Tuesday, 14 May 2024
บัตรสวัสดิการพลัส

'บิ๊กตู่' ชูนโยบาย ‘บัตรลุงตู่’ ดูแล ปชช.เท่าเทียม-ทั่วถึง ยัน ทุกนโยบายมีที่มางบฯ ชัดเจน มั่นใจ ‘รทสช.’ ชนะเลือกตั้ง

(27 ก.พ. 66) นายธนกร วังบุญคงชนะ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในฐานะคณะกรรมการกำหนดแนวทางและยุทธศาสตร์พรรคการเมือง พรรครวมไทยสร้างชาติ กล่าวถึงกรณี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ในฐานะประธานคณะกรรมการกำหนดแนวทางและยุทธศาสตร์ พรรครวมไทยสร้างชาติ ขึ้นเวทีปราศรัยใหญ่ขอคะแนนชาวจังหวัดนครราชสีมาให้ลงคะแนนเลือกพรรครวมไทยสร้างชาติทั้ง 16 เขต โดยย้ำถึงนโยบายการสร้างความเท่าเทียม และความเป็นธรรม ดูแลผู้มีรายได้น้อย และกลุ่มเปราะบาง ว่า ที่ผ่านมา พล.อ.ประยุทธ์ ได้เน้นย้ำถึงการเข้ามาดูแลประชาชนในทุกด้านโดยเฉพาะด้านปากท้อง

ซึ่งเรื่องดังกล่าว สอดคล้องกับนโยบายพรรครวมไทยสร้างชาติตามแคมเปญ ‘ทำแล้ว ทำอยู่ ทำต่อ’ โดยเฉพาะนโยบาย ‘บัตรสวัสดิการพลัส’ หรือที่ชาวบ้านเรียกว่า ‘บัตรลุงตู่’ เป็นการเพิ่มสิทธิบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ช่วยเหลือประชาชนผู้มีรายได้น้อย เป็นเงินจำนวน 1,000 บาทต่อเดือน และการปรับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุให้เท่ากันทุกคน เป็น 1,000 บาทต่อเดือน จากเดิมที่ให้แบบขั้นบันไดตามช่วงอายุ นอกจากนี้ ยังขยายการดูแลให้ครอบคลุมถึงกลุ่มอาชีพอิสระ ให้ได้รับสวัสดิการสามารถเข้าระบบประกันสังคมถ้วนหน้า

'พีระพันธุ์' ย้ำ!! บัตรสวัสดิการพลัส ได้รวม 12,000 บาท มากกว่าเงินดิจิทัล 2,000 เป็นเงินจริงที่ถูกดึงมาใช้อย่างมีระบบ

'พีระพันธุ์' เผย รทสช.ชูนโยบายแก้ปัญหาเศรษฐกิจ ปากท้องคนไทยหลายด้าน เล็งเปิดนำเข้าน้ำมันสำเร็จรูปเสรี จะทำให้ราคาน้ำมันในประเทศถูกลง ช่วยคนมีรายได้น้อย-เกษตรกรใช้ไฟฟ้าแค่ยูนิตละ 3.90 บาท หวังช่วยลดต้นทุนค่าครองชีพ พร้อมแจงบัตรสวัสดิการพลัสทำได้จริงถูกกฎหมายประชาชนได้ประโยชน์เต็มร้อย ภายใต้การคำนึงถึงระบบการเงินการคลังของประเทศอย่างเคร่งครัด 

(18 เม.ย.66) นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค หัวหน้าพรรครวมไทยสร้างชาติ (รทสช.) กล่าวถึงนโยบายการดูแลชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนโดยเฉพาะเรื่องการทำมาหากิน และเศรษฐกิจปากท้องของประชาชน ว่า พรรครวมไทยสร้างชาติเห็นความสำคัญเรื่องความมั่นคงด้านเศรษฐกิจของประชาชนทุกกลุ่ม ซึ่งแต่ละกลุ่มมีความต้องการที่แตกต่างกัน จะต้องมีการวางรากฐานเพื่อให้คนกลุ่มต่างๆ สามารถอยู่ต่อได้ในภาวะค่าครองชีพปัจจุบัน โดยหาแนวทางว่าทำอย่างไรจะสามารถลดค่าครองชีพให้กับประชาชนแบบเป็นไปได้ 

นายพีระพันธุ์ กล่าวต่อว่า กรณีของพลังงานที่มีราคาแพง เรื่องราคาน้ำมัน พรรคมีแนวคิดว่าจะให้มีการนำเข้าน้ำมันสำเร็จรูปแบบเสรีได้ จะทำให้ราคาน้ำมันในประเทศถูกลงได้ เนื่องจากน้ำมันเป็นสินค้าคอมมูนิตี้ หากนำเข้ามาเท่าไหร่ ก็เพียงดูว่าจะขายเท่าไหร่ หากพรรครวมไทยสร้างชาติได้เป็นรัฐบาล หน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับสาธารณูปโภค ไม่ว่าจะเป็นน้ำมัน หรือไฟฟ้า ก็จะต้องทำตามนโยบายของรัฐอยู่แล้ว เช่น ค่าไฟฟ้า จะมีการกำหนดราคาให้กับผู้มีรายได้น้อย หรือเกษตรกร ที่ใช้ไฟในการดำเนินชีวิต หรือทำมาหากินเพื่อแบ่งเบาภาระ และช่วยลดต้นทุนให้ โดยมีการคำนวณมาแล้วจะอยู่ที่ประมาณ ยูนิตละ 3.90 บาท เป็นนโยบายของรัฐบาลพรรครวมไทยสร้างชาติ

‘หมอเปรม’ เผย ชาวบ้านเมิน ‘แจกเงินดิจิทัล’ เหตุซับซ้อน-ยุ่งยาก ลั่น!! พร้อมเทใจให้ ‘บัตรลุงตู่’ เพราะใช้ง่าย จับต้องได้จริง

(27 เม.ย.66) ดร.นพ.เปรมศักดิ์ เพียยุระ ผู้สมัคร ส.ส ขอนแก่นเขต 11 หมายเลข1 พรรครวมไทยสร้างชาติ (รทสช.) ได้กล่าวถึงบรรยากาศในการลงพื้นที่หาเสียงของตนเอง ว่า ตอนนี้ชาวบ้านให้ความสนใจในนโยบายของพรรคการเมืองต่าง ๆ และมีการนำมาเปรียบเทียบกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง คู่เปรียบเทียบที่ชาวบ้านสนใจมากที่สุดคือ นโยบายบัตรสวัสดิการพลัส ของพรรครวมไทยสร้างชาติ หรือ ‘บัตรลงตู่’ ที่จะเพิ่มเงินเป็น 1,000 บาททุกเดือน กับนโยบาย ‘แจกเงินดิจิทัล 10,000 บาท’ ของพรรคเพื่อไทย

โดยยอมรับว่า ในช่วงแรกที่ พรรคเพื่อไทย มีการเปิดตัว นโยบายแจกเงินดิจิทัล 10,000 บาทให้กับคนอายุ 16 ปีขึ้นไปทุกคน สร้างความฮือฮาให้กับชาวบ้านในพื้นที่เป็นอย่างมาก ด้วยตัวเลขที่สูงถึง 10,000 บาท ทำให้นโยบายดังกล่าว ได้รับการกล่าวขานอย่างกว้างขวาง อย่างไรก็ตาม เมื่อมีข่าวการท้วงติงจากฝ่ายต่าง ๆ ถึงความเป็นไปได้ และผลกระทบของโครงการนี้ ไม่ว่าจะเป็นจากนักวิชาการ หรือสื่อมวลชน แม้แต่อดีตผู้ว่าธนาคารแห่งประเทศไทย ในประเด็นเรื่องที่มาของเงินงบประมาณที่จะใช้สูงถึง 560,000 ล้านบาท ว่าจะเอามาจากไหน และที่สำคัญ คือเรื่องของรูปแบบของเงินที่จะจ่ายให้กับประชาชน และวิธีการใช้ ที่มีความซับซ้อนยุ่งเหยิง และการอธิบาย ของแกนนำเพื่อไทยแต่ละครั้งที่ออกมาพูด ก็แตกต่างกันไปจนชาวบ้านรู้สึกสับสน

รวมถึง กรณีล่าสุดที่รองเลขาธิการพรรคเพื่อไทย นายเผ่าภูมิ โรจนสกุล ออกมาบอกว่า ร้านค้ารายย่อยที่เข้าร่วมโครงการ ถ้าหากขายของได้แล้วจะเอาเงินดิจิทัลไปขึ้นเงินหรือเปลี่ยนเป็นเงินสดนั้น จะต้องเข้าไปอยู่ในระบบภาษีด้วย ก็ทำให้เกิดกระแสวิพากษ์วิจารณ์ ด้านลบต่อโครงการนี้เป็นอย่างมาก เพราะเป็นที่ทราบกันดีว่า ร้านค้ารายย่อยในชุมชน ไม่ว่าจะเป็นร้านของชำ ร้านขายอาหารตามสั่งต่าง ๆ ไม่ได้อยู่ในระบบภาษี เพราะเป็นเพียงร้านค้าที่มีทุนร้อนไม่มาก ค้าขายประทังชีวิตไปวัน ๆ นึง ซึ่งถ้าหากขายสินค้าให้กับผู้เข้าร่วมโครงการนี้แล้ว และเอาไปขึ้นเป็นเงินสดไม่ได้ จากการสอบถามเจ้าของร้านค้าส่วนใหญ่ก็บอกว่า จะไม่เข้าร่วมโครงการนี้แน่นอน เพราะเพราะยุ่งยากเกินไป

และอีกอย่างหนึ่ง ก็ไม่ได้มีทุนมากมาย ที่จะใช้หมุนเวียน เมื่อขายของได้ก็อยากจะเอารายได้มาใช้จ่าย ซึ่งถ้าฟังตามเงื่อนไขของโครงการที่การนำพรรคเพื่อไทยมาบอกว่า ขายของแล้วจะขึ้นเงินได้ต้องเป็นร้านที่อยู่ในระบบภาษีเท่านั้น แบบนี้มีปัญหาแน่นอน เพราะร้านค้าส่วนใหญ่ เป็นร้านของชาวบ้านธรรมดา ไม่ได้มีระบบบัญชีอะไรที่เป็นเรื่องเป็นราว ขายอยู่ขายกินไปวัน ๆ และถ้าเงื่อนไขยุ่งยากแบบนี้คงไม่เอาด้วยแน่ ๆ


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top