Friday, 16 May 2025
ประชุมสุดยอดอาเซียนสหรัฐ

‘เสธ.นิด’ แนะ ‘บิ๊กตู่’ เรียนรู้ก่อนพบ ‘ไบเดน’ ยก ‘พล.อ.อ.สิทธิ’ แบบอย่างผู้กล้าหักหน้ามะกัน 

พล.อ.ท.วัชระ ฤทธาคนี หรือ เสธ.นิด อดีตนายทหารนักบินกองทัพอากาศ โพสต์ข้อความบนเฟซบุ๊ก Vachara Riddhagni กล่าวถึงการเข้าร่วมประชุมสุดยอดอาเซียน-สหรัฐฯ ของพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ที่กำลังจะมีขึ้นในอีกไม่กี่วันข้างหน้า ว่า เมื่อประเทศไทยโดย พล.อ.อ.สิทธิ เศวตศิลา รองนายกรัฐมนตรีและ รมว.กระทรวงต่างประเทศ ในช่วงปี 2529 ออกเสียงร่วม “ประณามสหรัฐฯ ในกรณีใช้กำลังทางอากาศโจมตีเพื่อสังหารประธานาธิบดีกัดดาฟีแห่งลิเบีย Decapitation Operation” ครั้งนั้น

ประธานาธิบดีกัดดาฟี รอดชีวิตจากการโจมตีนั้นแต่มีผู้เคราะห์ร้ายเสียชีวิต ร่วมทั้งสถานทูตฝรั่งเศสเสียหาย (สหรัฐฯ ชดใช้อย่างเต็มที่จนประชาชนฝรั่งเศสพอใจ) 

หลังจากการโจมตีครั้งนั้น “สหประชาชาติได้รับการกดดันจากหลายประเทศ จึงมีการประชุมสมาชิก UN เพื่อให้ที่ประชุมพิจารณาว่า “การโจมตีทางอากาศเพียงแค่ต้องการสังหารประธานาธิบดีกัดดาฟีเป็นความชอบธรรมหรือไม่”

นายกฯ เตรียมเรื่องเสนอประชุมสุดยอดอาเซียน - สหรัฐฯ ส่งเสริมสหรัฐฯ มีบทบาทที่สร้างสรรค์ในภูมิภาค

นายกฯ เดินทางถึงกรุงวอชิงตัน สหรัฐฯ พร้อมร่วมการประชุมสุดยอดอาเซียน - สหรัฐฯ สมัยพิเศษ (ASEAN - U.S. Special Summit) 12 - 13 พ.ค. 65

เมื่อเวลา 05.55 น. วันที่ 12 พฤษภาคม เวลาประเทศไทย (หรือเวลา 18.55 น. วันที่ 11 พ.ค.ตามเวลาท้องถิ่น) ที่ กรุงวอชิงตัน ประเทศสหรัฐอเมริกา พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เดินทางถึงกรุงวอชิงตัน ประเทศสหรัฐอเมริกา เพื่อเข้าร่วมการประชุมสุดยอดอาเซียน-สหรัฐฯ สมัยพิเศษ ซึ่งจะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 12-13 พฤษภาคม 2565

โดยนายธนกร วังบุญคงชนะ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ได้เปิดเผยว่า นายกรัฐมนตรีมีภารกิจสำคัญ ได้แก่ ร่วมงานเลี้ยงอาหารค่ำ ซึ่งประธานาธิบดีโจ ไบเดน เป็นเจ้าภาพสำหรับผู้นำอาเซียนที่ทำเนียบประธานาธิบดีสหรัฐฯ และร่วมการประชุมหารือระหว่างผู้นำอาเซียนกับประธานาธิบดีสหรัฐฯ รวมทั้ง ร่วมกำหนดการที่ฝ่ายสหรัฐฯ เชิญผู้นำอาเซียนพบหารือกับผู้แทนระดับสูงของสหรัฐฯ ได้แก่ 

รองประธานาธิบดีสหรัฐฯ รัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง ผู้นำรัฐสภา และผู้นำภาคเอกชน ในส่วนของการหารือในโอกาสต่าง ๆ จะเน้นเรื่องการขับเคลื่อนการฟื้นฟูและการเติบโตอย่างยั่งยืนของภูมิภาคในยุคหลังโควิด-19 อาทิ ความมั่นคงด้านสาธารณสุข การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ความร่วมมือทางทะเล การค้าการลงทุน ห่วงโซ่อุปทาน การพัฒนาด้านดิจิทัล เทคโนโลยีและนวัตกรรม การพัฒนาทุนมนุษย์ และการเสริมสร้างความมั่นคงของมนุษย์ รวมถึงการแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นในประเด็นภูมิภาคและระหว่างประเทศที่สำคัญ โดยเน้นย้ำความเป็นแกนกลางของอาเซียน และการส่งเสริมบรรยากาศที่ดีเพื่อสันติภาพ เสถียรภาพ และความมั่งคั่งยังยืนในภูมิภาค


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top