Sunday, 5 May 2024
ธนาคารไทยพาณิชย์

ยานแม่ใหม่ 'SCBX' ก้าวสำคัญของ 'ธ.ไทยพาณิชย์' แปรสภาพธุรกิจ สู่บริษัทเทคโนโลยีเต็มตัว

หลังจากมีข่าว SCB หรือธนาคารไทยพาณิชย์เกี่ยวกับการนำบริษัทออกจากตลาด และจะมีการแลกหุ้นบริษัทใหม่ ชื่อว่า 'SCBX' ก็ทำให้เกิดการตั้งคำถามว่า SCB ทำเช่นนี้ไปเพื่ออะไร? 

เรื่องนี้ เพจ 'ลงทุนแมน' ได้สรุปประเด็น SCBX ยานแม่ใหม่ของ SCB ไว้อย่างชัดเจน โดยระบุว่า... 

ทางบริษัทได้ให้เหตุผลว่าการจัดตั้ง SCBX ขึ้น เพื่อทำให้ธุรกิจยังคงมีความสามารถในการแข่งขันและเติบโตได้ โดย SCB ให้คำนิยามกับ SCBX ว่าเป็น Mothership หรือ “ยานแม่”

เพราะปัจจุบัน แม้ว่า SCB จะมีธุรกิจอื่น ๆ ที่นอกเหนือจากสถาบันการเงิน เช่น SCB10X ที่ดำเนินธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยี 

แต่ด้วยความที่ยังอยู่ภายใต้โครงสร้างของแบงก์ จึงทำให้มีข้อจำกัดและดำเนินกิจการได้ไม่เต็มที่

โดยโครงสร้างใหม่ภายใต้บริษัทแม่อย่าง SCBX จะทำให้บริษัทสามารถแบ่งรูปแบบของธุรกิจได้เป็น 2 ส่วนหลัก ๆ ก็คือ... 

1.) ธุรกิจ Cash Cow ซึ่งก็คือ ธุรกิจธนาคาร ธุรกิจประกัน
2.) ธุรกิจ New Growth

จากการแบ่งกลุ่มธุรกิจ จะเห็นได้ว่า SCB พยายามแยกธุรกิจแบงก์กับธุรกิจอื่นออกจากกัน
ซึ่งก็จะทำให้ธุรกิจใหม่ ไม่ต้องอยู่ภายใต้กรอบและกฎเกณฑ์ของธุรกิจธนาคารเดิม

และจากการแถลงเกี่ยวกับธุรกิจ New Growth
สิ่งที่เห็น ก็คือ SCB จะย่อยแต่ละธุรกิจออกเป็นบริษัทย่อย ซึ่งแต่ละบริษัท ก็จะมีทีมและมีผู้บริหาร ซึ่งแยกออกจากกันโดยสิ้นเชิง เช่น... 

- Card X บริษัทที่โอนกิจการออกมาจาก SCB (Spin-Off) ทำธุรกิจสินเชื่อส่วนบุคคลและบัตรเครดิต โดยน่าจะจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ได้ในเร็ว ๆ นี้

- Alpha X บริษัทที่ร่วมมือกับ Millennium Group ปล่อยสินเชื่อให้กับเจ้าของรถหรูและยานพาหนะทางน้ำ เช่น เรือยอช์ต

- Tech X ร่วมมือกับบริษัทเทคโนโลยีระดับโลก ทำธุรกิจเทคโนโลยี

- AISCB ร่วมมือกับ AIS ทำสินเชื่อ Digital

โดยบริษัท ก็ได้ตั้งเป้าหมายให้แต่ละบริษัทย่อย สามารถเติบโตและ IPO เข้าตลาดหลักทรัพย์ได้ด้วยตัวเอง

ซึ่งการเติบโตที่ว่านั้น ก็จะรวมไปถึงการรุกธุรกิจไปยังต่างประเทศในระดับภูมิภาค เช่น อินโดนีเซียและเวียดนาม เพื่อสร้างการเติบโตให้กับฐานลูกค้า ที่ปัจจุบันมีอยู่ 14 ล้านราย ให้เป็น 200 ล้านราย

โดยบริษัททั้งหมดในเครือ มีมูลค่ารวมกันราว “1 ล้านล้านบาท” ในอนาคต

ในขณะเดียวกัน SCB ก็ได้ประกาศจัดตั้งกองทุน Venture Capital ขนาด 600 - 800 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 20,100 - 26,800 ล้านบาท) ร่วมกับเครือซีพี โดยมุ่งเน้นการลงทุนในธุรกิจเทคโนโลยีด้านบล็อกเชน, สินทรัพย์ดิจิทัล, Decentralized Finance, FinTech และเทคโนโลยีอื่น ๆ

โดยกองทุน Venture Capital นี้ เครือเจริญโภคภัณฑ์และกลุ่มธนาคารไทยพาณิชย์ จะลงทุนเป็นจำนวนเงิน ฝ่ายละ 100 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ส่วนที่เหลือจะระดมทุนจากนักลงทุนที่ได้รับการรับรอง (Accredited Investor)

สำหรับทีม SCB10X เดิม บางส่วนก็จะเข้ามาร่วมทำงานใน Venture Capital ใหม่นี้

นอกจากนั้น SCBX ที่เป็นยานแม่ที่ทำตัวเป็นบริษัทโฮลดิงก็ยังถือหุ้นในอีกหลายธุรกิจ เช่น... 

- Auto X ธุรกิจปล่อยสินเชื่อ ลีสซิ่ง เน้นกลุ่มรากหญ้า

- SCB Securities ทำธุรกิจหลักทรัพย์ ซึ่ง SCB Securities จะถือหุ้นใน Token X ที่ดูแลเกี่ยวกับสินทรัพย์ดิจิทัล

- Purple Ventures ที่ทำธุรกิจส่งอาหารชื่อ Robinhood ที่ทุกคนน่าจะรู้จักกันดี

- SCB ABACUS ที่ทำธุรกิจปล่อยสินเชื่อออนไลน์ “เงินทันเด้อ” โดยใช้เทคโนโลยี AI ที่เพิ่งคว้าเงินระดมทุน 400 ล้านบาท

SCBS ล้มดีล!! ซื้อหุ้น 'บิทคับ ออนไลน์' 1.78 หมื่นลบ. หลัง 'บิทคับ' ยังเคลียร์ปัญหากับ กลต. ไม่ลงตัว

ไม่นานมานี้ บริษัท บิทคับ ออนไลน์ จำกัด ได้ออกประกาศผ่านเพจเฟซบุ๊กของบริษัท ระบุว่า...

ประกาศ ณ วันที่ 25 สิงหาคม 2565 เวลา 13.22 น.

สืบเนื่องจากประกาศของบริษัทหลักทรัพย์ ไทยพาณิชย์ จำกัด หรือ SCBS ตามที่ที่ประชุมคณะกรรมการบริษัทหลักทรัพย์ ไทยพาณิชย์ ได้มีมติอนุมัติให้ SCBS เข้าทำสัญญาธุรกรรมซื้อหุ้นในบริษัท บิทคับ ออนไลน์ จำกัด จาก บริษัท บิทคับ แคปปิตอล กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด ในสัดส่วน 51% ของจำนวนหุ้นทั้งหมด นั้น

ตลอดระยะเวลาหลายเดือนที่ผ่านมา ทางบริษัท บิทคับ ออนไลน์ จำกัด และบริษัทหลักทรัพย์ไทยพาณิชย์ (SCBS) ได้ดำเนินการสอบทานธุรกิจ (due diligence) ร่วมกันอย่างรอบคอบ โดยบริษัทฯ ได้ให้ความร่วมมืออย่างดีกับบริษัทหลักทรัพย์ ไทยพาณิชย์ และได้ทำการเปิดเผยข้อมูลที่แสดงถึงความสามารถในการดำเนินงานของบริษัทฯ ที่มีศักยภาพ และแสดงผลประกอบการอย่างโปร่งใสและตรงไปตรงมา ตลอดจนนำเสนอแผนกลยุทธ์การดำเนินงานและพัฒนาธุรกิจในอนาคต

จากการสอบทานธุรกิจ ทางบริษัทผู้ซื้อ (SCBS) “ไม่พบข้อบ่งชี้ถึงความผิดปกติอันเป็นนัยสำคัญที่ไม่สามารถแก้ไขได้” อย่างไรก็ดีเนื่องจากบริษัท บิทคับ ออนไลน์ จำกัด ยังคงมีประเด็นคงค้างกับสำนักงาน กํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยที่อาจส่งผลให้เกิดความล่าช้าในการดำเนินการธุรกรรมดังกล่าว บริษัท บิทคับ ออนไลน์ จำกัด และบริษัทผู้ซื้อ (SCBS) จึงได้ตกลงร่วมกันที่จะยกเลิกธุรกรรมการซื้อขายหุ้นในครั้งนี้ เพื่อให้บริษัทดำเนินการหาข้อสรุปในประเด็นต่าง ๆ ตามคำชี้แนะและสั่งการโดยคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ฯ ต่อไป

บริษัทขอเรียนว่าการดำเนินงานและการประกอบธุรกิจของบริษัทไม่ได้รับผลกระทบแต่อย่างใด บริษัทยังคงเป็นผู้นำในตลาดศูนย์ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลในประเทศไทยพร้อมมีทรัพยากรสำหรับการดำเนินกิจการได้อย่างต่อเนื่องตามแผนงานและยุทธศาสตร์ที่ได้วางไว้ และยังคงเดินหน้าต่อไปตามวิสัยทัศน์ พันธกิจ เพื่อสร้างระบบนิเวศของตลาดการซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลอย่างมีคุณภาพและประกอบธุรกิจตามหลักบรรษัทภิบาล เพื่อให้บริการผู้ลงทุนอย่างโปร่งใสและสร้างโอกาสอย่างเท่าเทียมแก่ผู้คนในสังคมต่อไป

ขณะที่ด้าน บมจ.เอสซีบี เอกซ์ (SCB) ก็ได้ออกมาเปิดเผยว่า ตามที่ที่ประชุมคณะกรรมการ บล.ไทยพาณิชย์ (SCBS) ในการประชุมครั้งที่ 13/2564 เมื่อวันที่ 2 พ.ย.64 ได้มีมติอนุมัติให้ SCBS ซึ่งเป็นบริษัทย่อยของ SCB เข้าทำสัญญาซื้อหุ้น ในบริษัท บิทคับ ออนไลน์ จำกัด (Bitkub) จาก บริษัท บิทคับ แคปปิตอล กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด ในสัดส่วน 51% ของจำนวนหุ้นทั้งหมดของ Bitkub คิดเป็นมูลค่ารวมประมาณ 17,850 ล้านบาทนั้น

ตลอดระยะเวลาหลายเดือนที่ผ่านมา บริษัทฯ และ SCBS ได้ร่วมกันดำเนินการสอบทานธุรกิจ (due diligence) ด้วยความรอบคอบระมัดระวัง และได้รับความร่วมมืออย่างดีจากผู้ขายและ Bitkub โดยในระหว่างกระบวนการสอบทานธุรกิจ บริษัทฯ และ SCBS ได้เห็นศักยภาพและความสามารถในหลากหลายด้านของกลุ่ม Bitkub และเห็นโอกาสในการร่วมมือพัฒนาและปรับปรุงการดำเนินธุรกิจของ Bitkub ในอีกหลายด้าน

‘ชาวเน็ต’ โวย!! ติดแฮชแท็ก #scbล่ม รับวันเงินเดือนออก หลังใช้แอปฯ โอน-จ่ายไม่ได้ ธนาคารแจง!! กำลังเร่งแก้ไข

(30 พ.ย.66) โลกทวิตเตอร์ (X) ติดแฮชแท็ก #scbล่ม รับวันสิ้นเดือนพฤศจิกายน 2566 หลายที่ซึ่งเป็นวันเงินเดือนออก โดย แอปพลิเคชัน SCB EASY App ของ ธนาคารไทยพาณิชย์ (SCB) ไม่สามารถใช้งานได้ ด้านเพจ SCB Thailand แจ้งว่าขณะนี้อยู่ระหว่างการดำเนินแก้ไข

โดย แอปพลิเคชัน SCB EASY App ของ ไทยพาณิชย์ ไม่สามารถใช้งานได้ตั้งแต่เช้าของวันนี้ (30 พ.ย.66) ชาวเน็ตต่างบ่นอุบเนื่องจากไม่สามารถใช้ธุรกรรมทางการเงินได้และรอคำชี้แจงจากธนาคารว่าเกิดอะไรขึ้น ซึ่งหากย้อนกลับไปเมื่อสิ้นเดือนตุลาคมก็เกิดปัญหานี้เช่นกัน ก่อนจะมีการแก้ไขในภายหลัง

ล่าสุด เฟซบุ๊กเพจ SCB Thailand ได้โพสต์ข้อความแจ้งว่า ขณะนี้ แอปฯ SCB EASY ไม่สามารถใช้งานได้ชั่วคราว โดยอยู่ระหว่างดำเนินการแก้ไข ธนาคารขออภัยเป็นอย่างสูงในความไม่สะดวกครั้งนี้ค่ะ

สำหรับท่านที่พบปัญหาไม่สามารถเข้าใช้งาน SCB EASY App ได้ ธนาคารรับทราบปัญหาและกำลังเร่งดำเนินการแก้ไขโดยเร็วที่สุด ขออภัยในความไม่สะดวก มา ณ ที่นี้ค่ะ

ศาลไม่ให้ประกันตัว ‘ไบรท์ ชินวัตร’ จากคดี ‘มาตรา112-มั่วสุม’ กรณีปราศรัยในการชุมนุม 25 พ.ย. 63 ที่หน้าธ.ไทยพาณิชย์ สำนักงานใหญ่

(3 มี.ค.67) ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน รายงานว่า ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งไม่ให้ประกันตัว ไบรท์ ชินวัตร จันทร์กระจ่าง ที่ถูกคุมขังอยู่ในเรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ จากข้อหาความผิดตามมาตรา 112 และข้อหามั่วสุมตั้งแต่ 10 คนขึ้นไป ตามมาตรา 215 และมาตรา 216 กรณีปราศรัยในการชุมนุม ที่บริเวณหน้าสำนักงานใหญ่ธนาคารไทยพาณิชย์ เมื่อวันที่ 25 พ.ย. 2563

โดยก่อนหน้านี้เมื่อวันที่ 29 ก.พ. ที่ผ่านมา ศาลอาญามีคำพิพากษาให้จำคุกรวม 6 ปี ลดเหลือ 3 ปี ไม่รอลงอาญา ในข้อหาตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 ลงโทษจำคุก 4 ปี, ข้อหา “มั่วสุมตั้งแต่ 10 คนขึ้นไป” และ “เจ้าพนักงานสั่งให้เลิกมั่วสุมแต่ไม่เลิก” ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 215 และมาตรา 216 ลงโทษจำคุก 2 ปี

ข้อหาฝ่าฝืนข้อกำหนดออกตามความในมาตรา 9 พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ลงโทษปรับ 10,000 บาท, ข้อหา “กีดขวางทางสาธารณะ” ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 385 และข้อหาตาม พ.ร.บ.จราจรทางบกฯ ลงโทษปรับ 2,000 บาท และข้อหา “ใช้เครื่องขยายเสียงโดยไม่ได้รับอนุญาต” ตาม พ.ร.บ.ควบคุมการโฆษณาโดยใช้เครื่องขยายเสียงฯ ลงโทษปรับ 200 บาท

รวมจำคุก 6 ปี ปรับ 12,200 บาท จำเลยให้การรับสารภาพ มีเหตุบรรเทาโทษ ลดโทษลงกึ่งหนึ่ง คงจำคุก 3 ปี ปรับ 6,100 บาท ไม่รอลงอาญา

ต่อมาทนายความแจ้งว่าได้ยื่นขอประกันตัวนายชินวัตรระหว่างอุทธรณ์แล้ว โดยนายประกันของนายชินวัตรวางหลักทรัพย์เป็นเงินสดจำนวน 150,000 บาท ตามที่เจ้าหน้าที่ศาลประเมินมูลค่าให้ ศาลอาญามีคำสั่งส่งคำร้องขอประกันตัวให้ศาลอุทธรณ์พิจารณา กระทั่งวันที่ 3 มี.ค. มีคำสั่งไม่ให้ประกันตัว ขณะนี้ ไบรท์ ชินวัตร ถูกคุมขังมาแล้ว 4 วัน


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top