เพาะกล้ารักษ์ เพื่อเพาะกล้าไม้ 1,000,000 ต้น แก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เพื่อดูดซับคาร์บอน 10ล้านกิโลกรัมคาร์บอน
วันนี้( 25 ก.ค. 67) ที่ โรงเรียนบางปะกง “บวรวิทยายน” อ.บางปะกง จ.ฉะเชิงเทรา คุณกุลพรภัสร์ วงค์มาจารภิญญา ประธานผู้บริหารนิคมอุตสาหกรรมฉะเชิงเทรา บลูเทคซิตี้ มอบหมายให้ นายสุเทพ คล่องโยธา หัวหน้าฝ่ายความรับผิดชอบต่อสังคม (CSR) โครงการนิคมอุตสาหกรรม ฉะเชิงเทรา บลูเทค ซิตี้ เข้าร่วมกิจกรรมโครงการเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 10 เพาะกล้ารักษ์ เพื่อเพาะกล้าไม้ 1,000,000 ต้น แก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เพื่อดูดซับคาร์บอน 10ล้านกิโลกรัมคาร์บอน โดยมี รองฯสุกัญญา แสงสุข รองศึกษาธิการจังหวัดฉะเชิงเทรา ประธานเปิดโครงการ พร้อมด้วย คุณสาโรช กิจประเสริฐ ผู้อำนวยการโรงไฟฟ้าบางปะกง , ผอ.กฤษณะ ซื้อสัตย์ ผู้อำนวยการโรงเรียนบางปะกง “บวรวิทยายน”
โรงเรียนบางปะกงบวรวิทยายน ตั้งอยู่ในอําเภอบางปะกง จังหวัดฉะเชิงเทรา ซึ่งเป็นพื้นที่ที่มี ความสําคัญทางระบบนิเวศ เนื่องจากเป็นพื้นที่ปากแม่น้ําบางปะกงที่ไหลลงสู่อ่าวไทย การที่เราได้ริเริ่ม โครงการนี้จึงมีความสําคัญอย่างยิ่งต่อการอนุรักษ์และฟื้นฟูสภาพแวดล้อมในท้องถิ่นของเรา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 10 ทรงเป็นแบบอย่างในด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม ทรงสืบสานพระราชปณิธานของพระบรมชนกนาถในการดูแลรักษาป่าไม้และแหล่งน้ํา จึงเป็นการแสดงความจงรักภักดี และสํานึกในพระมหากรุณาธิคุณ ด้วยการน้อมนําแนว พระราชดําริมาปฏิบัติให้เกิดประโยชน์แก่ท้องถิ่น และประเทศชาติ โดย โครงการเพาะกล้ารักษ์ เพื่อเพาะกล้าไม้ 1,000,000 ต้นนี้ นอกจากจะเป็นการเฉลิมพระเกียรติแล้ว ยังเป็นการร่วมแก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ซึ่งส่งผลกระทบต่อทุกชีวิตบนโลก รวมถึงชุมชน ของเราด้วย ต้นไม้จะช่วยดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์และปล่อยออกซิเจนกลับสู่อากาศ ช่วยลดปริมาณก๊าซเรือนกระจกในชั้นบรรยากาศ นอกจากนี้ โครงการเพาะกล้ารักษ์ยังส่งผลอีกหลายประการ อาทิเช่น
1. เพิ่มความหลากหลายทางชีวภาพในท้องถิ่น
2. สร้างแหล่งอาหารและที่อยู่อาศัยให้กับสัตว์น้ำและนกนานาชนิด
3. ช่วยลดอุณหภูมิในชุมชนและโรงเรียนของเรา
4. สร้างสภาพแวดล้อมที่ดีต่อสุขภาพกายใจของนักเรียนและชาวบางปะกง 5. สร้างงานสร้างอาชีพให้แก่ชุมชน โครงการของเราในวันนี้จึงเป็นการลงทุนเพื่ออนาคตของลูกหลานชาวบางปะกงและประเทศไทย เป็น การสร้างมรดกแห่งความยั่งยืนให้แก่ท้องถิ่นของเรา ขอเชิญชวนให้นักเรียน คณะครู และชุมชนทุกท่านร่วมกันเป็นส่วนหนึ่งของการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้ ไม่ เพียงแค่การร่วมปลูกต้นไม้ในวันนี้เท่านั้น แต่ขอให้นําความรู้และประสบการณ์ที่ได้รับไปปรับใช้ใน ชีวิตประจําวัน ด้วยการใช้ชีวิตอย่างพอเพียง ลดการใช้พลาสติก และร่วมกันดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมในโรงเรียน และชุมชนของเรา
ทั้งนี้ ยังร่วมกันปล่อยพันธ์ปลาสวาย จำนวน 5,000 ตัว กลับลงสู่ธรรมชาติ เพื่อเป็นการเพิ่มปริมาณสัตว์น้ำ รักษาระบบนิเวศ และสร้างรายได้ให้กับชุมชนและโรงเรียน ต่อไป