Sunday, 16 June 2024
บ้านเอื้ออาทร

'สมชัย' ยกคดี 'วัฒนา' เป็นบทเรียนการเมืองต้นทุนสูง ชี้!! นี่คือคำตอบว่าทำไมผู้มีอำนาจไม่อยากลงจากหลังเสือ!

นายสมชัย ศรีสุทธิยากร อดีตกกต. สมาชิกพรรคเสรีรวมไทย โพสต์ข้อความในเพจเฟซบุ๊ก Somchai Srisutthiyakorn ระบุว่า... กรณีวัฒนา เมืองสุข คือ บทเรียนการเมืองต้นทุนสูง

4 มีนาคม 2565 วันที่ผมรับปากวัฒนา เพื่อนสมัยมัธยมที่รู้จักกันกว่า 50 ปี ว่าจะไปให้กำลังใจในวันตัดสินสุดท้ายของศาลฎีกา

ก่อนหน้าหนึ่งวัน ผมโทรหาเขาเพื่อขอรายละเอียด สถานที่และเวลา เขาบอกว่าศาลฎีกาสนามหลวง ให้มาถึงก่อนสักหนึ่ง ชม. เพื่อมีการตรวจ ATK ผมสะอึกเล็กน้อย เพราะไม่ชอบให้ใครมาแยงจมูก ทั้ง ๆ ก็เคยโดนมาหลายรอบ แต่ช่างมัน แยงก็แยง

บ่ายโมง หลังจากเสร็จภารกิจที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ผมข้ามฟากมาที่ศาลฎีกา เจอกับวัฒนา ที่บริเวณห้องอาหารของศาล เขายังดูสนุกสนานร่าเริง มั่นใจ และบอกว่าไม่หนีไม่ไหน ในขณะที่คนใกล้ชิดและญาติ สีหน้าดูกังวลไม่น้อย

บ่ายสอง เจ้าหน้าที่ศาลบอกให้คณะผู้ติดตามและผู้สื่อข่าวเข้าไปฟังคำพิพากษาได้ แต่ด้วยมาตรการป้องกันโควิด ให้แยกคนละห้องกับจำเลย มีทีวีวงจรปิดจอใหญ่หลายเครื่องถ่ายทอดมาให้เห็นบรรยากาศในห้องตัดสิน

14.45 น. ศาลออกนั่งบัลลังก์ ใช้เวลาอ่านคลี่ทีละประเด็นอย่างยาวนานเกือบสองชั่วโมง จากคนที่ไม่เคยรู้เรื่องราวอะไร ค่อย ๆ เห็นตัวละครต่าง ๆ โผล่ขึ้นมามากมาย และ การเชื่อมโยงจุดต่าง ๆ เข้าด้วยกันในมุมมองของคณะผู้พิพากษาที่มีองค์คณะถึง 9 คน และ สรุปในตอนท้ายเกือบทุกประเด็นว่าความเห็นเป็นเอกฉันท์

ผมนั่งฟังอย่างมีสติและตั้งใจ คนอื่นคิดอย่างไรไม่ทราบ แต่ผมชมในใจว่า เขามีกระบวนการสอบสวน ไต่สวน และหาข้อยุติได้ดีกว่าศาลรัฐธรรมนูญในหลายกรณีที่ใช้ตรรกะในตัดสิน

สิ่งที่ทราบจากคำพิพากษา คือ โครงการบ้านเอื้ออาทร ของการเคหะนับแสนยูนิต มีนายหน้าคนหนึ่ง อ้างว่าเป็นที่ปรึกษา (จำเลยที่สี่) และผู้หญิงคนหนึ่งอ้างว่าเป็นเลขาของจำเลยที่สี่ (จำเลยที่ห้า) เรียกเงินทอนจากผู้รับเหมา ยูนิตละประมาณ 10,000 บาท และมีการจ่ายเงินจริงนับร้อยล้าน เพื่อให้ได้โครงการก่อสร้าง ส่วนการเชื่อมโยงถึงจำเลยที่หนึ่ง (วัฒนา) อาศัยคำบอกกล่าว และหลักฐานการส่งเอกสารต่างๆ ของการเคหะไปยังจำเลยที่สี่ ว่ามีสถานะเป็นที่ปรึกษาของจำเลยที่หนึ่ง แต่ไม่มีหลักฐานเส้นทางทางการเงินที่กลับมายังจำเลยที่หนึ่ง

'เพื่อไทย' อัด 'บิ๊กตู่' ทำคนไทยไร้ที่อยู่-ที่ทำกินเพียบ ชี้!! ไม่พัฒนาต่อยอดบ้านเอื้ออาทร-บ้านมั่นคง

เมื่อวันที่ (3 ต.ค. 65) น.ส.ลิณธิภรณ์ วริณวัชรโรจน์ รองเลขาธิการพรรคเพื่อไทย (พท.) กล่าวว่า ทุกวันจันทร์แรกของเดือนต.ค.ทุกปี องค์การสหประชาชาติ (UN) กำหนดให้เป็นวันที่อยู่อาศัยโลก (World Habitat Day) ในปีนี้อยู่ภายใต้แนวคิด Mind the Gap Leave No One and Place Behind หรือใส่ใจช่องว่าง ไม่ทิ้งใครและที่ใดไว้ข้างหลัง เพื่อเน้นย้ำถึงความสำคัญของสิทธิในที่อยู่อาศัยที่เหมาะสมของประชากรโลก ซึ่งในส่วนของประเทศไทยเครือข่ายต่างๆ ได้จัดกิจกรรมเรียกร้องให้รัฐบาลแก้ไขปัญหาที่อยู่อาศัย ที่ดินทำกินให้กับคนจนเมืองและพี่น้องประชาชนมาโดยตลอด โดยเฉพาะชุมชนที่ได้รับผลกระทบจากการเวนคืนที่จากนโยบายของรัฐ 

ทั้งนี้ พรรคไทยรักไทย พลังประชาชน และพรรคเพื่อไทย เล็งเห็นถึงความสำคัญของการมีสิทธิในการเข้าถึงที่อยู่อาศัย ซึ่งเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานของประชากรโลก ในปี 2546  รัฐบาลนายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกฯ ได้จัดหาที่อยู่อาศัยให้กับคนไทยทุกกลุ่ม ทั้งบ้านเอื้ออาทรในต่างจังหวัด และบ้านมั่นคงสำหรับคนเมือง ผ่านการทำงานของสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน) หรือ พอช. เพราะตระหนักถึงความสำคัญของ คนหาเช้ากินค่ำ คนจนเมือง คนไร้ที่อยู่อาศัย

โละขายยกล็อต!!!! ‘การเคหะฯ’ ชง ‘ครม.’ เคาะขาย ‘บ้านเอื้ออาทร’ ยกล็อต หาเงินล้างหนี้เฉียด 2 หมื่นล้าน หลังแบกมานานกว่า 15 ปี 

โละขายบ้านเอื้ออาทร ยกล็อต หาเงินล้างหนี้ ‘15 ปี’ เกือบ 2 หมื่นล. เคหะขอครม.อนุมัติ

เมื่อวันที่ (6 มี.ค.66) ที่ผ่านมา นายทวีพงษ์ วิชัยดิษฐ ผู้ว่าการการเคหะแห่งชาติ (กคช.) เปิดเผยเมื่อวันที่ 5 มีนาคม ที่ผ่านมาว่า กคช.มีแผนจะนำโครงการบ้านเอื้ออาทรที่ยังคงเหลือ 18,000-19,000 ยูนิต เสนอต่อที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) อนุมัติให้ขายยกล็อตให้กับเอกชนและหน่วยงานรัฐที่สนใจในราคายูนิตละ 400,000 แสนบาท รวมเป็นเงินประมาณ 7,600 ล้านบาท เพื่อปิดฉากบ้านเอื้ออาทรหลังกคช.ต้องแบกรับภาระหนี้เงินกู้มากว่า 15 ปี โดยวันที่ 9 มีนาคมจะเสนอเรื่องให้ที่ประชุมคณะกรรมการ (บอร์ด) กคช.พิจารณาอนุมัติ หากได้รับการเห็นชอบจะเสนอครม.อนุมัติวันที่ 14 มีนาคมนี้ เพื่อนำเงินที่ได้ไปชำระหนี้เงินกู้โครงการบ้านเอื้ออาทรยังมีอยู่ประมาณ 19,000 ล้านบาท ซึ่งจะครบกำหนดในเดือนพฤษภาคมนี้ประมาณ 2,000 ล้านบาทและในเดือสิงหาคมอีก 2,000 ล้านบาท

“หากไม่มีเอกชนหรือส่วนราชการสนใจ กคช.จะให้บริษัทเคหะสุขประชา จำกัด (มหาชน) เป็นบริษัทลูกของ กคช.ใช้สิทธิเข้าไปซื้อยกล็อต เพื่อนำมาปรับปรุงใหม่ให้ประชาชนผู้มีรายได้น้อยเช่า 1,500 บาทต่อเดือนและซื้อในราคาถูก ในราคาประมาณ 400,000-450,000 บาทต่อยูนิต หากเสนอโครงการเข้าครม. ไม่ทันรัฐบาลชุดนี้ ต้องเสนอรัฐบาลชุดใหม่อนุมัติต่อไป กคช.ต้องหาเงินก้อนมาชำระหนี้ และต้องกู้เงินเพิ่ม”นายทวีพงษ์ กล่าว


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top