Tuesday, 7 May 2024
พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว

วันนี้เมื่อ 198  ปีก่อน เป็นอีกวันสำคัญยิ่งสำหรับพสกนิกรชาวสยาม เพราะวันที่ 1 สิงหาคม 2367 คือวันที่ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระบรมราชาภิเษกเสด็จขึ้นครองราชย์ เป็นล้นเกล้ารัชกาลที่ 3 แห่งราชวงศ์จักรี

พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย หรือ ล้นเกล้ารัชกาลที่ 2 ประสูติแต่สมเด็จพระศรีสุลาไลย หรือ “เจ้าจอมมารดาเรียม” ต่อมาได้รับการเฉลิมพระอิสริยศักดิ์ขึ้นเป็น สมเด็จพระศรีสุลาลัย เป็นสมเด็จพระบรมราชชนนีพันปีหลวง

ล้นเกล้ารัชกาลที่ 3 เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันจันทร์ที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2330 ณ พระราชวังเดิม ตรงกับรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช

ในขณะที่พระองค์ประสูตินั้น สมเด็จพระราชชนกดำรงพระอิสริยยศที่สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทร พระองค์จึงมีสกุลยศชั้นหม่อมเจ้าพระนามว่า “หม่อมเจ้าชายทับ”

จนกระทั่ง สมเด็จพระบรมชนกนาถได้รับอุปราชาภิเษกขึ้นเป็นกรมพระราชวังบวรสถานมงคล ในปี พ.ศ. 2349 พระองค์จึงมีพระอิสริยยศเป็น “พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าชายทับ”

เมื่อสมเด็จพระราชชนกได้เสด็จขึ้นครองราชย์เป็นรัชกาลที่ 2 ใน พ.ศ. 2352 พระองค์จึงได้เลื่อนฐานันดรศักดิ์ขึ้นเป็นพระองค์เจ้าชั้นเอก ออกพระนามว่า “พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้าชายทับ”

จนกระทั่งปี พ.ศ. 2356 จึงได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ทรงกรม เป็นพระเจ้าลูกยาเธอ กรมหมื่นเจษฎาบดินทร์

แต่แล้ว ในปี พ.ศ. 2367 พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยเสด็จสวรรคต โดยที่ยังมิได้ตรัสมอบหมายการสืบราชสันตติวงศ์ บรรดาพระบรมวงศานุวงศ์และข้าราชการได้ประชุมปรึกษากันและมีสมานฉันท์เป็น “อเนกมหาชนนิกร สโมสรสมมุติ” ให้เชิญเสด็จ พระเจ้าลูกยาเธอ กรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ขึ้นครองสิริราชสมบัติเป็นพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ลำดับที่ 3 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ สืบต่อมา

โดย พระสุพรรณบัฏที่เฉลิมพระปรมาภิไธย ซึ่งทูลเกล้าฯ ถวายในวันทรงรับพระบรมราชาภิเษกเมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พุทธศักราช 2367 ก็ยังคงใช้พระปรมาภิไธยเช่นเดียวกับรัชการที่ 1 และที่ 2 โดยราษฎรทั่วไปไม่ออกพระนามพระมหากษัตริย์ แต่เรียกว่า “พระพุทธเจ้าอยู่หัว”

พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ประกอบพิธีพระบรมราชาภิเษกเสด็จขึ้นครองราชย์

วันนี้เมื่อ 199 ปีก่อน พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระบรมราชาภิเษกเสด็จขึ้นครองราชย์ เป็นล้นเกล้ารัชกาลที่ 3 แห่งราชวงศ์จักรี

พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย หรือ ล้นเกล้ารัชกาลที่ 2 ประสูติแต่สมเด็จพระศรีสุลาไลย หรือ ‘เจ้าจอมมารดาเรียม’ ต่อมาได้รับการเฉลิมพระอิสริยศักดิ์ขึ้นเป็น สมเด็จพระศรีสุลาลัย เป็นสมเด็จพระบรมราชชนนีพันปีหลวง

ล้นเกล้ารัชกาลที่ 3 เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันจันทร์ที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2330 ณ พระราชวังเดิม ตรงกับรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช

ในขณะที่พระองค์ประสูตินั้น สมเด็จพระราชชนกดำรงพระอิสริยยศที่สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทร พระองค์จึงมีสกุลยศชั้นหม่อมเจ้าพระนามว่า ‘หม่อมเจ้าชายทับ’

จนกระทั่ง สมเด็จพระบรมชนกนาถได้รับอุปราชาภิเษกขึ้นเป็นกรมพระราชวังบวรสถานมงคล ในปี พ.ศ. 2349 พระองค์จึงมีพระอิสริยยศเป็น ‘พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าชายทับ’

เมื่อสมเด็จพระราชชนกได้เสด็จขึ้นครองราชย์เป็นรัชกาลที่ 2 ใน พ.ศ. 2352 พระองค์จึงได้เลื่อนฐานันดรศักดิ์ขึ้นเป็นพระองค์เจ้าชั้นเอก ออกพระนามว่า ‘พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้าชายทับ’

จนนปี พ.ศ. 2356 ได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ทรงกรม เป็น ‘พระเจ้าลูกยาเธอ กรมหมื่นเจษฎาบดินทร์’

แต่แล้วในปี พ.ศ. 2367 พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยเสด็จสวรรคต โดยที่ยังมิได้ตรัสมอบหมายการสืบราชสันตติวงศ์ บรรดาพระบรมวงศานุวงศ์และข้าราชการได้ประชุมปรึกษากันและมีสมานฉันท์เป็น ‘อเนกมหาชนนิกร สโมสรสมมุติ’ ให้เชิญเสด็จ พระเจ้าลูกยาเธอ กรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ขึ้นครองสิริราชสมบัติเป็นพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ลำดับที่ 3 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ สืบต่อมา

โดย พระสุพรรณบัฎที่เฉลิมพระปรมาภิไธย ซึ่งทูลเกล้าฯ ถวายในวันทรงรับพระบรมราชาภิเษกเมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ.  2367 ก็ยังคงใช้พระปรมาภิไธยเช่นเดียวกับรัชกาลที่ 1 และที่ 2 โดยราษฎรทั่วไปไม่ออกพระนามพระมหากษัตริย์ แต่เรียกว่า ‘พระพุทธเจ้าอยู่หัว’

ต่อมาเมื่อ พ.ศ. 2394 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 จึงทรงทำพิธีจารึกพระสุพรรณบัฎถวายพระปรมภิไธยใหม่ว่า ‘พระบาทสมเด็จพระปรมาทิวรเสฎฐ มหาเจษฎาบดินทร์ สยามมินทรวโรดม บรมธรรมิกมหาราชาธิราช บรมนารถบพิตร พระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว’

ต่อมา พ.ศ. 2461 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ถวายพระนามใหม่เป็น ‘พระบาทสมเด็จพระรามาธิบดี ศรีสินทร มหาเจษฎาบดินทร์ พระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว’ พระปรมภิไธยอย่างย่อคือ ‘พระบาทสมเด็จพระปรมินทร มหาเจษฎาบดินทร์ พระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว’ อักษรพระปรมาภิไธยย่อ คือ ‘จปร.’ หมายถึง ‘พระบาทสมเด็จพระปรมินทร์ มหาเจษฎาบดินทร์ บรมราชาธิราช’

เมื่อ พ.ศ. 2538 มีพระราชาคณะจาก 15 วัด ได้มีลิขิตเสนอให้ถวายพระราชสมัญญาแด่พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ว่า ‘ธรรมิกมหาราช’ ซึ่งต่อมาคณะรัฐมนตรีได้มีมติให้ออกพระนามพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็น 3 แบบ คือ ‘พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว’ , ‘พระมหาเจษฎาราชเจ้า’ และ ‘พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว พระมหาเจษฎาราชเจ้า’

อันมีความหมายว่า ‘พระมหาราชเจ้าผู้มีพระทัยตั้งมั่นในการบำเพ็ญพระราชกิจ’

พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จสรรคต ณ พระที่นั่งจักรพรรดิพิมานองค์ตะวันออก เมื่อวันพุธที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2394 สิริรวมพระชนมพรรษา 63 พรรษา 2 วันเวลาที่ครองราชย์ 26 ปี 8 เดือน 12 วัน

ทรงมีพระราชโอรส 22 พระองค์ พระราชธิดา 29 พระองค์ รวม 51 พระองค์ จากเจ้าจอมมารดา 35 ท่านในจำนวนนี้ประสูติก่อนบรมราชาภิเษก 38 พระองค์ และเมื่อบรมราชาภิเษกแล้ว 13 พระองค์ มิได้ทรงสถาปนาเจ้าจอมท่านใดเป็นพระมเหสี พระราชโอรสพระราชธิดา จึงดำรงพระอิสริยฐานันดรศักดิ์เป็น ‘พระองค์เจ้า’ มีสายราชสกุลที่สืบเนื่องมา 13 มหาสาขา ได้แก่ ศิริวงศ์ โกเมน คเนจร งอนรถ ลดาวัลย์ ชุมสาย ปิยากร อุไรพงศ์ อรณพ ลำยอง สุบรรณ สิงหรา ชมพูนุท

พระราชดำรัสสุดท้ายเมื่อก่อนเสด็จสวรรคต ที่ทำให้คนไทยในยุคสืบต่อมาสมควรต้องระลึกถึงไตร่ตรองเสมอเกี่ยวกับบ้านเมือง แม้เวลาจะล่วงแล้ว 153 ปีก็คือ 

“การศึกสงครามข้างญวน ข้างพม่า ก็เห็นจะไม่มีแล้วจะมีอยู่แต่ข้างพวกฝรั่ง ให้ระวังให้ดี อย่าให้เสียทีแก่เขาได้การงานสิ่งใดของเขาที่คิดไว้ ควรจะเรียนเอาไว้ก็เอาอย่างเขาแต่อย่าให้นับถือเลื่อมใสไปทีเดียว”

31 มีนาคม พ.ศ. 2330 น้อมรำลึกวันคล้ายวันพระราชสมภพ ‘พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว’ พระบิดาแห่ง 'การค้า-การพาณิชย์นาวีไทย-การแพทย์แผนไทย' แห่งสยาม

พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นพระมหากษัตริย์องค์ที่ 3 แห่งมหาจักรีบรมราชวงศ์ และเป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย และเจ้าจอมมารดาเรียม พระองค์ทรงพระราชสมภพเมื่อวันจันทร์ที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2330 ณ พระราชวังเดิม กรุงธนบุรี และทรงเป็นพระราชโอรสพระองค์ใหญ่ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2 ครั้งดำรงพระยศเป็น สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทร กับเจ้าจอมมารดาเรียม (ธิดาพระยานนทบุรีศรีมหาอุทยาน)

เมื่อสมเด็จพระบรมชนกนาถได้รับอุปราชาภิเษกขึ้นเป็น กรมพระราชวังบวรสถานมงคล ในปี พ.ศ. 2349 พระองค์จึงมีพระอิสริยยศเป็น พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าชายทับ ครั้นสมเด็จพระบรมชนกนาถ ได้เสด็จขึ้นครองราชย์เป็นพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2 ในปี พ.ศ. 2352 พระองค์ ได้เลื่อนฐานันดรศักดิ์ขึ้นเป็นพระองค์เจ้าชั้นเอก ออกพระนามว่า พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้าชายทับ จนปี พ.ศ. 2356 ได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ทรงกรม เป็น พระเจ้าลูกยาเธอ กรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ โดยทรงได้รับการไว้วางพระราชหฤทัยจากสมเด็จพระบรมชนกนาถ ให้ทรงกำกับราชการกรมท่า กรมพระคลังมหาสมบัติ กรม พระตำรวจว่าความฎีกา นอกจากนี้ยังโปรดเกล้าฯ ให้รับราชการต่างพระเนตรพระกรรณด้วย กรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ทรงกำกับราชการกรมท่า ได้ทรงแต่งสำเภาบรรทุกสินค้าออกไปค้าขายในต่างประเทศมีรายได้เพิ่มขึ้นในท้องพระคลังเป็นอันมาก สมเด็จพระบรมชนกนาถทรงเรียกพระองค์ว่า ’เจ้าสัว‘

พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้า อยู่หัวเสด็จสวรรคต เมื่อวันที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2394 รวม พระชนมพรรษาได้ 64 พรรษา ดำรงอยู่ในราชสมบัติ 27 ปี ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ได้เฉลิมพระปรมาภิไธยรัชกาลที่ 3 ใหม่ เป็น ‘พระบาทสมเด็จพระปรมาธิวรเสรฐ มหาเจษฎาบดินทร สยามินทรวิโรดม บรมธรรมิกมหาราชาธิราช บรมนารถบพิตร พระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว’ ออกพระนามโดยย่อว่า ‘พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว’ ต่อมาในวันที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2459 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 มีพระบรมราชโองการให้เฉลิมพระปรมาภิไธยอย่างสังเขปว่า ‘พระบาทสมเด็จพระรามาธิบดีศรีสินทรมหาเจษฎาธิบดินทร์ พระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว’ หรือ ‘พระบาทสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 3’

ตลอดระยะเวลาที่รัชกาลที่ 3 ทรงครองราชสมบัติ ประมาณ 27 ปี ตั้งแต่ปี 2367-2394 พระองค์ทรงปกครองประเทศโดยทำนุบำรุงให้ชาติเข้มแข็งรุ่งเรือง โดยทรงมีส่วนร่วมกับขุนนางในการบริหารราชการ และทรงควบคุมกิจการบ้านเมืองด้วยพระองค์เองมาตลอดรัชสมัยของพระองค์ และทรงเพิ่มพูนรายได้ของประเทศชาติอย่างหลากหลายวิธี อาทิ การเปลี่ยนแปลงและปรับปรุงการเก็บภาษีอากรจากรูปของสินค้าและแรงงานเป็นการชำระด้วยเงินตรา รวมถึงมีการเก็บภาษีตั้งขึ้นใหม่ถึง 38 อย่าง เพื่อมิให้บังเกิดความขาดแคลนเหมือนเมื่อครั้งรัชกาลก่อน อีกทั้งยังได้เพิ่มงบประมาณการป้องกันประเทศ สร้างกองทัพเรือ ขุดคูคลอง สร้างป้อมปราการเพื่อรักษาปากน้ำจุดสำคัญ ๆ 

หรือจะเป็นด้านการค้ากับต่างประเทศ พระองค์ทรงสนับสนุนส่งเสริมการค้าขายกับต่างประเทศ ทั้งกับชาวเอเชียและชาวยุโรป โดยเฉพาะอย่างยิ่งการค้ากับจีนมาตั้งแต่เมื่อครั้งพระองค์ทรงดำรงพระอิสสริยศเป็นกรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ ส่งผลให้พระคลังสินค้ามีรายได้เพิ่มมากขึ้น นอกจากนี้ มีการแต่งสำเภาทั้งของราชการ เจ้านาย ขุนนางชั้นผู้ใหญ่ และพ่อค้าชาวจีนไปค้าขายยังเมืองจีนและประเทศใกล้เคียง รวมถึงการเปิดค้าขายกับมหาอำนาจตะวันตกจนมีการลงนามในสนธิสัญญาระหว่างกันคือ สนธิสัญญาเบอร์นี พ.ศ. 2369 และ 6 ปีต่อมาก็ได้เปิดสัมพันธไมตรีกับสหรัฐอเมริกาและมีการทำสนธิสัญญาต่อกันใน พ.ศ. 2375 นับเป็นสนธิสัญญาฉบับแรกที่สหรัฐอเมริกาทำกับประเทศทางตะวันออก ส่งผลให้ไทยได้ผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจอย่างมาก และในขณะเดียวกันก็ทำนุบำรุงประเทศพร้อมกันไปด้วย

พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงได้รับการถวายพระราชสมัญญาต่าง ๆ เช่น ในปี พ.ศ. 2541 พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ได้ถวายพระราชสมัญญาว่า พระมหาเจษฎาราชเจ้า และได้ใช้เป็นสร้อยพระนามสืบมาจนปัจจุบัน ต่อมา พ.ศ. 2551 คณะรัฐมนตรีมีมติถวายพระราชสมัญญาว่า พระบิดาแห่งการค้าไทย พระบิดาแห่งการพาณิชย์นาวีไทย และในปี พ.ศ. 2558 ถวายพระราชสมัญญาว่า พระบิดาแห่งการแพทย์แผนไทย

ซึ่งคณะรัฐมนตรีมีมติให้วันที่ 31 มีนาคมของทุกปีเป็น วันที่ระลึกพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว พระมหาเจษฎาราชเจ้า หรือ วันมหาเจษฎาบดินทร์ เป็นวันสำคัญของชาติ แต่ไม่ถือเป็นวันหยุดราชการ และเห็นชอบให้ให้ถวายพระราชสมัญญาว่า ‘พระมหาเจษฎาราชเจ้า’ แปลว่า ‘พระเจ้าแผ่นดินผู้เป็นใหญ่’


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top