Wednesday, 7 May 2025
พริษฐ์วัชรสินธุ

'ไอติม' ยก 4 เป้าหมายเปลี่ยนประเทศ สู่ ปชต. วอนคนทุกรุ่นต้องร่วมมือกันขับเคลื่อน

ไอติม ขึ้นเวทีปาฐกถา 14 ตุลา ชี้ 49 ปี ไทยยังคงอยู่ใต้รัฐธรรมนูญที่ไม่เป็นประชาธิปไตย - ชู 4 พันธกิจเปลี่ยนประเทศสู่ประชาธิปไตย ที่คนทุกรุ่นต้องร่วมมือกัน

เมื่อวันที่ 14 ต.ค.65 นายพริษฐ์ วัชรสินธุ ผู้จัดการการสื่อสารและการรณรงค์นโยบายพรรคก้าวไกลได้ร่วมแสดงปาฐกถางาน '14 ตุลา 16 ปลดปล่อยพลังสร้างสรรค์สังคมไทยแค่ไหน' พริษฐ์เริ่มต้นปาฐกถาด้วยการอธิบายว่าโจทย์ของพูดถึงเหตุการณ์ 14 ตุลา 2516 เป็นเรื่องที่ท้าทาย เพราะเป็นเหตุการณ์ที่ผ่านมาแล้วกว่า 49 ปี และตนเองไม่ได้เป็นประจักษ์พยานในเหตุการณ์ แต่ด้วยความที่ 14 ตุลา เป็นเหตุการณ์ทางการเมืองที่ถูกตีความอย่างหลากหลายโดยคนแต่ละกลุ่ม ตนจึงตั้งใจที่จะพยายามสรุปและอธิบายเหตุการณ์ผ่านมุมมองของคนแต่ละยุค ทั้งมุมมองที่มองว่า 14 ตุลาเป็นชัยชนะอันยิ่งใหญ่ และมุมมองที่อาจมองว่าเหตุการณ์ 14 ตุลาเป็นชัยชนะที่ลวงตาและไม่สามารถนำไปสู่ประชาธิปไตยได้อย่างยั่งยืนซึ่ง

โดยพริษฐ์กล่าวว่า 14 ตุลา อาจจะเป็นเหตุการณ์ที่สามารถกำจัดระบบทรราชอย่าง 'ถนอม-ประภาส-ณรงค์' ออกไปจากระบบการเมืองไทยได้ก็จริง แต่ 3 ปีหลังเหตุการณ์ 14 ตุลา กลับเกิดเหตุการณ์ความรุนแรง 6 ตุลา 2519 โดยเหตุการณ์นี้พริษฐ์อธิบายว่า "เป็นเสมือนการล้างไพ่ประชาธิปไตยไทย ให้ถอยกลับไปอยู่จุดเดิม หรือแย่กว่าเดิม" พริษฐ์ยังอธิบายต่อไปอีกว่า คนรุ่นใหม่ในเหตุการณ์ 14 ตุลา กับคนรุ่นใหม่ในยุคปัจจุบัน เติบโตมาในโลกที่มีทั้งความเหมือนและความแตกต่างกัน

พริษฐ์ กล่าวว่าสิ่งที่คนรุ่นใหม่ในแต่ละยุคต้องพบเจอเหมือนกัน คือการเติบโตมาในยุคที่การเมืองไม่เป็นประชาธิปไตย เช่น คนรุ่นใหม่ในยุค 14 ตุลาเป็นยุคที่เติบโตมากับระบบเผด็จการทหารที่ปกครองประเทศมาอย่างยาวนานและมีผู้นำที่มีอำนาจเบ็ดเสร็จตามมาตรา 17 ขณะที่คนรุ่นใหม่ยุคปัจจุบันเติบโตมาในยุคที่พวกเขาไม่ได้สัมผัสกับประชาธิปไตยอย่างเต็มใบและต้องอาศัยอยู่ภายใต้ 'ระบอบประยุทธ์' ซึ่งเป็นเสมือนเผด็จการอำพรางที่ชุบตัวจากการเลือกตั้ง แต่ยังคงมีกลไกควบคุมอำนาจอย่างเบ็ดเสร็จผ่านกลไกสืบทอดอำนาจ ส.ว. 250 คนศาลรัฐธรรมนูญและองค์กรอิสระรวมถึงยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี

แต่ตัวอย่างหนึ่งที่มีความแตกต่าง คือในมิติเทคโนโลยี ซึ่งส่งผลต่อความยาก-ง่ายในการเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร คนรุ่นใหม่ยุค 14 ตุลามีทางเลือกในการติดตามข่าวสารอย่างจำกัดเพราะเทคโนโลยีขนาดนั้นมีเพียงวิทยุหนังสือพิมพ์และโทรทัศน์เท่านั้นซึ่งก็ไม่ได้มีอุปกรณ์เหล่านี้ครบทุกบ้าน โดยเนื้อหาส่วนใหญ่ถูกควบคุมและกำกับโดยรัฐในทางกลับกันคนรุ่นใหม่ยุคปัจจุบันกลับมีช่องทางในการติดตามข่าวสารมากมายนับไม่ถ้วนเพราะการเติบโตของอินเทอร์เน็ตและโซเชียลมีเดียรัฐไม่อาจควบคุมและจำกัดข้อมูลเนื้อหาได้ดังเช่นในอดีต

แม้ความแตกต่างระหว่างรุ่นเป็นเรื่องปกติ แต่จากโจทย์ปัจจุบันที่เป็นช่วงเวลาที่เป็นหัวเลี้ยวหัวต่อของประชาธิปไตยไทยและที่มีการปะทะกันระหว่างระบบที่ล้าหลังและสังคมที่ก้าวหน้ามากขึ้น ปฏิเสธไม่ได้ว่าเป้าหมายและความตั้งใจของคนยุค 14 ตุลา มีภารกิจหลายส่วน ที่สอดคล้องกับความฝันของคนรุ่นใหม่ยุคปัจจุบัน แต่ยังไม่สำเร็จถึงฝั่งและยังต้องอาศัยพลังและเจตจำนงของคนทั้ง 2 รุ่น ในการร่วมกันขับเคลื่อนต่อไป

เป้าหมายที่หนึ่งคือการร่างรัฐธรรมนูญที่เป็นประชาธิปไตย - แม้เหตุการณ์ 14 ตุลาได้นำมาสู่รัฐธรรมนูญปี 2517 แต่กระบวนการจัดทำยังคงไม่ได้มีส่วนร่วมของตัวแทนที่มาจากการเลือกตั้งของประชาชน และเป็นฉบับที่มีอายุเพียง 2 ปี ก่อนถูกฉีกโดยคณะรัฐประหาร ปัจจุบันประเทศไทยยังคงอยู่ภายใต้ธรรมนูญปี 2560 ซึ่งถูกเขียนโดยคณะรัฐประหาร มีวัตถุประสงค์ในการสืบทอดอำนาจ และมีเนื้อหาที่ขัดกับหลักสากล จึงต้องให้มีการร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ทั้งฉบับโดยประชาชน ผ่าน สภาร่างรัฐธรรมนูญ (สสร.) ที่มาจากการเลือกตั้งโดยตรง

เป้าหมายที่สองคือการขับเคลื่อนประชาธิปไตยในเชิงวัฒนธรรม ที่ไปไกลกว่าการกำจัดผู้นำเผด็จการ แม้ 14 ตุลาจะเป็นหมุดหมายสำคัญทางการเมืองไทยที่ภาคประชาชนรวมกันแสดงตัวเรียกร้องให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างมหาศาล แต่ก็เป็นอีกหนึ่งบทเรียนที่ทำให้เห็นว่าการตื่นตัวของประชาชนไม่สามารถนำไปสู่ชัยชนะที่ยังยืนของประชาธิปไตยเสมอไป ตราบใดที่เรายังไม่สามารถสร้างวัฒนธรรมประชาธิปไตยที่แข็งแรงให้เกิดขึ้นในระดับความคิด และกำจัดวัฒนธรรมแบบอำนาจนิยมในทุกอณูของสังคม ตั้งแต่ระบบราชการ ยันระบบการศึกษา เพื่อสร้างโครงสร้างและวัฒนธรรม ที่อยู่บนฐานของการไว้วางใจประชาชน

'ไอติม' ซัด ส.ว. อย่าเลือกนายกฯ ตามความเชื่อส่วนตัว แต่ควรโหวตนายกฯ ตามเสียงส่วนใหญ่ของ ส.ส.

(3 ม.ค. 66) พริษฐ์ วัชรสินธุ ผู้จัดการการสื่อสารและการรณรงค์นโยบาย พรรคก้าวไกล กล่าวถึงท่าทีของสมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) ที่แสดงออกผ่าน พรเพชร วิชิตชลชัย ประธานวุฒิสภา ที่ให้สัมภาษณ์ระบุว่าไม่มีความจำเป็นต้องรีบ ‘ปิดสวิตช์ ส.ว.’ และการลงมติเลือกนายกรัฐมนตรีของ ส.ว. ในการเลือกตั้งครั้งหน้า จะเป็นไปตาม ‘ดุลยพินิจของสมาชิก’

พริษฐ์ระบุว่า การให้สัมภาษณ์ของประธานวุฒิสภาดังกล่าวนั้น แสดงให้เห็นถึงการละเว้นไม่พูดถึงสาระสำคัญของปัญหา เพราะแม้ ส.ว. จะเหลือวาระอีกไม่นาน แต่ระยะเวลาที่เหลือนั้นคาบเกี่ยวกับการเลือกตั้งในปี 2566 ทำให้ ส.ว. ยังคงสามารถแทรกแซงกระบวนการเลือกนายกรัฐมนตรีและการจัดตั้งรัฐบาลหลังการเลือกตั้ง ซึ่งอาจส่งผลไปอีก 4 ปีตามวาระรัฐบาลใหม่ ซึ่ง ส.ว. ไม่ควรเลือกนายกรัฐมนตรีตามความเชื่อของตนเอง แต่ควรเลือกจากบุคคลที่ได้รับการสนับสนุนจากเสียงส่วนใหญ่ของ ส.ส. ที่มาจากการเลือกตั้ง หากต้องการให้ประเทศเป็นประชาธิปไตยที่เคารพเสียงของประชาชนที่แสดงออกผ่านบัตรเลือกตั้งจริง ๆ

พริษฐ์ยังกล่าวต่อไปว่า หาก ส.ว. อยากเห็นประเทศเดินหน้าตามวิถีประชาธิปไตย ที่เคารพ 1 สิทธิ 1 เสียงของประชาชนในการเลือกตั้ง ส.ว. ควรจะต้องทำ 2 เรื่องในอนาคตอันใกล้นี้ ประกอบด้วย 

1) ลงมติเห็นชอบการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ที่พรรคเพื่อไทยได้ยื่นต่อประธานสภาผู้แทนราษฎรไปเมื่อวันที่ 16 ธันวาคม 2565 เพื่อยกเลิกมาตรา 272 และปิดสวิตช์ตนเองก่อนการเลือกตั้ง

รับฟังเสียงเยาวชน ‘ก้าวไกล’ บุกหน้า รร. ถามความเห็นปฏิรูปการศึกษา พร้อมชูนโยบาย ‘การศึกษา 4 เด้ง’ เน้น นร. มีส่วนร่วม

(2 มี.ค.66) ธนเดช เพ็งสุข ว่าที่ผู้สมัคร ส.ส.กรุงเทพฯ เขตลาดพร้าว-วังทองหลาง พรรคก้าวไกล และ พริษฐ์ วัชรสินธุ ผู้จัดการการรณรงค์และการสื่อสารนโยบาย พรรคก้าวไกล บุกหน้าโรงเรียนลาดปลาเค้าพิทยาคม 2 เขตลาดพร้าว กทม. เพื่อรับฟังความคิดเห็นให้เยาวชนและประชาชนทุกคน ร่วมกันเขียนอนาคตประเทศที่ทุกคนอยากเห็นกับพรรคก้าวไกล โดยวันนี้เป็นวันสอบปลายภาควันสุดท้าย นักเรียนที่เพิ่งออกจากห้องสอบให้ความสนใจเสนอแนะการศึกษาที่อยากเห็นเป็นจำนวนมาก

ธนเดชกล่าวว่า ถึงแม้ว่าประชาชนส่วนใหญ่ที่เราเจอจะยังไม่มีสิทธิเลือกตั้งในวันนี้ แต่ตนและพรรคก้าวไกลคิดว่าจำเป็นต้องรับฟังความคิดของคนที่จะมีชีวิตอยู่ในสังคมในอนาคต ว่าพวกเขาคิดเหมือนกับพรรคก้าวไกลหรือไม่ เพื่อที่จะเอาความเห็นของพวกเขามาปรับ นโยบายและกลยุทธ์หาเสียงกันในโค้งสุดท้าย

ส่วนพริษฐ์ กล่าวว่ากิจกรรมวันนี้ที่ตนรู้สึกชอบที่สุดคือป้ายหาเสียงที่เปิดให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมได้ เปิดให้ประชาชนร่วมเขียน ร่วมโหวตได้ เพื่อใช้รับฟังความคิดเห็น ที่ประชาชนอยากส่งเสียงถึงเรา และส่งเสียงถึงประเทศนี้ เพื่อให้การจัดทำนโยบายของพรรคก้าวไกลมีความครบถ้วนมากขึ้น

ในส่วนของนโยบายการศึกษาที่พรรคก้าวไกลนำเสนอกับประชาชน พริษฐ์กล่าวว่าพรรคก้าวไกลจะออกแบบการศึกษาของประเทศ ที่นักเรียน/เยาวชนมีส่วนร่วม 4 เด้ง

‘ก้าวไกล’ เสนอ ‘บิ๊กทิน-รบ.ใหม่’ เขย่ากองทัพ หากการันตี ‘ยกเลิกเกณฑ์ทหาร’ พร้อมร่วมมือ

(6 ก.ย. 66) ที่รัฐสภา นายพริษฐ์ วัชรสินธุ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล กล่าวถึงนโยบายของกระทรวงกลาโหมในรัฐบาลชุดใหม่ เกี่ยวกับการยกเลิกการเกณฑ์ทหารว่า ขณะนี้สังคมกำลังจับตามอง ทางพรรคก้าวไกลจะมีการชี้แจงเพิ่มเติมเกี่ยวกับนโยบายดังกล่าว ซึ่งตาม พ.ร.บ.รับราชการทหาร พ.ศ.2497 ได้ให้อำนาจกองทัพสามารถบังคับคนที่ไม่อยากเป็นทหารเข้าเป็นทหารแม้ในยามที่ไม่มีสงคราม ทำให้มีช่องว่าง เพราะตลอด 10 ปีที่ผ่านมา ยอดผู้สมัครเข้ารับการเกณฑ์ทหารเฉลี่ย 30,000 คนต่อปี น้อยกว่ายอดกำลังพลที่กองทัพต้องการคือ 90,000 คนต่อปี ทำให้วันนี้ทุกฝ่ายคงเห็นตรงกันถึงราคาที่สังคมต้องจ่าย เมื่อมีการบังคับคนเข้าไปเกณฑ์ทหาร กระทบต่อเสรีภาพในการประกอบอาชีพ หรือการทำตามความฝัน การใช้เวลากับครอบครัว ไปจนถึงการดึงทรัพยากรมนุษย์ออกจากตลาดแรงงานในระดับสังคม

นายพริษฐ์ กล่าวต่อว่า ดังนั้น ถ้าเราอยากจะยกเลิกการบังคับเกณฑ์ทหารให้สำเร็จ โดยไม่ให้กระทบภารกิจการรักษาความมั่นคง คือต้องลดยอดกำลังพลที่กองทัพต้องการ หรือลดยอดผี คือ ชื่ออยู่ในทะเบียนแต่ตัวไม่อยู่ในค่ายทหาร ลดทหารรับใช้ที่ไม่เกี่ยวข้องกับการรักษาความมั่นคง ทบทวนงานบางอย่างตามบริบทภัยความมั่นคงที่เปลี่ยนแปลงไปขณะเดียวกันต้องเพิ่มยอดสมัครใจในการเกณฑ์ทหาร ด้วยการยกระดับคุณภาพชีวิตพลทหาร ทั้งค่าตอบแทน ความปลอดภัย โอกาสในความก้าวหน้าของอาชีพ

“การยกเลิกบังคับเกณฑ์ทหาร มี 2 แบบคือ 1.) ลุ้นยกเลิกแบบปีต่อปี ค่อยๆ ลดช่องว่างกำลังพล ตามแผนของกระทรวงกลาโหมปี 2566-70 ที่กำลังดำเนินการอยู่ และ 2.) ที่พรรคก้าวไกลเสนอ คือ เลิกแบบการันตีไม่มีเกณฑ์ทหาร คือการแก้ไข พ.ร.บ.รับราชการทหาร ปี 2497 ทำให้กองทัพไม่มีอำนาจ ในการบังคับคนเป็นทหาร ในช่วงไม่มีสงคราม เพื่อให้เกิดความชัดเจนว่าเราจะยกเลิกการบังคับเกณฑ์ทหารสำเร็จในกรอบระยะเวลาเท่าไหร่ เพราะสามารถกำหนดได้ในกฎหมาย ทำให้ผู้ที่เกณฑ์ทหารไม่ต้องมาลุ้นปีต่อปีเหมือนการยกเลิกการบังคับเกณฑ์ทหารแบบแรก ขณะเดียวกันจะเป็นแรงกระตุ้นสำคัญให้กองทัพปฏิรูปตัวเอง และให้ความสำคัญกับการยกระดับคุณภาพชีวิตพลทหาร ก็คงต้องจับตาดูการแถลงนโยบายของรัฐบาลชุดนี้ว่าแนวทางการยกเลิกฯ จะเป็นอย่างไร” นายพริษฐ์ กล่าว 

นายพริษฐ์ กล่าวอีกว่า ต้องยอมรับว่าการชี้แจงของนายสุทิน คลังแสง รมว.กลาโหม เกี่ยวกับกับเรื่องนี้ ดูจะเป็นแนวทางการยกเลิกฯ แบบที่ 1 ถ้าในที่สุดออกมาเป็นแบบที่ 1 ก็เพียงแต่หวังว่ารัฐบาลจะมีความชัดเจนเรื่องกรอบเวลาว่าจะลดกำลังในแต่ละปีอย่างไรจนเป็นศูนย์ แต่ถ้าเป็นแบบที่ 2 พรรคก้าวไกลยินดีร่วมมือกับรัฐบาล เพราะเราได้ยื่นร่างแก้ไขกฎหมายรับราชการทหารเข้าสู่สภาฯ แล้ว อยู่ในขั้นตอนการรอนายกรัฐมนตรีคนใหม่เซ็นรับรองให้สามารถถูกบรรจุในสภาฯ แล้วมีการถกเถียงกัน

เมื่อถามว่านายสุทิน ออกมาระบุยืนยันในเดือน เม.ย.ปีหน้า จะไม่มีการเกณฑ์ทหารแล้ว นายพริษฐ์ กล่าวว่า ถ้าเป็นแบบที่ 1 มันจะอยู่ในสภาวะที่ต้องลุ้นปีต่อปี ตัวเลขแรกในยอดกำลังพลที่จะลดในแต่ละปี ก็ยังไม่ได้มีการสื่อสารออกมา ถึงแม้ปีหน้าจะสามารถลดให้เหลือศูนย์ได้จริง แต่คงต้องมาลุ้นในปีต่อไปอีกว่า ยอดกองทัพจะมีจำนวนเท่าไหร่ ซึ่งอาจไม่ได้เป็นการรับประกันให้เยาวชนที่ต้องวางแผนชีวิตว่าจะมีความเสี่ยงในการรับการเกณฑ์ทหารหรือไม่

“การปฏิรูปกองทัพต้องมีไอเดียมาจากรัฐบาลพลเรือนที่เป็นกรอบการดำเนินการด้วย ไม่ใช่แค่ปล่อยให้องค์กรนั้นๆทำแผนที่ตัวเองคิดมาเพียงอย่างเดียว อย่างที่ผ่านมาอาจมีกฎหมายบางส่วนที่ทำให้กองทัพมีอำนาจเหนือพลเรือนเช่น พ.ร.บ.ระเบียบราชการกระทรวงกลาโหม ที่ระบุว่า การตัดสินใจหลายๆ อย่างเกี่ยวกับงบประมาณ ไม่ได้อยู่ในอำนาจของรมว.กลาโหม ที่เป็นตัวแทนของพลเรือน แต่กลับไปอยู่ในอำนาจของสภากลาโหมที่ประกอบไปด้วยข้าราชการทหารเป็นหลัก ทำให้ขัดหลักที่ว่ารัฐบาลพลเรือนควรอยู่เหนือกองทัพ” นายพริษฐ์ กล่าว

เมื่อถามถึงการหารือกับพรรคประชาธิปัตย์ในฐานะฝ่ายค้านร่วมกัน นายพริษฐ์ กล่าวว่า ยังไม่ได้มีการพูดคุย ที่ผ่านมามีแต่การพูดคุยในพรรคก้าวไกลเป็นหลัก 

'ไอติม' ชี้!! กรณี 'จิรัฏฐ์' ต้องแยกจากพรรค ลั่น!! ยินดีให้ทุกฝ่ายได้ตรวจสอบ

(30 ม.ค. 67) ที่รัฐสภา นายพริษฐ์ วัชรสินธุ สส.บัญชีรายชื่อ และโฆษกพรรคก้าวไกล กล่าวถึงกรณีที่กองทัพบกไม่พบต้นขั้วใบ สด.43 ของนายจิรัฏฐ์ ทองสุวรรณ์ สส.ฉะเชิงเทรา พรรคก้าวไกล ว่า เรื่องนี้ต้องแยกส่วนของนายจิรัฏฐ์และของพรรค ซึ่งทราบว่านายจิรัฏฐ์ ยืนยันว่าได้รับใบ สด.43 มาจากเจ้าหน้าที่จริงๆ จึงต้องไปถามนายจิรัฏฐ์ ซึ่งคิดว่าทางนายจิรัฏฐ์ พร้อมจะให้ทุกฝ่ายตรวจสอบว่าเอกสารได้มาเช่นไร หรือมีที่มาที่ไปอย่างไร

นายพริษฐ์​ กล่าวต่อว่า ในส่วนของพรรคก้าวไกล ตนพูดในเชิงหลักการ กรณีที่มีการตรวจสอบสมาชิกของพรรค ก็ยินดีให้ทุกฝ่ายตรวจสอบไม่ว่าจะเป็นภาคประชาชนหรือใครก็ตามเข้ามาตรวจสอบการทำงานของ สส.พรรคก้าวไกล และถ้ามีกระบวนการอะไรที่ต้องอาศัยความร่วมมือใช้กระบวนการทางกฎหมาย ทางพรรคก็ยินดีให้ความร่วมมือ ซึ่งพรรคในฐานะพรรคการเมืองที่เข้ามาทำงานเพื่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงของประเทศ และได้เงินเดือนมาจากภาษีของประชาชน ก็ยินดีให้ตรวจสอบการทำงานอยู่แล้ว รวมถึงมีการดำเนินการฟ้องร้องถึงชั้นศาล และต้องการความร่วมมือผ่านกระบวนการทางกฎหมายเราก็ยินดีอยู่แล้ว

‘ไอติม’ ชื่นชมเกาหลีใต้ใช้กลไกลสภาสู้กลับ ‘ปธน.ยุน’ หลังโหวตคว่ำกฎอัยการศึก ยกเป็นบทเรียนต้านรัฐประหาร

‘ไอติม’ ปลื้ม ปชช.-นักการเมืองเกาหลีใต้ สู้กลับ ‘ปธน.ยุน ซอก ยอล’ ใช้กลไกลสภายกเลิก ‘กฎอัยการศึก’ มองชัยชนะครั้งนี้ เป็นบทเรียนประเทศอื่นต้าน “รัฐประหาร” 

วันที่ (4 ธ.ค.67) นายพริษฐ์ วัชรสินธุ สส.พรรคประชาชน ทวิตข้อความว่า กำลังเฝ้าติดตามสถานการณ์ใน #เกาหลีใต้ ด้วยความรู้สึกชื่นชมการต่อสู้กลับของประชาชนและนักการเมือง ในการใช้กลไกสภายกเลิกการประกาศกฎอัยการศึกของประธานาธิบดี และหวังว่ากองทัพจะทำตามกฎหมาย แทนที่จะทำตามอำเภอใจของประธานาธิบดี

หากประชาชนเกาหลีใต้ปกป้องประชาธิปไตยได้สำเร็จ ชัยชนะนี้จะเป็นบทเรียนสำคัญสำหรับประเทศอื่น (รวมถึงไทย) ในการวางแนวทางป้องกันรัฐประหาร ซึ่งต้องดำเนินการ 2 อย่างคู่ขนาน

1. แก้กฎหมาย (เช่น รธน. / พรบ. กฎอัยการศึก) เพื่อติดอาวุธให้ประชาชนมีเครื่องมือหรือกลไกในการต่อต้านและต่อกรกับผู้ก่อรัฐประหาร

2. รณรงค์ทางความคิดให้ประชาชนและนักการเมืองทุกฝ่าย (ไม่ว่าสนับสนุนหรือสังกัดพรรคใด) มีจุดยืนร่วมกันในการออกมาปกป้องประชาธิปไตย

‘ไอติม’ อัด!! ก.ศึกษาฯ แก้ ‘ทรงผมนักเรียน’ ไม่ตรงจุด แนะส่วนกลางชี้ขาด!! ทุกโรงเรียน หยุดบังคับเด็ก

(4 ม.ค. 68) จากกรณีที่ นายสิริพงศ์ อังคสกุลเกียรติ โฆษกกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) กล่าวยืนยันว่า กระทรวงมีหนังสือยกเลิกระเบียบว่าด้วยการไว้ทรงผมของนักเรียน พ.ศ.2563 ตั้งแต่วันที่ 16 มกราคม พ.ศ.2566 ดังนั้น ‘ทรงติ่งหู’ หรือ ‘ทรงขาว 3 ด้าน’ จะไม่ถูกเรียกว่า ‘ทรงผมนักเรียน’ อีกต่อไป เพราะไม่มีการระบุความสั้น/ยาวของทรงผมนักเรียนชายและนักเรียนหญิงแล้ว ส่วนการจะกำหนดให้ผู้เรียนไว้ทรงผม แต่งกายแบบไหน ให้เป็นไปตามวิจารณญาณของสถานศึกษา โดยให้โรงเรียนเปิดช่องทางให้ผู้เรียนพูดคุยเพื่อหาทางออกที่ดีที่สุดนั้น

เรื่องนี้ นายพริษฐ์ วัชรสินธุ สส.บัญชีรายชื่อและโฆษกพรรคประชาชน แสดงความเห็นผ่าน X เมื่อวันที่ 3 มกราคมที่ผ่านมา ระบุว่า หาก ศธ. ตั้งเป้าว่าไม่ควรมีนักเรียนคนไหนที่ต้องถูกบังคับเรื่องทรงผม ผมเห็นว่าสิ่งที่กระทรวงทำอยู่ ยังแก้ปัญหาไม่ตรงจุดครับ

สิ่งที่กระทรวงทำ = ยกเลิกการบังคับจากส่วนกลางว่านักเรียนจะต้องมีทรงผมแบบไหน แต่เปิดช่องให้แต่ละโรงเรียนตัดสินใจเองได้ที่จะบังคับนักเรียนในโรงเรียนนั้นๆ เรื่องทรงผม

สิ่งที่กระทรวงควรทำ = ออกมาตรฐานจากส่วนกลาง เพื่อกำหนดว่าทุกโรงเรียนจะต้องหยุดการบังคับนักเรียนเรื่องทรงผม


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top