Monday, 13 May 2024
ผู้พิทักษ์สันติราษฎร์

17 ตุลาคม ‘วันตํารวจแห่งชาติ’ วันสำคัญของผู้พิทักษ์สันติราษฎร์ รำลึกถึงผู้ยึดมั่นรับใช้ประชาชน

วันตํารวจแห่งชาติ ตรงกับวันที่ 17 ตุลาคมของทุกปี ถือเป็นอีกหนึ่งวันสำคัญของไทย 

เดิมทีวันตำรวจแห่งชาติ ตรงกับวันที่ 13 ตุลาคมของทุกปี เกิดขึ้นครั้งแรกเมื่อวันที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2458 โดยเป็นวันประกาศรวม 'กรมพลตระเวน' กับ 'กรมตำรวจภูธร' เป็นกรมเดียวกัน เรียกว่า 'กรมตำรวจ' ซึ่งภายหลังได้เปลี่ยนชื่อมาเป็น 'สำนักงานตำรวจแห่งชาติ' กรมตำรวจจึงได้ยึดถือเอาวันที่ 13 ตุลาคม ของทุกปีเป็น วันตำรวจ และได้มีการประกอบพิธี วันตำรวจ อย่างเป็นทางการเป็นครั้งแรก เมื่อวันที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2492 ซึ่งในขณะนั้น พล.ต.อ. หลวงชาติ ตระการโกศล เป็นอธิบดีกรมตำรวจและ จอมพล ป.พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี

จนกระทั่งเมื่อปี พ.ศ. 2560 พล.ต.อ. จักรทิพย์ ชัยจินดา ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (ผบ.ตร.) ในขณะนั้นมีคำสั่งให้เปลี่ยนแปลงวันตำรวจไทย ให้เป็นวันที่ 17 ตุลาคม ซึ่งเป็นวันสถาปนาสำนักงานตำรวจแห่งชาติ (17 ตุลาคม พ.ศ. 2541) เนื่องจากวันที่ 13 ตุลาคม ตรงกับวันคล้ายวันสวรรคตพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร จึงเปลี่ยนแปลงเพื่อเป็นการแสดงความเคารพเทิดทูนพระองค์

ทั้งนี้ หากย้อนไปที่ประวัติของตำรวจไทย กิจการตำรวจได้กำเนิดขึ้นเป็นครั้งแรกในสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ โดยพระองค์ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราระเบียบการปกครองบ้านเมืองเป็น 4 เหล่า เรียกว่า จตุสดมภ์ ได้แก่ เวียง วัง คลัง นา และพร้อมกันนี้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้มีกิจการตำรวจขึ้น โดยให้ขึ้นอยู่กับเวียง อันมีเจ้าพระยาจักรีศรีองครักษ์ สมุหนายก อัครมหาเสนาบดี เป็นผู้บังคับบัญชา

สำหรับกิจการตำรวจในขณะนั้น แบ่งออกเป็นตำรวจพระนครบาล ตำรวจภูธร ส่วนตำรวจหลวงให้ขึ้นอยู่กับวัง มีเจ้าพระยาธรรมาธิกรณาธิบดี ศรีรัตนมณเฑียรบาล เป็นผู้บังคับบัญชา และทรงโปรดเกล้าฯ ให้ตราศักดินาของตำรวจไว้เป็นบรรทัดฐานในบทพระอัยการ ระบุตำแหน่งนายพลเรือน เช่นเดียวกับข้าราชการฝ่ายอื่น

นอกจากนี้ ยังมีเอกสารหลายชิ้นที่แสดงว่าบุคคลที่จะเป็นตำรวจได้นั้นต้องคัดเลือกจากผู้ที่มีชาติกำเนิดสืบเชื้อสายมาจากตระกูลที่ได้ทำคุณงามความดีต่อชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และต้องเป็นบุคคลที่ทรงวางพระราชหฤทัย การบังคับบัญชาตำรวจก็ต้องขึ้นตรงต่อพระมหากษัตริย์โดยเฉพาะแต่พระองค์เดียว ทำให้กิจการตำรวจในยุคนี้จะจัดตั้งเพื่อให้ทำหน้าที่ในวงจำกัด และมิได้ขยายไปยังส่วนการปกครองทั่วประเทศเท่าไหร่นัก แต่เมื่อเหตุการณ์บ้านเมืองเปลี่ยนแปลงไป มีการติดต่อกับชาวต่างประเทศมากขึ้น กรมตำรวจจึงได้รับความสนใจที่จะปรับปรุงรูปแบบเพื่อให้เป็นไปตามแบบอย่างประเทศตะวันตก

โดยในปี พ.ศ. 2405 สมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้มีการปรับปรุงกิจการตำรวจครั้งสำคัญ กล่าวคือ มีการจัดตั้งกองตำรวจขึ้นเป็นครั้งแรกตามแบบอย่างยุโรป เรียกว่า กองโปลิศ โดยจ้างชาวมลายูและชาวอินเดียเป็นตำรวจ เรียกว่า คอนสเตเปิล โดยให้มีหน้าที่รักษาการณ์แต่ในเขตกรุงเทพมหานครชั้นใน และขึ้นอยู่กับสังกัดกรมพระนครบาล

ต่อมาในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้มีการปรับปรุงกองโปลิศ และจัดตั้งตำรวจภูธรขึ้นเป็นทหารโปลิศ ในปี พ.ศ. 2419 เพื่อให้เป็นกองกำลังรักษาความสงบเรียบร้อยในส่วนภูมิภาค และให้สามารถปฏิบัติการทางทหารได้ด้วย โดยได้ว่าจ้างนาย G. Schau ชาวเดนมาร์ก เป็นผู้วางโครงการ

ผู้พิทักษ์ ‘สันติ’ ราษฎร์ พล.ต.ท.ไตรรงค์ ผิวพรรณ | CONTRIBUTOR EP.28

ค่านิยม ‘ท้าทาย’ กฎหมายของคนในยุคนี้ ยุคที่ใคร ‘แหก’ กฎได้มากเท่าไร ก็จะยิ่งยกย่องกันแบบผิดๆ ว่า 'เจ๋ง' และดูเก่งในสายตากลุ่มก้อนความคิดเดียวกัน ... เริ่มลุกลาม!!

แต่เมื่อ 'กฎหมาย' คือ กฎที่คนส่วนใหญ่ ทำตาม!!

ผู้ใด 'ท้าทาย' ก็ต้องพร้อมรับผิดชอบในทุกการกระทำ

และนี่คือเรื่องราวของอีกหนึ่งผู้บังคับใช้กฎหมาย ที่อยากฝากบอกถึง 'นักแหกกฎ' ให้ปลดความคิดสุดระห่ำออกไปจากระบบคิด และจงเชื่อเถอะว่าชีวิตของพวกคุณจะไม่มีวันถูกหล่อเลี้ยงได้อย่างยั่งยืนผ่านคำยกย่องผิดๆ

พล.ต.ท.ไตรรงค์ ผิวพรรณ ผู้บัญชาการสำนักงานกฎหมายและคดี 

ผู้พิทักษ์ ‘สันติ’ ราษฎร์

ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติมอบรางวัลแก่ตำรวจ สภ.สองพี่น้อง จ.สุพรรณบุรี 2 นาย ที่กระโดดน้ำช่วยชีวิตชายที่กำลังจะจมน้ำจนปลอดภัย เพื่อเป็นขวัญกำลังใจและชื่นชมในการปฏิบัติหน้าที่ผู้พิทักษ์สันติราษฎร์อย่างแท้จริง

วันนี้ (24 ม.ค.67) เวลา 11.45 น. พล.ต.อ.ต่อศักดิ์ สุขวิมล ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ มอบรางวัลแก่ข้าราชการตำรวจ สภ.สองพี่น้อง จ.สุพรรณบุรี 2 นาย ที่กระโดดน้ำช่วยชีวิตชายที่กำลังจะจมน้ำ นำส่งโรงพยาบาลจนอาการปลอดภัย ได้แก่ จ.ส.ต.ธรรมรัตน์ ศรีอำพัน ผบ.หมู่ (ป) สภ.สองพี่น้อง และ ส.ต.ต.ณัชพล จันนาคา ผบ.หมู่ (ผู้ช่วยพนักงานสอบสวน) สภ.สองพี่น้อง ณ ห้องพรหมนอก อาคาร 1 สำนักงานตำรวจแห่งชาติ เพื่อเป็นขวัญกำลังใจและชื่นชมในการปฏิบัติหน้าที่ผู้พิทักษ์สันติราษฎร์อย่างแท้จริง

ทั้งนี้ สื่อสังคมออนไลน์ได้มีการเสนอข่าวสายตรวจ สภ.สองพี่น้อง จว.สุพรรณบุรี กระโดดน้ำช่วยชีวิตชายที่กำลังจะจมน้ำ ซึ่งได้ตรวจสอบแล้ว พ.ต.อ.เกียรติชัย เกิดโชค ผกก.สภ.สองพี่น้อง จ.สุพรรณบุรี รายงานว่า วานนี้ (23 ม.ค.67) เวลา 13.45 น. จ.ส.ต.ธรรมรัตน์ ศรีอำพัน ผบ.หมู่ (ป) สภ.สองพี่น้อง และคู่ตรวจ คือ ส.ต.ต.ณัชพล จันนาคา ผบ.หมู่ (ผู้ช่วยพนักงานสอบสวน) สภ.สองพี่น้อง ปฏิบัติหน้าที่สายตรวจจักรยานยนต์ ได้รับแจ้งจากศูนย์วิทยุ 191 ว่ามีคนกระโดดน้ำ บริเวณสะพานเทศบาลเมืองสองพี่น้อง จึงได้รีบเดินทางไปตรวจสอบ ใช้เวลาประมาณ 2-3 นาที เมื่อไปถึงที่เกิดเหตุพบว่ามีชายกำลังลอยน้ำไปกับกองผักตบชวาด้วยท่าทีอ่อนแรง ห่างออกจากบริเวณสะพานไปประมาณ 50 เมตร จึงได้รีบไปช่วยเหลือ โดยไปดักบริเวณริมแม่น้ำ ส.ต.ต.ณัชพลฯ ได้กระโดดน้ำลงไปช่วยเหลือโดยทันที ส่วน จ.ส.ต.ธรรมรัตน์ฯ คอยช่วยเหลือและประสานงานอยู่บนฝั่ง กระทั่งสามารถช่วยเหลือชายดังกล่าวได้อย่างปลอดภัย หลังจากนั้นจึงได้นำตัวส่งโรงพยาบาลเพื่อตรวจร่างกายและรอดูอาการ จนกระทั่งเวลาประมาณ 15.00 น. แพทย์อนุญาตให้ญาติรับตัวกลับไปดูแลต่อไป ทราบชื่อชายดังกล่าวคือ นาย ภัทร อายุ 64 ปี  สาเหตุที่กระโดดน้ำเกิดจากความเครียดและป่วยโรคซึมเศร้า

ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ กล่าวว่า ตำรวจ สภ.สองพี่น้อง ทั้ง 2 นาย มีจิตวิญาณของตำรวจ เข้าช่วยเหลือประชาชนทันทีที่ได้ทราบเหตุ ทำให้สามารถช่วยชีวิตชายคนดังกล่าวไว้ได้ เป็นแบบอย่างการทำงานที่ดีสมกับความเป็นผู้พิทักษ์สันติราษฎร์ สมควรได้รับการชื่นชม ในวันนี้จึงได้มอบโล่ประกาศเกียรติคุณและเงินรางวัล เป็นขวัญกำลังใจ และขอให้ตั้งใจทำงานเพื่อพี่น้องประชาชนต่อไป


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top