Thursday, 24 April 2025
ปริญญา_เทวานฤมิตรกุล

'ปริญญา' กางกฏยูเอ็น นายกฯต้องรับผิดชอบ ปม คฝ.สาดกระสุนยางใส่ 'ทะลุแก๊ส' แบบประทับบ่ายิงสูง

(14 มิ.ย.2565) นายปริญญา เทวานฤมิตรกุล อาจารย์ประจำภาควิชากฎหมายมหาชน คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โพสต์เฟซบุ๊ก Prinya Thaewanarumitkul ถึงการปะทะระหว่างเจ้าหน้าที่ตำรวจกับม็อบทะลุแก๊สเมื่อคืนวันเสาร์ที่ผ่านมาว่า การใช้กระสุนยาง ที่ #ไม่สอดคล้องกับกติกาของสหประชาชาติ

แนวปฏิบัติของสหประชาชาติด้านสิทธิมนุษยชนในเรื่องการใช้อาวุธที่มีความร้ายแรงต่ำในการบังคับใช้กฎหมาย (Guidance on less-lethal weapons in law enforcement) ได้กำหนดวิธีการใช้ #กระสุนยาง ไว้ที่ข้อ 7.5.2 ว่า
“Kinetic impact projectiles should generally be used only in direct fire with the aim of striking the lower abdomen or legs of a violent individual and only with a view to addressing an imminent threat of injury to either a law enforcement official or a member of the public”

แปลได้ความว่า “โดยหลักแล้วกระสุนยางควรใช้เฉพาะการยิงโดยตรงที่เล็งไปที่ท้องส่วนล่าง หรือขาของผู้ก่อความรุนแรง และเฉพาะเมื่อเห็นว่าจะเกิดภยันตรายต่อเจ้าหน้าที่ผู้รักษากฎหมาย หรือต่อสมาชิกคนหนึ่งคนใดของสังคม”

ว่าง่าย ๆ สหประชาชาติกำหนดเงื่อนไขในการใช้กระสุนยางไว้สองข้อคือ #หนึ่ง #จะต้องเล็งต่ำไปที่ท้องส่วนล่างหรือขา ของผู้ก่อความรุนแรง จะยิงส่งเดชไม่ได้ และ #สอง ใช้กระสุนยาง #เฉพาะเพื่อป้องกันอันตรายที่กำลังเกิดกับเจ้าหน้าที่ผู้รักษากฎหมายหรือประชาชน เท่านั้น
 

‘ไพศาล พืชมงคล’ ออกโรงถามหาคุณภาพนักวิชาการ ต่อ ‘ปริญญา เทวนฤมิตรกุล’ หลังเมินเฉยต่อเหตุสังหารผู้พิพากษาพม่า 6 คน แต่กลับทนไม่ได้ที่ฝ่ายต่อต้านรัฐบาลถูกประหารไป 4 คน

30 ก.ค.2565 - นายไพศาล พืชมงคล อดีตกรรมการผู้ช่วย รองนายกรัฐมนตรี (พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ) โพสต์เฟซบุ๊ก paisal puechmongkol ถึงนายปริญญา เทวานฤมิตรกุล อาจารย์ประจำภาควิชากฎหมายมหาชน คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กรณีออกมากดดันให้ไทยเลิกคบเมียนมาจากมูลเหตุรัฐบาลทหารประหารชีวิตฝ่ายต่อต้านรัฐบาล โดยระบุว่า 

คุณภาพนักวิชาการ

ฝ่ายต่อต้านรัฐบาลพม่าลอบสังหารผู้พิพากษา 6 คนที่ตัดสินลงโทษฝ่ายต่อต้าน

นักวิชาการเงียบกริบหรืออาจจะสนับสนุนอยู่ในใจก็ได้

รัฐบาลต้องแสดงออกว่า ได้กระทำเต็มที่แล้ว หาไม่แล้วเรื่องนี้ จะถูกนำไปโยงกับกรณีของ ทักษิณ ชินวัตร ว่ามีเจตนาในการช่วยเหลือลูกน้องหรือไม่

(14 ต.ค. 67) ‘ปริญญา เทวานฤมิตรกุล’ อาจารย์คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวถึงการดำเนินงานของรัฐบาล และพรรคเพื่อไทยต่อกรณี ‘พล.อ.พิศาล วัฒนวงษ์คีรี’ สส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย หลังศาลจังหวัดนราธิวาส ออกหมายจับใน ‘คดีสลายการชุมนุมที่ตากใบ’ ใกล้จะหมดอายุความ ว่า เหตุการณ์ที่ตากใบเป็นเหตุการณ์ที่ไม่ควรเกิดขึ้น เช่นเดียวกับเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 และพฤษภาคม 2535 เป็นการเสียชีวิตของประชาชนจาก การใช้กำลังของเจ้าหน้าที่รัฐ จึงไม่ควรเกิดอีก เพราะที่ผ่านมาก็ไม่เคยมีเจ้าหน้าที่รัฐคนไหนถูกลงโทษแต่ประการใด ซึ่งเหตุการณ์ตากใบก็ทำนองเดียวกัน 

เมื่อเกิดเหตุขึ้นแล้วไม่มีการดำเนินคดีกับเจ้าหน้าที่รัฐได้ แม้มีการให้เงินเยียวยาตอบครอบครัวผู้เสียชีวิตและผู้บาดเจ็บสาหัส แต่ความยุติธรรมของผู้เสียหายทั้ง 85 ชีวิต ที่ทวงถามมา 20 ปี เรื่องนี้รัฐบาลจะต้องแสดงออกอะไรบางอย่าง

เพราะหน้าที่ของสำนักงานตำรวจแห่งชาติก็อยู่ในอำนาจบังคับบัญชาของรัฐบาล จึงต้องกำชับเรื่องนี้เพราะเหลือเวลาอีกประมาณ 10 วันเท่านั้น แล้วรัฐบาลได้ดำเนินการเรื่องนี้ได้ตามความคาดหมายของประชาชนหรือไม่ สิ่งสำคัญคือเรื่องนี้ไม่ใช่เรื่องส่วนตัวของพล.อ.พิศาล โดยในส่วนการขึ้นศาลอาจจะเป็นเรื่องส่วนตัว แต่หน้าที่ของรัฐบาลซึ่งมีอำนาจในการสั่งการสำนักงานตำรวจแห่งชาติ(สตช.) ไม่ใช่เรื่องส่วนตัวของใคร เพราะเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจนทำให้มีผู้เสียชีวิตนั้นรถคันแรกซึ่งขนมวลชนมาก็เห็นแล้วว่า มีผู้เสียชีวิตเกิดขึ้น แต่จนกระทั่งคันสุดท้ายในการขนมวลชนกลับไม่มีการเปลี่ยนแปลงวิธีการ จนเป็นเหตุให้มีผู้เสียชีวิตจำนวนมากแต่กลับไม่สามารถดำเนินคดีเอาผิดผู้กระทำได้

"ตามพ.ร.บ.ตำรวจแห่งชาติมีนายกรัฐมนตรีนั่งเป็นผู้บัญชา พึงกำชับเจ้าหน้าที่ตำรวจในการออกหมายแดง ประสานงานกับตำรวจประเทศอื่น ใน 10 วันนี้ถ้าหากรัฐบาลไม่ทำอะไรออกมา ตามที่ควรจะเป็นตามความคาดหวังของประชาชน หลัง 25 ต.ค.นี้จะเป็นเรื่องที่กระทบกับรัฐบาลได้ เพราะปล่อยให้อายุความขาดไปโดยไม่ทำอะไร จะจับตัวได้หรือไม่ เอามาขึ้นศาลได้หรือไม่ เป็นอีกเรื่องหนึ่ง แต่รัฐบาลต้องแสดงออกว่า ได้กระทำเต็มที่แล้ว หาไม่แล้วเรื่องนี้จะถูกมองทันที และจะนำไปโยงกับกรณีของทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีด้วย ว่ามีเจตนาในการช่วยเหลือลูกน้อง หรือช่วยเพื่อนหรือไม่ ดังนั้นควรแสดงออกว่ารัฐบาลได้ดำเนินการในสิ่งที่ควรกระทำแล้ว" ปริญญา กล่าว 

เมื่อถามว่า ‘สมคิด เชื้อคง’ รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ระบุว่าการกระทำของพล.อ.พิศาลเป็นความผิดส่วนตัว มองเรื่องนี้อย่างไร ปริญญากล่าวว่า เรื่องการต้องข้อหาและต้องขึ้นศาลนั้นเป็นเรื่องส่วนตัว แต่เนื่องจากพล.อ.พิศาล เป็นสส.บัญชีรายชื่อ ของพรรคเพื่อไทย จึงไม่ใช่เรื่องส่วนตัวเท่านั้น ทางพรรคเพื่อไทยควรมีการตอบคำถาม ว่าจะมีท่าทีต่อเรื่องนี้อย่างไร โดยเฉพาะพรรคเพื่อไทยเป็นพรรครัฐบาลและอยู่ในช่วงของการสร้างผลงาน หลายเรื่องก็เห็นผลงานขึ้นมา ขณะนี้คะแนนนิยมของ ‘แพทองธาร ชินวัตร’ นายกฯ ก็ดีขึ้น ถ้าเรื่องนี้ไม่แสดงออกอย่างตรงไปตรงมาจะถูกมองทันทีว่าเป็นการช่วยผู้ต้องหา ซึ่งไม่ใช่เรื่องดีของรัฐบาล

จริงๆ ระยะเวลาที่เหลืออยู่ 10 วันนั้นเป็นเรื่องยากทีจะได้ตัวมาขึ้นศาล แต่สิ่งที่คนรอดูมากกว่าคือท่าทีของรัฐบาลและพรรคเพื่อไทย

ส่วนกรณีที่วันพรุ่งนี้ (15 ต.ค.67) พรรคเพื่อไทยจะมีการประชุมเพื่อขับ พล.อ.พิศาล ออกจากพรรค ถือเป็นการรับผิดชอบที่เพียงพอหรือเป็นแค่การเขวี้ยงงูให้พ้นคอหรือไม่ ปริญญา กล่าวว่า คงต้องรอดูท่าทีว่าพรรคเพื่อไทยจะมีมติอย่างไร ถ้าพูดอย่างไม่อ้อมค้อมพล.อ.พิศาลคงยากที่จะกลับมาทำงานทางการเมืองแล้ว เพราะถ้าลาหยุดการทำหน้าที่ของสส. จากกรณีถูกคดีสั่งฟ้อง เหมือนว่าตั้งใจที่จะหลบออกไปก่อนเพื่อรอให้คดีความหมดอายุ การกลับมาอีกครั้งหลังจากนี้ก็จะถูกตั้งคำถาม ว่าเป็น สส. แล้วทำไมถึงไม่ยอมเข้าสู่กระบวนการรยุติธรรม ซึ่งศาลมีหมายเรียกก็ไม่มา จนกระทั่งออกหมายจับ เพื่อให้เข้าสู่กระบวนการยุติธรรมเพื่อให้มีการต่อสู้คดีแต่กลับเลือกที่จะหนี ดังนั้นเรื่องนี้จึงเป็นเรื่องที่พักจะต้องพิจารณาว่าจะดำเนินการอย่างไร

เมื่อถามว่าในทางกฎหมาย พอจะมีทางที่จะยืดอายุความออกไปได้อีกหรือไม่ ปริญญา กล่าวว่า กฎหมายอาญาของไทยคดี ที่ทำให้มีคนเสียชีวิตจะมีอายุความ 20 ปี และจะขาดอายุความเมื่อ 1) ไม่ได้มีการฟ้องต่อศาลแต่ตรงนี้ก็ทำแล้ว ศาลรับฟ้องแล้ว 2) การเอาตัวผู้ต้องหาหรือจำเลย ขึ้นศาลซึ่งส่วนนี้ทำให้มีการหลบออกไปให้พ้น วันที่ 25 ต.ค.2567 เพราะเหตุการณ์เกิดขึ้น ครบ 20 ปีทำให้ในทางกฎหมายอาญา เท่ากับขาดอายุความ ขอย้ำว่าเรื่องนี้ไม่ใช่แค่เรื่องทางกฎหมายแต่เป็นคำถามใหญ่ๆ ว่า จากนี้ไปประเทศไทยจะเอาอย่างไร เมื่อมีเหตุการณ์ที่เจ้าหน้าที่ของรัฐทำให้ประชาชนเสียชีวิตเกิดขึ้นครั้งแล้วครั้งเล่า อันนี้เป็นเรื่องใหญ่ที่รัฐบาลจะต้องแสดงออกอะไรบางอย่าง จะปล่อยให้อายุความขาดไปเฉยๆ โดยบอกแต่เพียงว่าเป็นเรื่องส่วนบุคคล เกรงว่าหลัง 25 ต.ค.ไปแล้วผลเสียหายหรือว่าคำถามจะกลับมาที่พรรคเพื่อไทย

เมื่อถามว่าแปลว่าท่าทีหรือการดำเนินการของรัฐบาลหรือพรรคเพื่อไทยยังไม่มีความชัดเจน พอที่จะนำตัวพล.อ.พิศาลกลับเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมหรือไม่ ปริญญา กล่าวว่า จริงๆ แล้วคงพูดไม่ได้ว่าจริงใจหรือไม่จริงใจ เขาอาจจะเข้าใจ จริงๆ ก็ได้ว่านี่เป็นเรื่องส่วนบุคคล แต่ในฐานะอาจารย์ทางด้านกฎหมาย ก็ชี้ให้เห็นว่าพล.อ.พิศาล มีหมายเรียกให้มาขึ้นศาล การปฏิเสธหมายเรียกก็เป็นปัญหาอยู่แล้ว พอไม่มาก็ออกหมายจับนี่จึงเป็นหน้าที่ที่จะต้องมาปรากฏตัว เพราะตามรัฐธรรมนูญตามกฎหมายไทยถือว่าท่านยังบริสุทธิ์อยู่ แต่ที่ท่านหลบหนีอยู่ขณะนี้ถือว่าเป็นเรื่องที่ผิดกฎหมาย พ.ร.บ.ตำรวจแห่งชาติอยู่ในอำนาจของนายกรัฐมนตรีแปลว่าท่านมีอำนาจที่ทำอะไรบางอย่างซึ่งตนก็ไม่สามารถบอกได้ว่าจะต้องทำอะไรบ้าง แต่คนมีความคาดหวังและหลัง 25 ต.ค.ผ่านไปแล้วอายุความขาด โดยที่รัฐบาลดูจะจริงจังน้อยไปบ้าง ผลเสียก็จะกลับมาที่รัฐบาลเอง

เมื่อถามย้ำว่าการที่ ไม่ทำอะไรที่เพียงพอเท่ากับเป็นการช่วยเหลือหรือไม่ ปริญญา กล่าวว่า ก็อาจจะถูกมองอย่างนั้นได้ ส่วนจะถือเป็นการละเว้นการปฏิบัติหน้าที่หรือไม่ แพทองธาร อาจจะถูกมองเช่นนี้ได้เช่นกัน 


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top