Tuesday, 14 May 2024
ผ้าไทย

วธ. เผยยอดสั่งซื้อผ้าไทย งาน “ภูษาศิลป์ จากท้องถิ่นสู่สากล” ทะลุเป้า 463 ล้านบาท

ผู้ประกอบการพอใจการจัดงานเตรียมเดินหน้าลุยงานจับคู่เจรจา Business Matching ในทุกงานแสดงสินค้าผลิตภัณฑ์วัฒนธรรมไทย (CPOT) 

กระทรวงวัฒนธรรม ปลื้มงาน “ภูษาศิลป์ จากท้องถิ่นสู่สากล” สร้างมูลค่าเจรจาการค้าในงานพุ่งทะลุ 463 ล้านบาท เกินจากเป้าหมายที่ตั้งไว้ 200 ล้านบาท พร้อมเผยผู้ประกอบการและผู้ชมงานต่างชื่นชมจัดงาน ทั้งการจัดโซนคูหาแสดงสินค้า การนำเสนอนวัตกรรมผ้าไทย รวมถึงการผลักดันการเจรจาธุรกิจกับผู้ประกอบการทั้งในและต่างประเทศ

นายอิทธิพล คุณปลื้ม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) เปิดเผยว่า การจัดงานเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 90 พรรษา 12 สิงหาคม 2565 “ภูษาศิลป์ จากท้องถิ่นสู่สากล” ซึ่งเป็นงานแสดงและจัดจำหน่ายสุดยอดผ้าไทยครั้งยิ่งใหญ่แห่งปี โดยในปีนี้มีความพิเศษเป็นครั้งแรกที่ได้จัดให้มีกิจกรรมการจัดงานที่มีการค้าและการเจรจาธุรกิจ ในรูปแบบ B2B (Buiness to Business) ภายในงาน เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการหัตถอุตสาหกรรมผ้าไทยได้ใช้เป็นเวทีทางการค้า ขยายช่องทางการตลาด โดยกลุ่มผู้ประกอบการหลักที่ให้ความสนใจเข้าร่วมงานครั้งนี้แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มผู้ประกอบการในประเทศ อาทิ กลุ่มอุตสาหกรรมหัตถกรรมสร้างสรรค์ สภาอุตสาหกรรม สมาคมสตรีเพื่อสตรี สโมสรซอนต้ากรุงเทพ ห้องเสื้อผ้าไทย ร้านค้าปลีกผ้าไทยชั้นนำ และกลุ่มนักออกแบบ เป็นต้น” 

สำหรับกลุ่มผู้ประกอบการต่างประเทศ กระทรวงวัฒนธรรม ร่วมกับสมาคมการค้าส่งเสริมหัตถกรรมไทย (THTA) และสมาคมส่งเสริมและพัฒนาหัตถกรรมอาเซียน (AHPADA) จัดกิจกรรม “Thai Traditional Textiles Hybrid Presentation” เมื่อวันที่ 12 สิงหาคม 2565 ที่ผ่านมานั้น ซึ่งเป็นกิจกรรมการเจรจาธุรกิจกับกลุ่มเป้าหมายในต่างประเทศในรูปแบบออนไลน์ โดยมีองค์กรและผู้ทรงอิทธิพลในแวดวงการหัตถรรมโลกเข้าร่วมกิจกรรมดังกล่าวมากมาย อาทิ ผู้แทนจากสภาหัตถกรรมโลกภาคพื้นเอเชีย-แปซิฟิค (World Craft Council Asia Pacific Region), กรรมการบริหารจากสภาหัตถกรรมกรุงเดลี ประเทศอินเดีย Delhi Crafts Council, ประธานจาก Craft Revival Trust รวมถึงกลุ่มผู้ประกอบการธุรกิจและกลุ่มนักออกแบบจากประเทศต่างๆ อาทิ ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ มาเลเซีย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ เป็นต้น” 

“ในภาพรวมของการเจรจาการค้าประสบความสำเร็จเกินความคาดหมาย เกิดการเจรจาการค้า 347 คู่ มีเงินสะพัดจากคาดการณ์ซื้อขายภายใน 1 ปีกว่า 463 ล้านบาท ในมูลค่านี้มียอดซื้อขายทันทีภายในกว่า 9 ล้านบาท จากกลุ่มผู้ซื้อที่เป็นทั้งนักธุรกิจไทยและต่างประเทศ โดยมีสินค้าที่ได้รับความสนใจ ได้แก่ ผ้าผืน เสื้อผ้าสำเร็จรูป กระเป๋า รองเท้า และเครื่องประดับ เป็นต้น นอกจากนี้ในคู่เจรจาได้มีการเซ็นสัญญาออเดอร์สินค้าภายในงาน รวมถึงได้มีการนัดหมายเพื่อตรวจดูแหล่งผลิตสินค้าอีกด้วย” 

นราธิวาส จัดพิธีมอบลายผ้าพระราชทาน “ผ้าลายดอกรักราชกัญญา”

นายสนั่น พงษ์อักษร ผู้ว่าราชการจังหวัดนราธิวาส พร้อมด้วย นางสิริวิมล พงษ์อักษร ประธานแม่บ้านมหาดไทย จังหวัดนราธิวาส เป็นประธานพิธีมอบลายผ้าพระราชทาน “ผ้าลายดอกรักราชกัญญา” แก่หัวหน้าส่วนราชการ นายอำเภอ กลุ่มผู้ประกอบการประเภทผ้าทอ ผ้าบาติก ผ้าปาเต๊ะ และผู้ประกอบการประเภทหัตกรรมจำนวน 58 ชุด ณ หอประชุม 100 ปี ตำบลลำภู อำเภอเมือง จังหวัดนราธิวาส

โอกาสนี้ ประธานในพิธีได้เปิดกรวยถวายเครื่องราชสักการะหน้าพระรูป สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา และกล่าวสำนึกในพระมหากรุณาสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา ที่ได้ทรงอุทิศพระองค์ปฏิบัติบำเพ็ญพระกรณียกิจนานัปการ เพื่ออำนวยประโยชน์สุขแก่อาณาประชาราษฎร์ ทรงมุ่งมั่นที่จะสืบสานพระราชปณิธานของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ในการอนุรักษ์ พื้นฟู ศิลปวัฒนธรรม ภูมิปัญญาหัตถกรรมไทย ให้ดำรงอยู่ยั่งยืนตลอดไป ด้วยพระอัจฉริยภาพ พระองค์ทรงต่อยอดผสมผสานมุมมองด้านแฟชั่นที่ร่วมสมัย แต่ยังคงไว้ซึ่งการสืบสานอัตลักษณ์ เรื่องราวประจำภูมิภาคเป็นคุณูปการอย่างยิ่งแก่ปวงชนคนไทย อีกทั้งยังเป็นการยกระดับผ้าไทยให้มีความร่วมสมัย สามารถก้าวสู่ระดับสากล เพื่อวิถีชุมชนที่ยั่งยืนเปรียบดังแสงสว่างแห่งวิถีความงดงามของอัตลักษณ์ไทย ส่งผ่านไปสู่ประชาชน นำทางให้เกิดการสร้างงานสร้างรายได้ และสร้างความเข้มแข็งให้แก่ชุมชนเศรษฐกิจฐานราก อันเป็นพลังที่จะสืบสานความเป็นไทยให้คงอยู่สืบไป

จากนั้น นายสนั่น พงษ์อักษร ผู้ว่าราชการจังหวัดนราธิวาส ได้เชิญลายผ้าพระราชทาน “ผ้าลายดอกรักราชกัญญา” มอบให้กลุ่มเป้าหมาย จำนวน 58 ราย ประกอบด้วยหัวหน้าส่วนราชการระดับจังหวัด จำนวน 3 หน่วยงาน นายอำเภอ จำนวน 13 อำเภอกลุ่มผู้ประกอบการประเภทผ้าทอ ผ้าบาติก ผ้าปาเต๊ะ และผู้ประกอบการประเภทหัตกรรม จำนวน 42 กลุ่ม

‘แพนเค้ก เขมนิจ’ หยิบผ้าไทยมาสวม อวดเอกลักษณ์ชาติ สวยโดดเด่น เป๊ะหัวจรดเท้า เผย ภูมิใจทุกครั้งที่ใส่ผ้าไทย

(13 ส.ค. 66) ด้วยรูปร่างแสนเพอร์เฟกต์… ความสูง 175 ซม. ไม่แปลกใจที่นางเอกสาว ‘แพนเค้ก เขมนิจ จามิกรณ์’ จะชนะคว้ารางวัล ‘Thai Supermodel 2004’ จนได้มีโอกาสเฉิดฉายโลดแล่นในวงการนานเป็น 10 ปี

นอกจากงานแสดงแล้ว ยังมีงานพิธีกร เดินแบบบรันเวย์ทั้งในไทย และต่างประเทศตลอด และล่าสุด สาวแพนเค้กก็ได้ใส่ชุดสวยๆ ที่ถักทอจากผ้าไทย พร้อมบอกเล่าความภูมิใจว่า…

“ใส่ผ้าไทยให้สนุก ใส่ผ้าไทยให้มีความสุข

เป็นเกียรติอย่างยิ่งที่ได้มาแชร์ สิ่งที่รัก เกี่ยวกับผ้าไทยค่ะ และ แม่ก็คือต้นแบบในการแต่งตัวของแพนมาตั้งแต่เด็กๆ ค่ะ และวันนี้ได้มาที่นี่ @sacit_official มีทุกอย่างของแรงบันดาลใจ และ ร้านมากมายที่ตอบโจทย์ให้เราสวมใส่ผ้าไทยได้อย่างสนุกค่ะ #แพนแพนผ้าไทย”

‘กรมพัฒน์ฯ’ ปลื้ม!! งาน SMART Local ของดีพื้นถิ่น ดันซอฟต์พาวเวอร์ผ้าไทยขายได้กว่า 10 ล้านบาท

กรมพัฒนาธุรกิจการค้าโชว์ผลจัดกิจกรรม SMART Local ของเด่นพื้นที่ ของดีพื้นถิ่น ในงาน OTOP ศิลปาชีพ ประทีปไทย OTOP ก้าวไกลด้วยพระบารมี ประสบความสำเร็จ สามารถดัน Soft Power ผ้าไทย เข้าถึงกลุ่มผู้บริโภคยุคใหม่ ทั้งไทยและต่างชาติ สร้างยอดขายกว่า 10 ล้านบาท

(11 ก.ย.66) นายทศพล ทังสุบุตร อธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เปิดเผยถึงผลการดำเนินกิจกรรมส่งเสริมตลาดผลิตภัณฑ์ชุมชน ภายใต้แนวคิด ‘SMART Local ของเด่นพื้นที่ ของดีพื้นถิ่น’ ว่า กรมได้จัดกิจกรรมส่งเสริมการตลาดผลิตภัณฑ์ชุมชน SMART Local ในงาน OTOP ศิลปาชีพ ประทีปไทย OTOP ก้าวไกลด้วยพระบารมี เมื่อเดือนส.ค.2566 ที่ผ่านมา ณ อาคารชาเลนเจอร์ 2 อิมแพ็ค เมืองทองธานี โดยจัด 2 กิจกรรมย่อย ได้แก่…

1. SMART Local Events จัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ชุมชน SMART Local ในความส่งเสริมของกระทรวงพาณิชย์ กลุ่มผ้าและเครื่องแต่งกาย และกลุ่มสมุนไพร รวมจำนวน 30 ราย เพื่อส่งเสริมตลาดและสร้างโอกาสทางการค้าแก่ผลิตภัณฑ์ชุมชนให้เข้าถึงตลาดกลุ่มผู้บริโภคยุคใหม่เพิ่มขึ้น

2. SMART Local Display โดยจัดแสดงผลงานผลิตภัณฑ์ชุมชน SMART Local กลุ่มผ้าและเครื่องแต่งกาย ที่ผ่านการพัฒนาจากกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เพื่อสร้าง Soft Power ภาพลักษณ์ผลิตภัณฑ์ผ้าไทยมิติใหม่ จากภูมิปัญญาสมัยใหม่ ที่มีเอกลักษณ์โดดเด่น อย่างมีสไตล์ สามารถสวมใส่ได้ทุกเพศทุกวัย ทุกโอกาส

“การจัดกิจกรรมในครั้งนี้ ประสบความสำเร็จเป็นอย่างมาก โดยสามารถผลักดัน Soft Power ผ้าไทย ภาพลักษณ์มุมมองใหม่ ที่มีความทันสมัย แต่ยังคงไว้ซึ่งความเป็นเอกลักษณ์ภูมิปัญญาท้องถิ่นที่มีคุณค่า ให้เข้าถึงกลุ่มผู้บริโภคยุคใหม่ทุกเพศ ทุกวัย ทุกระดับ หวังปลุกกระแสนิยมแฟชันผ้าไทยในกลุ่มผู้บริโภคทั้งชาวไทยและต่างชาติให้หันมาเลือกสวมใส่ผ้าไทยเพิ่มขึ้น และสามารถสร้างมูลค่าการค้ากว่า 10 ล้านบาท ซึ่งได้มีส่วนช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานรากได้เพิ่มขึ้น” นายทศพล กล่าว 

ในปี 2566 กรมได้ดำเนินกิจกรรมส่งเสริมตลาดผลิตภัณฑ์ชุมชนอย่างต่อเนื่องตลอดทั้งปี ภายใต้แนวคิด ‘SMART Local ของเด่นพื้นที่ ของดีพื้นถิ่น’ เน้นชูอัตลักษณ์และภูมิปัญญาท้องถิ่นผสมผสานนวัตกรรมเชิงสร้างสรรค์ที่มีความเป็นเอกลักษณ์ในแต่ท้องถิ่นที่แตกต่างมาสร้างจุดขาย ควบคู่กับการพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการชุมชนในด้านต่างๆ ทั้งด้านการตลาด ในการวิเคราะห์ตลาด เลือกตลาดให้เหมาะสมกับผลิตภัณฑ์ และเทคนิคการนำเสนอผลิตภัณฑ์ ทั้งในรูปแบบการจัดแสดง และการจัดทำสื่อประชาสัมพันธ์ต่างๆ เพื่อเตรียมความพร้อมให้แก่ผู้ประกอบการชุมชนในการรับมือกับสถานการณ์ตลาดที่มีการแข่งขันสูงและเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วตลอดเวลาได้อย่างมีศักยภาพ

โดยมีเป้าหมายสำคัญ เพื่อยกระดับสร้างมูลค่าเพิ่ม สร้างโอกาสทางการค้า สร้างช่องทางตลาดใหม่ สร้างการรับรู้ภาพลักษณ์ที่ดีให้แก่สินค้าชุมชน สู่การเป็นธุรกิจชุมชนยุคใหม่ที่มีความเข้มแข็ง และพึ่งพาตนเองได้


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top