Saturday, 11 May 2024
นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น

‘ฟูมิโอะ คิชิดะ’ จ่อขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น หลังได้รับเลือกเป็นหัวหน้าพรรคแอลดีพีคนใหม่

นายฟูมิโอะ คิชิดะ อดีตรัฐมนตรีต่างประเทศ ได้รับเลือกจากพรรคเสรีประชาธิปไตย หรือ แอลดีพี ให้เป็นหัวหน้าพรรคคนใหม่ ซึ่งชัยชนะในการเลือกตั้งหัวหน้าพรรคของเขาจะทำให้เขาได้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคนใหม่ต่อจากนายโยชิฮิเดะ ซูงะ ในอีกไม่กี่วันข้างหน้านี้

นายคิชิดะ วัย 64 ปี ได้รับความนิยมปานกลางจากประชาชนชาวญี่ปุ่น แต่ได้แรงหนุนจากสมาชิกอาวุโสที่ทรงอิทธิพลภายในพรรค สามารถเอาชนะนายทาโร โคโนะ อดีตรัฐมนตรีกลาโหมและต่างประเทศวัย 58 ปี ซึ่งเป็นนักการเมืองฝีปากกล้าและเป็นที่นิยมของประชาชน ในการลงคะแนนรอบที่ 2 หลังจากที่ในรอบแรกไม่มีผู้ใดได้คะแนนเสียงข้างมาก ในขณะที่ผู้สมัครชิงตำแหน่งหัวหน้าพรรคอีก 2 คน ซึ่งเป็นสตรีทั้งคู่ คือ ซานาเอะ ทากาอิชิ วัย 60 ปี และ เซโกะ โนดะ วัย 61 ปี ได้คะแนนไม่ผ่านรอบแรกของการลงคะแนนเสียง นายฟูมิโอะ คิชิดะ อดีตรัฐมนตรีต่างประเทศ ได้รับเลือกจากพรรคเสรีประชาธิปไตย หรือ แอลดีพี ให้เป็นหัวหน้าพรรคคนใหม่ ซึ่งชัยชนะในการเลือกตั้งหัวหน้าพรรคของเขาจะทำให้เขาได้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคนใหม่ต่อจากนายโยชิฮิเดะ ซูงะ ในอีกไม่กี่วันข้างหน้านี้

นายคิชิดะ วัย 64 ปี ได้รับความนิยมปานกลางจากประชาชนชาวญี่ปุ่น แต่ได้แรงหนุนจากสมาชิกอาวุโสที่ทรงอิทธิพลภายในพรรค สามารถเอาชนะนายทาโร โคโนะ อดีตรัฐมนตรีกลาโหมและต่างประเทศวัย 58 ปี ซึ่งเป็นนักการเมืองฝีปากกล้าและเป็นที่นิยมของประชาชน ในการลงคะแนนรอบที่ 2 หลังจากที่ในรอบแรกไม่มีผู้ใดได้คะแนนเสียงข้างมาก ในขณะที่ผู้สมัครชิงตำแหน่งหัวหน้าพรรคอีก 2 คน ซึ่งเป็นสตรีทั้งคู่ คือ ซานาเอะ ทากาอิชิ วัย 60 ปี และ เซโกะ โนดะ วัย 61 ปี ได้คะแนนไม่ผ่านรอบแรกของการลงคะแนนเสียง 

‘ฟูมิโอะ คิชิดะ’ นายกฯ ญี่ปุ่นประกาศยุบสภา รอชี้ชะตา ในการเลือกตั้งทั่วไป 31 ต.ค.นี้

“ฟูมิโอะ คิชิดะ” นายกรัฐมนตรีลำดับที่ 100 ของญี่ปุ่น ประกาศยุบสภาในวันนี้ พร้อมประกาศจัดการเลือกตั้งทั่วไป 31 ตุลาคมนี้ หลังจากสภาผู้แทนอยู่ครบวาระ 4 ปีเป็นครั้งแรกหลังสงครามโลก ส่วนคิชิดะดำรงตำแหน่งนายกฯ ได้ 11 วัน

วันที่ 14 ตุลาคม 2564 รอยเตอร์ส รายงานว่า นายฟูมิโอะ คิชิดะ นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น ประกาศยุบสภาในวันนี้ และเตรียมจัดการเลือกตั้งทั่วไปอีกครั้งในวันที่ 31 ตุลาคมนี้ หลังจากที่เขาเพิ่งชนะการเลือกตั้งภายในพรรคเสรีประชาธิปไตย หรือ พรรคแอลดีพี ขึ้นเป็นประธานพรรค เมื่อวันที่ 29 กันยายนที่ผ่านมา และเพิ่งได้รับเลือกจากสภาผู้แทนเป็นนายกรัฐมนตรีคนที่ 100 ของญี่ปุ่นเมื่อวันที่ 4 ตุลาคม

ขณะที่สภาผู้แทนของญี่ปุ่นครองเสียงข้างมาก โดยรัฐบาลผสมที่มีพรรคแอลดีพีเป็นแกนนำรัฐบาล

อย่างไรก็ตาม การประกาศยุบสภาครั้งนี้ นับเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์หลังสงครามโลกครั้งที่สองของญี่ปุ่น ที่จัดให้มีการเลือกตั้งทั่วไปหลังจากสภาผู้แทนอยู่จนครบวาระ 4 ปี และนายคิชิดะ อยู่ในตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเพียง 11 วัน

การประกาศยุบสภาเพื่อจัดการเลือกตั้งทั่วไปในอีกไม่กี่วันข้างหน้า ของนายคิชิดะ ยังเป็นการต่อสู้เพื่อเรียกคะแนนความนิยมในตัวเขาและพรรคแอลดีพี กลับมา ในระหว่างการแก้ปัญหาเศรษฐกิจและผลกระทบจากการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา (โควิด-19)

คนญี่ปุ่นหนุน!! คะแนนนิยม ‘คิชิดะ’ ขยับขึ้น 6 จุด หลังดำเนินมาตรการคว่ำบาตรรัสเซีย

โตเกียว (รอยเตอร์ส/เกียวโด) - ผลการสำรวจความเห็นชาวญี่ปุ่นพบว่า ความนิยมของนายกรัฐมนตรีเพิ่มขึ้น 6 จุด หลังคว่ำบาตรรัสเซีย ที่ยกกองทัพบุกยูเครน

ความนิยมของนายกรัฐมนตรีฟุมิโอะ คิชิดะ ผู้นำญี่ปุ่น พุ่งขึ้น 6 จุด อยู่ที่ร้อยละ 61 เมื่อเทียบกับเดือนกุมภาพันธ์ โดยโพลล์หยั่งเสียงชาวญี่ปุ่นพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามราว 2 ใน 3 เห็นด้วยที่รัฐบาลญี่ปุ่นดำเนินมาตรการคว่ำบาตรรัสเซีย เพื่อตอบโต้ที่รัสเซียยกกองทัพบุกยูเครน ซึ่งญี่ปุ่นดำเนินการต่อรัสเซียหลายอย่าง รวมถึงอายัดทรัพย์สินของบุคคลและบริษัทรัสเซีย ตลอดจนถอดรัสเซียออกจากประเทศที่ได้สิทธิพิเศษทางการค้า หรือ MFN

ผู้ตอบแบบสอบถามราวร้อยละ 44 ที่ดำเนินการสำรวจความเห็นโดยหนังสือพิมพ์นิคเคอิเมื่อช่วงสุดสัปดาห์ ระบุว่า พวกเขาเห็นด้วยที่รัฐบาลญี่ปุ่นคว่ำบาตรรัสเซีย ขณะที่ผู้ตอบแบบสอบถามราวร้อยละ 41 ระบุว่าควรจะลงโทษทางเศรษฐกิจต่อรัสเซียอย่างรุนแรง ส่วนชาวญี่ปุ่นร้อยละ 90 เห็นด้วยที่รัฐบาลตัดสินใจรับผู้อพยพจากยูเครน

'บิ๊กตู่' เผย 8 ข้อหารือนายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น ส่งทีมศก.ไทยถก 5 บริษัทรถยนต์ ลุยอุตสาหกรรม EV

‘บิ๊กตู่’ โพสต์ผลสำเร็จหลังพบหารือกับนายกฯญี่ปุ่น หวังอนาคตก้าวสู่การเป็นผู้นำอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าในภูมิภาค และเป็นฐานการผลิตยานยนต์ไฟฟ้าอันดับต้นๆ ของโลก

เมื่อวันที่ 3 พ.ค. พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี โพสต์ข้อความบนเฟซบุ๊กส่วนตัวถึงการพบปะหารือร่วมกับ นายคิชิดะ ฟูมิโอะ นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น เมื่อวันที่ 2 พ.ค.ว่า ช่วงวันที่ 1-2 พ.ค.นี้ ประเทศไทยได้มีโอกาสให้การต้อนรับการเยือนอย่างเป็นทางการ ของนายคิชิดะ ฟูมิโอะ นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น และคณะกว่า 100 คน ซึ่งเป็นผู้แทนระดับสูงจากหลายกระทรวงสำคัญของญี่ปุ่น ได้แก่ กระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงเกษตร ป่าไม้ และประมง กระทรวงเศรษฐกิจ การค้า และอุตสาหกรรม กระทรวงที่ดิน โครงสร้างพื้นฐาน การขนส่ง และการท่องเที่ยว รวมทั้งกระทรวงกลาโหม นับเป็นการเยือนอย่างเป็นทางการในระดับนายกรัฐมนตรี ครั้งแรกในรอบ 9 ปี เพื่อสานต่อและขยายผลความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่าง 2 ประเทศ ที่มีมาอย่างยาวนาน 135 ปี ให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น ทั้งในภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน

นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ตนมีความยินดีที่จะเรียนให้ทราบถึงความสำเร็จร่วมกัน จากการหารือเพื่อเพิ่มพูนความเป็น "หุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์" ระหว่างประเทศไทยและญี่ปุ่นให้แข็งแกร่งยิ่งขึ้น อย่างน้อย 8 ด้าน ดังต่อไปนี้

1.) การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน การเสริมสร้างศักยภาพ Startup และ SMEs ให้มีนวัตกรรมใหม่ๆ รวมทั้งการร่วมมือภายใต้แนวคิดเศรษฐกิจ BCG ที่สอดคล้องกับยุทธศาสตร์การเติบโตสีเขียว ของทั้งสองประเทศ 

2.) การส่งเสริมการลงทุนจากญี่ปุ่น ในอุตสาหกรรมเป้าหมายสำคัญของไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในอุตสาหกรรมแห่งอนาคต เช่น ยานยนต์ไฟฟ้า-แบตเตอรี่-อะไหล่ อิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะและเซมิคอนดักเตอร์ เทคโนโลยีดิจิทัล และ BCG ทั้งในพื้นที่ EEC และทั่วทุกภูมิภาคของไทย ที่จะต้องพิจารณาส่งเสริมโดยตลอดห่วงโซ่การผลิต ตั้งแต่ต้นทาง-กลางทาง-ปลายทาง 

รวมทั้งเรื่องเวชภัณฑ์-ยา-เครื่องมือแพทย์ ซึ่งญี่ปุ่นก็เป็นหนึ่งในผู้ผลิตยาระดับโลก รัฐบาลก็พร้อมที่จะสนับสนุนให้เกิดการลงทุน การวิจัย หรือขยายธุรกิจ โดยตั้งโรงงานผลิตยาในประเทศไทยให้มากขึ้น โดยไทยก็มีความพร้อมด้านบุคลากรทางการแพทย์ นักวิจัย และสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ เพื่อส่งเสริมบทบาทของไทย ให้เป็น "ศูนย์กลางด้านสุขภาพและการแพทย์ (Healthcare, Wellness & Medical Hub)" ของโลก

3.) การพัฒนาอุตสาหกรรมเป้าหมายและพื้นที่ EEC การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ โดยส่งเสริมการสร้างแรงงานทักษะสูง ใน 12 อุตสาหกรรมเป้าหมาย ที่รองรับการลงทุนของญี่ปุ่น ผ่านสถาบันโคเซ็นในไทย (KOSEN Education Center) เพื่อมุ่งพัฒนาให้ไทยเป็น "ศูนย์กลางการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์" ในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง 

4.) การเสริมสร้างความร่วมมือด้านพลังงาน เพื่อนำไปสู่การบรรลุเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอน 

5.) การพัฒนาเมืองอัจฉริยะ ระบบราง โครงข่ายดิจิทัล และ 5G

6.) การส่งเสริมการค้าระหว่างกัน โดยใช้ประโยชน์จากความตกลงการค้าเสรี (FTA : Free Trade Agreement) ต่างๆ ที่สองฝ่ายเป็นภาคีอยู่ รวมถึงความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค หรือ RCEP (Regional Comprehensive Economic Partnership) ซึ่งเป็นเขตการค้าเสรีที่ใหญ่ที่สุดของโลก


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top