Tuesday, 29 April 2025
นายอลงกรณ์

ประชาธิปัตย์ยุคใหม่เพิ่มบทบาทระหว่างประเทศ ผนึกพรรคการเมืองในเอเชียลดขัดแย้งร่วมมือแบบสร้างสรรค์ส่งเสริมประชาธิปไตยและสิทธิมนุษยชน

(15 ก.ย. 67) นายอลงกรณ์ พลบุตร รองประธานคณะกรรมการยุทธศาสตร์ อดีตรัฐมนตรีและส.ส. พรรคประชาธิปัตย์เปิดเผยภายหลังการเยือนประเทศญี่ปุ่นวันนี้ว่า ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ได้มอบหมายให้เป็นตัวแทนพรรคในฐานะที่ตนเคยเป็นเลขาธิการและเป็นหนึ่งในผู้ริเริ่มก่อตั้ง CALD เข้าร่วมภารกิจและการประชุมคณะกรรมการบริหารของสภาพรรคการเมืองเสรีนิยมประชาธิปไตยแห่งเอเชีย(CALD : Council for Asian Liberals and Democrats) ที่ประเทศญี่ปุ่นเพื่อเสริมสร้างความร่วมมือระหว่างประเทศตอบโจทย์อนาคตในปัญหาความท้าทายใหม่โดยได้มีการกำหนดบทบาทร่วมกันโดยเฉพาะการส่งเสริมคุณค่าประชาธิปไตย สิทธิมนุษยชน เสรีภาพและหลักนิติรัฐนิติธรรม รวมทั้งการเพิ่มบทบาทของสตรีและเยาวชนคนรุ่นใหม่ทางการเมือง การยกระดับศักยภาพพรรคการเมือง ตลอดจนปัญหาปัจจุบันเช่น ประเด็น ผลกระทบจากสงครามรัสเซีย-ยูเครน อิสราเอล-ปาเลสไตน์ ความตึงเครียดในทะเลจีนใต้รวมถึงปัญหาเศรษฐกิจโลก สังคมสูงวัย เทคโนโลยีดิสรัปชั่น ปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

นอกจากนี้ภายหลังการเยือนรัฐสภาญี่ปุ่น ผู้แทนพรรครัฐธรรมนูญประชาธิปไตย(Constitutional Democratic Party)ซึ่งเป็นพรรคการเมืองใหญ่อันดับ2ของญี่ปุ่นได้หารือสถานการณ์ในประเทศเมียนมาร์ และขอความร่วมมือพรรคประชาธิปัตย์ในด้านการช่วยเหลือชาวเมียนมาร์ด้านมนุษยธรรมที่ได้รับผลกระทบจากการสู้รบภายในประเทศซึ่งตนได้ตอบรับและแจ้งว่า รัฐบาลไทยมีแนวทางการช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมภายใต้“แนวทางระเบียงมนุษยธรรม”(Humanitarian Corridor)พร้อมสนับสนุนและร่วมมือกับทุกฝ่าย ทั้งนี้ในระหว่างการเยือนญี่ปุ่นยังได้แลกเปลี่ยนแนวทางความร่วมมือกับพรรครัฐธรรมนูญประชาธิปไตย ศูนย์ความร่วมมือแลกเปลี่ยนนานาชาติแห่งญี่ปุ่น(Japan Center for International Exchang)และองค์กร ศูนย์กลางเอ็นจีโอ.ความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งญี่ปุ่น(Japan NGO Center for International Cooperation)เป็นต้น “การเพิ่มบทบาทในการขยายความร่วมมือกับพรรคการเมืองและองค์กรระหว่างประเทศในเอเซียและภูมิภาคต่างๆทั่วโลกของพรรคประชาธิปัตย์ถือเป็นนโยบายใหม่และเป็นภารกิจสำคัญในการส่งเสริมอุดมการณ์ประชาธิปไตย ความเสมอภาค สิทธิเสรีภาพและสิทธิมนุษยชน การลดความขัดแย้งและเพิ่มความร่วมมืออย่างสร้างสรรค์ในยุคสมัยแห่งความผันผวนของโลกปัจจุบัน” นายอลงกรณ์กล่าวในที่สุด สำหรับสภาพรรคการเมืองเสรีนิยมประชาธิปไตยแห่งเอเชียก่อตั้งที่กรุงเทพเมื่อ31ปีที่แล้วมีพรรคการเมืองในประเทศต่างๆเป็นสมาชิกเช่น อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ สิงค์โปร์ มาเลเซีย ศรีลังกา มองโกเลีย กัมพูชา ญี่ปุ่น ไทย ฯลฯ

“ปชป.” สนับสนุนสันนิบาตสหกรณ์ฯ.เดินหน้าโครงการ“สภาสหกรณ์แห่งชาติ”ยกระดับอัพเกรดขบวนการสหกรณ์ของไทย

(9 ธ.ค. 67) นายอลงกรณ์ พลบุตร รองประธานคณะกรรมการยุทธศาสตร์ พรรคประชาธิปัตย์และอดีตรองประธานสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศคนที่ 1ได้รับมอบจากดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมให้เข้าร่วมการประชุมและบรรยายตามคำเชิญของนายปรเมศวร์ อินทรชุมนุม ประธานคณะกรรมการดำเนินการสันนิบาตสหกรณ์แห่งประเทศไทย (สสท.)ในวาระการประชุมของสันนิบาตสหกรณ์แห่งประเทศไทยเรื่องโครงการจัดตั้งสภาสหกรณ์แห่งชาติ“ที่โรงแรมเอเซียแอร์พอร์ตวันนี้โดยนายอลงกรณ์กล่าวว่าพรรคประชาธิปัตย์

มีนโยบายสนับสนุนขบวนการสหกรณ์และสันนิบาตสหกรณ์แห่งประเทศไทยมาอย่างต่อเนื่องยาวนานโดยเฉพาะในช่วงที่เป็นแกนนำรัฐบาลได้ปรับปรุงพรบ.สหกรณ์ปี2511ที่ใช้มา31ปีให้ทันสมัยในปี2542 ดังนั้นเมื่อสันนิบาตสหกรณ์ฯ.ริเริ่มโครงการจัดตั้งสภาสหกรณ์แห่งชาติจึงพร้อมให้การสนับสนุนอย่างเต็มที่ “ขบวนการสหกรณ์ของไทยเกิดขึ้นมากว่า100ปีตั้งแต่ปี2458จนเติบใหญ่มีสมาชิกกว่า10ล้านคนในสหกรณ์7ประเภทจำนวนกว่า6,000สหกรณ์เป็นองค์กรธุรกิจใหญ่ที่สุดมีทรัพย์สินเงินทุนหมุนเวียนและธุรกิจไม่น้อยกว่า5ล้านล้านบาทมากกว่างบประมาณแผ่นดินเกือบ2เท่ามีบทบาทสำคัญต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศตลอดมา 

ดังนั้นเมื่อสันนิบาตสหกรณ์ฯ.ริเริ่มโครงการจัดตั้งสภาสหกรณ์แห่งชาติจึงพร้อมให้การสนับสนุนอย่างเต็มที่และพร้อมร่วมคิดร่วมจัดทำร่างพระราชบัญญัติ“สภาสหกรณ์แห่งชาติ” เช่นเดียวกับการที่รัฐบาลพรรคประชาธิปัตได้ตราพระราชบัญญัติสภาเกษตรกรแห่งชาติพ.ศ. 2553เพื่อสนับสนุนการพัฒนาเกษตรกรและภาคเกษตรกรรมของประเทศ“ ทั้งนี้นายอลงกรณ์ได้เสนอ2แนวทางในการจัดตั้งสภาสหกรณ์แห่งชาติ เช่น การตรากฎหมายใหม่หรือปรับปรุงกฎหมายเดิมยกฐานะสันนิบาตสหกรณ์ฯ.เป็นสภาสหกรณ์ฯ.หรือเป็นสภาสหกรณ์และเกษตรกรแห่งชาติภายใต้การปรับปรุงกฎหมายสภาเกษตรกรแห่งชาติซึ่งต้องหารือกับคณะกรรมการสภาเกษตรกรแห่งชาติว่าขัดข้องหรือไม่อย่างไรเพื่อให้ขบวนการสหกรณ์แข็งแกร่งและเป็นเอกภาพ นอกจากนั้นกฎหมายการจัดตั้งจะต้องตอบโจทย์การบริหารสหกรณ์ที่มีประสิทธิภาพและโปร่งใส ต้นทุนเงินสหกรณ์และดอกเบี้ย ความสามารถในการประกอบธุรกิจแบบอเนกประสงค์ทันต่อยุคดิจิตอล รวมทั้งการให้มีองค์กรอิสระทำหน้าที่กำกับดูแลและสนับสนุนในรูปแบบRegulatorในสาขากิจการประกันภัย สาขากิจการสื่อสารโทรคมนาคม สาขากิจการไฟฟ้าฯลฯแทนกรมส่งเสริมสหกรณ์และกรมตรวจบัญชีสหกรณ์เพื่อความคล่องตัวในการดำเนินการภายใต้คณะกรรมการกำกับกิจการที่เป็นองค์อิสระ.


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top