Wednesday, 3 July 2024
ผู้ประกันตน

'นายก' ห่วงผู้ประกันตนทุพพลภาพตาบอด สั่ง รมว.เฮ้ง ส่ง ‘ที่ปรึกษา’ มอบเงินเยียวยาและสิทธิประโยชน์ทดแทนถึงบ้านที่นนทบุรี

นายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน มอบหมายให้ นางธิวัลรัตน์ อังกินันทน์ ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ลงพื้นที่มอบสิทธิประโยชน์ทดแทนการขาดรายได้จำนวน 2,400 บาทต่อเดือน ตลอดชีวิต และเงินเยียวยาผู้ประกันตนมาตรา 39 จำนวน 10,000 บาท
แก่นางสาวบุษกร เจริญชัย อายุ 48 ปี ซึ่งเป็นผู้ประกันตนมาตรา 39 ที่ทุพพลภาพพิการตาบอดทั้ง 2 ข้าง 

ณ บ้านของผู้ประกันตน ใกล้กับวัดเฉลิมพระเกียรติ ซอย 10 ตำบลบางศรีเมือง อำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี โดยมี นางเธียรรัตน์ นะวะมะวัฒน์ โฆษกกระทรวงแรงงาน (ฝ่ายการเมือง) และนายบุญสงค์ ทัพชัยยุทธ์ เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม มอบหมายให้ นางสาวลัดดา  แซ่ลี้ ผู้ตรวจราชการกรม สำนักงานประกันสังคม เข้าร่วมในครั้งนี้ด้วย โดยนางธิวัลรัตน์ กล่าวว่า กรณีของนางสาวบุษกร กระทรวงแรงงาน โดยสำนักงานประกันสังคมได้รับข้อร้องเรียนผ่านรายการ เรื่องนี้คุณต้องรู้ ทางสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย เมื่อวันที่ 28 ตุลาคมที่ผ่านมาว่า ตนเป็นผู้พิการตาบอดทั้ง 2 ข้าง มีสถานะเป็นผู้ประกันตนมาตรา 39 และเป็นผู้มีสิทธิได้รับเงินเยียวยาจากรัฐบาลแต่ไม่สามารถผูกพร้อมเพย์ เพื่อรับเงินเยียวยาได้

เนื่องจากเป็นบุคคลที่เคยถูกศาลมีคำสั่งให้ล้มละลาย ทันทีที่ทราบข่าวท่านนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ได้มีความห่วงใยพี่น้องแรงงานและผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 และได้สั่งการให้สำนักงานประกันสังคมลงพื้นที่ให้ความช่วยเหลือเพื่อให้ได้รับสิทธิประโยชน์ทดแทนและเงินเยียวยาจากรัฐบาล ซึ่งนางสาวลัดดา แซ่ลี้ โฆษกสำนักงานประกันสังคม ได้ลงพื้นที่ไปยังบ้านของนางสาวบุษกร เพื่อให้ความช่วยเหลือกรอกข้อมูลรับเงินเยียวยา พร้อมให้ยื่นเอกสารเป็นผู้ทุพพลภาพเพื่อพิจารณาจ่ายเงินทดแทน

 

ผู้ประกันตนหายห่วง รมว.เฮ้ง เตรียมเตียง Hospitel เกือบ 20,000 เตียง หมุนเวียนเพียงพอ รองรับโควิด-19 

นายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน กล่าวถึงความคืบหน้าการบริหารจัดการเตียงเพื่อรองรับผู้ประกันตนมาตรา 33 และ 39 ที่ติดเชื้อโควิด-19 จากสถานการณ์การแพร่ระบาดในขณะนี้ว่า กระทรวงแรงงานโดยสำนักงานประกันสังคม ได้มีการเตรียมบุคลากรทางการแพทย์ของโรงพยาบาลในเครือข่ายประกันสังคม พร้อมเตียงซึ่งเป็นของ Hospitel เกือบ 20,000 เตียง ใช้ไปแล้วประมาณ 12,000 เตียง ทั้งนี้ เมื่อผู้ประกันตนรักษาหายและแพทย์อนุญาตให้กลับบ้านได้ก็จะทำให้เตียงว่างลงอีก ซึ่งในแต่ละวันจะมีผู้ประกันตนหมุนเวียนเข้าออกตลอดเวลา ขณะเดียวกันสำนักงานประกันสังคมจะประสานหาเตียงสำรองเพิ่มเติมเพื่อให้สามารถรองรับการรักษาผู้ประกันตนได้อย่างเพียงพอ จึงขอให้ผู้ประกันตนไม่ต้องกังวลและมั่นใจได้ว่ากระทรวงแรงงาน จะสามารถบริหารจัดการเตียงและรองรับการรักษาผู้ประกันตนจากทีมแพทย์และพยาบาลของโรงพยาบาลในเครือข่ายประกันสังคมได้เป็นอย่างดี 

“ขอให้ผู้ประกันตนไม่ต้องกังวลและมั่นใจได้ว่า รัฐบาล กระทรวงแรงงาน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะสามารถให้การดูแลทุกคนที่ติดเชื้อโควิด-19 อย่างเท่าเทียม มีเตียงรองรับเพียงพอแน่นอน เพื่อให้ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที ซึ่งในเรื่องนี้ท่านนายกรัฐมนตรี เป็นห่วงใยและได้กำชับให้ช่วยเหลือดูแลพี่น้องแรงงานดุจคนในครอบครัว โดยไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลังและเราจะก้าวข้ามวิกฤตนี้ไปด้วยกัน” นายสุชาติ กล่าวในท้ายสุด

อาสาสมัครแรงงาน ผู้ประกันตน ผู้ประกอบการ SMEs จ.เพชรบูรณ์ ปลื้ม !! รมว.เฮ้ง ลงพื้นที่พบปะให้กำลังใจถึงที่ 

นายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมบูธกิจกรรมการให้บริการของหน่วยงานในสังกัดกระทรวงแรงงานจังหวัดเพชรบูรณ์ ณ หอประชุมที่ว่าการอำเภอเขาค้อ จังหวัดเพชรบูรณ์

โดยมี นายชัชวาลย์ เบญจสิริวงศ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดเขาค้อ พร้อมด้วยผู้บริหารระดับสูงกระทรวงแรงงาน และหัวหน้าส่วนราชการสังกัดกระทรวงแรงงานจังหวัดเพชรบูรณ์เข้าร่วมในครั้งนี้ด้วย สำหรับการตรวจเยี่ยมบูธกิจกรรมของหน่วยงานในสังกัดกระทรวงแรงงานจังหวัดเพชรบูรณ์ในครั้งนี้ ประกอบด้วย โครงการแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนด้านอาชีพ พบปะอาสาสมัครแรงงาน สถานประกอบการที่เข้าร่วมโครงการส่งเสริมและรักษาระดับการจ้างงาน SMEs และพบปะแรงงานไทยที่เดินทางกลับจากไปทำงานที่ประเทศซาอุดีอาระเบีย

โครงการเพิ่มประสิทธิภาพ/ผลิตภาพสถานประกอบการ โครงการส่งเสริมสวัสดิการแรงงานพันธุ์ดี ตามวิถีเศรษฐกิจพอเพียง เยี่ยมผู้ประกันตนทุพพลภาพ ซึ่งผ่านการฝึกอาชีพจากศูนย์ฟื้นฟูฯ และนำผลิตภัณฑ์มานำเสนอ รวมทั้งพบปะให้กำลังใจผู้ประกันตน ม.40 จังหวัดเพชรบูรณ์อีกด้วย 

โดย นายสุชาติ กล่าวว่า ในวันนี้ผมมีความยินดีและรู้สึกเป็นเกียรติอย่างยิ่ง ที่ได้มาตรวจเยี่ยมและพบปะผู้ประกอบการ SMEs อาสาสมัครแรงงาน รวมทั้งผู้ประกันตน ของจังหวัดเพชรบูรณ์ ซึ่งทุกท่านเป็นกลไกสำคัญในการร่วมกันขับเคลื่อนประเทศให้ก้าวผ่านสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 
รัฐบาลภายใต้การนำของท่าน พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม และท่าน พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ซึ่งกำกับดูแลกระทรวงแรงงาน มีความห่วงใยต่อพี่น้องประชาชนและผู้ที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 

นายสุชาติ กล่าวต่อว่า จากสถานการณ์โควิด-19 ที่ส่งผลกระทบต่อการจ้างงาน กระทรวงแรงงานได้ดำเนินโครงการต่าง ๆ เพื่อให้ความช่วยเหลือ อาทิ  การเยียวยานายจ้าง ผู้ประกันตน ม.33, ม.39 และ ม.40 ในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากการล็อกดาวน์ในพื้นที่จังหวัดเพชรบูรณ์ มีนายจ้าง จำนวน 721 ราย เป็นเงิน 17,658,000 บาท ผู้ประกันตนรวม 3 มาตรา จำนวน 285,280 คน เป็นเงิน 2,798,760,000 บาท รวมเป็นเงิน 2,816,418,000 บาท

'รมว.สุชาติ' วอนผู้ประกอบการเห็นใจประชาชนอย่าขึ้นราคาสินค้า ชี้ มาตรการลดเงินสมทบ ช่วยลดต้นทุนนายจ้าง เกิดเศรษฐกิจหมุนเวียนกว่าแสนล้านบาท

นายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เปิดเผยว่า ท่านนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา และพล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ซึ่งท่านกำกับดูแลกระทรวงแรงงาน ได้ติดตามผลกระทบจากสถานการณ์ความขัดแย้งยูเครน – รัสเซีย รวมถึงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 อย่างต่อเนื่อง ซึ่งรัฐบาลไม่ได้นิ่งนอนใจ มีความห่วงใยพี่น้องประชาชนและพี่น้องผู้ใช้แรงงาน เนื่องจากสถานการณ์ดังกล่าวถือเป็นวิกฤตซ้อนวิกฤตทั้งโรคระบาดและภัยสงคราม จึงได้ออกมาตรการมาช่วยเหลือเยียวยาและลดผลกระทบ ในส่วนของกระทรวงแรงงานได้ดำเนินการลดรายจ่ายของพี่น้องประชาชนที่เกิดขึ้นและลดต้นทุนการผลิตแก่นายจ้าง โดยการลดเงินสมทบทั้งในส่วนของนายจ้างและผู้ประกันตนทุกมาตรา 

ทั้งมาตรา 33,39 และ 40 เป็นระยะเวลา 3 เดือน ตั้งแต่เดือน พ.ค. – ก.ค. 2565 โดยพี่น้องประชาชนจะได้รับการช่วยเหลือจากกระทรวงแรงงานประมาณ 24.2 ล้านคน เป็นเม็ดเงินประมาณ 34,540 ล้านบาท เกิดเม็ดเงินหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจกว่า 100,000 ล้านบาท 

นายสุชาติ กล่าวต่อว่า มาตรการลดเงินสมทบในครั้งนี้ทำให้มีผู้ประกันตนมาตรา 33 จำนวน 11.2 ล้านคน จะได้ลดเงินสมทบจากร้อยละ 5 เหลือ ร้อยละ 1 ยกตัวอย่างหากคิดบนฐานเงินเดือน 15,000 บาท จากเดิมต้องส่งเงินสบทบ 750 บาท จะลดลงเหลือส่งเงินสมทบ 150 บาท ทำให้สามารถลดภาระค่าครองชีพไปได้ประมาณ 600 บาทต่อคนต่อเดือน ผู้ประกันตนมาตรา 39 จำนวน 1.9 ล้านคน จะได้ลดเงินสมทบจากร้อยละ 9 เหลือร้อยละ 1.9 คือจากเดิมที่ต้องส่งเงินสมทบ 432 บาท จะลดลงเหลือส่งเงินสมทบ 91 บาท หรือลดภาระค่าครองชีพไปได้ประมาณ 341 บาทต่อคนต่อเดือน และผู้ประกันตนมาตรา 40 จำนวน 10.6 ล้านคน จะได้ลดเงินสมทบในแต่ละทางเลือกลงร้อยละ 40 คือ ทางเลือกที่ 1 ลดการส่งเงินทบจากเดิม 70 บาท ลดลงเหลือ 42 บาท ทางเลือกที่ 2 ลดการส่งเงินทบจากเดิม 100 บาท ลดลงเหลือ 60 บาท ทางเลือกที่ 3 ลดการส่งเงินทบจากเดิม 300 บาท ลดลงเหลือ 180 บาท หรือลดภาระค่าครองชีพไปได้ประมาณ 84 - 360 บาทต่อคนต่อเดือน

'สุชาติ' รมว.แรงงาน มอบ เลขาธิการ สปส. 'บุญสงค์' ลงพื้นที่จังหวัดอุดรธานี ติดตามคุณภาพชีวิตผู้ประกันตนที่ทุพพลภาพ

เมื่อวันที่ 21 กันยายน 2565 นายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน มอบหมายให้นายบุญสงค์ ทัพชัยยุทธ์ เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม พร้อมด้วย นางสาวพรรณิกา เหลืองสุรีย์ ผู้ตรวจราชการกรม สำนักงานประกันสังคม นางมารศรี ใจรังษี ผู้ตรวจราชการกรม สำนักงานประกันสังคม นางสาวมุทิตา ชูประดิษฐ์ ประกันสังคมจังหวัดอุดรธานี นางอาภรณ์ แว่วสอน ผู้อำนวยการศูนย์ฟื้นฟูสมรรถภาพคนงานภาค 4 จังหวัดขอนแก่น นางสาวหัฎฐริภิม ณมงคลบุญวงษ์ ผู้อำนวยการกองฝึกอบรม และเจ้าหน้าที่ ร่วมลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมติดตามคุณภาพชีวิตพร้อมให้กำลังใจผู้ประกันตนที่ทุพพลภาพในจังหวัดอุดรธานี จำนวน 3 ราย

นายบุญสงค์ ทัพชัยยุทธ์ เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม เปิดเผยว่า นายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ได้มีความห่วงใยผู้ประกันตนที่เจ็บป่วยและทุพพลภาพ โดยวันนี้ได้มอบหมายให้ ผมและคณะลงพื้นที่ มอบของเยี่ยมให้กับผู้ประกันตนทุพพลภาพถึงบ้านพัก ซึ่งอยู่ในความดูแลของสำนักงานประกันสังคมจังหวัดอุดรธานี จำนวน 3 ราย ได้แก่ นางเสาวณี จันทร์แจ้ง ผู้ประกันตนมาตรา 33 ทุพพลภาพ จากสาเหตุเจ็บป่วยด้วยโรคเบาหวาน โรคหลอดเลือดสมองตีบ โรคไต เส้นเลือดสมองตีบ และต่อมาเป็นไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย ทำให้กล้ามเนื้ออ่อนแรง ปากข้างซ้ายเบี้ยว ตาข้างซ้ายหลับไม่สนิท เดินไม่ได้ ฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมอาทิตย์ละ 2 ครั้ง ได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้เดือนละ 3,625.50 บาท ได้รับสิทธิเป็นผู้ทุพพลภาพตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2558 สำนักงานประกันสังคมจังหวัดอุดรธานี ได้จ่ายสิทธิประโยชน์ไปแล้วเป็นจำนวนเงิน 329,920.50 บาท

รมว.สุชาติ เร่งขับเคลื่อนระบบประกันสังคมให้ทันสมัย ยกระดับคุณภาพชีวิตที่ดีของผู้ประกันตน

เมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายน 2565 นายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เป็นประธานการจัดงานประชุมวิชาการประกันสังคม 5 ภาค ประจำปี 2565 (ภาคกลาง) Modernizing SSO 2022 : ก้าวสู่ระบบประกันสังคมที่ทันสมัย พร้อมปาฐกถาพิเศษ เรื่อง 'นโยบายการพัฒนา และยกระดับชีวิตความเป็นอยู่ของผู้ใช้แรงงาน' โดยมี นายบุญสงค์ ทัพชัยยุทธ์ เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม กล่าวรายงานวัตถุประสงค์การจัดงาน และผู้บริหารระดับสูงกระทรวงแรงงานให้การต้อนรับ ณ โรงแรมมิราเคิล แกรนด์ คอนเวนชั่น เขตหลักสี่ กรุงเทพมหานคร

นายสุชาติ กล่าวว่า การจัดงานในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจความสำคัญของงานประกันสังคมแก่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย เพื่อรับฟังความคิดเห็นในการพัฒนางานประกันสังคมจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง และเพื่อให้ผู้เข้าร่วมประชุมได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและสำนักงานประกันสังคมสามารถนำไปใช้ขยายผลได้ในอนาคต โดยรัฐบาลภายใต้การนำของ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และท่านรองนายกรัฐมนตรี พลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ ซึ่งกำกับดูแลกระทรวงแรงงาน ได้ให้ความสำคัญกับการฟื้นฟูเศรษฐกิจของประเทศโดยเร็ว ภายหลังจากที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ที่ผ่านมา กระทรวงแรงงาน สำนักงานประกันสังคมได้ดำเนินการช่วยเหลือนายจ้าง และผู้ประกันตนมาโดยการลดอัตราเงินสมทบ การนำส่งเงินสมทบผ่านช่องทางอิเล็กทรอนิกส์ การปรับปรุงสิทธิประโยชน์กรณีว่างงาน ตลอดจนสิทธิประโยชน์และการให้บริการทางการแพทย์กรณีโรคโควิด-19 

‘ทิพานัน’ บอกข่าวดี ‘ผู้ประกันตน ม.33’ ขยายเวลาสินเชื่อซื้อบ้านดอกเบี้ยถูก ผ่านแอปฯ เริ่ม 8-31 พ.ค. ชี้ ‘บิ๊กตู่’ มุ่งลดความเหลื่อมล้ำ-ยกระดับคุณภาพชีวิตปชช.

(26 เม.ย.66) น.ส.ทิพานัน ศิริชนะ รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม มุ่งลดความเหลื่อมล้ำและยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนในทุกมิติ เพิ่มโอกาสให้ประชาชนเข้าถึงที่อยู่อาศัยที่มั่นคงเพิ่มมากขึ้น ผ่านโครงการสินเชื่อที่อยู่อาศัยเพื่อผู้ประกันตน ซึ่งที่ผ่านมามีผู้ประกันตนมาตรา 33 ยื่นขอสินเชื่อ 18,815 ล้านบาทแล้ว จากกระแสความต้องการของผู้ประกันตน ล่าสุดมีข่าวดี โดยนายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน โดยสำนักงานประกันสังคม (สปส.) ร่วมกับธนาคารอาคารสงเคราะห์ เปิดโอกาสให้ผู้ประกันตน ที่สนใจขอรับรหัส เข้าร่วมโครงการสินเชื่อที่อยู่อาศัยเพื่อผู้ประกันตนเพิ่มเติมได้แล้ว ผ่านแอปพลิเคชัน GHB ALL GEN ตั้งแต่วันที่ 8 พฤษภาคม 2566 นี้ตั้งแต่เวลา 09.00 น. เป็นต้นไป จนถึงวันที่ 31 พฤษภาคม 2566 เวลา 16.00 น. 

น.ส.ทิพานัน กล่าวว่า ทั้งนี้ สิทธิดังกล่าวสำหรับผู้ประกันตนมาตรา 33 ที่จ่ายเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 6 เดือน สามารถใช้สิทธิในการไถ่ถอนจำนองที่อยู่อาศัย หรือรีไฟแนนซ์ รวมถึงลดอัตราดอกเบี้ยสินเชื่อที่อยู่อาศัยในบัญชีเงินกู้ที่กู้อยู่กับธนาคารอาคารสงเคราะห์ ในอัตราดอกเบี้ยคงที่ ปีที่ 1-5 เท่ากับ 1.99% ต่อปี ด้วยวิธีการง่ายๆ เพียงดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน GHB ALL GEN และเพิ่มเพื่อน พร้อมสมัครไลน์ GHB Buddy เพื่อขอรหัสเข้าร่วมโครงการ ทั้งนี้ สามารถตรวจสอบกำหนดระยะเวลายื่นกู้ตามรหัสของท่านได้ที่ www.ghbank.co.th ทุกวันที่ 10, 20, 30 ของทุกเดือน

‘ประกันสังคม’ คุ้มครองการรักษา ‘โรคมะเร็ง’ แก่ ‘ม.33-39’ ยัน!! หากตรวจพบสามารถใช้สิทธิรักษา ‘ฟรี’ 20 ชนิด

(9 พ.ย. 66) นายคารม พลพรกลาง รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า สำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน ให้การคุ้มครองด้านการรักษาโรคมะเร็งแก่ผู้ประกันตนมาตรา 33 และมาตรา 39 โดยไม่มีค่าใช้จ่ายจนสิ้นสุดการรักษา หากเข้ารับการรักษาตามแนวทางที่กำหนด (Protocol) แต่ในกรณีที่ไม่สามารถรักษาตามแนวทางที่กำหนด (Protocol) และมีความจำเป็นที่ต้องให้การรักษาด้วยยารักษาโรคมะเร็ง เคมีบำบัด รังสีรักษา ให้สามารถเบิกค่ารักษาพยาบาลเท่าที่จ่ายจริงตามความจำเป็นแต่ไม่เกิน 50,000 บาทต่อรายต่อปี

นายคารม กล่าวว่า สำหรับผู้ประกันตนมาตรา 33 และ 39 ที่ตรวจพบว่าเป็นโรคมะเร็ง สามารถเข้ารับการรักษาโรคมะเร็งได้ 20 ชนิด ประกอบด้วย…

1.โรคมะเร็งเต้านม 
2.โรคมะเร็งปากมดลูก 
3.โรคมะเร็งรังไข่  
4.โรคมะเร็งมดลูก 
5.โรคมะเร็งโพรงหลังจมูก 
6.โรคมะเร็งปอด 
7.โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่และลำไส้ใหญ่ตรง 
8.โรคมะเร็งหลอดอาหาร 
9.โรคมะเร็งตับและท่อน้ำดี 
10.โรคมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ 
11.โรคมะเร็งต่อมลูกหมาก 
12.โรคมะเร็งกระเพาะอาหาร 
13.โรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดเฉียบพลันแบบลิมฟอยด์ในผู้ใหญ่ 
14.โรคมะเร็งต่อมน้ำเหลืองในผู้ใหญ่
15.โรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดเฉียบพลันชนิดมัยอีลอยด์ในผู้ใหญ่ 
16.โรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดเฉียบพลันในผู้ใหญ่แบบ Acute Promyelocytic leukemia (APL) 
17.โรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวเรื้อรังชนิดมัยอีลอยด์ในผู้ใหญ่ 
18. โรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวมัยอีโลมาในผู้ใหญ่ 
19.โรคมะเร็งกระดูกชนิด Osteosarcoma ในผู้ใหญ่
20.โรคมะเร็งเด็ก

นายคารม กล่าวว่า รัฐบาลให้ความสำคัญต่อคุณภาพชีวิตผู้ประกันตน มุ่งยกระดับมาตรฐานการให้บริการครอบคลุมในทุกมิติ เพื่อให้ผู้ประกันได้คลายความกังวลเมื่อเจ็บป่วยสามารถเข้าถึงสิทธิการรักษาพยาบาลได้อย่างสะดวก และรวดเร็ว เพื่อให้ประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสารจากสำนักงานประกันสังคม หากมีข้อสงสัยต้องการสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม สามารถติดต่อได้ที่สำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครพื้นที่ จังหวัด สาขาทุกแห่ง หรือ สายด่วน 1506

‘ประกันสังคม’ ประกาศ!! ป่วยหยุดหายใจตอนหลับ เบิกค่า Sleep test ได้ มีผล ‘บังคับใช้’ ตั้งแต่ 1 ม.ค. 67 จ่ายจริงไม่เกิน 7 พันบาท

(26 ม.ค. 67) สำนักงานประกันสังคม ออกประกาศคณะกรรมการการแพทย์ ตามพระราชบัญญัติประกันสังคม เรื่อง หลักเกณฑ์และอัตราสำหรับประโยชน์ทดแทนในกรณีประสบอันตรายเจ็บป่วยอันมิใช่เนื่องจากการทำงานโดย พล.ต.ท.ธนา ธุระเจน ประธานกรรมการการแพทย์ ประกาศ ณ.วันที่ 22 ม.ค. 67

สาระสำคัญสำหรับผู้ประกันตนที่ป่วยด้วยโรคหยุดหายใจขณะหลับ คือ…

- ค่าตรวจการนอนหลับ (polysomnography) ชนิดที่ 1 จ่ายในอัตราเท่าที่จ่ายจริงไม่เกิน 7,000 บาท

- ค่าตรวจการนอนหลับ (polysomnography) ชนิดที่ 2 (การตรวจวัดเหมือนชนิดที่ 1 เว้นแต่ไม่มี
   เจ้าหน้าที่เฝ้าติดตามขณะหลับ) จ่ายในอัตราเท่าที่จ่ายจริงไม่เกิน 6,000 บาท

- ค่าอุปกรณ์เครื่องอัดอากาศขณะหายใจเข้า (Continuous positive Airway Pressure - CPAP) 
   และอุปกรณ์เสริมสำหรับการรักษาในอัตราที่สำนักงานที่กำหนด

- เครื่องอัดอากาศขณะหายใจเข้า ชุดละ 20,000 บาท

- หน้ากากครอบจมูกหรือปากที่ใช้กับเครื่องอัดอากาศขณะหายใจเข้า ชิ้นละ 4,000 บาท

ทั้งนี้ค่าอุปกรณ์เสริม แผ่นกรองอากาศ กระดาษ และแผ่นกรองอากาศฟองน้ำ ให้รวมอยู่ในค่าบริการทางการแพทย์ของสถานพยาบาลที่สำนักงานกำหนดสิทธิ์ในการรับบริการทางการแพทย์สำหรับผู้ประกันตนมีผลบังคับใช้ตั้งแต่ 1 มกราคม 2567 เป็นต้นไป 

อย่างไรก็ตามในเรื่องดังกล่าว ทีมข่าว พีพีทีวีออนไลน์ได้สอบถามกับสำนักงานประกันสังคม ได้ข้อมูลเพิ่มเติม ว่า ผู้ประกันตน สามารถใช้สิทธิได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ตามการรักษาโรคนอนกรนตามแพทย์สั่งให้ทำ Sleep test 

หลักเกณฑ์และเงื่อนไขการได้รับสิทธิ

- ผู้ประกันตนตามมาตรา 33 และ มาตรา 39 จะได้รับสิทธิเมื่อจ่ายเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 3 เดือน ภายในระยะเวลา 15 เดือนก่อนวันรับบริการทางการแพทย์

- ผู้ประกันตนตาม มาตรา 38 และ มาตรา 41 จะได้รับสิทธิเมื่อจ่ายเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 3 เดือนภายในระยะเวลา 15 เดือนก่อนวันรับบริการทางการแพทย์ และได้รับสิทธิคุ้มครองภายใน 6 เดือน นับตั้งแต่วันที่สิ้นสุดความเป็นผู้ประกันตน


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top