Friday, 3 May 2024
น้ำเสีย

นายกฯ ญี่ปุ่น ยืนยันตามแผนเดิม ปล่อยน้ำเสียปนเปื้อนกัมมันตรังสีฟูกุชิมะลงมหาสมุทร

นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น ฟูมิโอะ คิชิดะ ยืนยันเมื่อวานนี้ (17 ต.ค.) ว่า แผนการปล่อยน้ำเสียปนเปื้อนกัมมันตรังสีจากโรงงานไฟฟ้านิวเคลียร์ฟูกุชิดะลงสู่มหาสมุทร ‘ไม่สามารถเลื่อนออกไปได้’ ถึงแม้คนในพื้นที่จะแสดงความวิตกกังวล รวมไปถึงประเทศเพื่อนบ้าน เช่น เกาหลีใต้ ที่ยังคงสั่งแบนอาหารทะเลจากภูมิภาค

เอพีรายงาน เผย ผู้นำญี่ปุ่นประกาศระหว่างเดินทางไปเยือนโรงงานพลังงานไฟฟ้านิวเคลียร์ฟูกุชิมะ ชี้ว่า เขาจะทำให้รัฐบาลญี่ปุ่นชุดใหม่ของตนเองจะทำงานเพื่อให้มั่นใจว่า ประชาชนที่อาศัยอยู่รอบโรงงานเกี่ยวกับความปลอดภัยทางเทคนิคของโครงการปล่อยน้ำเสีย

‘นิพนธ์’ ประสานทุกความร่วมมือเดินแนวทาง "น้ำเสีย อยู่คู่ชุมชนได้” ชี้ความสำเร็จอยู่ที่การร่วมมือทุกฝ่ายต้องช่วยกัน ในงานครบรอบ 27 ปี สถาปนาองค์การจัดการน้ำเสีย(อจน.)

เมื่อวันที่ (15 ส.ค. 65) ที่ศูนย์บริหารจัดการคุณภาพน้ำเทศบาลเมืองแพรกษา จังหวัดสมุทรปราการ นายนิพนธ์ บุญญามณี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย เป็นประธานและมอบนโยบายเนื่องในวาระครบรอบ 27 ปี วันสถาปนาองค์การจัดการน้ําเสีย(อจน.) โดยมี รองผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรปราการ ,  รองนายกเทศมนตรีเมืองแพรกษา , นายชีระ วงศบูรณะ ผู้อำนวยการองค์การจัดการน้ำเสีย, ผู้บริหาร, เจ้าหน้าที่จากกระทรวงมหาดไทย, เจ้าหน้าที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม, ผู้นำชุมชน และประชาชน ร่วมให้การต้อนรับ



นายนิพนธ์ กล่าวว่า  การจัดกิจกรรมเนื่องในวาระครบรอบ 27 ปี วันสถาปนาองค์การจัดการน้ําเสียในวันนี้ นับว่าเป็นโอกาสดีอย่างยิ่งท่ี ภาคส่วนต่างๆ ที่เกี่ยวข้องได้ร่วมกันจัดกิจกรรมให้ชุมชนได้ตระหนักถึงการดูแลสิ่งแวดล้อมในชุมชน ทำอย่างไรให้น้ำเสียสามารถอยู่คู่กับชุมชนได้ และทำอย่างไรให้ทุกคนได้มีส่วนในการรับผิดชอบในการจัดการน้ำเสียในชุมชน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ประชาชน เยาวชนได้มาร่วมกันแก้ไขปัญหาน้ําเสีย เพื่อรักษาสิ่งแวดล้อมด้วยความรู้ ความเข้าใจ และให้ความร่วมมือในการลดความสกปรกของน้ําเสียจากแหล่งกําเนิดซึ่งจะช่วยให้คุณภาพน้ําของแหล่งรองรับน้ําในพื้นท่ีดีข้ึน 

‘บิ๊กป้อม’ ฟิตจัด เร่งแก้ปัญหาน้ำเน่าเสีย จ.เพชรบุรี หลังกระทบหอยแครงพื้นบ้าน-ความเป็นอยู่ของชาวบางตะบูน

(31 มี.ค. 66) พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะผู้อำนวยการกองอำนวยการน้ำแห่งชาติ (กอนช.) พร้อมคณะได้ลงพื้นที่ปฏิบัติราชการต่อเนื่องจากช่วงเช้า โดยในช่วงบ่ายได้เดินทางไปยัง เทศบาลตำบลบางตะบูน อำเภอบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี เพื่อร่วมหารือกับจังหวัดและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยได้รับฟังการบรรยายสรุปภาพรวมของจังหวัดเพชรบุรี จาก ผวจ.และสภาพปัญหาผลกระทบของน้ำเน่าเสีย ในพื้นที่ตำบลบางตะบูน จากนายกเทศมนตรี รวมทั้ง รับทราบรายงานแผนงานและโครงการพัฒนาแหล่งน้ำที่สำคัญ และแนวทางการแก้ไขปัญหาน้ำเน่าเสีย ใน 3 จังหวัด (ราชบุรี, สมุทรสงคราม และเพชรบุรี) จากเลขาธิการ สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.)

‘เทปโก้’ เผย ผลตัวอย่างน้ำทะเล ‘โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟุกุชิมะ’ หลังทำการปล่อยน้ำเสียสู่ทะเล ยัน!! ยังอยู่ในระดับปลอดภัย

เมื่อวานนี้ (25 ส.ค.66) สำนักข่าวเอเอฟพีรายงานว่า บริษัทโตเกียว อิเล็กทริก พาวเวอร์ หรือ ‘เทปโก้’ ผู้เป็นเจ้าของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟุกุชิมะ ในประเทศญี่ปุ่นเผยเมื่อวันที่ 25 สิงหาคมว่า ผลตรวจตัวอย่างน้ำทะเลหลังการเริ่มปล่อยน้ำปนเปื้อนสารกัมมันตรังสี ที่ผ่านการบำบัดแล้วของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟุกุชิมะลงสู่ทะเลเมื่อวานนี้ (24 ส.ค.) แสดงให้เห็นว่าระดับกัมมันตภาพรังสีในน้ำยังอยู่ในระดับที่ปลอดภัย

นายเคสุเกะ มัตซึโอะ โฆษกของเทปโก้กล่าวในการแถลงข่าวว่า “เรายืนยันว่าค่าที่วิเคราะห์ได้นั้นต่ำกว่า 1,500 เบ็กเคอเรลต่อลิตร” โดยหน่วยวัด เบ็กเคอเรลต่อลิตร จะถูกใช้ในการวัดระดับกัมมันตภาพรังสี ซึ่งค่ามาตรฐานความปลอดภัยแห่งชาติได้ระบุไว้ที่ 60,000 เบ็กเคอเรลต่อลิตร

นายมัตซึโอะกล่าวอีกว่า การตรวจตัวอย่างน้ำดังกล่าวได้ผลลัพธ์ที่คล้ายกับผลการทดสอบก่อนหน้านี้ และได้ค่าที่ต่ำกว่าระดับมาตรฐานความปลอดภัยที่ระบุไว้อย่างมีนัยสำคัญ นอกจากนั้นแล้ว ทางหน่วยงานจะทำการวิเคราะห์ต่อไปทุกวันตลอด 1 เดือนข้างหน้าและหลังจากนั้น รวมถึงหวังว่าการให้คำอธิบายที่เข้าใจง่ายและรวดเร็วนี้ จะช่วยคลายความกังวลของหลายคนได้ ด้านกระทรวงสิ่งแวดล้อมของญี่ปุ่นก็ได้มีการเก็บตัวอย่างน้ำทะเลจาก 11 แห่งเมื่อวันที่ 25 สิงหาคม เพื่อนำไปตรวจสอบและจะมีการประกาศผลที่ได้ในวันที่ 27 สิงหาคมนี้

นอกจากนั้นแล้ว สืบเนื่องจากที่ประเทศจีนได้มีคำสั่งแบนการนำเข้าอาหารทะเลทั้งหมดจากประเทศญี่ปุ่นเมื่อวานนี้ หลังเริ่มปล่อยน้ำเสียที่ผ่านการบำบัดของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟุกุชิมะลงสู่ทะเล ล่าสุด รายงานของเทอิโคคุ ดาตาแบงก์ บริษัทวิจัยตลาดเผยว่า บริษัทผู้ส่งออกอาหารของประเทศญี่ปุ่นไปยังประเทศจีนจำนวน 727 แห่ง ได้รับผลกระทบจากคำสั่งแบนดังกล่าวของจีน ซึ่งคิดเป็นราว 8% ของบริษัทญี่ปุ่นทั้งหมดที่ส่งสินค้าไปยังจีน

ประเทศญี่ปุ่นส่งออกผลิตภัณฑ์ทางทะเลไปยังประเทศจีนในปี 2022 เป็นมูลค่าราว 600 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือราว 21,066 ล้านบาท ถือเป็นตลาดส่งออกที่ใหญ่ที่สุดของญี่ปุ่น โดยการส่งออกไปยังประเทศจีนและฮ่องกงคิดเป็นสัดส่วน 42%  ของการส่งออกผลิตภัณฑ์ทางทะเลทั้งหมดของญี่ปุ่นในปี 2022

นายยาสึโตชิ นิชิมูระ รัฐมนตรีการค้าและอุตสาหกรรม ผู้รับผิดชอบในด้านนโยบายนิวเคลียร์ของญี่ปุ่น ได้วิงวอนให้นายฟูมิโอะ คิชิดะ นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่นเรียกร้องให้จีนยกเลิกการแบนดังกล่าว

‘รัสเซีย’ เล็งแบนนำเข้าอาหารทะเลญี่ปุ่น ปมปล่อยน้ำปนเปื้อนกัมมันตรังสีสู่ทะเล

สำนักงานกำกับดูแลความปลอดภัยทางอาหารของรัสเซีย (Rosselkhoznadzor) ระบุในวันอังคาร (26 ก.ย.) ว่า รัสเซียกำลังพิจารณาที่จะดำเนินการตามจีนในการสั่งห้ามนำเข้าอาหารทะเล หลังจากรัฐบาลญี่ปุ่นปล่อยน้ำปนเปื้อนกัมมันตรังสีที่ผ่านการบำบัดแล้วออกจากโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟุกุชิมะ ไดอิจิ ลงสู่มหาสมุทรแปซิฟิกในวันพฤหัสบดีที่ 24 ส.ค. และวางแผนที่จะหารือเรื่องดังกล่าวกับญี่ปุ่น

ทั้งนี้ ญี่ปุ่นเผชิญกระแสวิพากษ์วิจารณ์อย่างรุนแรงจากจีน หลังปล่อยน้ำปนเปื้อนกัมมันตรังสีลงสู่ทะเลในเดือนที่ผ่านมา โดยจีนได้ตอบโต้การดำเนินการดังกล่าวด้วยการสั่งห้ามนำเข้าอาหารทะเลทั้งหมดจากญี่ปุ่น

สำนักงานกำกับดูแลความปลอดภัยทางอาหารของรัสเซียระบุว่า รัสเซียได้หารือเรื่องการส่งออกอาหารญี่ปุ่นกับจีน โดยรัสเซียเป็นหนึ่งในซัพพลายเออร์อาหารทะเลรายใหญ่ที่สุดของจีน และกำลังพยายามเพิ่มส่วนแบ่งตลาด

“เมื่อพิจารณาถึงความเสี่ยงเรื่องการปนเปื้อนกัมมันตรังสีในอาหารแล้ว สำนักงานกำกับดูแลความปลอดภัยทางอาหารของรัสเซียจึงพิจารณาที่จะจำกัดการนำเข้าผลิตภัณฑ์จากปลาของญี่ปุ่นเช่นเดียวกับจีน” สำนักงานกำกับดูแลความปลอดภัยทางอาหารของรัสเซียระบุในแถลงการณ์ พร้อมกล่าวเสริมว่า “รัสเซียจะสรุปการตัดสินใจหลังเจรจากับทางญี่ปุ่นแล้ว”

สำนักงานกำกับดูแลความปลอดภัยทางอาหารของรัสเซียระบุว่า ได้ส่งจดหมายถึงญี่ปุ่นแล้ว เพื่อขอนัดหมายการประชุม พร้อมขอให้ญี่ปุ่นส่งข้อมูลการทดสอบรังสีในผลิตภัณฑ์ปลาส่งออกของญี่ปุ่นภายในวันที่ 16 ต.ค ซึ่งรวมถึงสารทริเทียม

สำนักงานกำกับดูแลความปลอดภัยทางอาหารของรัสเซียระบุว่า รัสเซียนำเข้าอาหารทะเลจากญี่ปุ่นทั้งสิ้น 118 ตันในปีนี้

ก่อนหน้านี้ญี่ปุ่นระบุว่า น้ำปนเปื้อนกัมมันตรังสีนั้นปลอดภัยดี เนื่องจากได้รับการบำบัดเพื่อขจัดสารรังสีออกไปเกือบทั้งหมดแล้ว เหลือเพียงแค่สารทริเทียมเท่านั้น เนื่องจากเป็นสารที่ยากที่จะแยกออกจากน้ำได้ และการปล่อยน้ำปนเปื้อนดังกล่าวสอดคล้องกับมาตรฐานสากล

ญี่ปุ่นระบุว่า ข้อครหาจากรัสเซียและจีนนั้นไม่เป็นไปตามหลักการทางวิทยาศาสตร์


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top