Saturday, 26 April 2025
พฤษภาทมิฬ

วันนี้ เมื่อ 30 ปีที่แล้ว ด้วยพระบารมีในหลวงร.9 นำไปสู่การดับไฟ ‘พฤษภาทมิฬ’

ย้อนกลับไปในคืนวันช่วงเดือนพฤษภาคม 2535 คนยุคหนึ่งจะรู้ดีว่าบ้านเมืองเราได้เกิดเหตุการณ์ที่เรียกว่า “พฤษภาทมิฬ”

แน่นอนความเลวร้ายของเหตุการณ์นี้คนไทยจดจำได้เป็นอย่างดี แม้แต่เยาวชนคนรุ่นใหม่เมื่อได้ย้อนอ่านการบันทึกทางประวัติศาสตร์ จากแหล่งต่าง ๆ ก็จะสัมผัสได้ถึงความโศกสลด และอาจถึงสิ้นหวัง กับความขัดแย้งที่คนรุ่นก่อน และก็เป็นคนในชาติเดียวกันทำต่อกันได้

หากแต่มีสิ่งหนึ่งที่คนไทยจดจำระลึกถึงมากยิ่งกว่า ซึ่งเกิดขึ้น เมื่อวันนี้ของ 27 ปีก่อน ตรงกับวันที่ 20 พฤษภาคม 2535 อันเปรียบเสมือนน้ำทิพย์จากฟากฟ้าที่มาดับไฟให้แก่บ้านเมือง 

เมื่อพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ได้พระราชทานพระราชดำรัสอันทรงคุณค่า ให้แก่เราชาวไทยทุกคน และเรื่องราวที่เกิดขึ้นก็จบลงในทันใด

โดยในการนี้ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช พระราชทานพระบรมราชวโรกาสให้ ศาสตราจารย์ สัญญา ธรรมศักดิ์ ประธานองคมนตรี และพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ องคมนตรีและรัฐบุรุษ นำพลเอกสุจินดา คราประยูร นายกรัฐมนตรี และพลตรีจำลอง ศรีเมือง เข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท

‘กรุณา บัวคำศรี’ ผู้ประกาศข่าวและผู้ผลิตรายการ ได้กล่าวถึง ‘จตุพร พรหมพันธุ์’

เมื่อวานนี้ (21 ส.ค.66 ) ช่องยูทูบ รอบโลก by กรุณา บัวคำศรี ของ ‘กรุณา บัวคำศรี’ ผู้ประกาศข่าวและผู้ผลิตรายการ ได้กล่าวถึง ‘จตุพร พรหมพันธุ์’ ในเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ เมื่อวันที่ 18 พ.ค. 2535 ว่าทั้งสองคนนั้นต่างร่วมหัวจมท้ายกันมาอย่างไร และ ‘จตุพร พรหมพันธุ์’ คือบุคคลที่เคยช่วยชีวิตตนเอาไว้ โดยระบุว่า…

“พี่ตู่เป็นคนช่วยชีวิตพี่นาจริง ๆ นะ ช่วงพฤษภาคม พี่ตู่เรียนอยู่ที่รามฯ ส่วนพี่นาเรียนอยู่อักษรจุฬาฯ แล้วพี่นาเป็นรองเลขาธิการ สนนท. ตอนนั้นเราก็ออกไปประท้วงคณะรัฐประหารของพลเอกสุจินดา คราประยูร ตอนนั้นทํารัฐประหารพลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ แล้วปรากฏว่าก็เกิดเป็นการชุมนุมครั้งใหญ่ ‘พฤษภาทมิฬ’ 18 พฤษภาคม ขบวนเราอยู่ตรงสะพานผ่านฟ้า แล้วพี่ตู่เป็นดาวปราศรัย คือเขาพูดเก่งมาก ผู้ชุมนุมจะชอบพี่ตู่พูดมาก เพราะพูดสนุก แล้ววันนั้นพี่นาก็เหนื่อยมาก ก็นอนอยู่บนรถเครื่องเสียง นอนบนรถบรรทุก แล้วพี่ตู่ก็ปราศรัยอยู่ข้างบน”

“สักตี 1 ตี 2 ทหารก็เข้ามาล้อมเรา แล้วเขาก็ยิง ทีนี้มันยิงตรงไหน มันยิงรถกระจายเสียง เพราะว่าจะได้คุมคนไม่อยู่ คนเป็นแสนตอนนั้น แล้วพี่ตู่ก็คุมม็อบอยู่เป็นแสน แล้วพี่นาเหนื่อยมากก็นอนอยู่บนรถบรรทุกข้างบน แล้วทหารยิงเข้ามาตรงลําโพง เพื่อไม่ให้เราสามารถควบคุมฝูงชนได้ แล้วพี่นาไม่รู้ว่ามันเกิดอะไรขึ้น ได้ยินแต่เสียงปืนก็โผล่ขึ้นมา พี่ตู่ก็กระโดดลง ปกป้องพี่นา กระสุนเฉียดหัวไป ก็เลยคิดว่ายังไงพี่ตู่ก็เป็นผู้มีบุญคุณกับพี่นามาก…แล้วเขาก็จะเรียกพี่นาว่าน้องหนูนา เป็นน้องหนูนาของพี่ ๆ อันนี้แค่เล่าให้ฟังสำหรับคนที่สงสัยเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างพี่นากับพี่ตู่เป็นยังไง…ไม่เคยเดตกัน”

>> สามารถติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ : https://vt.tiktok.com/ZSLskC2r9/ 

20 เมษายน พ.ศ. 2535 50,000 เสียงตะโกนต้านอำนาจนอกระบบ ประชาชนรวมพลังค้านผู้นำเผด็จการ จุดไฟปะทุสู่การเปลี่ยนแปลง ปฐมบทชุมนุมใหญ่ก่อน ‘พฤษภาทมิฬ’ ที่ไทยไม่มีวันลืม

หลังจากการรัฐประหารในปี พ.ศ. 2534 โดยคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ (รสช.) ซึ่งนำโดยกลุ่มนายทหารระดับสูง ได้มีการแต่งตั้งรัฐบาลชั่วคราวเพื่อบริหารประเทศ และในเวลาต่อมา มีการเลือกตั้งทั่วไปขึ้นในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2535

อย่างไรก็ตาม แม้พรรคการเมืองที่ชนะการเลือกตั้งจะได้เสียงข้างมาก แต่ตำแหน่งนายกรัฐมนตรีกลับตกเป็นของ พล.อ. สุจินดา คราประยูร ผู้บัญชาการทหารสูงสุดในขณะนั้น ซึ่งไม่ได้มาจากการเลือกตั้งและเคยให้สัญญากับประชาชนก่อนหน้านี้ว่าจะไม่รับตำแหน่ง

การแต่งตั้งเช่นนี้จุดกระแสความไม่พอใจในหมู่ประชาชน นักวิชาการ นักศึกษา และภาคประชาสังคม โดยมองว่าเป็นการสืบทอดอำนาจของคณะรัฐประหาร และขัดต่อหลักการประชาธิปไตย

ในวันที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2535 มีประชาชนประมาณ 50,000 คน รวมตัวกันที่ ลานพระบรมรูปทรงม้า เพื่อแสดงออกเชิงสัญลักษณ์ต่อต้านการแต่งตั้ง พล.อ. สุจินดา เป็นนายกรัฐมนตรี การชุมนุมครั้งนี้นำโดยหลายภาคส่วน ทั้งภาคประชาชน นักศึกษา และกลุ่มการเมือง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเรียกร้องให้มีนายกรัฐมนตรีที่มาจากการเลือกตั้งตามระบอบประชาธิปไตยอย่างแท้จริง

แม้การชุมนุมจะเป็นไปอย่างสงบ แต่ก็เป็นการแสดงพลังครั้งใหญ่ที่สะท้อนถึงความไม่พอใจอย่างรุนแรงของประชาชนที่มีต่อรัฐบาลในขณะนั้น และถือเป็นจุดเริ่มต้นของความเคลื่อนไหวทางการเมืองครั้งใหญ่ ที่ลุกลามกลายเป็น เหตุการณ์ 'พฤษภาทมิฬ' ในเดือนถัดมา ซึ่งรัฐบาลใช้กำลังทหารเข้าสลายการชุมนุม ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บจำนวนมาก

เหตุการณ์ดังกล่าวนำไปสู่การลาออกของ พล.อ. สุจินดา ในที่สุด และเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญที่ทำให้สังคมไทยตระหนักถึงความสำคัญของการเมืองในระบอบประชาธิปไตย และสิทธิเสรีภาพในการแสดงออกของประชาชน

แม้เวลาจะผ่านมาหลายทศวรรษ แต่บทเรียนจากเหตุการณ์นี้ยังคงเป็นที่กล่าวถึงในฐานะจุดเปลี่ยนที่ฝากร่องรอยไว้ในหน้าประวัติศาสตร์การเมืองไทย และเป็นเครื่องเตือนใจว่าพลังของประชาชนสามารถสร้างความเปลี่ยนแปลงได้เสมอ เมื่อเสียงแห่งความหวังถูกเปล่งออกอย่างพร้อมเพรียง


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top