Sunday, 28 April 2024
ผลงานลุงตู่

เปิด 18 ผลงาน 'ภาคใต้' ช่วง 8 ปี 'รัฐบาลลุงตู่'

นับตั้งแต่พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา เข้ามาบริหารประเทศ เกิดการพัฒนาทั่วทุกภาคของประเทศทั้งการปฏิรูปโครงสร้างพื้นฐาน การปฏิรูปคุณภาพชีวิตในชุมชน นอกจากนี้ยังแก้ไขปัญหาสะสมเรื่องความไม่สงบในประเทศ ออกมาตราการทางเศรษฐกิจ มีการจัดทำบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ โครงการคนละครึ่ง โครงการเราเที่ยวด้วยกัน โครงการชิมช้อปใช้ มีการส่งเสริมศักยภาพตามพื้นที่ 5 ภาค รวมถึงส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม โครงการต่าง ๆ เหล่านี้ล้วนจับต้องได้ทั้งสิ้น และคนที่ได้รับประโยชน์คือประชาชนไทยทุกคนทุกภูมิภาคอย่างเท่าเทียมกัน

ในส่วนการพัฒนาภาคใต้ มีโครงข่ายคมนาคมขนส่งที่สามารถเชื่อมโยงทั้งในและต่างประเทศ ผุดเมืองศูนย์กลางที่มีศักยภาพ เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจที่ขยายผลจากโครงการเมืองต้นแบบ รองรับการขยายตัวทางการค้าและการท่องเที่ยวชายแดน ทั้งหมดนี้ภายใต้วิสัยทัศน์กลุ่มจังหวัดภาคใต้ชายแดน “เกษตรก้าวหน้า การค้าชายแดน การท่องเที่ยวเชื่อมโยง สู่อาเซียน” สามารถแยกให้เห็นอย่างเป็นรูปธรรมดังนี้

1. วางรากฐานแนวพัฒนาเกษตรกรรมและเศรษฐกิจรากฐาน ตั้งแต่การเพิ่มศักยภาพผลผลิต ข้าว ยางพารา อ้อย  มีการประกันรายได้เกษตรกร  

2. คลอง ร.1 จ.สงขลา แก้ปัญหาน้ำท่วมและการชลประทาน

3. จ้างงานเด็กจบใหม่ โดยรัฐบาลช่วยอุดหนุนเงินเดือนค่าจ้างให้เด็กจบใหม่ร้อยละ 50% รวมถึงเด็กจบใหม่ในภาคใต้ด้วย

4. รัฐบาลมอบโฉนดที่ดินทั่วไทย ซึ่งโครงการนี้แพร่กระจายไปทุกภาค รวมถึงภาคใต้

5. พัฒนาสนามบินทั่วประเทศ รวมทั้งสนามบินตรังและสนามบินเบตง 

6. สร้างทางแยกต่างระดับทุ่งสง จ.นครศรีธรรมราช เป็นทางแยกต่างระดับที่ใหญ่ที่สุดในภาคใต้

7. โครงการก่อสร้างถนนเชื่อมต่อด่านศุลกากรสะเดาแห่งใหม่-ด่านบูกิตกายูฮิตัม

8. โครงการเชื่อมต่อรถไฟความเร็วสูงสายใต้กับทางมาเลเซีย ซึ่งไม่ได้เชื่อมต่อเฉพาะสองประเทศเท่านั้น แต่สามารถเชื่อมต่อถึง 5 ประเทศ คือ จีน ลาว ไทย มาเลเซีย และสิงคโปร์

‘บัตรทอง’ ยุคลุงตู่ ยกระดับสู่ ‘บัตรพรีเมี่ยม’ เพิ่มสิทธิประโยชน์ครอบคลุม สะดวกทุกที่

รัฐบาลพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ไม่ได้มุ่งเน้นด้านการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเท่านั้น แต่ยังใส่ใจด้านคุณภาพชีวิตประชาชนอีกด้วย นับเป็นความมุ่งมั่นของรัฐบาล ที่จะดูแลสุขภาพของประชาชนอย่างดีที่สุด รวมทั้งยกระดับมาตรฐานด้านสาธารณสุขที่ได้รับการชื่นชมจากทั่วโลก รวมถึงองค์การอนามัยโลก นำไปสู่การเป็นศูนย์กลางทางการแพทย์และดูแลรักษาสุขภาพโลก และยังพัฒนาต่อไปตามนโยบายยุทธศาสตร์ชาติ โดยมีหลักยึดที่สำคัญ คือ เราจะเดินหน้าไปพร้อมกัน และ ‘ไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง’ ภายใต้คำขวัญ ‘ลดรายจ่าย เพิ่มรายได้ ร่างกายแข็งแรง เศรษฐกิจประเทศแข็งแรง’ เพื่อให้เห็นภาพรวมในการพัฒนาด้านสาธารณสุข ขอสรุปให้เห็นเป็นรูปธรรมดังนี้

- ยกระดับและต่อยอดบัตรทอง 30 บาทรักษาทุกโรค ไปเป็น ‘บัตรทองพรีเมี่ยม’ เพิ่มสิทธิประโยชน์ เพิ่มคุณภาพบริการ

- บัตรทองพรีเมี่ยม รักษาโควิดฟรี

- ตั้งแต่ 1 ม.ค. 2565 ผู้ป่วยสิทธิบัตรทองสามารถเข้ารักษาในหน่วยบริการปฐมภูมิที่ไหนก็ได้ทั่วประเทศโดยที่หน่วยบริการจะไม่มีการเรียกให้กลับไปรับใบส่งตัวมาเหมือนในอดีตที่เคยเป็นปัญหา

- บัตรทองทำให้ผู้ป่วยโรคมะเร็งไปรับบริการที่ไหนก็ได้

- บัตรทองให้สิทธิ์การย้ายหน่วยบริการ ได้สิทธิทันที ไม่ต้องรอ 15 วัน

- ผู้ถือบัตรทองได้สิทธิฟอกไตฟรี 

- มาตรการลดการแพร่กระจายของไวรัสโควิด-19 มีการรณรงค์เพื่อการเพิ่มระยะห่างทางสังคม (และส่งเสริมการทำงานที่บ้าน รวมถึงกลไกในการทำงานที่ขันแข็งของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) กว่าหนึ่งล้านคนทั่วประเทศ

- ระบบประกันสุขภาพครอบคลุมประชาชนเท่าเทียม

- พัฒนาระบบบริการสาธารณสุข แพทย์สมัยใหม่ และแพทย์แผนไทย

- พัฒนาและยกระดับความรู้อาสาสมัครสาธารณสุขประจาหมู่บ้าน (อสม.)

- ลดภาระการเดินทางไปสถานพยาบาลของประชาชน

- ลดความแออัดในโรงพยาบาลขนาดใหญ่

- รับยาที่ร้านขายยาแผนปัจจุบันใกล้บ้านสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง หืด จิตเวช และโรคเรื้อรังอื่นๆ 

- ส่งยา/เวชภัณฑ์ถึงบ้านทางไปรษณีย์ การบริการสาธารณสุขระบบทางไกล (Telehealth/Telemedicine) และการตรวจทางห้องปฏิบัติการนอกโรงพยาบาล

ย้อน 12 ผลงานเด่น ในยุค ‘รัฐบาล คสช.’

ภายหลังจาก ‘คณะรักษาความสงบแห่งชาติ’ หรือ คสช. อันมี ‘พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา’ เป็นหัวหน้าคณะ ทำรัฐประหารเมื่อวันที่ 22 พ.ค. 2557 ในระยะเวลาต่อเนื่องกว่า 5 ปีก่อนจะมีการเลือกตั้งใหญ่ในปี 2562 รัฐบาล คสช. ได้บริหารประเทศภายใต้วิสัยทัศน์ที่มุ่งสร้างความ ‘มั่นคง มั่งคั่งและยั่งยืน’ โดยพยายามดำเนินมาตรการต่าง ๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาประเทศ

เนื่องจากเป็นรัฐบาลที่ไม่มีพรรคฝ่ายค้านในสภา และสามารถออกคำสั่งตามมาตรา 44 ได้ ทำให้รัฐบาลสามารถผลักดันนโยบายต่าง ๆ ออกมาได้มาก 

วันนี้ THE STATES TIMES จะพาย้อนดู 12 ผลงานรัฐบาล คสช. ที่เป็นประโยชน์และเป็นพื้นฐานต่อการพัฒนาประเทศในระยะยาว เช่น

1.จัดการปัญหาการทำประมงผิดกฎหมาย และขาดการควบคุม (IUU) 
รัฐบาล คสช. สามารถแก้ปัญหาอย่างรวดเร็วตามแรงกดดันของสหภาพยุโรป ทำให้ไทยสามารถส่งออกสินค้าประมงไปสหภาพยุโรปได้ต่อเนื่อง พร้อมทั้งแสดงความมุ่งมั่นในการป้องกันและแก้ปัญหาการบังคับใช้แรงงานและการค้ามนุษย์ ปรับปรุงภาพลักษณ์ภาคการประมงของไทยให้ดียิ่งขึ้น

2.ทวงคืนผืนป่าจากนายทุนได้ โดยในปี 2559 สามารถทวงคืนผืนป่าจากนายทุนได้ 1.4 แสนไร่ และถือเป็นพันธกิจที่ต่อเนื่องมาจนถึงทุกวันนี้ นอกจากนี้ยังมีการจัดสรรพื้นที่ทำกินให้แก่ประชาชนด้วย

3.ประกาศแก้ปัญหาหนี้นอกระบบอย่างครบวงจร ตั้งแต่เจ้าหนี้และมาตรการช่วยเหลือลูกหนี้ โดยให้เจ้าหนี้ที่ปล่อยกู้นอกระบบจัดตั้งเป็นธุรกิจสินเชื่อรายย่อยระดับจังหวัดภายใต้การกำกับ (สินเชื่อพิโกไฟแนนซ์)

4.ขจัดปัญหามาเฟีย ปราบปรามผู้มีอิทธิพลใช้อำนาจในทางผิดกฎหมาย กวาดล้างอาวุธสงคราม ปืน ระเบิด รวมถึงจับตาเครือข่ายและผู้ร่วมขบวนการทั้งหมด ไม่เว้นแม้แต่เจ้าหน้าที่รัฐที่เกี่ยวข้อง

5.ผลักดันระบบ ‘พร้อมเพย์’ เพื่อช่วยลดต้นทุนในการชำระเงินและโอนเงินของประชาชน และเป็นเครื่องมือสำคัญในการส่งเสริมธุรกิจอีคอมเมิร์ซ

6.เดินหน้าจัดระเบียบสังคม จัดการหาบเร่แผงลอยผิดกฎหมาย ร้านค้าริมถนน ขึ้นทะเบียนวินจักรยานยนต์ และจัดระเบียบแรงงานข้ามชาติ

7.แก้ปัญหาข้าวค้างสต็อกจากโครงการรับจำนำข้าว โดยใช้วิธีประมูลอย่างโปร่งใส ซึ่งช่วยลดภาระการขาดทุน และลดแรงกดดันราคาข้าวไทยให้อยู่ในระดับต่ำ

8.ปลดธงแดง ICAO ได้เป็นผลสำเร็จ ถอดชื่อประเทศไทยออกจากรายชื่อประเทศที่มีความเสี่ยงด้านความปลอดภัยด้านการบินพลเรือน

9.ประกาศปราบปรามการทุจริต-คอร์รัปชันในระบบราชการทุกระดับชั้น รัฐบาล คสช. รับโครงการสร้างมาตรฐานความโปร่งใสในระดับสากลอย่างน้อย 4 โครงการ มาใช้ในประเทศไทย  ซึ่งจะทำให้เกิดการเปิดเผยข้อมูลต่อสาธารณะและการตรวจสอบโดยประชาชน ได้แก่

- โครงการ ‘ข้อตกลงคุณธรรม’ (Integrity Pact) ซึ่งผลักดันโดยองค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน (ประเทศไทย) โดยถูกบัญญัติไว้ใน พ.ร.บ. การจัดซื้อจัดจ้างฯ และถูกนำไปใช้กับโครงการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐที่ประมูลและทำสัญญา

-โครงการความโปร่งใสในการก่อสร้างภาครัฐ (CoST)

-โครงการรัฐบาลโปร่งใส (Open Government Partnership)

-โครงการความโปร่งใสในการใช้ทรัพยากรธรรมชาติ (EITI)

10.ออกมาตรการแก้ไขปัญหาความยากจน ช่วยเหลือทั้งการให้บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ การสร้างอาชีพเพื่อเพิ่มรายได้

11.ลงทุนโครงการเมกะโปรเจกต์ ออก พ.ร.บ.เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานต่าง ๆ เช่น โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน สนามบินอู่ตะเภา ท่าเรือมาบตาพุด และท่าเรือแหลมฉบัง ส่งเสริมการพัฒนา และดึงดูดการลงทุนในอุตสาหกรรมเป้าหมาย (S-Curve industries)

12.สานสัมพันธ์ระหว่างประเทศ เดินทางเยือนสหราชอาณาจักร พบ ‘เทเรซา เมย์’ นายกรัฐมนตรีสหราชอาณาจักรในขณะนั้น 

‘ทิพานัน’ ชี้!! ผลงาน ‘บิ๊กตู่’ 9 ปี มีเพียบ ยกผลงานเจรจาการค้าเด่น หนุนเปิดประเทศ-เปิดโอกาส ชู ‘ศักยภาพผู้นำที่ดี’ พาไทยแกร่งรอบด้าน

‘ทิพานัน’ ติงนักวิชาการ ให้ข้อมูลไม่ครบถ้วน ยกผลงานเจรจาการค้าระหว่างประเทศ ยุค ‘พล.อ.ประยุทธ์’ ผลงานเพียบ เปิดประเทศ เปิดโอกาส และเปิดแนวทางใหม่การลงทุนในภูมิภาคสุดปัง ชู ‘ภาวะผู้นำที่ดี’ ทำทีมไทยแกร่ง 6 ด้าน

(23 ต.ค. 66) น.ส.ทิพานัน ศิริชนะ อดีตรองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี โพสต์ข้อความผ่านเพจเฟซบุ๊กส่วนตัว ‘อ้น ทิพานัน ศิริชนะ’ ถึงกรณีที่นักวิชาการแสดงความเห็นเปรียบเทียบ การเจรจาการค้าระหว่างประเทศระหว่าง นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง และ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา อดีตนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ระบุว่า…

ลุงตู่มีวิสัยทัศน์ที่ดี ทั้งเปิดประเทศ เปิดโอกาส เปิดแนวทางใหม่การลงทุนในภูมิภาค

ที่สำคัญเพราะ ‘ภาวะผู้นำที่ดี’  จึงมีดังนี้

#รัฐบาลลุงตู่ มีผู้แทนการค้าไทยที่แข็งแกร่ง

#รัฐบาลลุงตู่ มีทูตทางการค้าที่เข้าใจลูกค้า

#รัฐบาลลุงตู่ มีนโยบายจากBOIที่ชวนมาลงทุนโดยเฉพาะ

#รัฐบาลลุงตู่ มีกฎหมายอำนวยความสะดวกสำหรับนักลงทุนโดยเฉพาะ

#รัฐบาลลุงตู่ เดินหน้าเจรจาการค้ากับต่างประเทศมาตลอด 9 ปี

#รัฐบาลลุงตู่ พัฒนาทุกมิติไม่ใช่แค่หิ้วกระเป๋าไปขายของ

สิ่งเหล่านี้คือ ‘รากฐาน’ สำหรับการไปขายของในอนาคต

บทความตอนหนึ่งที่กล่าวถึง พล.อ.ประยุทธ์ จาก รศ.ดร.พิชาย รัตนดิลก เมื่อวันที่ 22 ต.ค. 2566 ว่า…

“เพราะถ้ามีการเปรียบเทียบทั้งสองคน ในแง่การไปเจรจาการค้าระหว่างประเทศ สมัย พล.อ.ประยุทธ์ เรื่องการเจรจาพูดคุยอะไรต่างๆ กับต่างชาติติดลบ”

“และการเดินสายต่างประเทศคงเป็นความพยายามหลังจากที่ขาดหายไปนานในรัฐบาลของพล.อ.ประยุทธ์ จึงถือเป็นความพยายามอีกอย่างหนึ่งท่ามกลางปัญหาเศรษฐกิจที่หลากหลาย”

การนำเสนอตรงนี้อาจไม่ครบถ้วน ตรงตามหลักวิชาการ และคนอาจเชื่อตามข้อมูลนั้นไปแบบไม่ครบถ้วน จึงขอนำเสนอข้อมูลให้ครบถ้วนอีกด้าน เพื่อความเข้าใจที่ถูกต้องครบถ้วนทุกมิติ ที่ทำให้เห็นว่า ลุงตู่วางรากฐานการลงทุนที่จับต้องได้ ไม่ขายฝัน และ #มีคนทำงานแต่ละด้านที่เป็นมืออาชีพ จนสำเร็จลุล่วง และเดินหน้าพบปะกับต่างชาติทั่วโลกมาตลอดระยะเวลา 9 ปี และมีผลงานโดดเด่นมากมาย เช่น ซาอุฯ จีน เป็นต้น

การเดินทางพบผู้นำและประชุมระดับโลกและอาเซียน ของลุงตู่ เพื่อการค้าและการลงทุน และมิติอื่นๆ มีอะไรบ้าง ขอยกตัวอย่างดังนี้

- 12-15 ธ.ค. 65 ประชุมสุดยอดอาเซียน–สหภาพยุโรป สมัยพิเศษ ที่บรัสเซลส์ เบลเยียม

- 25-27 พ.ค. 65 ประชุมInternational Conference on the Future of Asia (Nikkei Forum) ครั้งที่ 27 ที่โตเกียว ญี่ปุ่น

- 12-13 พ.ค. 65 การประชุมสุดยอดอาเซียน-สหรัฐอเมริกา ที่ วอชิงตันดี.ซี สหรัฐอเมริกา

- 25 ม.ค. 65 เยือนซาอุดีอาระเบีย เป็น ‘ความสำเร็จในการฟื้นฟูความสัมพันธ์ไทย - ซาอุดีอาระเบีย’ ให้กลับมาอยู่ใน ‘ระดับปกติ’ อย่างสมบูรณ์ ถือเป็นการสิ้นสุด 3 ทศวรรษแห่งความห่างเหิน และเป็นก้าวแรกของ ‘โอกาสอันมากมายมหาศาล’ 9 ด้าน คือ

1.) การท่องเที่ยว สร้างรายได้ให้ไทยไม่ต่ำกว่า 5,000 ล้านบาทต่อปี

2.) พลังงาน (เป้าหมายเชิงยุทธศาสตร์ชาติของ 2 ประเทศ) ร่วมลงทุน-วิจัยพลังงานดั้งเดิม พลังงานสะอาด และพลังงานหมุนเวียน

3.) แรงงานไทย สนับสนุนโครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานต่าง ๆ ใน ‘วิสัยทัศน์ซาอุดีอาระเบีย ค.ศ. 2030’ (Saudi Vision 2030)

4.) อาหาร ผลิต-ส่งออกอาหารฮาลาลให้แก่ซาอุดีฯ และประเทศอื่นๆ ในภูมิภาคตะวันออกกลาง GCC

5.) สุขภาพ-การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพและความร่วมมือทางการแพทย์ของไทย

6.) ความมั่นคง ไทยจะได้รับประโยชน์จากซาอุดีฯ ประเทศมหาอำนาจในกรอบองค์กรความร่วมมืออิสลาม (OIC) เช่น ปัญหาจังหวัดชายแดนใต้ ความร่วมมือด้านข้อมูลข่าวสารความมั่นคง การต่อต้านการก่อการร้าย

7.) การศึกษาและศาสนา ทุนการศึกษาแก่นักเรียนไทยมุสลิม

8.) การค้าและการลงทุน ลู่ทางธุรกิจและหุ้นส่วนทางการค้าในซาอุดีฯ และกลุ่มประเทศตะวันออกกลาง และการดึงดูดซาอุดีฯ ลงทุนในเขตเศรษฐกิจพิเศษต่างๆ ของไทยด้านพลังงาน นวัตกรรม โทรคมนาคม อวกาศ เทคโนโลยีสีเขียว โครงสร้างพื้นฐาน ฯลฯ

9.) กีฬา เช่น มวยไทยในภูมิภาคตะวันออกกลาง

- 1 พ.ย. 64 เข้าร่วมประชุม ‘UN Climate Change Conference’ (COP 26) ครั้งที่ 26 ที่เมืองกลาสโกว์ อังกฤษ และประกาศคำมั่นสัญญาใหม่ของไทยอย่างเป็นทางการในการบรรลุความเป็นกลางทางคาร์บอน หรือ Carbon Neutral ภายในปี 2065 #จนเป็นที่มานโยบายด้านนี้ในไทย ที่ขับเคลื่อนจริง และนักลงทุนสนใจมาลงทุน

- 24 ก.ย. 64 เข้าร่วมประชุมสมัชชาสหประชาชาติ ครั้งที่ 76 ที่ นิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา

- 24-27 พ.ย. 62 เข้าร่วมการประชุมสุดยอดอาเซียน-เกหลีใต้ สมัยพิเศษ ครั้งที่ 3 และการประชุมผู้นำกรอบความร่วมมือลุ่มน้ำโขงกับเกาหลีใต้ ครั้งที่ 1 ที่ปูซาน เกาหลีใต้

- 21-27 ก.ย. 62 เข้าร่วมประชุมสมัชชาสหประชาชาติ ครั้งที่ 74 ที่ นิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา

- 28-29 มิ.ย. 62 ในฐานะประธานอาเซียน เข้าร่วมประชุมผู้นำ G20 ประจำปี 2562 ที่โอซากา ญี่ปุ่น

- 25 มิ.ย. 61 หารือทวิภาคีกับนายเอมานูว์แอล มาครง ประธานาธิบดีฝรั่งเศส ที่ฝรั่งเศส

- 20 มิ.ย. 61 หารือทวิภาคีกับนางเทรีซา เมย์ นายกฯ อังกฤษ ที่อังกฤษ

- 2-4 ต.ค. 60 หารือทวิภาคีกับประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ที่สหรัฐอเมริกา

- 14-16 ต.ค. 59 เข้าร่วมการประชุมผู้นําเอเชีย-ยุโรป (Asia-Europe Meeting - ASEM) ครั้งที่ 11 ที่อูลานบาตอร์ มองโกเลีย

- 16-18 มิ.ย. 59 เยือนอินเดีย เพื่อความร่วมมือด้านการค้า-ความมั่นคง

- 17-21 พ.ค. 59 เยือนรัสเซีย ฟื้นความสัมพันธ์ในรอบ 11 ปี

- 9-11 พ.ย. 57 เข้าร่วมประชุมเอเปค ครั้งที่ 22 ที่ปักกิ่ง จีน

- 16-17 ต.ค. 57 เข้าร่วมการประชุมผู้นําเอเชีย-ยุโรป (Asia-Europe Meeting - ASEM) ครั้งที่ 10 ที่มิลาน อิตาลี

รัฐบาลลุงตู่ต้อนรับผู้นำที่มาเยือนไทย แสดงให้ต่างชาติเห็นศักยภาพบ้านเมืองไทยที่เจริญ และน่าลงทุนจริงๆ

- 14 ก.พ. 66 นายกฯ มาเลเซีย

- 10 ก.ค. 65 รมว.ต่างประเทศของอเมริกา และไทยและสหรัฐฯ ลงนามร่วมกันในแถลงการณ์ว่าด้วยความเป็นพันธมิตรและหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์

- 4-5 ก.ค. 65 มนตรีแห่งรัฐ และ รมว.ต่างประเทศของจีน

- ส่งเสริมการลงทุนใน EEC

- พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและการเชื่อมโยง

- รถไฟความเร็วสูงจีน-ลาวกับระบบรางและรถไฟความเร็วสูงไทย-จีนของไทย

- ปราบปรามอาชญากรรมข้ามชาติ

- ลงนาม MOU ด้านการรรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์

- 13 มิ.ย. 65 รมว.กลาโหมของอเมริกา

- 1-2 พ.ค. 65 นายกฯ ญี่ปุ่น

- 20-23 พ.ย. 62 สมเด็จพระสันตะปาปาฟรานซิส

- 8 ส.ค. 60 รมว.ต่างประเทศของอเมริกา

- 27 ม.ค. 60 ผู้ช่วย รมว.ต่างประเทศของอังกฤษ

ความสำเร็จที่โดดเด่น และปังที่สุด คือ

- 18-19 พ.ย. 65 ลุงตู่ เป็นเจ้าภาพจัดงานประชุมเอเปค ‘APEC2022’ ต้อนรับผู้นำจาก 21 เขตเศรษฐกิจ และได้รับคำชมเชยจาก ผอ.เลขาธิการเอเปค ยกย่องไทย จัดประชุม APEC2022 ได้ยอดเยี่ยม ระดับ world class และผลักดัน “เป้าหมายกรุงเทพฯ ว่าด้วยเศรษฐกิจ BCG” สำเร็จในเวทีโลก

- 15 พ.ย. 63 ไทยร่วมก่อตั้งและลงนามความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค #RCEP กับ 14 ประเทศ (บรูไน กัมพูชา อินโดนีเซีย ลาว มาเลเซีย เมียนมา ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ เวียดนาม ออสเตรเลีย จีน ญี่ปุ่น นิวซีแลนด์ และเกาหลีใต้) ซึ่งเป็นตลาดขนาดใหญ่ที่มีประชากรรวมกันกว่า 2,200 ล้านคน (30% ของ GDP โลก) เพิ่มโอกาสและศักยภาพในการแข่งขันให้กับสินค้าไทยให้ได้รับประโยชน์เพิ่มขึ้นเริ่มตั้งแต่ 1 ม.ค. 65

- 16 ธ.ค. 62 ‘ประเทศแรกในเอเชีย’ ไทยประกาศใช้แผนปฏิบัติการระดับชาติว่าด้วยธุรกิจกับสิทธิมนุษยชน

- ปี 61-66 ไทยคงสถานะอันดับสูงสุดในอาเซียน 5 ปีซ้อน สำหรับดัชนีเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDG Index)

- ปี 58-61 ไทยได้รับเลือกให้เป็นประเทศผู้ประสานงานระหว่างอาเซียนกับ EU
นี่เป็นเพียงส่วนหนึ่งที่ รัฐบาลลุงตู่ วางรากฐานความเชื่อมั่น เปิดประเทศและไปแนะนำประเทศ ให้คนทั่วโลกรู้จักและมาลงทุนในไทย

ดังนั้น อาจมีใครหลายคนที่อาจจะยังไม่ทราบข้อมูลและวิจารณ์บนพื้นฐานไม่รู้… จะได้รู้เพิ่มเติมค่ะ

ข้อมูลจาก https://www.soc.go.th/?page_id=10338

รายงานผลการดำเนินงานของรัฐบาล พลเอก ประยุทธ์ (1) ปีที่ 1-4 และ (2) ปีที่ 1-3 
#ลองหาอ่านดูเผื่อใครสนใจค่ะ

23 ตุลาคม 2566
Cr. เพจ อ้น ทิพานัน ศิริชนะ


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top