Monday, 17 June 2024
ทะเลไทย

รอยยิ้มใต้ทะเล คอนโดปะการังระบบนิเวศแห่งใหม่ใต้แท่นขุดน้ำมัน ที่พี่ไทยคิดไว้แล้ว ผ่านแนวคิด 'ทะเลเพื่อชีวิต'

ระบบนิเวศแห่งใหม่ด้วยแท่นขุดน้ำมันที่ปลดประจำการแล้ว เปลี่ยนแท่นขุดน้ำมันสู่บ้านหลังใหม่ของสิ่งมีชีวิตทางทะเล

'บ้านหลังใหม่ของเหล่าสัตว์ทะเล' สร้างระบบนิเวศแห่งใหม่ด้วยการเปลี่ยนแท่นขุดน้ำมันเป็นปะการังเทียมให้เหล่าน้อง ๆ 

ส่วนใหญ่คนมักจะคิดว่าแท่นขุดเจาะน้ำมันเป็นเหมือนกับปราสาทของเหล่าตัวร้ายจากในการ์ตูนหรือหนัง เพราะคนยังติดภาพจำที่ว่าแท่นขุดเจาะน้ำมันเหล่านี้อาจจะไปสร้างทับบ้านของเหล่าน้อง ๆ สัตว์ทะเลหรือไม่ก็ทำให้ระบบนิเวศในบริเวณนั้นเกิดความเสียหาย

แต่ไม่เชื่อก็ต้องเชื่อ ถ้าจะบอกว่าแท่นขุดน้ำมันเหล่านี้มันถูก ‘คิดค้น’ มาเพื่อเป็นบ้านของสิ่งมีชีวิตทางทะเลด้วยนะ

เรื่องมันเป็นอย่างนี้ เมื่อประมาณ 2 อาทิตย์ก่อนผมได้ไปเจอเข้ากับวิดีโอตัวหนึ่งในยูทูป เขาเล่าเกี่ยวกับเรื่องของโครงการ 'Rigs-to-Reef' หรือการเปลี่ยนแท่นขุดเจาะที่ปลดประจำการแล้วให้กลายเป็นปะการังเทียมเพื่อให้สิ่งมีชีวิตทางทะเลได้เข้ามาตั้งรกรากใต้แท่นขุดเจาะ

แล้วมันมีข้อดีอะไรหลาย ๆ คนอาจจะสงสัย เพราะถ้าพูดถึงของเทียมมันก็ต้องดีไม่เท่าของแท้อยู่แล้ว แต่ผมบอกเลยว่าไม่ใช่แบบนั้นถึงจะขึ้นชื่อว่าปะการังเทียมแต่จริง ๆ แล้วมันมีข้อดีมากกว่าปะการังแท้ ๆ อีกนะ ก็อย่างเช่น ...

พัทยาคึกคัก นักท่องเที่ยวจีนแห่เที่ยวเกาะล้านต้องปลอดภัย

วันที่ 29 มีนาคม 2566 หลังจากที่ประเทศไทย เปิดรับนักท่องเที่ยวจีน เมืองพัทยาซึ่งเป็นอีกหนึ่งสถานที่หนึ่ง ที่นักท่องเที่ยวจีนให้ความสนในการเดินทางมาท่องเที่ยวพักผ่อน ชมความสวยงามของทะเล ทำให้บรรยากาศที่ท่าเรือแหลมบาลีฮายพัทยาใต้ เริ่มกลับมาคึกคักอีกครั้ง ซึ่งบริเวณท่าเทียบเรือ มีรถบัสเริ่มเข้ามาจอดส่งนักท่องเที่ยวจีนที่มาท่องเที่ยวเป็นกรุ๊ปทัวร์มากยิ่งขึ้น ทำให้ท่าเทียบเรือแหลมบาลีฮาย มีนักท่องเที่ยวจีนเดินทางมาขึ้นเรือสปีทโบ๊ทเพื่อเดินทางไปเล่นน้ำ ดำน้ำดูประการัง บริเวณเกาะล้านเพิ่มมากขึ้น ทำให้ผู้ประกอบการสปีดโบ๊ดมีรายรายเพิ่มขึ้น

 

ทั้งนี้ กรมเจ้าท่าและเมืองพัทยา ได้จัดเจ้าหน้าที่คอยอำนวยความสะดวกให้กับนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ โดยเคร่งครัดให้นักท่องเที่ยวต้องสวมใส่เสื้อชูชีพทุกคน และขึ้นเรือตามที่ขนาดเรือได้กำหนดไว้ก่อนเรือออกจากท่า เพื่อสร้างความมั่นใจและความปลอดภัยให้กับนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ ที่เดินทางไปท่องเที่ยวเกาะล้าน

‘ดร.ธรณ์’ ชี้!! 2 เหตุการณ์ใหญ่สะท้อน ‘ทะเลไทยกำลังผิดปกติ’ หลังแพลงก์ตอนบลูมเกิดผิดช่วงเวลา-เต่ามะเฟืองวางไข่ผิดฤดู

(30 ก.ค. 66) ดร.ธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ นักวิชาการด้านทะเลและสิ่งแวดล้อม ได้โพสต์ผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัว แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับปรากฏการณ์ทางทะเลที่เกิดขึ้นเมื่อเร็วๆ นี้ โดยระบุว่า…

2 เหตุการณ์แปลกในทะเลไทยที่ควรจับตามอง คือ 1.) น้ำเขียวที่เกาะล้าน 2.) เต่ามะเฟืองวางไข่ที่ภูเก็ต ซึ่งทั้ง 2 เรื่องแสดงถึงทะเลที่อาจเปลี่ยนไปครับ

เริ่มจากเรื่องแรก เมื่อวานมีข่าวเรื่องแพลงก์ตอนบลูมที่เกาะล้าน ส่งผลกระทบกับการท่องเที่ยว ผมเคยพูดเรื่องนี่หลายครั้งว่าทะเลเรากำลังผิดปรกติ โดยเฉพาะอ่าวไทยตอนใน/EEC จึงอยากขยายความเพิ่มขึ้นกับเหตุการณ์ที่กำลังปรากฏ แพลงก์ตอนบลูมเป็นเรื่องธรรมชาติ เกี่ยวข้องกับปริมาณน้ำฝน (ธาตุอาหาร) แสงแดด ทิศทางลม/กระแสน้ำ และปัจจัยอื่นๆ ในทะเล

แต่ระยะหลังเริ่มปั่นป่วนเพิ่มขึ้นในทางที่แย่ลง เพราะมนุษย์มีส่วนเกี่ยวข้อง เกี่ยวโดยตรงคือธาตุอาหารที่เพิ่มขึ้นจากหลายสาเหตุ การเกษตร น้ำทิ้ง ฯลฯ ไหลลงสู่ทะเลอ่าวไทยตอนในเป็นพื้นที่ค่อนข้างปิด น้ำวนอยู่นาน อิทธิพลจากแม่น้ำลำคลองมีเยอะ เกี่ยวข้องทางอ้อมคือโลกร้อน ตอนนี้แรงขึ้นจนอาจใช้คำว่า “โลกเดือด”

… แล้วเกี่ยวกับเอลนีโญบ้างไหม?

ปกติแล้วเอลนีโญจะทำให้ฝนตกน้อย น่าจะทำให้แพลงก์ตอนบลูมน้อย เมื่อเทียบกับปีลานีญา แต่ปีนี้มีข่าวน้ำเขียวบ่อยครั้ง โดยเฉพาะ EEC บางทีก็ศรีราชา พัทยา หรือแม้กระทั่งเกาะล้าน
เอลนีโญในยุคก่อนๆ ไม่น่าเป็นแบบนี้ แต่เมื่อเอลนีโญเกิดในยุคโลกเดือด อะไรก็เป็นไปได้ แพลงก์ตอนบลูมเกิดในช่วงเวลาแปลกๆ และพื้นที่ตามเกาะที่ในอดีตเราไม่ค่อยเจอ และส่งผลอย่างที่เราไม่คาดคิด

ตัวอย่างง่ายๆ คือการท่องเที่ยว แม้ไม่ใช่แพลงก์ตอนพิษ แต่ใครจะอยากไปเล่นน้ำเขียวคัน ไม่ว่าจะเป็นคนไทยหรือต่างชาติ ไปเจอก็เศร้าทั้งนั้น

ช่วงนี้การท่องเที่ยวเกาะล้านกำลังคึกคัก คนไปวันละหลายพัน เป็นแบบนี้คงไม่สนุก ปัญหาคือ จะเกิดอีกไหม เกิดบ่อยไหม เกิดเมื่อไหร่ เราแก้ไขอย่างไรได้บ้าง?

โลกร้อนทำให้ทุกอย่างแปรปรวน การรับมือทำได้ยาก และจะยิ่งยากหากเรามีข้อมูลไม่พอ เกิดทีไรก็แค่เก็บน้ำ จากนั้นก็บอกว่าเป็นแพลงก์ตอนชนิดไหน (ปกติก็มีอยู่กลุ่มเดียวที่ไม่เป็นพิษ) 
มันพอสำหรับสมัยก่อน แต่สำหรับโลกยุคนี้ เราต้องการข้อมูลที่มากกว่านี้มากๆ เพื่อการรับมือและปรับตัวกับปรากฏการณ์แปลกๆ ที่กำลังเกิด และจะเกิดขึ้นบ่อยครั้ง เพราะโลกร้อนขึ้น 
ไม่ได้จะหยุดร้อน ไม่ได้จะจบลงใน 5 ปี 10 ปี แต่ยังแรงขึ้นเรื่อย ต่อเนื่องอีกอย่างน้อยหลายสิบปี

การช่วยชีวิตอ่าวไทยตอนใน/EEC มีความสำคัญอย่างยิ่งยวดต่อเศรษฐกิจประเทศไทย หากเราไม่คิดพัฒนางานศึกษาวิจัย หากเราหยุดอยู่แค่วัดไข้ ขณะที่ทะเลอื่นในโลกเขาก้าวไกลไปถึงไหนๆ แล้ว การช่วยชีวิตอ่าวไทยก็ทำได้กระปริกระปรอย ถามมาตอบไป แพลงก์ตอนบลูมเกี่ยวกับเอลนีโญมั้ย?

ตอบไปแล้วไงล่ะ

มันจะแรงขึ้น มันจะทำนายยากขึ้น มันจะส่งผลกระทบมากขึ้น อันนี้สิคือคำตอบที่แท้จริง และเรายังไม่อยู่ในสภาพที่สามารถแจ้งเตือน รับมือ และปรับตัวได้เพียงพอ เพราะนักวิทยาศาสตร์เจอแต่คำถาม แต่ความสนับสนุนเพื่อให้ได้มาซึ่งคำตอบ ยังมีน้อยไปมากๆ ทำให้คำตอบดูคลุมเครือ ไม่กล้าฟันธง และวนไปมา

ผมมาญี่ปุ่น ผมเห็นหลายอย่างที่เขากำลังพยายามยกระดับรับมือเอลนีโญและโลกร้อน เห็นการศึกษาวิจัยที่ใช้เครื่องมือก้าวหน้า ความสนับสนุนอย่างต่อเนื่องเพื่อความเข้าใจที่ถ่องแท้ เพื่อระบบแจ้งเตือนที่ดี และเพื่อการปรับตัวที่ทันการณ์แพลงก์ตอนบลูมเกี่ยวข้องกับเอลนีโญไหม? 
คำถามที่แท้จริงควรเป็นว่า เราพร้อมช่วยชีวิตอ่าวไทยในยุคทะเลเดือดไหม?

นักวิทยาศาสตร์กำลังพยายามวัดไข้ทะเล แต่ถ้ามีความสนับสนุนอย่างที่บ้านเมืองอื่นเขากำลังทำ เราจะทำได้ดีกว่าวัดไข้ เช่น ยกระดับการสำรวจและเฝ้าระวังทะเล ติดตามสภาพความเปลี่ยนแปลงระบบนิเวศอย่างต่อเนื่องเป็นประจำ ปรับปรุงอุปกรณ์และสนับสนุนกิจกรรมด้านการศึกษาวิจัย จัดจุดติดตามถาวร บูรณาการข้อมูลและ GIS ใช้เทคโนโลยีทันสมัย/รีโมทเซนซิง จัดทำโมเดลอ่าวไทย/EEC จัดทำระบบแจ้งเตือนผู้ใช้ประโยชน์ ติดตามตรวจสอบคุณภาพน้ำทะเล/สมุทรศาสตร์แบบเรียลไทม์ จัดทำแผนการลดผลกระทบด้านธาตุอาหารจากแหล่งแม่น้ำลำคลอง สำรวจและดูแลอาขีพชาวประมงการท่องเที่ยวรายย่อย ฯลฯ

ในขณะที่คนทั่วไปสามารถช่วยได้ด้วยการลดผลกระทบด้านต่างๆ อย่าซ้ำเติมธรรมชาติ เช่น ลดโลกร้อน ลดขยะ บำบัดน้ำ สนับสนุนกิจการท้องถิ่น แจ้งเหตุผิดปรกติ ฯลฯ เราจะลดความสูญเสียได้มหาศาลครับ

ยังมีอีกข่าวคือแม่เต่ามะเฟืองขึ้นวางไข่ที่ภูเก็ต นั่นเป็นเรื่องน่ายินดี แต่ที่น่าสงสัยคือทำไมแม่เต่าวางไข่ตอนนี้ ปกติเต่ามะเฟืองจะวางไข่เดือนพฤศจิกายน-มกราคม ตุลาคมยังพอว่า แต่กรกฎาคมเนี่ยนะ?

ผมไม่เคยได้ยินว่ามีมาก่อน โดยเฉพาะกับสัตว์ที่แม่นยำต่อเวลาและสถานที่เช่นเต่ามะเฟือง การวางไข่ในช่วงเวลาที่ผิดปกติ อาจส่งผลต่อเนื่อง ลูกเต่าฟักออกจากไข่ในอีก 60 วัน ประมาณปลายกันยา ยังไม่หมดลมมรสุมดีด้วยซ้ำ แล้วลูกเต่าจะฝ่าคลื่นลมออกไปกลางทะเลไหวไหม
ในขณะที่ลูกเต่าทั่วไปจะออกทะเลช่วงกุมภาพันธ์/มีนาคม ทะเลอันดามันสงบ มันมีเรื่องแปลกๆ เกิดขึ้นเรื่อยๆ ในโลกยุคนี้ที่ธรรมชาติแปรปรวนอย่างไม่เคยเกิดมาก่อนครับ

‘อ.ธรณ์’ ฝากรัฐบาลใหม่ใส่ใจท้องทะเลไทย 7 เรื่อง หวังทำผลงานเกรด A ให้เป็นที่ประจักษ์ในเวทีโลก

(4 ก.ย. 66) ผศ.ดร.ธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ รองคณบดีคณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โพสต์เฟซบุ๊ก ฝากถึงรัฐบาลใหม่ ในประเด็นการทำงานกับทะเลไทย โดยมีเนื้อหาต่อไปนี้

รัฐบาลใหม่เข้าทำงาน จึงขอเสนอ 7 ประเด็นใหญ่ในทะเลไทยให้เพื่อนธรณ์ลองคิดตาม

หนึ่ง คือปะการังฟอกขาวที่อาจแรงในต้นปีหน้า ต้องเร่งเตรียมพร้อมสำรวจติดตามและออกมาตรการให้ทันท่วงที รวมถึงมีทางเลือกหากจำเป็นต้องปิดท่องเที่ยวในแนวปะการังบางแห่งที่ฟอกขาวรุนแรง

สอง คือปรากฏการณ์น้ำเปลี่ยนสี (น้ำเขียว) ถี่ขึ้นเรื่อย ๆ ส่งผลกระทบต่อพี่น้องชายฝั่งทะเล เราต้องหายกระดับการเก็บข้อมูลเพื่อการเตือนภัย รวมถึงหาแนวทางในการแก้ต้นเหตุที่เกิดจากมนุษย์

สาม คือการส่งเสริมสนับสนุนระบบนิเวศทางทะเลเพื่อดูดซับ/กักเก็บคาร์บอน เป็นประเด็นใหม่และละเอียดอ่อน ต้องทำความเข้าใจให้ดีและมีมาตรฐานที่ยอมรับได้ รวมถึงกระจายการมีส่วนร่วมไปหาชุมชนให้มากที่สุด

สี่ คือการใช้เทคโนโลยีและแนวทางใหม่ ๆ ในการสำรวจติดตาม ลาดตระเวนปกป้องธรรมชาติ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและลดค่าใช้จ่ายในด้านต่าง ๆ เช่น Smart Patrol ทั้งในทะเลและบนบก

ห้า คือความหลากหลายทางชีวภาพ โดยเฉพาะสัตว์ทะเลหายาก เรื่องนี้เกี่ยวข้องกับกฎกติกาของโลกในการส่งออกสินค้าประมง อีกทั้งยังเกี่ยวกับการกู้เงินเพื่อการพัฒนาต่าง ๆ เช่น โลมา/สะพานทะเลสาบสงขลา

หก คือการสนับสนุนอันดามันมรดกโลก ติดค้างมาเกือบ 20 ปี ตอนนี้ต้นเรื่องเข้าไปที่ยูเนสโกแล้ว รอแค่เขามาเช็ค เราเตรียมพร้อมแค่ไหน

นี่จะเป็นจุดพลิกผันที่สำคัญ และจะเกี่ยวข้องตรง ๆ กับการท่องเที่ยวที่รัฐบาลตั้งเป้าจะยกระดับเพื่อหารายได้เข้าประเทศ

เจ็ด คือโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่ต่าง ๆ ที่เราคิดจะลงทุน ผลกระทบจะมีมากไหม ? คุ้มค่าหรือเปล่า ? เป็นเรื่องที่ต้องมีข้อมูลเพียงพอและใช้เหตุผลในการตัดสินใจ

ยังมีอื่น ๆ อีกมากมาย แต่ขอเน้นย้ำไว้แค่ 7 เรื่องใหญ่ไว้ก่อน

2 ผลงานที่ชี้วัดในระยะ 3-6 เดือนคือบทบาทของไทยในการประชุมโลกร้อน COP28 ธันวาคมปีนี้ และการรับมือเอลนีโญที่มาแล้วและจะแรงขึ้นไปจนถึงสิ้นปี/ปีหน้า

ผมไม่ทราบว่าเขาตัดเกรดกระทรวงกันตรงไหน ? แต่ถ้าวัดจากประเด็นที่ทั่วโลกพูดกันในตอนนี้ นี่คือกระทรวงเกรด A แน่นอน

จึงอยากเป็นกำลังใจให้ทุกท่านที่เข้ามารับงานดูแลทรัพยากร/สิ่งแวดล้อมของประเทศชาติ เพื่อทำผลงานเกรด A ครับ

‘อ.ธรณ์’ สุดดีใจ!! ไทยพบ ‘วาฬเผือก’ ตัวแรกที่ภูเก็ต ที่สุดแห่งความหายากในโลก มีเงินก็ใช่ว่าจะได้พบเจอ

(6 ม.ค. 67) เฟซบุ๊ก ‘Thon Thamrongnawasawat’ ของ ผศ.ดร.ธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ นักวิชาการด้านทะเลและสิ่งแวดล้อม และอาจารย์ประจำภาควิชาวิทยาศาสตร์ทางทะเล คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้ออกมาโพสต์ข้อมูลกรณีโลกโซเชียลได้เผยแพร่คลิปพิกัดการพบ ‘วาฬเผือก’ ที่เกาะคอรัล (เกาะเฮ) จังหวัดภูเก็ต โดยระบุว่า…

“ข้อมูลยืนยันชัดเจนพร้อมระบุพิกัดโดยเจ้าของคลิป เรามี ‘วาฬเผือก’ รายงานแรกของไทย และน่าจะเป็น ‘วาฬโอมูระเผือก’ รายงานแรกของโลกด้วยครับ

‘วาฬโอมูระ’ ต่างจากบรูด้าชัดสุด คือ สันบนหัว โอมูระมี 1 สัน บรูด้ามี 3 สัน

ภาพจากคลิปพอบอกได้ว่า วาฬเผือกตัวนี้มีสันเดียว เป็นวาฬโอมูระ หมายความว่าเป็นดับเบิ้ลหายาก!!

ลำพังวาฬโอมูระ ถือว่าหายากในโลกอยู่แล้ว พบเฉพาะเขตเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ไปถึงตอนใต้ญี่ปุ่น

ในไทยมีรายงานน้อยกว่าบรูด้าอย่างเห็นได้ชัด ปกติจะเจอฝั่งอันดามัน ในอ่าวไทยมีบ้างแต่น้อยกว่า และอยู่ลงไปทางใต้ ไม่ค่อยเข้ามาในอ่าวไทยตอนใน โอกาสที่เราลงเรือดูวาฬแถวสมุทรสงคราม/เพชรบุรี แล้วเจอวาฬโอมูระแทบไม่มี ส่วนใหญ่มักเป็นนักท่องเที่ยวไปสิมิลัน สุรินทร์ พีพี เกาะรอบภูเก็ต ที่รายงานเข้ามา

เมืองนอกก็ยิ่งหายากครับ อันที่จริง เมืองไทยที่ว่าหายาก ยังรายงานการพบเจอเป็นอันดับต้นๆ ของโลก

แล้วถ้าเป็นโอมูระเผือกล่ะ ?

โอ้ย ผมไม่รู้จะบอกยังไง มีเงินร้อยล้านพันล้านอยากเจอก็ไม่ใช่จะได้ ต้องใช้โชคล้วนๆ ประเภทหนึ่งในสิบล้านหรือกว่านั้น จึงยินดีเป็นอย่างยิ่งที่มีรายงานแรกของโลกในบ้านเรา

ข้อมูลจากคุณก้อย เจ้าของคลิป ระบุรายละเอียดชัดเจน

วันที่พบ : วันจันทร์ที่ 1 มกราคม 2567 เวลา 16.00 น.
สถานที่พบ : ระยะประมาณ 9 กม. ทางใต้ของเกาะคอรัล (เกาะเฮ) จ.ภูเก็ต (ได้พิกัดส่ง ทช.แล้ว)
เรือที่พบ : เรือ Happy Ours

รายละเอียดจากคุณก้อย : พบวาฬสองตัวที่คิดว่าน่าจะเป็นวาฬชนิดเดียวกัน ว่ายอยู่ด้วยกัน ตัวหนึ่งมีสีขาวสวยงาม อีกตัวหนึ่งสีปกติ บ้านเรา (คุณก้อย) ตั้งชื่อน้องว่า ‘ถลาง’ สำหรับวาฬสีขาว และ ‘บูกิต’ สำหรับวาฬสีปกติ

หากน้องๆ ยังอยู่กับเรา โดยเฉพาะน้องถลาง รับประกันว่าอันดามันดังระเบิด ต่อให้ป๋านักดูวาฬระดับโลกก็ยังต้องอยากมาเห็น

หากพบเจอน้องอีก รายงานกรมทะเลทันทีครับ ที่สำคัญ อย่าเข้าไปใกล้เกินไป รักษาระยะห่าง ดับเครื่อง อย่าวิ่งเรือตัดหน้า ฯลฯ

หากเราเจอน้องบ่อยๆ จนแน่ใจสถานที่อาศัย จะเสนอให้เป็นสมบัติทะเลชาติด้วยซ้ำ เพราะอย่างที่บอก นี่ไม่ใช่เรื่องปรกติ นี่คืออะไรที่หายากจริง… ยิ่งกว่าจริง ขอบคุณ คุณก้อย Happy Ours Phuket Charter Team

รายละเอียดเพิ่มเติม อ่านที่เพจ ThaiWhales ช่วยประสานงานจนได้ข้อมูลสำคัญยิ่งของทะเลไทย ดีใจเอ๊ยดีใจครับ


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top