Friday, 3 May 2024
ผู้สูงวัย

“นายกฯ” ห่วง “ผู้สูงวัย-ป่วยติดเตียง" เสี่ยงป่วยโควิด-19 แนะ ฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้นเพื่อป้องกัน

นายธนกร วังบุญคงชนะ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรมว.กลาโหมเป็นห่วงครอบครัวที่มีคนอยู่ร่วมกันหลายวัย ผู้สูงอายุ ผู้ป่วยติดเตียง ขอให้เพิ่มความระวังสูงสุด แยกส่วนที่ใช้พื้นที่ร่วมกัน ลดการติดเชื้อในครอบครัว หากมีบุคคลที่มีความเสี่ยง สูงอายุ ติดเตียง อาจป่วยและเสียชีวิตได้  และแสดงความเสียใจกับครอบครัวและญาติผู้เสียชีวิต ซึ่งเป็นหญิงไทย อายุ 86 ปี เป็นผู้ป่วยติดเตียงและอัลไซเมอร์ ที่เสียชีวิตจากโควิด-19 สายพันธุ์โอมิครอน รายแรกของจ.สงขลา ยืนยันว่าวัคซีนทุกสูตรพบมีประสิทธิผลป้องกันการป่วยหนักและเสียชีวิตจากแต่ละสายพันธุ์สูง แต่เนื่องจากประสิทธิผลของวัคซีนในส่วนการป้องกันการติดเชื้อมีสูง จะลดลงเมื่อเวลาผ่านไป  

นายธนกร กล่าวว่า สำหรับจำนวนผู้ติดเชื้อรายใหม่วันที่ 17 ม.ค.รวม 6,929 ราย จำแนกเป็น
ผู้ป่วยจากในประเทศ 6,720 ราย มาจากต่างประเทศ 209 ราย ผู้ป่วยสะสม 107,979 ราย
หายป่วยกลับบ้าน 5,255 ราย
หายป่วยสะสม 58,772 ราย 
ผู้ป่วยกำลังรักษา 82,210 ราย
เสียชีวิต 13 ราย

รุ่นใหญ่ยิ้มออก สาวใหญ่ใจดี ตัดผมฟรีสำหรับผู้ใหญ่อายุ 70 ปี ขึ้นไป เผย “เคยได้รับโอกาส ขอตอบแทนให้กับชาวบ้านสูงวัย”

ที่ร้านตัดผมชาย-หญิง ในพื้นที่ซอย 6 ต.เมืองการุ้ง อ.บ้านไร่ จ.อุทัยธานี ของนางพันธนันท์ จุทส อายุ 52 ปี ได้เปิดตัดฟรีให้กับผู้ที่มีอายุ 70 ปีขึ้น ส่วนคนคนทั่วไปผู้ใหญ่หัวละ 60 บาท เด็กเล็ก 20-40 บาท 

โดยนางพันธนันท์ เจ้าของร้านเปิดเผยถึงเหตุผลที่ตัดผมให้กับผู้ที่อายุ 70 ปีขึ้นไปฟรีทุกคนว่า ก่อนที่ตนจะได้เป็นช่างตัดผมก็ต้องอดทนมามาก โดยได้รับโอกาสจากคนที่สอนเรามากว่าจะได้มีวันนี้ไม่ใช้เรื่องง่าย จึงอยากจะขอตอบแทนให้กับชาวบ้านผู้สูงวัยบ้าง เนื่องจากคนที่มีอายุมากก็ไม่ค่อยจะมีงานทำ รายได้ก็ไม่ค่อยมี ถ้าเทียบกับคนบ้านๆ ตามชนบท พร้อมอยากเห็นรอยยิ้มที่มีความสุขของผู้สูงวัยมากกว่า ที่ไม่ต้องเครียดกับเรื่องค่าใช้จ่ายในการตัดผม ซึ่งเราอาจจะช่วยเขาเรื่องอื่นไม่ได้ แต่เราช่วยตัดผมให้กับเขาได้โดยไม่คิดค่าใช้จ่ายเลยสักบาท

‘ส.ส.กาย’ มั่นใจ!! ‘ก้าวไกล’ คว้าอันดับ 1 ส.ส.กทม. ชู นโยบายเพิ่มเบี้ยผู้สูงวัย ช่วยลดภาระลูกหลาน

(19 มี.ค. 66) นายณัฐชา บุญไชยอินสวัสดิ์ ส.ส.กรุงเทพฯ พรรคก้าวไกล ลุยพื้นที่รณรงค์หาเสียงต่อเนื่องหลัง กกต.แบ่งเขตใหม่ โดย นายณัฐชาระบุว่า พื้นที่ของตนในการเลือกตั้งครั้งนี้ คือบางขุนเทียน-บางบอน บางขุนเทียน เฉพาะแขวงแสมดำและ เขตบางบอน เฉพาะแขวงบางบอนใต้ แขวงคลองบางบอน แม้จะมีพื้นที่ใหม่ก็ไม่หวาดหวั่นแต่อย่างใดเพราะ ผลงานของตนและพรรคก้าวไกล ทั้งในสภาและพื้นที่เป็นที่ประจักษ์ดีว่า พวกเราเป็นตัวแทนที่พิทักษ์ผลประโยชน์ของพี่น้องประชาชนจริง ๆ

นอกจากนี้ ได้มีการพูดคุยเพื่อนำเสนอนโยบายของพรรคก้าวไกล ไม่ว่าจะเป็นเงินบำนาญผู้สูงอายุ เพราะวันนี้ประเทศไทยเป็นสังคมผู้สูงอายุมีประชากรเกิดใหม่น้อยขึ้นลง ขณะที่ผู้สูงอายุมีแต่จะเพิ่มจำนวนขึ้น แต่ปล่อยให้คนวัยทำงานแก่ตัวไปแบบไม่มีเงินเก็บ ไม่มีความมั่นคงในชีวิต กลายเป็นว่ายิ่งแก่ยิ่งจน ยิ่งแก่ยิ่งต้องดิ้นรนปากกัดตีนถีบทำงานชั่วชีวิต 

‘จุรินทร์’ หนุนเงินกู้ประกอบอาชีพผู้สูงวัยกว่า 165 ล้านบาท พร้อมชูเกียรติ ‘ประยงค์ รณรงค์’ เป็นผู้สูงอายุแห่งชาติ ปี 66

จุรินทร์ นั่งหัวโต๊ะ คกก. ผู้สูงอายุแห่งชาติ หนุนเงินกู้ประกอบอาชีพผู้สูงอายุ 5,500 ราย 165 ล้านบาท  
.
(20 มี.ค.66) น.ส.รัชดา ธนาดิเรก รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า วันที่ 20 มี.ค.66 ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีผู้สูงอายุแห่งชาติ ซึ่งมีนายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เป็นประธานการประชุมผ่านระบบ Zoom เพื่อขับเคลื่อนนโยบายการดำเนินงานด้านผู้สูงอายุ 

โดยที่ประชุม เห็นชอบให้ดำเนินการจัดงานสมัชชาผู้สูงอายุระดับชาติรองรับสังคมสูงวัย ปี 2566 ในวันที่ 4 เมษายน 2566 ที่ โรงแรม ทีเค ถ.แจ้งวัฒนะ กรุงเทพมหานคร รวมถึงสนับสนุนการกู้ยืมเงินทุนประกอบอาชีพของผู้สูงอายุ จำนวน 5,500 ราย เป็นเงิน 165,000,000 บาท และโครงการที่ขอรับการสนับสนุนในการดำเนินโครงการ-กิจกรรม ด้านผู้สูงอายุ จำนวน 200 โครงการ เป็นเงิน 20,000,000 บาท  มากไปกว่านั้น ที่ประชุมยังได้พิจารณาให้ความเห็นชอบการประกาศสดุดีเกียรติคุณยกย่องผู้สูงอายุแห่งชาติ ประจำปีพุทธศักราช 2566 ให้นายประยงค์ รณรงค์  อายุ 79 ปี ปราชญ์ด้านการเกษตรจาก จังหวัดนครศรีธรรมมราช เป็นผู้สูงอายุแห่งชาติ ประจำปี 2566

‘BOI’ ชี้!! ลงทุนสุขภาพ ปี 67 เติบโตก้าวกระโดด รับ ‘เทรนด์สูงวัย-โรคอุบัติใหม่-ท่องเที่ยวการแพทย์’

(21 ม.ค. 67) นายนฤตม์ เทอดสถีรศักดิ์ เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) เปิดเผยว่า การลงทุนในอุตสาหกรรมการแพทย์และสุขภาพในปีนี้ยังมีแนวโน้มเติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยมีปัจจัยสนับสนุนหลายด้าน อาทิ กระแสการดูแลสุขภาพ การเข้าสู่สังคมสูงวัย อัตราการเจ็บป่วยที่มีแนวโน้มสูงขึ้นและเป็นโรคที่ซับซ้อนมากขึ้น การเกิดโรคติดเชื้ออุบัติใหม่ รวมทั้งการขยายตัวของตลาดท่องเที่ยวเชิงสุขภาพและการแพทย์

โดยในช่วงที่ผ่านมามีกลุ่มการลงทุนจากต่างประเทศ (FDI) ส่วนใหญ่สนใจเข้ามาในกิจการผลิตเครื่องมือแพทย์และอาหารทางการแพทย์ ซึ่งเป็นผู้ผลิตรายใหญ่จากประเทศต่างๆ เช่น ญี่ปุ่น จีน สหรัฐและยุโรป

ทั้งนี้ อุตสาหกรรมการแพทย์และสุขภาพ เป็นสาขาที่ประเทศไทยมีศักยภาพสูงในการเป็นผู้นำของภูมิภาค ด้วยจุดแข็งในด้านคุณภาพการรักษาพยาบาลเป็นที่ยอมรับในระดับโลก ความพร้อมของโรงพยาบาลที่ผ่านการรับรองมาตรฐาน JCI กว่า 60 แห่ง มากเป็นอันดับ 4 ของโลก อันดับ 1 ของอาเซียน รวมทั้งมีค่ารักษาพยาบาลที่แข่งขันได้

ดังนั้น อุตสาหกรรมการแพทย์และสุขภาพจึงเป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมเป้าหมายที่บีโอไอให้ความสำคัญ โดยมีแพ็กเกจให้สิทธิประโยชน์เพื่อส่งเสริมการลงทุนแบบครบวงจร ทั้งด้านการผลิตและการให้บริการ ทั้งในรูปแบบสิทธิประโยชน์ทางภาษี เช่น ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล 3-8 ปี ยกเว้นอากรขาเข้าเครื่องจักร ยกเว้นอากรขาเข้าวัตถุดิบสำหรับการผลิตเพื่อส่งออก ยกเว้นอากรขาเข้าสำหรับของที่นำมาใช้ในการวิจัยและพัฒนา

รวมทั้งสิทธิประโยชน์ที่ไม่ใช่ภาษี ซึ่งจะใช้อำนวยความสะดวกแก่ผู้ลงทุน เช่น สิทธิในการถือครองที่ดินเพื่อประกอบกิจการ การอำนวยความสะดวกด้านวีซ่าและใบอนุญาตทำงาน เป็นต้น

โดยสิทธิประโยชน์จะครอบคลุมกิจการ ตั้งแต่การผลิตเครื่องมือแพทย์ เวชภัณฑ์ ผลิตภัณฑ์ยา อาหารทางการแพทย์ และผลิตภัณฑ์สมุนไพร รวมถึงการให้บริการทางการแพทย์ เช่น โรงพยาบาล ศูนย์การแพทย์เฉพาะทาง ศูนย์การแพทย์แผนไทยหรือแผนไทยประยุกต์ ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุหรือผู้มีภาวะพึ่งพิง ศูนย์ฟื้นฟูสุขภาพ ตลอดจนการวิจัยทางคลินิก (Clinical Research) และการพัฒนาซอฟต์แวร์หรือแอปพลิเคชันทางการแพทย์

โดยในปี 2566 มีโครงการที่ยื่นขอรับการส่งเสริมในอุตสาหกรรมการแพทย์และสุขภาพ จำนวน 65 โครงการ มูลค่าเงินลงทุนกว่า 16,000 ล้านบาท ในแง่เงินลงทุน ส่วนใหญ่อยู่ในกิจการโรงพยาบาล 10 โครงการ เงินลงทุน 9,000 ล้านบาท รองลงมาเป็นกิจการผลิตเครื่องมือแพทย์และชิ้นส่วน 24 โครงการ 2,700 ล้านบาท กิจการศูนย์การแพทย์เฉพาะทางต่างๆ เช่น โรคไต โรคมะเร็ง และจิตเวช 9 โครงการ 1,600 ล้านบาท และกิจการผลิตยา 12 โครงการ 1,000 ล้านบาท

ขณะเดียวกัน บีโอไอได้มีการประชุมหารือกับบุคลากรในวิชาชีพอย่างสม่ำเสมอ ให้มีการปรับปรุงนโยบายและมาตรการส่งเสริมการลงทุนให้สอดรับกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งในอนาคตอาจมีการพิจารณาเพิ่มประเภทกิจการใหม่ที่เกี่ยวข้องเพื่อพัฒนาให้เกิดการต่อยอดในอุตสาหกรรมการแพทย์ และหากเป็นกิจการเฉพาะ (นิช มาร์เก็ต) ที่ประเทศไทยมีศักยภาพ จะช่วยสนับสนุนการสร้าง Ecosystem ที่จำเป็นต่อการเป็น Medical Hub ของประเทศไทย เช่น กิจการบริการเดลิเวอรี่ทางการแพทย์ การผลิตไบโอพอลิเมอร์สำหรับการแพทย์ เป็นต้น


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top