Sunday, 19 May 2024
พระราชทานปริญญาบัตร

'อดีตบิ๊กข่าวกรอง' เตือนนักศึกษา มช. ระวังกระแสตีกลับ หากไม่รับพระราชทานปริญญา

'นันทิวัฒน์' สลดใจสโมสรนักศึกษา ม.เชียงใหม่ ไม่ประสงค์จะรับพระราชทานปริญญาฯ เตือน เมื่อตั้งใจจะแสดงปฏิปักษ์ต่อสถาบัน ก็คงต้องยอมรับ หากมีกระแสตีกลับจากสังคมและคนรอบข้าง

14 ม.ค. 65 - นายนันทิวัฒน์ สามารถ อดีตรองผู้อำนวยการสำนักข่าวกรองแห่งชาติ โพสต์เฟซบุ๊กมีข้อความว่า
ปฏิปักษ์สถาบัน ?

สลดใจที่สโมสรนักศึกษามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ออกแถลงการณ์ ไม่ขอร่วมรับเสด็จกรมสมเด็จพระเทพรัตนฯ ในการพระราชทานปริญญาบัตรบัณฑิตมหาวิทยาลัยเชียงใหม่

ในอดีตการถวายการรับเสด็จเป็นเรื่องของสภามหาวิทยาลัยและผู้บริหารมหาวิทยาลัย แต่สโมสรนักศึกษาเองที่ขอเข้าร่วมในการถวายการรับเสด็จ แต่เมื่อกรรมการสโมสรฯ ไม่ประสงค์จะเข้าร่วม มหาวิทยาลัยก็คงต้องทำหน้าที่ฝ่ายเดียวร่วมกับบัณฑิตผู้ประสงค์จะรับพระราชทานปริญญาฯ ก็เท่านั้น

จะไปยากอะไร นักศึกษาก็บอกผู้บริหารมหาวิทยาลัย ไม่ต้องกราบบังคมทูลเชิญ พระองค์ก็จะได้ไม่ต้องเสด็จ แต่เมื่อบัณฑิตมีความประสงค์จะขอรับพระราชทานปริญญา คนอื่นคนที่ไม่อยากรับก็ไม่เกี่ยว

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี เสด็จพระราชดำเนินไปพระราชทานปริญญาบัตรแก่ผู้สำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ประจำปีการศึกษา 2562 -2563 เป็นวันที่ 2


28 พ.ค.2565 - เวลา 16.15 น. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี เสด็จพระราชดำเนินไปพระราชทานปริญญาบัตรแก่ผู้สำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ประจำปีการศึกษา 2562 -2563 ณ หอประชุม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร เป็นวันที่ 2

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงจุดธูปเทียนเครื่องนมัสการบูชาพระรัตนตรัย ทรงกราบ ประทับพระราชอาสน์ รองศาสตราจารย์เกศินี วิฑูรชาติ อธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กราบบังคมทูลขอพระราชทาน พระบรมราชวโรกาสพระราชทานปริญญาบัตรแก่ผู้สำเร็จการศึกษา คณบดีคณะนิติศาสตร์ คณบดีคณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน คณบดีคณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา คณบดีคณะศิลปกรรมศาสตร์ กราบบังคมทูลเบิกผู้สำเร็จการศึกษา เข้ารับพระราชทานปริญญาบัตร จำนวน 1,167 ราย พระราชทานปริญญาบัตร ตามลำดับ พระสงฆ์เจริญชัยมงคลคาถา

บัณฑิตกล่าวคำปฏิญาณ เสด็จ ฯ ไปทรงกราบที่หน้าเครื่องนมัสการ คณาจารย์และบัณฑิตร้องเพลงสรรเสริญพระบารมี เสด็จเข้าห้องรับรอง

จากนั้นพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินี เสด็จเข้าที่ประทับภายในหอประชุมในการพระราชทานปริญญาบัตรแก่ผู้สำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ประจำปีการศึกษา 2562 -2563 ภาคหลัง คณาจารย์และบัณฑิตร้องเพลงสรรเสริญพระบารมี

'ในหลวง' โปรดเกล้าฯ พระราชทานปริญญาบัตร แก่บัณฑิตที่หายป่วยโควิดเป็นกรณีพิเศษ

ปลื้มปิติ!! ในหลวง - พระราชินี ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมพระราชทานปริญญาบัตร ให้บัณฑิตผู้สำเร็จการศึกษาจาก ม.ธรรมศาสตร์ และม.สุโขทัยธรรมาธิราช ที่หวยป่วยโควิดเป็นกรณีพิเศษ

เมื่อวันที่ (21 มิ.ย.2565) เวลา 17.34 น. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินี เสด็จลง ณ ศาลาดุสิดาลัย สวนจิตรลดา พระราชวังดุสิต ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมพระราชทานพระบรมราชวโรกาสให้ บัณฑิตผู้สำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ที่ยังไม่ได้เข้ารับพระราชทานปริญญาบัตร เนื่องจากติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) เฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท รับพระราชทานปริญญาบัตร เป็นกรณีพิเศษ

ในการนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานพระบรมราชวโรกาสให้ ศาสตราจารย์สิริฤกษ์ ทรงศิวิไล ปลัดกระทรวงการอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม นำ อธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และอธิการบดีมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช เฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท ตามลำดับดังนี้

- รองศาสตราจารย์เกศินี วิฑูรชาติ อธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กราบบังคมทูลเบิกบัณฑิตผู้สำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ประจำปีการศึกษา 2562-2563 จำนวน 64 รายที่ยังไม่ได้เข้ารับพระราชทานปริญญาบัตร เนื่องจากติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) เฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท รับพระราชทานปริญญาบัตร เป็นกรณีพิเศษ

25 ตุลาคม พ.ศ. 2473 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชทานปริญญาบัตรครั้งแรกแห่งกรุงสยาม

วันที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2473 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี เสด็จฯ พระราชทานปริญญาบัตร ณ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งนับเป็นครั้งแรกของสยามประเทศ

วันที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2473 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี เสด็จฯ พระราชทานปริญญาบัตรเวชศาตรบัณฑิต (ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็นแพทยศาสตรบัณฑิต) ณ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งนับเป็นครั้งแรกของไทยที่มีการพระราชทานปริญญาบัตร ณ ห้องประชุมตึกบัญญาชาการ (ตึก 1 ค ณะอักษรศาสตร์ปัจจุบัน) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

เมื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระบรมราชินีเสด็จพระราชดำเนินเข้าสู่ห้องประชุม พระวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยลาภพฤฒิยากร-เสนาบดีกระทรวงธรรมการ ทูลเกล้าฯ ถวายฉลองพระองค์ครุยบัณฑิตพิเศษแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จากนั้นพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานครุยกิตติมศักดิ์แก่ข้าราชการของมหาวิทยาลัย 2 ท่าน คือ

1.) บัณฑิตชั้นโท (มหาบัณฑิตในปัจจุบัน) ทางวิทยาศาสตร์แก่พระยาภะรตราชา(หม่อมหลวงทศทิศ อิศรเสนา) ผู้บัญชาการ (อธิการบดีในขณะนั้น)

2.) บัณฑิตชั้นเอก (ดุษฎีบัณฑิตในปัจจุบัน) แก่ศาสตราจารย์ น.พ. A.G.Ellis คณบดีคณะแพทยศาสตร์ (ต่อมาเป็นอธิการบดีของจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย ระหว่าง พ.ศ. 2478-2479)

25 ตุลาคม พ.ศ. 2473 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชทานปริญญาบัตรครั้งแรกแห่งกรุงสยาม

วันนี้ เมื่อ 93 ปีก่อน พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 เสด็จพระราชดำเนินพระราชทานปริญญาบัตรแก่บัณฑิต ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นับเป็นพิธีพระราชทานปริญญาบัตรครั้งแรกแห่งกรุงสยาม

วันที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2473 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี เสด็จฯ พระราชทานปริญญาบัตรเวชศาตรบัณฑิต (ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็นแพทยศาสตรบัณฑิต) ณ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งนับเป็นครั้งแรกของไทยที่มีการพระราชทานปริญญาบัตร ณ ห้องประชุมตึกบัญชาการ (ตึก 1 คณะอักษรศาสตร์ปัจจุบัน) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

เมื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระบรมราชินีเสด็จพระราชดำเนินเข้าสู่ห้องประชุม พระวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยลาภพฤฒิยากร-เสนาบดีกระทรวงธรรมการ ทูลเกล้าฯ ถวายฉลองพระองค์ครุยบัณฑิตพิเศษแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จากนั้นพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานครุยกิตติมศักดิ์แก่ข้าราชการของมหาวิทยาลัย 2 ท่าน คือ

1.บัณฑิตชั้นโท (มหาบัณฑิตในปัจจุบัน) ทางวิทยาศาสตร์แก่พระยาภะรตราชา (หม่อมหลวงทศทิศ อิศรเสนา) ผู้บัญชาการ (อธิการบดีในขณะนั้น)

2.บัณฑิตชั้นเอก (ดุษฎีบัณฑิตในปัจจุบัน) แก่ศาสตราจารย์ น.พ. A.G.Ellis คณบดีคณะแพทยศาสตร์ (ต่อมาเป็นอธิการบดีของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ระหว่าง พ.ศ. 2478-2479)

จากนั้นพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานประกาศนียบัตร (ปริญญาบัตรในปัจจุบัน) แก่เวชบัณฑิตชั้นตรี จำนวน 29 คน ประกอบด้วยผู้สอบได้บัณฑิตชั้นตรีในปี 2471 จำนวน 18 คน และปี 2472 จำนวน 16 คน

โดยในครั้งนั้นพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานพระบรมราโชวาท ตอนหนึ่งความว่า "ข้าพเจ้ามีความยินดีเป็นอย่างยิ่ง ที่ได้มีโอกาสมาให้ปริญญาแก่นักเรียนมหาวิทยาลัยเป็นครั้งแรกในวันนี้ นับว่า เป็นวันสำคัญสำหรับประวัติการของมหาวิทยาลัย และโดยเหตุนั้น นับว่าเป็นวันสำคัญในประวัติการของประเทศสยามด้วย เพราะว่า ไม่ว่าประเทศใด ๆ ความเจริญของประเทศนั้นย่อมวัดด้วยความเจริญของการศึกษานั้นอย่างหนึ่ง ในประเทศสยามนี้ ต้องนับว่า การมหาวิทยาลัยยังล้าหลังอยู่มาก ที่เป็นเช่นนั้นก็ด้วยเหตุผลหลายประการคือ การที่จะตั้งมหาวิทยาลัยให้ใหญ่โตนั้น ถ้าเอาเงินถมลงไปก็อาจทำได้ แต่ถ้าวิชาที่สอนนั้นประชาชนยังไม่ต้องการ หรือสอนไปไม่เป็นประโยชน์ในทางอาชีพของเราแล้ว การที่จะตั้งเช่นนั้นก็หาเป็นประโยชน์"

‘กรมสมเด็จพระเทพฯ’ เสด็จฯ พระราชทานปริญญาบัตรสถาบันวิทยสิริเมธี พร้อมติดตามการพัฒนาธุรกิจ ‘กลุ่ม ปตท.’ ณ วังจันทร์วัลเลย์ จ.ระยอง

(7 พ.ย.66) สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินไปพระราชทานปริญญาบัตรแก่ผู้สำเร็จการศึกษาจากสถาบันวิทยสิริเมธี ระดับดุษฎีบัณฑิตและมหาบัณฑิต ประจำปีการศึกษา 2565 จำนวน 35 ราย พร้อมพระราชทาน ‘ทุนพระราชทานศรีเมธี’ แก่นิสิตที่มีผลการเรียนดีเยี่ยม จำนวน 4 ราย และพระราชทานประกาศนียบัตรแก่ผู้แทนนักเรียนโรงเรียนกำเนิดวิทย์ ที่สำเร็จการศึกษาระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ประจำปีการศึกษา 2565 โดยมีนายไตรภพ วงศ์ไตรรัตน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดระยอง นายไพรินทร์ ชูโชติถาวร นายกสภาสถาบันวิทยสิริเมธี นายทศพร ศิริสัมพันธ์ ประธานกรรมการ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) (ปตท.) นายอรรถพล ฤกษ์พิบูลย์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ ปตท. พร้อมคณะผู้บริหารจากกลุ่ม ปตท. ร่วมกับผู้บริหารสถาบันวิทยสิริเมธี และโรงเรียนกำเนิดวิทย์ เฝ้าฯ รับเสด็จฯ

นายอรรถพล ฤกษ์พิบูลย์ เปิดเผยว่า กลุ่ม ปตท. ตระหนักถึงความสำคัญในการพัฒนาองค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของประเทศ จึงร่วมกันจัดตั้งโรงเรียนกำเนิดวิทย์ (KVIS) ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย และสถาบันวิทยสิริเมธี (VISTEC) ระดับบัณฑิตศึกษา (ปริญญาโทและปริญญาเอก) ขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2558 ในพื้นที่วังจันทร์วัลเลย์ ปัจจุบัน สถาบันวิทยสิริเมธี ประกอบไปด้วย ศูนย์วิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีชั้นแนวหน้า และ 4 สำนักวิชา ได้แก่ สำนักวิชาวิทยาการโมเลกุล สำนักวิชาวิทยาการพลังงาน สำนักวิชาวิทยาการชีวโมเลกุล สำนักวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อผลิตบุคลากรที่มีศักยภาพสูงด้านการวิจัยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และวิศวกรรม และส่งเสริมสนับสนุนการศึกษาและวิจัยในการสร้างองค์ความรู้ เทคโนโลยี และนวัตกรรม ที่สามารถแข่งขันได้ในระดับโลก สามารถต่อยอดใช้ประโยชน์ได้จริงในภาคอุตสาหกรรม เพื่อร่วมสร้างการเติบโตทางด้านเศรษฐกิจ และส่งเสริมความยั่งยืนแก่สังคมและสิ่งแวดล้อมของประเทศ

สำหรับโรงเรียนกำเนิดวิทย์ ในปีการศึกษา 2565 มีนักเรียนรุ่นที่ 6 สำเร็จการศึกษา จำนวน 69 คน แบ่งเป็นนักเรียนที่ได้ศึกษาต่อด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรมศาสตร์ และคณิตศาสตร์ (STEM) จำนวน 48 คน ด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพและอื่น ๆ จำนวน 21 คน โดยได้รับทุนศึกษาต่อทั้งในและต่างประเทศ และได้รับทุนการศึกษาจากสถาบันวิทยสิริเมธีเพื่อศึกษาทางด้านวิทยาศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ และเทคโนโลยี ระดับปริญญาตรีภายในประเทศด้วยเช่นกัน

ในวันเดียวกัน สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพฯ เสด็จพระราชดำเนินไปยังสำนักวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ สถาบันวิทยสิริเมธี จัดตั้งจากการสนับสนุนของธนาคารไทยพาณิชย์ จํากัด (มหาชน) ติดตามความก้าวหน้าด้านงานวิจัยและพัฒนา พร้อมทอดพระเนตรห้องปฏิบัติการและนิทรรศการผลงาน เช่น ห้องปฏิบัติการวิจัย Wangchan Advanced Industrial Labs โครงการกลุ่มวิจัย Interfaces Lab โครงการเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ โครงการกลุ่มวิจัย Brain Lab เป็นต้น 

ต่อมาทรงทอดพระเนตรผลงาน โรงเรือนสาธิตเทคโนโลยีชีวภาพ ที่นำเสนอภาพรวมโครงการเทคโนโลยีชีวภาพเพื่อ Net Zero เกษตรยั่งยืน และอาหารปลอดภัยรวมถึงโครงการสร้างนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาระบบเศรษฐกิจหมุนเวียนอุตสาหกรรมชีวภาพและชุมชนที่ยั่งยืน จ.น่าน ที่นำโครงการต้นแบบไปพัฒนาสู่การใช้งานจริงในพื้นที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

จากนั้นเสด็จพระราชดำเนินไปทอดพระเนตรความก้าวหน้าการดำเนินงานด้านนวัตกรรมของวังจันทร์วัลเลย์และกลุ่มธุรกิจใหม่ ปตท. ณ ศูนย์ปฏิบัติการอัจฉริยะ (Intelligent Operation Center : IOC) บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ทรงทอดพระเนตรการดำเนินงานกลุ่มธุรกิจใหม่ ปตท. โดยขับเคลื่อนจากการวิจัยพัฒนาองค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ใน 4 ด้าน ได้แก่…

1.ด้านนวัตกรรมเพื่อสิ่งแวดล้อม กลุ่ม ปตท. ได้กำหนดแนวทางการดำเนินงานทั้งในระยะสั้นและระยะยาว เพื่อความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เพื่อบรรลุเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero Emissions) ภายใน พ.ศ.2593 (ค.ศ.2050)
2.ด้านนวัตกรรมเพื่อยานยนต์ไฟฟ้า (EV Ecosystem) ผลักดันประเทศไทยให้ก้าวสู่โลกแห่งยานยนต์ไฟฟ้าแบบครบวงจร มุ่งเป็นหนึ่งในผู้นำด้านยานยนต์ไฟฟ้าในระดับสากล 
3.ด้านนวัตกรรมเพื่อโลกยุคใหม่ (AI and Robotics) มุ่งเน้นการเปลี่ยนผ่านสู่โลกดิจิทัล โดยเฉพาะการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีหุ่นยนต์ ระบบอัตโนมัติ และปัญญาประดิษฐ์ในภาคอุตสาหกรรม เพิ่มศักยภาพในการแข่งขันและขยายขีดความสามารถสู่สากล 
4.ด้านนวัตกรรมเพื่อคุณภาพชีวิตและสังคม (Life Science) สร้างความมั่นคงด้านสุขภาพให้กับประชาชน ผ่านการดำเนินธุรกิจ 3 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มธุรกิจยา กลุ่มธุรกิจเทคโนโลยีทางการแพทย์ และ กลุ่มธุรกิจอาหารเพื่อสุขภาพ 

อนึ่ง โครงการนวัตกรรมระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก หรือ โครงการวังจันทร์วัลเลย์ ตั้งอยู่ที่ ตำบลป่ายุบใน อำเภอวังจันทร์ จังหวัดระยอง บนพื้นที่ 3,454 ไร่ เกิดจากความร่วมมือระหว่าง บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) กับสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ที่จะพัฒนาพื้นที่โครงการฯ ให้มีระบบนิเวศนวัตกรรม (Innovation Ecosystem) ในระดับชั้นนำของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ พร้อมกับการเชื่อมโยงเศรษฐกิจ ชุมชน และสิ่งแวดล้อม เข้าด้วยกัน

26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2518 ในหลวงรัชกาลที่ 9 และสมเด็จพระพันปีหลวง เสด็จฯ พระราชทานปริญญาบัตร ม.รามคำแหงรุ่นแรก

วันนี้ เมื่อ 48 ปีก่อน ‘ในหลวงรัชกาลที่ 9’ และ ‘สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ฯ พระบรมราชินีนาถ’ เสด็จพระราชดำเนินประกอบพิธีเปิดพระบรมรูปพ่อขุนรามคำแหงมหาราช และพระราชทานปริญญาบัตรแก่บัณฑิตมหาวิทยาลัยรามคำแหงรุ่นแรก 

พิธีพระราชทานปริญญาบัตรครั้งแรกของมหาวิทยาลัยรามคำแหง เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2518 มหาวิทยาลัยรามคำแหงได้ดำเนินการขอพระราชทานกราบบังคมทูลเชิญ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ในหลวงรัชกาลที่ 9 และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เพื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ เสด็จประกอบพิธีพระราชทานปริญญาบัตร พร้อมพิธีเปิดพระบรมรูปพ่อขุนรามคำแหงมหาราชด้วย ซึ่งทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ กำหนดวันที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2518 เป็นวันเสด็จพระราชดำเนินในพิธี โดยใช้สถานที่จัดพิธีพระราชทานปริญญาบัตรครั้งแรก คือ บริเวณหน้าสำนักหอสมุดกลาง

หลังจากพิธีเปิดพระบรมรูปพ่อขุนรามคำแหง พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เสด็จโดยรถยนต์พระที่นั่งไปทางด้านหลังสำนักหอสมุดกลาง เสด็จขึ้นหอสมุดกลางทางประตูด้านหลัง เสด็จเข้าห้องรับรอง อธิการบดีมหาวิทยาลัยรามคำแหง ทูลเกล้าฯ ถวายครุยปริญญานิติศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์แด่ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และรองอธิการบดีทูลเกล้าฯ ถวายครุยปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ ทางสังคมวิทยา แด่สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง 

จากนั้น พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ทรงฉลองพระองค์ครุย แล้วทรงลงปรมาภิไธยและพระนามาภิไธยในสมุดเยี่ยมของมหาวิทยาลัย เมื่อถึงหมายกำหนดการพิธีพระราชทานปริญญาบัตร พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และเสด็จพระราชดำเนินเข้าเวทีที่ประทับ ทรงบูชาพระรัตนตรัย แล้วเสด็จประทับพระราชอาสน์ ที่หน้าสำนักหอสมุดกลาง

นายกสภามหาวิทยาลัย ได้ขอพระราชทานพระราชวโรกาสกราบบังคมทูลสดุดี พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง อธิการบดีเชิญปริญญาบัตรนิติศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ ขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรและรองอธิการบดีเชิญปริญญาบัตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ทางสังคมวิทยาขึ้นทูลเกล้าฯ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง

จากนั้น เป็นการเข้ารับพระราชทานปริญญาบัตรตามลำดับ ได้แก่ คณะนิติศาสตร์ คณะบริหารธุรกิจ คณะมนุษยศาสตร์ คณะศึกษาศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ คณะรัฐศาสตร์ และคณะเศรษฐศาสตร์ ประจำปีการศึกษา 2517 หลังจากที่พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร พระราชทานปริญญาบัตรแล้ว ได้พระราชทานพระบรมราโชวาทแก่บัณฑิต ความตอนหนึ่งว่า...

“มหาวิทยาลัยรามคำแหงนี้เป็นมหาวิทยาลัยในแบบที่ให้โอกาสแก่ ผู้ปรารถนาวิชาความรู้ ให้เข้ามาศึกษาค้นคว้าวิทยาการต่าง ๆ ได้อย่างกว้างขวาง และอย่างอิสระจึงอำนวยประโยชน์ได้มาก ในด้านสนับสนุนส่งเสริมบุคคลทั่วไป และโดยเฉพาะผู้ที่ทำงานแล้ว ให้ได้ฟื้นฟูเพิ่มพูนความสามารถของตนทางด้านวิชาการ เพื่อนำไปปรับปรุง การงานให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น และยกฐานะหน้าที่ให้สูงขึ้น มหาวิทยาลัยมีความมุ่งหมายสำคัญประการหนึ่งที่จะส่งเสริม ผู้ที่เข้ามาศึกษาดังนี้ผู้ที่สำเร็จการศึกษาแล้วทุกคนควรจะได้มองเห็น และควรที่จะได้น้อมนำมาเป็นคติในการดำเนินชีวิต และการงานต่อไป โดยทำความตั้งใจและความเพียรให้มั่นคง ในอันที่จะฝึกฝนและปรับปรุงตนเอง ในการทำงานให้มีคุณภาพและประสิทธิภาพ และสำคัญที่สุดควรจะได้พยายาม หาทางนำความคิดวิทยาการซึ่งอุตส่าห์ฝึกฝนศึกษามาได้ด้วยยากนั้นมาใช้ ให้เป็นประโยชน์แก่ส่วนรวมให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ เพื่อความ เจริญมั่นคงของชาติบ้านเมืองของเรา”


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top