Tuesday, 22 April 2025
ประเทศญี่ปุ่น

‘กาตาร์’ ทึ่ง!! แฟนบอลญี่ปุ่นเก็บขยะหลังเกมจบ ถามเก็บทำไม? ตอบ “เพราะเราเคารพสถานที่”

ฟุตบอลโลกกลับมาแล้ว และแฟนๆ ทั่วโลกต่างตั้งตารอชมการแข่งขันฟุตบอลหลังจากรอคอยมาสี่ปี ซึ่งในการแข่งขันนัดเปิดสนามระหว่างชาติเจ้าภาพกับเอกวาดอร์ ‘Omr94’ ผู้ใช้อินตราแกรมรายหนึ่งชาวบาห์เรนออกมาเผยเรื่องราวประทับใจของแฟนบอลสัญชาติญี่ปุ่น โดยหลังจากจบเกมแล้ว แฟนบอลชาวญี่ปุ่นที่เข้าไปชมเกมนี้ มีพฤติกรรมที่น่าชื่นชมจนได้รับคำชมเชยในตะวันออกกลางอย่างล้นหลามและกลายเป็นกระแสไวรัลไปทั่วโลก

ภายในวิดีโอเผยภาพที่หลังจากจบเกมพบกาตาร์เจอกับเอกวาดอร์ แฟนบอลชาวญี่ปุ่นไม่เดินออกจากสนามเหมือนคนอื่น นำถุงขยะใบใหญ่เดินไล่เก็บขยะที่ถูกทิ้งไว้บนอัฒจันทร์ เช่น กล่องกระดาษ ถ้วย ขวดพลาสติก ธง และกระเป๋า ในโซนที่ตัวเองนั่งเชียร์อยู่ แม้ว่าทีมของพวกเขาจะไม่ได้มีส่วนร่วมในการแข่งขันในวันอาทิตย์ด้วยซ้ำ แต่แฟน ๆ ยังเข้าร่วมการแข่งขันกาตาร์กับเอกวาดอร์จากนั้นเลือกที่จะเดินไปรอบ ๆ เพื่อเก็บขยะโดยไม่ต้องร้องขอ 

แค่ทุบทำร้าย!! ‘เพจดัง’ เผยคลิปไม่ใช่เหตุ ‘สุ่มแทง’ ชี้!!ไม่มีการแทง มีแค่ทุบกับต่อย

เพจ "Drama-addict" เผยอีกมุมในเหตุการณ์ "สุ่มแทงคน" ในประเทศญี่ปุ่น พร้อมนำคลิปจากกล้องวงจรปิดมาให้ดู พบอาจเป็นเพียงหญิงสติไม่ดีไล่ทำร้ายร่างกายคนอื่น อีกทั้งชื่นชมกล้องวงจรปิดชัดแจ๋วจริงๆ

จากกรณีเพจ "ที่นี่เที่ยว ญี่ปุ่น" โพสต์เตือนหลังตนเองพบเหตุการณ์สุ่มแทงคนในประเทศญี่ปุ่น ก่อนจะมีเพจเกี่ยวกับเที่ยวญี่ปุ่นเพจอื่น ๆ แย้งว่าไม่จริงไม่มีเหตการณ์นั้น สุดท้ายเพจต้นทางได้ทำการลบโพสต์ดังกล่าวทิ้งไป พร้อมกับยืนยันว่าเห็นเหตุการณ์จริง ๆ

อย่างไรก็ตาม วันนี้ (14 มี.ค.) เพจ "Drama-addict" ได้ออกมาโพสต์คลิปวันเกิดเหตุลงในเพจ ก่อนจะพบความจริงว่าเหตุการณ์ทำร้ายร่างกายอาจไม่ได้หนักถึงขั้นใช้อาวุธแทงแต่อาจเพียงแต่ไล่ทุบตีเฉยๆ ทั้งนี้ "Drama-addict" ได้ระบุข้อความว่า

'อดีตนักเรียนไทยในญี่ปุ่น' ฉายภาพ 'มารยาท' ในพื้นที่สาธารณะ 'การปลูกฝัง-ส่งต่อสิ่งดีๆ' รุ่นสู่รุ่น ช่วยสร้างวินัย-พัฒนาชาติเจริญ

(14 ส.ค.66) ข้อมูลของผู้ใช้เฟซบุ๊ก ‘Naruphun Chotechuang’ โดย ‘คุณนฤพันธ์ โชติช่วง’ อดีตนักเรียนวิทยาลัยยามชายฝั่งญี่ปุ่น ได้โพสต์ให้ความรู้กรณีมารยาทบนรถไฟของประเทศญี่ปุ่นไว้ว่า...

มีท่านผู้ใหญ่ท่านหนึ่งสอบถามเรื่องมารยาทบนรถไฟของประเทศญี่ปุ่น จากกรณีที่มีคนไทยไปทำเรื่องขายหน้าแต่ดูเหมือนเจ้าตัวไม่ได้รู้สึกผิดใดๆ แถมยังเหยียดคนที่เข้าไปตักเตือนกล่าวหาว่าเคยไปญี่ปุ่นหรือยังอีก

จากประสบการณ์อยู่ญี่ปุ่นมา 8 ปี คนญี่ปุ่นส่วนใหญ่เป็นคนที่ให้ความสำคัญกับหน้าตาทางสังคมและระเบียบข้อปฎิบัติในการอยู่ร่วมในสังคมมาก หลายๆ อย่างมีสิ่งที่เรียกว่า 'มารยาท' หรือ マナー (Manner) ที่ชัดเจนเป็นขนบธรรมเนียมประเพณีที่ไม่ได้เขียนไว้ในกฎหมาย หรือข้อบังคับใดๆ แต่เป็นการสอนส่งต่อรุ่นต่อรุ่น ถ้าใครเคยนั่งดูป้ายประกาศในรถไฟญี่ปุ่น ผมว่าทุกคนก็น่าจะเคยเห็นแผ่นรณรงค์มารยาทการใช้รถไฟร่วมกันของญี่ปุ่น 

แต่ถึงแม้จะมีคนทำผิด คนญี่ปุ่นส่วนมากจะใช้สายตาหรือท่าทางที่ดูรู้ว่าไม่พอใจ มากกว่าจะแสดงตัวเพื่อตักเตือนมากกว่า เพราะคนญี่ปุ่นคิดว่ามารยาทเป็นสิ่งที่ควรรู้ เมื่อต้องอยู่ในสังคมส่วนร่วม 

เรื่องแบบนี้ถูกสั่งสอนกันตั้งแต่ยังเด็ก เป็นการให้ความรู้กับเด็กเกี่ยวกับมารยาทการใช้รถไฟคือ...

- ไม่ควรเล่น หรือส่งเสียงดังรบกวนคนอื่น
- ควรเสียสละที่นั่งให้กับผู้สูงอายุ
- ไม่ควรคุยโทรศัพท์ในรถไฟ
- ให้คนลงจากรถไฟไปก่อน 
- ควรต่อเเถวเพื่อขึ้นรถไฟ
- ห้ามทิ้งขยะภายในรถไฟ 

นอกจากกรณีมารยาททางสังคมบนรถไฟแล้ว ญี่ปุ่นยังมีมารยาทในเรื่องต่างๆ ที่ยิบย่อย ยกตัวอย่างเช่น การสอบสัมภาษณ์เพื่อรับเอาใบอนุญาตทำงานหรือเข้าทำงาน นอกจากความรู้ที่ต้องจำเข้าไปแล้ว คือมารยาทในการสัมภาษณ์ที่ถูกต้อง ซึ่งมีผลอย่างมากต่อการผ่านการสัมภาษณ์หรือได้งานด้วย 

ต่อไปนี้ คือ สิ่งที่ผมพอจะนึกออกสมัยที่ผมสอบใบอนุญาตขับเรือสินค้าระดับสามและสองของญี่ปุ่น ร่วมถึงสัมภาษณ์งานบริษัทที่นั้น เมื่อเกือบสิบปีที่แล้ว

1. เครื่องแต่งกาย การสอบสัมภาษณ์ของญี่ปุ่น เขาไม่ได้ดูเพียงความรู้เท่านั้น เขาดูมารยาทลักษณะนิสัยของผู้เข้าสัมภาษณ์อย่างเข้มงวด จำเป็นต้องเป็นสูทเท่านั้น และต้องเป็นสีดำ สีน้ำเงินเข้ม หรือสีเทาเข้ม เท่านั้น ส่วนดีไซน์ของสูท ถ้าไม่ผิดแปลกเกินไปก็ถือว่ารับได้ ส่วนเสื้อเชิ้ตข้างใน สีขาวคือสีที่ดีที่สุด ถ้าไม่มีก็ต้องเป็นสีโทนอ่อน ไร้ลวดลายใดๆ เน็คไทก็ต้องเป็นแบบเรียบง่าย ลวดลายไม่เด่นจนเกินไป ส่วนรองเท้าต้องเป็นคัทชูเท่านั้น สีจะเป็นสีดำหรือน้ำตาลก็ได้ นอกนั้นไม่แนะนำ ทรงผมควรให้เห็นหูอย่างชัดเจน สีผมเป็นสีธรรมชาติของตัวเอง

2. การเข้าห้องสัมภาษณ์ มีขั้นตอนและวิธีการที่ถูกบอกต่ออย่างชัดเจน ก่อนเข้าห้องต้องเคาะห้องก่อน 2-3 ครั้ง และรอจนกว่าคนในห้องจะพูดว่า เชิญ (どうぞ) ถึงจะเปิดประตูด้วยเสียงที่เบาที่สุด ก่อนทำการโค้งเคารพกรรมการสัมภาษณ์พร้อมพูดว่า ขออนุญาต (失礼します) แล้วปิดประตูให้เบาที่สุด สำหรับผมถูกสอนให้หมุนลูกบิดค้างไว้ ดันประตูจนสุดแล้วจึงคลายลูกบิด เมื่อปิดประตูแล้ว ไปยืนหน้าเก้าอี้ผู้สัมภาษณ์ ทำความเคารพอีกครั้ง พร้อมพูดขอความกรุณาด้วยครับ (よろしくお願いします) รอจนกว่ากรรมการจะบอกว่าเชิญนั่ง ถึงจะนั่งลง การนั่งเก้าอี้ผู้สัมภาษณ์ ควรนั่งเพียง 1/2 ของเก้าอี้ หลังตรง มองตรง รอจนกว่ากรรมการจะถามคำถาม หรือให้ทำตามสิ่งที่เขาต้องการ เมื่อสัมภาษณ์เสร็จ ก็ลุกขึ้นทำความเคารพ เดินไปที่ประตู หันมาทำความเคารพอีกครั้งเอ่ยคำว่าขออนุญาต (失礼します) พร้อมเปิดประตูและปิดประตูด้วยเสียงที่เบาที่สุด

นี่เป็นเพียงขั้นตอนการสัมภาษณ์ที่ผมเคยเจอและก็นำมาปรับใช้ในชีวิตประจำวัน ก็รู้สึกว่าไม่ได้แย่อะไรด้วย นอกจากนี้ยังมีมารยาทอื่นๆ ที่ลงลึกไป เช่นลำดับการนั่งในรถแท็กซี่เมื่อต้องนั่งกับผู้ที่อาวุโสกว่า ลำดับการเข้าลิฟท์เมื่อต้องเข้ากับผู้ที่อาวุโสกว่า 

เพราะฉะนั้นไม่แปลกเลยที่ประเทศญี่ปุ่นสามารถพัฒนาขึ้นอย่างรวดเร็ว หลังจากพ่ายแพ้สงครามโลกครั้งที่สอง โดยที่ยังรักษาความเป็นเอกลักษณ์ของตัวเองได้ เพราะสิ่งที่เรียกว่าการปฎิบัติตามกฎระเบียบ และรักษาขนบธรรมเนียมประเพณีแบบนี้นี่เอง

ปล. 1 ใครที่สนใจเรื่องพวกนี้ ลองหาหนังสืออ่านได้นะครับ มีขายที่ญี่ปุ่น
ปล. 2 ที่จริงอีเมลญี่ปุ่นก็มีแพทเทิร์นตายตัวที่ควรจะต้องเขียนให้ได้ด้วยนะ
ปล. 3 แต่ปัจจุบันคนรุ่นใหม่ของญี่ปุ่น เริ่มไม่ทำตามขนบแล้วนะ เท่าที่สังเกต

อดีตนักเรียนไทยในญี่ปุ่น ฉายภาพ 'มารยาท' ในพื้นที่สาธารณะ | Y WORLD EP.72

เจริญได้ด้วยจารีต!! วิเคราะห์ความจริงเรื่อง 'มารยาท' ในพื้นที่สาธารณะของคนญี่ปุ่น 'การปลูกฝัง-ส่งต่อสิ่งดีๆ' รุ่นสู่รุ่น ช่วยสร้างวินัย-พัฒนาชาติเจริญ

ชาวเน็ตแดนกิมจิ โบ้ย!! #แบนเกาหลีใต้ ทำยอดคนไทยเที่ยวลดลง เดือด!! ชาวไทยยังย้ำ "อย่าไปเกาหลี ให้ไปญี่ปุ่นกับจีนดีกว่า"

เมื่อวานนี้ (2 ก.ย. 67) จากเพจ ‘World Forum ข่าวสารต่างประเทศ’ ได้โพสต์ข้อความ ระบุว่า...

คำที่ชาวเน็ต เกาหลีใต้โกรธ จากสื่อระบุว่า "สาเหตุที่นักท่องเที่ยวไทยลดลงมากเพราะมีแคมเปญ แบนเกาหลีใต้"

ในสื่อออนไลน์ ประเทศไทย คำที่ทำให้ชาวเน็ตเกาหลีโกรธ นอกจากแบนเกาหลีแล้ว นักท่องเที่ยวไทยยังบอกว่า "อย่าไปเกาหลีใต้เลย ไม่น่าสนใจ ไป ญี่ปุ่น กับ จีนดีกว่า สถานที่ท่องเที่ยวน่าสนใจกว่าเยอะ" 

แน่นอนว่า เรื่องนี้ได้จุดประเด็นถกเถียงในสื่อออนไลน์อีกครั้ง อาทิ...

โดยฟากที่เห็นด้วยกับเกาหลีใต้ มองว่า "ประเทศด้อยพัฒนาแบบไทยคนเกาหลีเขาดีใจด้วยซ้ำที่ไม่ไปบ้านเขา คนไทยไม่ไปประเทศเขาไม่กระทบต่อเงินประเทศเขาด้วยซ้ำแค่ คนไทยไม่ไปสักคน เงินที่คนไทยไปเที่ยวเหมือนเศษเงินบ้านเขาแค่นั้นแหละ รายได้เกาหลีเขามาจากนู้น ผลิตและส่งออก  เรือเดินสมุทร รถยนต์ เครื่องจักร สินค้าประเภทอิเล็กทรอนิกส์ และเครื่องมือสื่อสาร ผลิตชิป รถยนต์ อะไรนู้นประเทศหลังเขาด้อยพัฒนาแบบไทยไม่มีความสำคัญสำหรับเขาอยู่แล้ว"

ขณะที่กลุ่มแอนตี้เกาหลีใต้ มองว่า "ประเทศต้นตอของการ #ชอบบูลลี่ เป็นอาหารหลักคนรุ่นใหม่เกาหลีใต้ไม่รู้เหรอว่า ก่อนจะขายบันเทิง กับ หมอศัลย์ฯ ได้อย่างวันนี้ ประเทศเคยทำของเล่นสังกะสีก๊อบปี้ เสื้อผ้าก๊อบปี้ ส่งออกพอๆ กับไต้หวัน #ก่อนโดนจีนแดงถล่มตลาดยับ!!"

"เกาหลี ไปเที่ยวมาครั้งเดียว ไม่น่าเที่ยวเลย ญี่ปุ่น ผมไปมาสิบกว่าครั้ง และจะไปเรื่อยๆ จีนได้ไป 1 ครั้ง ชอบมากๆ อยากไปอีก"

นอกจากนี้ ยังมีการถกเถียงเกี่ยวกับเรื่องนี้อีกมากนับพันคอมเมนต์ในเพจดังกล่าวอีกด้วย

ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติชื่นชมพยาบาลตำรวจสาว ช่วยชายสูงวัยหมดสติสถานีรถไฟใต้ดินกินซ่า ขณะเที่ยวประเทศญี่ปุ่น ยกย่องเป็นแบบอย่างที่ดี 

(22 ม.ค. 68) พล.ต.อ.กิตติ์รัฐ พันธุ์เพ็ชร์ ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ กล่าวว่า ได้รับทราบถึงกรณี ว่าที่ ร.ต.ท.หญิง สุนารี เขียวสลับ พยาบาล (สบ 1) กลุ่มงานศูนย์ส่งกลับและรถพยาบาล กลุ่มงานพยาบาล โรงพยาบาลตำรวจ ช่วยเหลือชายชาวญี่ปุ่นหมดสติในสถานีรถไฟใต้ดินกินซ่า จนปลอดภัย ขณะเดินทางท่องเที่ยวที่ประเทศญี่ปุ่น จนเป็นที่ชื่นชมของผู้ที่อยู่ในเหตุการณ์ และโลกโซเชียลเป็นอย่างมาก และล่าสุดสภาการพยาบาลได้โพสต์ชื่นชม ว่าที่ ร.ต.ท.หญิง สุนารีฯ ในการทำความดีด้วยหัวใจ ช่วยเหลือผู้อื่นโดยทันที ด้วยจิตอาสา ถือเป็นแบบอย่างของการใช้ความรู้ความสามารถในวิชาชีพพยาบาลให้เป็นประโยชน์ต่อเพื่อนมนุษย์ สร้างความสุขให้สังคม

เหตุการณ์เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน 2567 เวลาประมาณ 12.00 น. ว่าที่ ร.ต.ท.หญิง สุนารี เขียวสลับ พยาบาล (สบ 1) กลุ่มงานศูนย์ส่งกลับและรถพยาบาล กลุ่มงานพยาบาล โรงพยาบาลตำรวจ ได้ให้การช่วยเหลือผู้สูงอายุเพศชาย หมดสติล้มลงกับพื้น บริเวณสถานีรถไฟใต้ดินสายกินซ่า สถานีอาซากูซะ เมืองโตเกียว ขณะเดินทางท่องเที่ยวที่ประเทศญี่ปุ่น โดยใช้ทักษะทางวิชาชีพในการประเมินอาการ ระดับความรู้สึกตัวและสัญญาณชีพ ชายสูงอายุไม่รู้สึกตัว คลำชีพจรไม่ได้ จึงทำการช่วยฟื้นคืนชีพ (CPR) และแจ้งขอเครื่อง AED จากเจ้าหน้าที่ประจำสถานีรถไฟใต้ดิน เมื่อเครื่อง AED มาถึง ได้หยุด CPR และติดแผ่น Paddle AED เตรียมใช้เครื่อง AED ชายสูงอายุได้กลับมามีชีพจร จึงไม่ได้ทำการ shock ไฟฟ้าหัวใจ ต่อมาเจ้าหน้าที่กู้ชีพมาถึงที่เกิดเหตุ และนำส่งโรงพยาบาลเพื่อทำการรักษาต่อไป

ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ กล่าวว่า ขอชื่นชม ว่าที่ ร.ต.ท.หญิง สุนารีฯ ที่ใช้จิตวิญณาณความเป็นพยาบาลวิชาชีพ และจิตวิญญาณของการเป็นข้าราชการตำรวจ ไม่นิ่งดูดายในการช่วยเหลือประชาชนอย่างเต็มไม่ว่าชนชาติใด สถานที่ใด แม้ไม่อยู่ในระหว่างปฏิบัติหน้าที่ก็ตาม สำนักงานตำรวจแห่งชาติขอยกย่องการปฏิบัติ ซึ่งถือเป็นแบบอย่างที่ดีสำหรับข้าราชการตำรวจและประชาชนต่อไป


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top