Tuesday, 30 April 2024
ประชาธิปัตย์ยุคใหม่

ประชาธิปัตย์ทันสมัย พูดคุยกับ ‘อลงกรณ์’ ในบริบทใหม่ของ ศก.ไทย ใต้ ‘6 ระบบเศรษฐกิจ-18 ฐานการพัฒนา’

ในห้วงเวลาที่นโยบายหลากพรรคต่างช่วงชิงกระแส ‘ตัวเลข’ ออกมาปั้นเป็นวิสัยทัศน์กันอย่างไวว่อง ในฟากของประชาธิปัตย์ก็มิได้ตกขบวนแต่อย่างใด หากแต่ตัวเลขของ ปชป. อาจจะไม่ใช่ตัวเลขหรือหวาเชิงประชานิยม แต่กลับเป็นตัวเลขภายใต้บริบทที่เรียกว่า ‘6 ระบบเศรษฐกิจใหม่ - 18 ฐานการพัฒนาใหม่’ ซึ่งทางพรรควางไว้เป็นเครื่องยนต์ขับเคลื่อนประเทศไทยตัวใหม่ภายใต้แพลตฟอร์มที่ประชาธิปัตย์ได้ดีไซน์เพื่อความเหมาะสมกับสภาพเศรษฐกิจที่แท้จริงของประเทศไทยในวันนี้

บริบทจาก ‘6 ระบบเศรษฐกิจใหม่ - 18 ฐานการพัฒนาใหม่’ ที่ว่านั้น ทาง THE STATES TIMES ได้รับความกระจ่างผ่านมุมมองของ นายอลงกรณ์ พลบุตร รองหัวหน้าพรรคและประธานคณะกรรมการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์พรรคประชาธิปัตย์ / อดีต ส.ส.6สมัย อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ และ อดีตรองประธานสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ (สปท.)

เมื่อถามถึงบริบทดังกล่าว นายอลงกรณ์ ก็ได้เริ่มเกริ่นนำว่า “ในมุมมองของผม โจทย์ใหญ่ของประเทศไทย คือ  อัตราการเติบโดทางเศรษฐกิจที่อยู่ในระดับต่ำ ขณะที่หนี้สาธารณะและหนี้ครัวเรือนเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว รายได้ต่อหัวของประชาชนขยายตัวในอัตราต่ำเมื่อเทียบกับศักยภาพของประเทศ การคอร์รัปชันสูงเกินไป การกระจายรายได้ต่ำ ทำให้ความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจและสังคมสูงมากในลำดับต้นๆ ของโลก

“สรุปคือระบบเศรษฐกิจและระบบภาครัฐดั้งเดิมของประเทศไทยเหมือนเครื่องยนต์เก่าที่กำลังไม่พอต่อการยกระดับการเติบโตทางเศรษฐกิจและการพัฒนาอย่างยั่งยืน จำเป็นต้องสร้าง ‘เครื่องยนต์ตัวใหม่’ ที่ทันต่อการแข่งขันและความท้าทายใหม่ๆ เช่น ปัญหาโลกร้อน, ปัญหาสังคมสูงวัย, ปัญหาความยากจนและหนี้สิน, ปัญหาความเหลื่อมล้ำปัญหาการผูกขาดทางเศรษฐกิจ, ปัญหาการคอร์รัปชัน, ปัญหาคุณภาพการศึกษา และปัญหาโรคระบาดและฝุ่นพิษ รวมถึงปัญหาUrbanization และปัญหาความเสื่อมโทรมของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ฯลฯ”

นายอลงกรณ์ เผยต่อว่า “ถ้าจะยกระดับอัพเกรดให้ก้าวพ้นประเทศรายได้ปานกลางสู่ประเทศรายได้สูง เราต้องมีแพลตฟอร์มใหม่และสร้าง”พิมพ์เขียวปฏิรูปเศรษฐกิจและการพัฒนา”ที่มีเป้าหมายชัดเจนเป็นตัวชี้วัด (Benchmark) บนโครงสร้างและระบบเศรษฐกิจใหม่ 6 ระบบได้แก่ 1.เศรษฐกิจดิจิทัล (Digital Economy) 2.เศรษฐกิจสีเขียว (Green Economy) 3.เศรษฐกิจอุตสาหกรรมใหม่ (New S-Curve) 4.เศรษฐกิจสร้างสรรค์ (Creative Economy) 5.เศรษฐกิจเพื่อสังคม (Social Economy) และ 6.เศรษฐกิจสูงวัย (Silver Economy)

“โดยทั้ง 6 ระบบนี้ คือ เครื่องยนต์ใหม่ที่จะตอนโจทย์ต่ออนาคตของประเทศไทย ซึ่งมีเป้าหมายที่จะต้องทำให้ได้ดังนี้...1.การเติบโตทางเศรษฐกิจไม่น้อยกว่า 5 %ใน 4 ปีแรกและ 7 %ในปีที่ 5 / 2.สร้างมูลค่าGDPเป็น 20 ล้านล้านบาทภายใน 4 ปี / 3.สร้างความสมดุลหนี้สาธารณะและงบประมาณสมดุลภายใน 8 ปี / 4.เกิดการจ้างงานใหม่ไม่น้อยกว่า 1 ล้านตำแหน่งภายใน 8 ปี  และ 5. เพิ่มรายได้ประชากรสู่ระดับ 12,000 ดอลลาร์สหรัฐภายใน 10 ปี...นี่คือในส่วนของ ‘6 ระบบเศรษฐกิจใหม่’ 

‘ประชาธิปัตย์ยุคใหม่’ มั่นใจ!! ปักธงฟ้าเข้าสภาฯ ยกทีม ชู ยกระดับพัทลุง 5 มิติ เสริมจุดแข็งครอบคลุมทั้งจังหวัด

(9 เม.ย. 66) นายร่มธรรม ขำนุรักษ์ ผู้สมัคร ส.ส.เขต 3 อำเภอกงหรา (ยกเว้น ตำบลชะรัด และตำบลสมหวัง) อำเภอตะโหมด, อำเภอป่าบอน, อำเภอปากพะยูน และอำเภอบางแก้ว จังหวัดพัทลุง พรรคประชาธิปัตย์ (ปชป.) กล่าวถึงนโยบายการพัฒนา จังหวัดพัทลุง ซึ่งถือเป็นนโยบายสำคัญที่ใช้ในการหาเสียงเลือกตั้งครั้งนี้ของทีมประชาธิปัตย์ยุคใหม่ จังหวัดพัทลุง ว่า จากการลงพื้นที่รับฟังปัญหาจากพี่น้องประชาชนและศึกษาข้อมูลในพื้นที่อย่างเป็นระบบ ทีมประชาธิปัตย์ยุคใหม่ จังหวัดพัทลุง ซึ่งประกอบไปด้วย น.ส.สุพัชรี ธรรมเพชร ผู้สมัคร ส.ส.เขต 1, น.ส.ปิยะกาญจน์ สุพรรณชนะบุรี ผู้สมัคร ส.ส.เขต 2 และตน ได้ตกผลึกร่วมกันถึงนโยบายที่จะยกระดับ จังหวัดพัทลุง 5 มิติ ซึ่งถือว่าบ้านของเราเป็นจังหวัดที่มีศักยภาพและความพร้อมในการพัฒนาต่อยอด แต่ยังขาดการบูรณาการร่วมกันและประสานงานกันอย่างเป็นรูปธรรมของ ส.ส.ทั้ง 3 เขต จึงเป็นที่น่าเสียดายสำหรับโอกาสที่สูญเสียไปในช่วงระยะเวลาหลายปีที่ผ่านมา

ดังนั้น การเลือกตั้งครั้งนี้ ทีมประชาธิปัตย์ยุคใหม่จะใช้จุดแข็งของความเป็นทีมคนรุ่นใหม่ที่ทำงานร่วมกันและลงพื้นที่คลุกคลีกับพี่น้องประชาชนมาอย่างต่อเนื่อง มาขอโอกาสทำงานเพื่อคนพัทลุง เชื่อมั่นว่าพี่น้องประชาชนจะไว้วางใจและร่วมกันปักธงฟ้าทีมประชาธิปัตย์ยุคใหม่ทั้ง 3 เขต

นายร่มธรรม กล่าวว่า สำหรับนโยบายยกระดับจังหวัด 5 มิติ ของทีมประชาธิปัตย์ยุคใหม่นั้น มีวิสัยทัศน์ว่า ‘พัทลุงหรอยดี’ คือส่งเสริมของดีของเด่นใน จ.พัทลุง ทำให้ประชาชนมีความสุข เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืนและดีกว่าเดิม ดังนี้

มิติที่ 1 การเดินทางดี โดยการผลักดันและประสานงานการทำถนนเลี่ยงเมือง รอบเมืองครบ 4 สาย และผลักดันการสร้างสนามบินพัทลุง เพื่อเสริมศักยภาพด้านโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญ ซึ่งถือเป็นการเปิดประตูสู่ จ.พัทลุง อย่างเต็มรูปแบบ

มิติที่ 2 การท่องเที่ยวดี โดยจะผลักดันและพัฒนาการท่องเที่ยวในพื้นที่ จ.พัทลุง ทั้งการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ และเชิงวัฒนธรรม โดยมีรัฐทำหน้าที่สนับสนุนโครงสร้างพื้นฐาน เช่น ถนน, Free wifi, sky walk และกระเช้า ตามศักยภาพของสถานที่ท่องเที่ยวแต่ละแห่ง เพิ่มที่จอดรถชมวิวบนสะพานเฉลิมพระเกียรติทะเลน้อย-ระโนด ส่งเสริมกีฬาทางน้ำในทะเลสาบสงขลา และสร้างการรับรู้ รวมถึงพัฒนาให้ จ.พัทลุงเป็นเมืองท่องเที่ยวและจุดมุ่งหมายของการพักผ่อนหลังเกษียณ

มิติที่ 3 สินค้าดี โดยการผลักดันและประสานงานการทำเกษตรพรีเมี่ยม เกษตรอินทรีย์ เกษตรแปรรูป เกษตรหลากหลาย พร้อมส่งเสริมการจดทะเบียน GI ข้าวเหนียวดำหมอ, เล็บนก, ดีปรีชี, จำปาดะ และอื่น ๆ ผลักดันการก่อสร้างศูนย์เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำประมงน้ำกร่อย สร้างสะพานปลา ท่าเทียบเรือ ตลาดนัดปลา ริมทะเลสาบ เร่งดำเนินการให้พัทลุงเป็นเมืองหลวงด้านปศุสัตว์ภาคใต้ โดยการเพิ่มศักยภาพอุตสาหกรรมโคนมและโคเนื้อ นอกจากนี้จะมุ่งส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ งานทำมือ ศิลปะ วัฒนธรรม สินค้าแปรรูป สินค้าของคนพัทลุง พร้อมจัดตั้งตลาดศูนย์กลางการเกษตรเพื่อเป็นแหล่งกระจายสินค้าที่สำคัญของจังหวัดไปสู่พื้นที่ต่าง ๆ ทั้งในและต่างประเทศ

'อ.อุ๋ย-ปชป.' วอนรัฐสนับสนุนวิชาชีพช่างแว่นตา ชี้!! สร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจนับหมื่นล้านบาท

(12 มี.ค. 67) นายประพฤติ ฉัตรประภาชัย หรืออาจารย์อุ๋ย นักวิชาการด้านกฎหมายและอดีตผู้สมัคร สส. กทม. เขตบางกะปิ พรรคประชาธิปัตย์ ได้โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กแสดงความเห็น ว่า...

"วันนี้สวมหมวกที่ปรึกษากฎหมายของราชวิทยาลัยจักษุแพทย์ บรรยายหัวข้อ 'กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับช่างแว่นตา' ซึ่งจัดโดยชมรมจักษุแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านสายตาแห่งประเทศไทย

"วิชาชีพช่างแว่นหรือช่างวัดสายตาประกอบแว่น (optician) เป็นหนึ่งในสามเสาหลักของวิชาชีพทางด้านจักษุ ซึ่งได้แก่ จักษุแพทย์ นักทัศนมาตร และช่างแว่น ซึ่งต้องทํางานสอดประสานกันเพื่อเติมเต็มบริการสาธารณสุขทางด้านจักษุ ปัจจุบันตลาดแว่นตาไทยมีมูลค่ากว่า 10,000 ล้านบาท มีร้านแว่นตาทั่วประเทศกว่า 20,000 ร้าน และเติบโตเฉลี่ยปีละ 10% 

"จึงจําเป็นอย่างยิ่งที่ภาครัฐควรเข้ามากํากับดูแลเพื่อรักษามาตรฐาน และยกระดับ/พัฒนาคุณภาพสินค้าและบริการของกิจการแว่นตาไทย สร้างมูลค่าเพิ่มและ productivity เพื่อให้เป็นอีกหนึ่งฟันเฟืองที่สําคัญของการขับเคลื่อนระบบเศรษฐกิจของประเทศ

"ปัจจุบันร่างกฎกระทรวงกำหนดให้กิจการตรวจวัดสายตาประกอบแว่นเป็นกิจการอื่นในสถานประกอบการเพื่อสุขภาพ พ.ศ. ....ยังอยู่ในขั้นตอนการพิจารณา ซึ่งหากประกาศใช้แล้วจะยกระดับมาตรฐานวิชาชีพช่างแว่นให้เทียบเท่าสากล พัฒนากลไกเครื่องมือต่าง ๆ เพื่อรองรับสถานะต่างๆตามกฎหมายซึ่งนําไปสู่การสนับสนุนในรูปแบบอื่น ๆ จากภาครัฐต่อไปในอนาคต ผมจึงอยากให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องผลักดันเรื่องนี้โดยเร็ว เพื่อประโยชน์สูงสุดของผู้ประกอบวิชาชีพนี้และผู้บริโภคครับ"


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top