13.30 น. ที่ผ่านมา มีการหารือแนวทางการขับเคลื่อนงาน ของคณะอนุกรรมการด้านกฎหมายและกระบวนการยุติธรรม แนวทางการแก้ไขปัญหาของขบวนการประชาชนเพื่อสังคมที่เป็นธรรม (ขปส.) หรือ กลุ่มพีมูฟ ซึ่งมี พันตำรวจเอก ทวี สอดส่อง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ในฐานะประธานอนุกรรมการฯ นั่งหัวโต๊ะเป็นประธาน โดยมีคณะผู้บริหาร กระทรวงยุติธรรม ในฐานะ คณะอนุกรรมการด้านกฎหมาย และกระบวนการยุติธรรม รวมทั้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมหารือด้วย

ทั้งนี้ พันตำรวจเอก ทวี สอดส่อง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม และคณะฯ มีการหารือที่มุ่งให้น้ำหนักการช่วยเหลือประชาชาชนและราษฎรซึ่งได้รับความเสียหายหรือได้รับผลกระทบจากการดำเนินการด้านนโยบายของรัฐ อาทิ ปัญหาการออกกฏหมายที่ดินหรือป่าไม้ที่มีพื้นที่ซ้อนทับกับชาวบ้านที่เป็นที่ทำกินอยู่เดิม และให้ช่วยเหลือคดีที่ไม่เป็นธรรมทั้งปวง โดยให้ประชาชนได้ประโยชน์มากที่สุด ทั้งการดำเนินการเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากนโยบายเกี่ยวกับคดีที่ดินป่าไม้ รวมทั้งหารือและรับฟังข้อเสนอที่กลุ่มพีมูฟเสนอที่เกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนและคดีที่เกี่ยวกับที่ดิน ทรัพยากร ป่าไม้ และสิ่งแวดล้อม

พ.ต.อ. ทวี สอดส่อง ยกย่องสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ที่กล้าหาญ ลบประวัติอาชญากร คืนศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ พร้อมเสนอเป็นกฎหมาย

พันตำรวจเอก ทวี สอดส่อง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ร่วมแถลงข่าว โครงการลบประวัติ ล้างความผิด คืนชีวิตให้ประชาชน ณ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ วัตถุประสงค์เพื่อคืนความเป็นธรรมให้กับประชาชนที่เคยมีประวัติถูกฟ้องคดีอาญา แต่ศาลยกฟ้อง ซึ่งยังมีประวัติอาชญากรรมอยู่ในฐานข้อมูลของกองทะเบียนประวัติอาชญากร ทำให้อาจถูกตัดสิทธิ ไม่ได้รับการพิจารณาเข้าทำงาน ขาดโอกาสในการกลับไปใช้ชีวิตตามปกติ

โดยบนเวที ทางด้านพันตำรวจเอก ทวี สอดส่อง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ได้กล่าวว่ากิจกรรมในวันนี้ถือว่ามีความสำคัญอย่างยิ่ง เพราะเราพูดเสมอว่า เราจะธำรงไว้ซึ่งความสูงสุดของรัฐธรรมนูญ หรือความศักดิสิทธิ์ของรัฐธรรมนูญ ซึ่งเป็นกฎหมายสูงสุด และที่สำคัญอย่างยิ่ง ก็คือ มนุษย์ทุกคนมีคุณค่า มีความสำคัญ และมีศักดิ์ศรี ในรัฐธรรมนูญได้บัญญัติว่า ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิเสรีภาพ ความเสมอภาค ย่อมได้รับการคุ้มครอง วันนี้ต้องยอมรับว่าเมื่อเรา ได้รับความคุ้มครองศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ คือการบันทึกประวัติอาชญากร ซึ่งตนมองว่าถ้าเราทำนอกเหนือจากรัฐธรรมนูญ ที่ศาลยังไม่ได้ตัดสินแล้วเป็นอาชญากร ก็คือการกระทำโดยไม่ชอบตามรัฐธรรมนูญ และทำลายศักดิ์ศรี ความเป็นมนุษย์ซึ่ง ถือว่าเป็นเรื่องที่สำคัญที่สุด 

ซึ่งโครงการที่ทางสำนักงานตำรวจแห่งชาติได้จัดทำขึ้น สมควรได้รับรางวัลที่สุดในด้านสิทธิมนุษยชน เราจนควรผลักดันให้ เป็นกฎหมาย และเปิดเวทีรับฟังความคิดเห็น กับทุกภาคส่วน โดยเฉพาะกลุ่มความเห็นของคนที่พ้นโทษ และนอกจากนี้กระทรวงยุติธรรม ได้จัดทำพระราชบัญญัติขจัดการเลือกปฏิบัติต่อบุคคล ซึ่งถือว่าเป็นพระราชบัญญัติ ที่จะส่งเสริม ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ซึ่งได้มีการเสนอไป ครม.แล้ว หนึ่งในจำนวนขจัดการเลือกปฏิบัติ ก็คือเลือกปฏิบัติต่อผู้พ้นโทษ ในวันนี้ผู้พ้นโทษ เมื่อได้ผลโทษมาแล้ว มีระเบียบ มีหน่วยงานต่างๆจำนวนมาก เข้ามาจำกัดในสิทธิเสรีภาพของผู้พ้นโทษ 

ดังนั้นเราจะต้องสร้างความเข้มแข็งให้กับหลักนิติธรรม ก็คือหลักที่กฎหมายเป็นใหญ่กว่าคน  และกฎหมายจะต้องต่ำกว่ารัฐธรรมนูญ กฎระเบียบต้องต่ำกว่ารัฐธรรมนูญ รัฐธรรมนูญต้องมีความศักดิ์สิทธิ์ ดังนั้นกฎระเบียบอะไรที่ไปขัดหรือแย้งกับรัฐธรรมนูญ ก็ขอให้มีการพิจารณาด้วย  ซึ่งต้องขอขอบคุณ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ และคณะกรรมการสิทธิมนุษยชน ที่ได้ปลดโซ่ตรวน ปลดความเป็นทาสของบุคคล ขอขอบคุณและขอชื่นชมสำนักงานตำรวจแห่งชาติที่กล้าหาญ เพราะไม่มีหน่วยงานไหน ที่จะกล้าทำ


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top