เป็นที่ประจักษ์แน่นอนแล้วว่าหมุดหมายใหม่ของธรรมกายไม่ใช่ประเทศไทย แต่บุกไปหลายประเทศที่นับถือพุทธศาสนา อาทิเช่น เมียนมา, ศรีลังกา รวมถึงหลายประเทศในยุโรปและอเมริกา โดยใช้กลยุทธ์ที่น่าจะนิยามได้ว่าการตลาดสายพุทธ หรือ ธรรมะมาร์เก็ตติง ทำไมจึงเรียกเช่นนั้น เอาเป็นว่าวันนี้เอย่าจะมาวิเคราะห์ให้ทราบกัน
เป็นที่ทราบกันดีว่าส่วนประสมทางการตลาดประกอบด้วย 4 ส่วนคือ...
- ผลิตภัณฑ์ แต่ ณ ที่นี้เอย่าจะขอเรียกว่า ไอดอล ลัทธิธรรมกายมีการสร้างไอดอลหลัก 3 ท่านคือ พระมงคลเทพมุนี, แม่ชีจันทร์ ขนนกยูง และหลวงพ่อธัมมชโย โดยมีการสร้างเรื่องปาฏิหาริย์ เป็นการเพิ่มคุณค่าของไอดอลให้น่าเชื่อถือ
- ราคา ณ ที่นี้ขอเรียกว่าคำสอน อันให้เกิดลาภจากการสักการะ เช่นในครั้งที่สร้างมหาธรรมกายเจดีย์ หลวงพ่อธัมมชโยได้กล่าวผ่าน DMC TV ว่าบริจาคแล้วได้อะไรรออยู่ที่สวรรค์
- สถานที่จัดจำหน่าย ณ ที่นี้ขอเรียกว่า อินฟลูเอนเซอร์และผู้เผยแผ่หลัก อาทิเช่นพระวีระธูในเมียนมาที่เป็นตัวตั้งตัวตีต่อต้านศาสนาอิสลามในเมียนมา และเป็นตัวหลักในการเผยแผ่และประสานงานกิจกรรมของธรรมกายในเมียนมา รวมถึงผู้นำบุญชาวเมียนมาที่ช่วยกันป่าวประกาศ
- สุดท้ายคือโปรโมชัน ณ ที่นี้คือกิจกรรมของธรรมกายที่ออกมาในเมียนมา อาทิเช่น การตักบาตรแบบเดียวกันกับที่เคยมีในประเทศไทย หรือ การสวมชุดนางวิสาขาเข้าไปถวายเงินให้แก่สังฆราช Sitagu ทั้งหมดล้วนเป็นกิจกรรมสร้างภาพให้สาวกทั้งเก่าและใหม่ ได้เลื่อมใส
รวมถึงแม้สมาชิกเก่าจะถึงแก่กรรมไป ทางธรรมกายก็มีกิจกรรมในงานศพ เพื่อสร้างความประทับใจและหาสมาชิกใหม่เพิ่มเติมต่อ
และทั้งหมดนี้กล่าวได้ว่า กล่าวได้ว่านี่คือส่วนประสมทางการตลาดที่เป็นสูตรสำเร็จที่เคยเกิดขึ้นในไทยมาแล้ว และจะกำลังเกิดขึ้นอีกครั้งที่ เมืองมัณฑะเลย์ ในเมียนมา
เราคงต้องยอมรับว่าจนถึงวันนี้ คำสอนของ 'พระสัมมาสัมพุทธเจ้า' ได้ถูกบิดเบือนจากการใฝ่หาการพ้นทุกข์ไปสู่การสักการะแล้ว ได้ผลตอบแทนเป็นชีวิตที่สุขสบายไม่ว่าจะในชาตินี้หรือชาติหน้า
เอย่าก็หวังว่าเราชาวพุทธจะมีวันที่หวนกลับมาหาคำสอนที่แท้จริงของพระพุทธเจ้า เพราะเราไม่มีวันหนีกรรมพ้นแม้จะสร้างบุญเท่าภูเขาเอเวอเรสต์ก็ตาม