Sunday, 20 April 2025
ต้มยำกุ้ง

CNN เลือก ‘ต้มยำกุ้ง’ ติด 1 ใน 20 ซุปที่ดีที่สุดในโลก

เพจ กระทรวงการต่างประเทศ Ministry of Foreign Affairs of the Kingdom of Thailand เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2565 สำนักข่าว CNN ของสหรัฐอเมริกา ได้คัดเลือก "ต้มยำกุ้ง" ของไทยเป็น 1 ใน 20 รายการอาหารประเภทซุปที่ดีที่สุดในโลก 

เรื่องดีที่ถูกมองข้าม ส่องเงินทุนสำรองระหว่างประเทศของไทยตลอด 3 ทศวรรษ  ตอกย้ำ 'ความมั่นคง-มั่งคั่ง' ยากซ้ำรอยวิกฤตต้มยำกุ้ง

จากผู้ใช้ TikTok ในชื่อ 'RAHMTODAY' ได้นำเสนออีกมุมมองด้านบวกของเศรษฐกิจไทย โดยเฉพาะความแข็งแกร่งของเงินทุนสำรองระหว่างประเทศของไทยไว้อย่างน่าสนใจว่า...

เบื่อไหมครับ ที่เราได้ยินแต่เรื่องไม่ดี ๆ เกี่ยวกับการบริหารประเทศในช่วงเวลา 8 ปี ที่ผ่านมา เราลองมาฟังในมุมบวกกันบ้าง 

วันนี้ผมจะพูดเรื่องของเงินลงทุนสำรองระหว่างประเทศนะครับ คุณเชื่อไหม วันนี้ประเทศไทยมีเงินทุนสำรองระหว่างประเทศเพิ่มขึ้นประมาณ 10 เท่าจากปี 2540 ซึ่งผมจะยกตัวอย่างในบางปีดังนี้นะครับ

'ต้มยำกุ้ง' เจิดจรัส!! งานแสดงสินค้าจีน-เอเชียใต้ ที่คุนหมิง หลังลูกค้าสอบถามถึงเครื่องปรุง 'ต้มยำกุ้ง' กันมากที่สุด

(20 ส.ค. 66) สำนักข่าวซินหัว เผย ณ พาวิลเลียนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ส่วนหนึ่งของงานแสดงสินค้าจีน-เอเชียใต้ ครั้งที่ 7 ในนครคุนหมิง มณฑลอวิ๋นหนาน (ยูนนาน) ทางตะวันตกเฉียงใต้ของจีน 'จ้าวปิน' สาละวนอยู่กับการแนะนำสารพัดสินค้าเครื่องปรุงอาหารไทยแก่ลูกค้าที่แวะเวียนเข้ามาอย่างไม่ขาดสาย โดยบรรดาลูกค้าสอบถามถึงเครื่องปรุง 'ต้มยำกุ้ง' กันมากที่สุด

กลุ่มผู้จัดแสดงสินค้าที่ 'พาวิลเลียนไทย' ส่วนย่อยของพาวิลเลียนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ พากันนำเสนอเครื่องปรุงต้มยำกุ้ง เพื่อช่วยให้คนรักอาหารไทยได้ลองลิ้มชิมรสชาติต้นตำรับได้ที่บ้าน โดยจ้าวเผยว่าเครื่องปรุงที่นำมาจำหน่ายผลิตในไทย และเขาเตรียมสินค้าสำหรับงานแสดงสินค้าฯ ในปีนี้มากถึง 18 ตัน

จ้าว ผู้บริหารบริษัท การค้านำเข้าและส่งออก บริษัท คุนหมิง สุวรรณภูมิ จำกัด ซึ่งดำเนินธุรกิจหลักเกี่ยวกับอาหารไทย เครื่องปรุง เครื่องดื่ม และอื่นๆ เผยว่าแต่ละปีบริษัทของเขาจัดจำหน่ายเครื่องปรุงอาหารไทยเมนูต่างๆ สู่มณฑลอวิ๋นหนาน กุ้ยโจว และซื่อชวน (เสฉวน) คิดเป็นปริมาณมากกว่า 20 ตัน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเครื่องปรุงต้มยำกุ้ง

จ้าว เริ่มต้นทำธุรกิจนำเข้าสินค้าไทยตั้งแต่ปี 2009 โดยตอนนั้นสินค้าไทยเป็นที่ยอมรับในระดับทั่วไป ยอดจำหน่ายไม่ได้หวือหวา รายการสินค้าไม่ได้มากมาย มีเพียงขนมขบเคี้ยว สบู่หอม หรือเครื่องเทศ สวนทางกับตอนนี้ที่อาหารไทยและสินค้าไทยเป็นที่ยอมรับอย่างมากในจีน ทำให้มีสินค้าให้เลือกหลากหลายและยอดจำหน่ายเฟื่องฟู

อนึ่ง งานแสดงสินค้าจีน-เอเชียใต้ ครั้งที่ 7 จัดขึ้นภายใต้แนวคิด "ความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวและการประสานงานเพื่อการพัฒนาร่วมกัน" ระหว่างวันที่ 16-20 ส.ค. มีผู้เข้าร่วมจัดแสดงสินค้าทางออนไลน์และออฟไลน์จากกว่า 85 ประเทศและภูมิภาค รวมถึงองค์กรระหว่างประเทศ จำนวนกว่า 30,000 ราย

สำหรับพาวิลเลียนไทยมีผู้ประกอบการเข้าร่วมจัดแสดงสินค้า 58 ราย แบ่งเป็นผู้ประกอบการไทย 38 ราย และผู้นำเข้า-จัดจำหน่ายสินค้าไทย 20 ราย ซึ่งนำเสนอสินค้าอาหาร เครื่องดื่ม สินค้าเพื่อสุขภาพและความงาม เสื้อผ้าและเครื่องประดับ ของตกแต่งบ้าน ฯลฯ

รายงานระบุว่าเครื่องปรุงต้มยำกุ้งทุกรูปแบบกลายเป็นสินค้าที่มียอดจำหน่ายดีที่สุดในพาวิลเลียนไทย ดังเช่นชายแซ่หยางจากนครเฉิงตู เมืองเอกของมณฑลซื่อชวน ซื้อเครื่องปรุงต้มยำกุ้งกระปุกใหญ่กลับบ้านถึง 3 กระปุก ขณะเดียวกันสินค้าอย่างเครื่องปรุงผัดไทและน้ำจิ้มสุกี้แบบไทยได้รับความสนใจจากลูกค้าเช่นกัน

อาหารไทยชื่อดังระดับโลกอย่างต้มยำกุ้งได้ส่งกลิ่นหอมขจรขจายทั่วงานแสดงสินค้าครั้งนี้ ตอกย้ำวัฒนธรรมอันมีเอกลักษณ์และมนต์เสน่ห์ของอาหารไทย โดยสถิติจากเหม่ยถวนและเตี่ยนผิงระบุว่าช่วง 7 เดือนแรกของปีนี้ (มกราคม-กรกฎาคม) จำนวนร้านอาหารเอเชียตะวันออกเฉียงใต้บนแพลตฟอร์มในจีนเพิ่มขึ้นมากกว่าร้อยละ 64 เมื่อเทียบกับปี 2019

นครคุนหมิงมีร้านอาหารเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เพิ่มขึ้น 98 แห่งในช่วง 7 เดือนแรกของปีนี้ ขณะผู้ใช้งานแพลตฟอร์ม เตี่ยนผิงในคุนหมิงค้นหาคำว่า "อาหารไทย" เพิ่มขึ้นร้อยละ 102 เมื่อเทียบปีต่อปี โดยเฉพาะความต้องการของคนอายุต่ำกว่า 30 ปี ที่ครองสัดส่วนมากกว่าร้อยละ 53 ของการค้นหาทั้งหมด

นอกจากนั้นความนิยมชมชอบต้มยำกุ้งยังก่อให้เกิดกระแสอาหารคาวหวานหลายเมนูที่มีรสชาติต้มยำกุ้งในจีน เช่น หม้อไฟต้มยำกุ้ง ซุปหม่าล่าต้มยำกุ้ง ก๋วยเตี๋ยวต้มยำกุ้ง รวมถึงความสนใจเมนูอื่นๆ อย่างข้าวเหนียวมะม่วง ปลานึ่งมะนาว และต้มเล้งแซ่บอีกด้วย

'เจ๊ไฝ' จับมือ Shin Ramyun รามยอนชื่อดังแห่งเกาหลีใต้ ส่งรามยอนต้มยำกุ้ง ดันอาหารไทยโกอินเตอร์ไปอีกขั้น

ในโลกออนไลน์แห่แชร์ภาพ Shin Ramyun รามยอนชื่อดังในประเทศเกาหลีใต้ ได้คอลแลบกับ ‘เจ๊ไฝ’ เชฟชาวไทยเจ้าของร้านสตรีตฟู้ดระดับ 1 ด้วยรสชาติใหม่ ‘ต้มยำกุ้ง’

โดยเมื่อวันที่ 6 ก.ย. ในโลกออนไลน์แห่แชร์ภาพ Shin Ramyun รามยอนชื่อดังในประเทศเกาหลีใต้ ได้มีการคอลแลบกับ ‘เจ๊ไฝ’ เชฟชาวไทยเจ้าของร้านสตรีตฟู้ดระดับ 1 ดาวมิชลินที่โด่งดังไปทั่วโลกออกมาด้วยรสชาติใหม่ ‘ต้มยำกุ้ง’ และยังไม่ได้เปิดตัวออกมาอย่างเป็นทางการในตอนนี้

สำหรับ รามยอน คือ บะหมี่กึ่งสำเร็จรูปของเกาหลี เมนูอาหารประเภทเส้น ที่นำไปต้มในน้ำร้อน เพียงเติมซอสและผงน้ำซุป ก็สามารถกินได้ง่าย ๆ โดยสามารถเติมเนื้อสัตว์และผักประเภทต่าง ๆ ลงไปได้ด้วย นอกจากนี้ ซีรีส์หลายเรื่องที่มักมีฉากอาหารเกาหลี รวมถึงภาพการกินรามยอนของศิลปินไอดอลชื่อดัง จนกลาย Soft Power (อำนาจอ่อน) ของเกาหลีใต้ ได้ส่งผลให้วัฒนธรรมอาหาร ‘รามยอน’ เป็นที่รู้จักและเผยแพร่ไปทั่วโลก

ส่วนร้าน ‘เจ๊ไฝ’ เป็นร้านอาหารประเภทสตรีตฟู้ดเพียงแห่งเดียวที่ได้รับดาวจากมิชลิน โดยได้รับรางวัล 1 ดาว ตามมาตรฐานของมิชลินไกด์ และมีหลายเมนูที่ขึ้นชื่อ เช่น ไข่เจียวปู, ราดหน้าทะเล เป็นต้น จุดเด่นของร้านคือการปรุงอาหารด้วยเตาถ่าน และชื่อของ ‘เจ๊ไฝ’ นั้นโด่งดังในเกาหลีใต้จริง ๆ เพราะดาราและไอดอลเกาหลีหลายคนมากินร้านเจ๊ไฝกันอยู่บ่อยครั้ง

'เจ๊ไฝ' จับมือ Shin Ramyun รามยอนชื่อดังแห่งเกาหลีใต้ ส่งรามยอนต้มยำกุ้ง ดันอาหารไทยโกอินเตอร์ไปอีกขั้น

ในโลกออนไลน์แห่แชร์ภาพ Shin Ramyun รามยอนชื่อดังในประเทศเกาหลีใต้ ได้คอลแลบกับ ‘เจ๊ไฝ’ เชฟชาวไทยเจ้าของร้านสตรีตฟู้ดระดับ 1 ด้วยรสชาติใหม่ ‘ต้มยำกุ้ง’

โดยเมื่อวันที่ 6 ก.ย. ในโลกออนไลน์แห่แชร์ภาพ Shin Ramyun รามยอนชื่อดังในประเทศเกาหลีใต้ ได้มีการคอลแลบกับ ‘เจ๊ไฝ’ เชฟชาวไทยเจ้าของร้านสตรีตฟู้ดระดับ 1 ดาวมิชลินที่โด่งดังไปทั่วโลกออกมาด้วยรสชาติใหม่ ‘ต้มยำกุ้ง’ และยังไม่ได้เปิดตัวออกมาอย่างเป็นทางการในตอนนี้

สำหรับ รามยอน คือ บะหมี่กึ่งสำเร็จรูปของเกาหลี เมนูอาหารประเภทเส้น ที่นำไปต้มในน้ำร้อน เพียงเติมซอสและผงน้ำซุป ก็สามารถกินได้ง่าย ๆ โดยสามารถเติมเนื้อสัตว์และผักประเภทต่าง ๆ ลงไปได้ด้วย นอกจากนี้ ซีรีส์หลายเรื่องที่มักมีฉากอาหารเกาหลี รวมถึงภาพการกินรามยอนของศิลปินไอดอลชื่อดัง จนกลาย Soft Power (อำนาจอ่อน) ของเกาหลีใต้ ได้ส่งผลให้วัฒนธรรมอาหาร ‘รามยอน’ เป็นที่รู้จักและเผยแพร่ไปทั่วโลก

โดย Shin Ramyun คอลแลบกับ ‘เจ๊ไฝ’ จะมีด้วยกันทั้งหมด 2 รสชาติ คือ ต้มยำกุ้ง แล้วต้มยำกุ้งผัดแห้ง โดยจะมีจำหน่ายเฉพาะประเทศไทย ในระยะแรกจะเริ่มวางจำหน่ายที่ 7-Eleven โลตัส แม็คโคร และจะมีการขยายช่องทางจำหน่ายอื่น ๆ เพื่อให้ลูกค้าเข้าถึงได้มากขึ้นในอนาคต พร้อมตั้งเป้ายอดขายปีหน้า 3.5 พันล้านบาท

ส่วนร้าน ‘เจ๊ไฝ’ เป็นร้านอาหารประเภทสตรีตฟู้ดเพียงแห่งเดียวที่ได้รับดาวจากมิชลิน โดยได้รับรางวัล 1 ดาว ตามมาตรฐานของมิชลินไกด์ และมีหลายเมนูที่ขึ้นชื่อ เช่น ไข่เจียวปู, ราดหน้าทะเล เป็นต้น จุดเด่นของร้านคือการปรุงอาหารด้วยเตาถ่าน และชื่อของ ‘เจ๊ไฝ’ นั้นโด่งดังในเกาหลีใต้จริง ๆ เพราะดาราและไอดอลเกาหลีหลายคนมากินร้านเจ๊ไฝกันอยู่บ่อยครั้ง

‘ต้มยำกุ้งหม้อไฟ’ สุดยอดเมนูคลายหนาว ขายดีในยูนนาน แถมชาวจีนที่เคยทาน เริ่มหัด ‘ทำกินเองที่บ้าน’ แล้วด้วย

(21 ธ.ค. 66) สำนักข่าวซินหัว, คุนหมิง ห้วงยามฤดูหนาวที่อากาศเย็นเยือก ‘ฟ่าน จื้อเหวิน’ เจ้าของร้านอาหารแห่งหนึ่งในนครคุนหมิง มณฑลอวิ๋นหนาน (ยูนนาน) ทางตะวันตกเฉียงใต้ของจีน ได้ออกเมนู ‘ต้มยำกุ้งหม้อไฟ’ ที่มีเครื่องต้มยำกุ้งของไทยเป็นส่วนประกอบหลัก เสิร์ฟพร้อมเนื้อสัตว์ อาหารทะเล และผักสด กลายเป็นที่โปรดปรานของลูกค้าจำนวนไม่น้อย

‘ฟ่าน’ วัย 35 ปี เผยว่า ต้มยำกุ้งถือเป็นเมนูยอดนิยมที่สั่งกันทุกโต๊ะ ส่วนต้มยำกุ้งหม้อไฟเป็นอีกหนึ่งเมนูที่มีลูกค้าสั่งกันเยอะในฤดูหนาว โดยร้านอาหารกลุ่มชาติพันธุ์ไต-อาหารไทยของเขา มักออกสารพัดเมนูตามฤดูและเทศกาล เช่น ฤดูร้อนมีเมนูรสชาติเผ็ดเปรี้ยว ฤดูหนาวมีเมนูหม้อไฟ และมีเมนูพิเศษต้อนรับเทศกาลสงกรานต์ด้วย

ทั้งนี้ ฟ่านผู้เริ่มต้นทำธุรกิจร้านอาหารไทยมาตั้งแต่ปี 2015 มองว่า ชาวอวิ๋นหนานชื่นชอบต้มยำกุ้งหม้อไฟกันไม่น้อย หลายคนหาซื้อวัตถุดิบกลับไปทำกินเองที่บ้าน ทำให้เป็นเมนูที่ขาดไม่ได้สำหรับร้านอาหารไทยในคุนหมิง

เมนูต้มยำกุ้งหม้อไฟที่มีน้ำซุปอุ่นร้อนให้ซดนั้น เป็นที่นิยมเพิ่มขึ้นอีกในช่วงอากาศหนาวเย็นจัด โดยข้อมูลจากเหม่ยถวน (Meituan) และเตี่ยนผิง (Dianping) พบว่าช่วงวันที่ 1-13 ธ.ค. ร้านอาหารในอวิ๋นหนานออกเมนู ‘ต้มยำกุ้งหม้อไฟ’ หรือ ‘หม้อไฟไทย’ เพิ่มขึ้นกว่าสองเท่าเมื่อเทียบปีต่อปี และยอดสั่งซื้อเพิ่มขึ้นกว่าร้อยละ 74

ขณะที่การแลกเปลี่ยนทางเศรษฐกิจ การค้า และวัฒนธรรมระหว่างจีน-ไทย ที่พัฒนาดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง ได้แปรเปลี่ยนแนวทางรับประทานอาหารไทยของผู้บริโภคชาวจีนจาก ‘หากินที่ร้าน’ เป็น ‘ทำกินเองที่บ้าน’

ข้อมูลจากเหม่ยถวน ระบุว่า ปริมาณการค้นหาคำว่า “หม้อไฟไทย” และ “ต้มยำกุ้งหม้อไฟ” บนแอปพลิเคชันสั่งอาหารในอวิ๋นหนานเพิ่มขึ้นอย่างมากตั้งแต่เข้าสู่เดือนธันวาคม โดยการค้นหาคำว่า “หม้อไฟไทย” เพิ่มขึ้นร้อยละ 23.4 ส่วนคำว่า “ต้มยำกุ้งหม้อไฟ” เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 912.7

ด้านจำนวนร้านอาหารที่มีเมนูหม้อไฟไทยบนแพลตฟอร์มของเหม่ยถวน เพิ่มขึ้นร้อยละ 38.5 ยอดคำสั่งซื้อเพิ่มขึ้นร้อยละ 170.4 และยอดการซื้อขายเพิ่มขึ้นร้อยละ 68.6

สมาคมภัตตาคารไทย ผุดไอเดีย ‘ฟู้ดพาวเวอร์’  เพื่อเป็นจุดขาย ดึงดูดใจนักท่องเที่ยว

(31 มี.ค.67) นางฐนิวรรณ กุลมงคล นายกสมาคมภัตตาคารไทย เปิดเผยว่า สมาคมภัตตาคาร ผู้ประกอบการร้านอาหารและธุรกิจที่เกี่ยวข้อง เตรียมจัดโครงการฟู้ดพาวเวอร์ (FOOD POWER) เพื่อส่งเสริมและผลักดันการรับรู้เมนูอาหารและผู้ประกอบการร้านอาหารของไทยทั่วเมืองไทย ซึ่งในโครงการจะมีการจัดประกวดและคัดเลือกเมนูอาหารที่จะเป็นจุดขายและจูงใจนักท่องเที่ยวจากทั่วโลก เมื่อมาเมืองไทยต้องสั่งรับประทาน หรือเป็นเมนูอาหารคิดถึง ไม่ว่าจะไปร้านอาหารไทยในต่างประเทศ ก็จะสั่งรับประทาน ซึ่งจะเป็นส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อนซอฟต์พาวเวอร์ในกลุ่มอาหาร ที่รัฐบาลกำลังผลักดัน

นางฐนิวรรณ กล่าวต่อว่า สมาคมและกลุ่มร้านอาหาร จะมีการประชุมหารือเพื่อลงในรายละเอียดครั้งที่สองในเดือนเมษายนนี้ หลังจากเทศกาลมหาสงกรานต์ผ่านไป เบื้องต้นจะเปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการอาหารและร้านอาหาร ในแต่ละภูมิภาค เสนอเมนูและวัตถุดิบที่ใช้ประกอบอาหาร ซึ่งเป็นเมนูอาหารท้องถิ่น และสามารถหาบริโภคได้ทั่วไป ไม่เจาะจงว่าต้องไปที่ร้านนั้นเท่านั้น หรือหาทานได้แค่ท้องถิ่น สำหรับมาตรฐาน สมาคมฯจะร่วมกับหอการค้าไทย ในการจัดทำมาตรฐานร้านอาหารเพื่อการท่องเที่ยว มีหลักเกณฑ์คัดเลือก อาทิ เมนูอาหารอร่อย วัตถุดิบหาได้ในท้องถิ่น สถานที่อำนวยความสะดวก สะอาด ห้องน้ำพร้อม เป็นต้น

“มีคำถามว่าตอนนี้เรา ก็มีหน่วยงานรัฐและองค์กรที่คัดเลือกเมนูและร้านอาหารในชื่อโครงการต่างๆ มากแล้ว แต่ก็มีร้านอาหารส่วนใหญ่ ยังมองว่าเป็นการคัดเลือกเข้าโครงการของหน่วยงานนั้นๆ มีการจำนวน มีข้อจำกัด แต่ละองค์กรมีร้านค้าหรือเมนูไม่กี่ร้อยหรือพันกว่าร้าน เทียบกับร้านอาหารในไทยเปิดกันทั่วไป ทั้งอยู่ในอาคาร นอกอาคาร ในตึกแถว ในห้าง หรือ ริมถนนตามชุมชน กว่า 1 แสนร้านค้า และสตรีทฟู้ดส์ที่เกิดจากคนรุ่นใหม่อีกหลายหมื่นราย อยากให้มีเมนูขึ้นชื่อและเป็นที่นิยมของต่างชาติ ก่อนหน้าเราเคยเสนอใบกะเพรา เป็นวัตถุดิบหลัก จนผัดกะเพรา เป็นที่รู้จักมากขึ้น

เหมือนอย่างต้มยำกุ้ง หรือผัดไทย ส่วนตัวกำลังมองการใช้วัตถุดิบหลักอย่างไก่ และกุ้ง เป็นวัตถุดิบหลักในการคิดเมนูระดับชาติต่อไป เพราะไม่แค่คนมาไทยจะสั่งเมนูจากไก่หรือกุ้ง ยังเป็นส่งเสริมส่งออกวัตถุดิบไก่และกุ้ง ไปทั่วโลกด้วย ต่อไปก็จะต่อยอดเป็นสินค้ากึ่งสำเร็จรูป ประเด็นคือ เมื่อเมนูที่ได้คัดเลือก สามารถปรุงแต่งขายกันทั่วไปแล้ว นักท่องเที่ยวหารับประทานได้ทั่วไป และในราคาปกติทั่วไปด้วย จุดประสงค์เราต้องการให้เป็นเมนูที่โด่งดัง รับรู้เป็นที่นิมของทั่วโลก โดยที่แต่ละภาคจะพัฒนาสูตรเฉพาะของตนเอง เช่น ไก่ย่างไทยพิเศษกว่าประเทศเพื่อนบ้านเราอย่างไร เป็นต้น” นางฐนิวรรณ กล่าว

นางฐนิวรรณ กล่าวถึงกำลังใช้จ่ายในร้านอาหารว่า สงกรานต์เดือนเมษยนนี้ จะเป็นอีกช่วงที่จะสร้างโอกาสการขายและเพิ่มรายได้กว่าปกติ โดยเฉพาะในพื้นที่ต่างจังหวัด โดยภาพรวมการเข้าร้านอาหารในปี 2567 นี้ฟื้นตัวแล้วอัตราประมาณ 90% ดีกว่าปีก่อนที่ฟื้นตัวอัตรา 75-80% ที่ยังไม่เต็ม 100% เท่าปีก่อน 2562 ก่อนเกิดโควิด เพราะจำนวนนักท่องเที่ยวยังไม่ฟื้นเท่าเดิม ปีนั้นมีถึง 40 ล้านคน ดังนั้นการฟื้นระดับ 90% ถือว่าดีขึ้นมากแล้ว

นางฐนิวรรณ กล่าวต่อว่า บรรยากาศสงกรานต์ปี 2567 นี้ มั่นใจได้ว่าจะคักคักกว่าสงกรานต์หลายปีที่ผ่านมา ส่วนหนึ่งจากมหาสงกรานต์ 21 วัน ซึ่งในกรุงเทพฯมักมีคนน้อย งานมหาสงกรานต์ภายใต้ซอฟต์พาวเวอร์ ที่กำหนดเปิดงานใหญ่ช่วงวันที่ 11-16 เมษายน ที่ถนนราชดำเนิน สนามหลวง จะดึงคนไทยและต่างชาติ เที่ยวในไทยมากขึ้น พร้อมกับกิจกรรมหัวเมืองใหญ่จะสร้างบรรยากาศสงกรานต์ไทยปีนี้คึกคักได้มาก สะท้อนจากร้านอาหารทั่วไปมักปิดทำการและเดินทางกลับภูมิลำเนาในต่างจังหวัด ส่วนหนึ่งเตรียมเปิดจำหน่ายในช่วงสงกรานต์

“ข้อกังวลของธุรกิจร้านอาหาร ไม่แค่ลุ้นจำนวนนักท่องเที่ยวจะกลับมาเท่าเดิมในแต่ละเดือน ยังต้องติดตามผลกระทบจากต้นทุนสูง หลังนโยบายให้ปรับค่าจ้างแรงงานรายวัน ราคาดีเซล หรือการสิ้นสุดของมาตรการช่วยค่าไฟ ค่าน้ำ ของภาครัฐ ซึ่งมีผลตรงต่อเงินในกระเป๋าประชาชน และอารมณ์ที่ออกมาร้านอาหารนอกบ้าน ตอนนี้การมีมาตรการกระตุ้นใช้จ่าย ทั้งการลดค่าใช้จ่ายหรือการเติมเงินเข้ากระเป๋า จะเป็นแรงส่งต่อการใช้จ่ายต่อเนื่อง ตอนนี้ทั้งคนซื้อคนขายก็ไม่รู้ว่าสถานการณ์จะเป็นอย่างไร การลงทุนระดับฐานรากก็ยังลังเลกว่าในอดีตมาก เป็นเรื่องที่รัฐบาลต้องดึงความเชื่อมั่นต่ออนาคตให้มากขึ้น” นางฐนิวรรณ กล่าว

‘กระทรวงวัฒนธรรม’ ดัน ‘ต้มยำกุ้ง’ ขึ้นทะเบียนมรดกโลก เพื่อผลักดันเป็น Soft Power ให้ทั่วโลกรู้จัก ‘ประเทศไทย’

(30 มิ.ย.67) น.ส.เกณิกา อุ่นจิตร์ รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า กระทรวงวัฒนธรรม นำโดย นางสาวสุดาวรรณ หวังศุภกิจโกศล รัฐมนตรีว่ากระทรวงวัฒนธรรม ได้ดำเนินโครงการส่งเสริมการดำเนินงานมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม ซึ่งมีการขึ้นทะเบียนมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมระดับจังหวัดและระดับประเทศทุกปี และมีการเสนอมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของไทยเพื่อขึ้นทะเบียนเป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ของมนุษยชาติต่อองค์การเพื่อการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ(ยูเนสโก)

น.ส.เกณิกา กล่าวว่า ที่ผ่านมาประเทศไทยเสนอมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของไทยเป็นรายการตัวแทนมรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ของมนุษยชาติและได้รับการขึ้นทะเบียนจากยูเนสโกแล้ว 4 รายการ ได้แก่ โขน นวดไทย โนรา และประเพณี“สงกรานต์ในประเทศไทย” ซึ่งปีนี้มีมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของไทย 2 รายการ ได้แก่ “ต้มยำกุ้ง”และชุด“เคบาย่า” ซึ่งชุด“เคบาย่า”ประเทศไทยได้เสนอร่วมกับมาเลเซีย บูรไนดารุสซาลาม อินโดนีเซียและสิงคโปร์ จะเข้าสู่การพิจารณาในการประชุมคณะกรรมการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการสงวนรักษามรดกวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ ครั้งที่ 19 วันที่ 2-7 ธันวาคม 2567 ณ สาธารณรัฐปารากวัย และได้เสนอ ชุดไทย และ มวยไทย  รวมทั้ง ผ้าขาวม้า เพื่อเข้าสู่การพิจารณาขึ้นทะเบียนเป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ของมนุษยชาติต่อยูเนสโกด้วย

รมว.สุดาวรรณ ได้ให้กรมส่งเสริมวัฒนธรรมเตรียมจัดกิจกรรมเฉลิมฉลองในโอกาสที่ต้มยำกุ้งและชุดเคบาย่า ได้เข้าสู่การพิจารณาขึ้นทะเบียนเป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ของมนุษยชาติต่อยูเนสโกในปีนี้ รวมถึงจัดทำแผนล่วงหน้า 10 ปีในการเสนอมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของไทย เพื่อขึ้นทะเบียนเป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ของมนุษยชาติต่อยูเนสโก ก็ให้จัดทำรายละเอียดทั้งประเภทและระยะเวลาดำเนินการ เพื่อส่งเสริมมรดกทางศิลปวัฒนธรรมและ Soft Power ด้านต่างๆของไทยให้เป็นที่รู้จักแพร่หลายระดับนานาชาติ

น.ส.เกณิกา กล่าวว่า กระทรวงวัฒนธรรมได้ดำเนินการส่งเสริม Soft Power นำมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม เช่น อาหารไทย งานหัตถกรรม งานเทศกาลประเพณีมาสร้างมูลค่าเพิ่มเพื่อสร้างอาชีพ สร้างรายได้แก่ประชาชนและชุมชน ส่งเสริมเศรษฐกิจประเทศ ตามนโยบายของรัฐบาลที่ต้องการให้ Soft Power ด้านต่าง ๆ ของไทยให้เป็นที่รู้จักแพร่หลายระดับนานาชาติ

การเมืองรุกคืบ!! เข้าแทรกแซง ‘ประธานบอร์ดแบงก์ชาติ’ หลายฝ่ายหวั่น เศรษฐกิจพัง กลับสู่ฝันร้าย ‘ยุคต้มยำกุ้ง’

(13 ต.ค. 67) หลัง นายปรเมธี วิมลศิริ อดีตประธานบอร์ดแบงก์ชาติ หมดวาระเมื่อวันที่ 19 ก.ย.2567 เป็นจุดเริ่มต้นในการสรรหา ‘ประธานบอร์ดแบงก์ชาติ’ คนใหม่ แทนที่ ซึ่งได้มีการเริ่มขั้นตอนการดำเนินงานมากว่า 3 เดือน

กระทรวงการคลังได้มีการแต่งตั้งกรรมการสรรหาฯ นำโดย นายสถิตย์ ลิ่มพงศ์พันธุ์ อดีตปลัดกระทรวงการคลัง เป็นประธาน โดยกรรมการมีการนัดประชุมไปแล้ว 2 ครั้ง ล่าสุดมีการประชุมไปเมื่อวันที่ 8 ต.ค.2567 ซึ่งยังไม่ได้ข้อสรุปในการคัดเลือกผู้เป็นประธาน และกรรมการในบอร์ดแบงก์ชาติ

ข้อกำหนดในเรื่องของการเสนอชื่อบุคคลที่เหมาะสมเข้ามารับตำแหน่งประธาน และกรรมการในบอร์ด ธปท.จะกำหนดให้เสนอชื่อบุคคลที่เหมาะสม จาก 2 หน่วยงาน โดย ธปท.จะเสนอชื่อได้ 2 เท่าของกรรมการที่หมดวาระ และกระทรวงการคลังเสนอชื่อได้ 1 เท่า

สำหรับการสรรหาในครั้งนี้มีการเสนอชื่อประธานและกรรมการจาก ธปท. 6 รายชื่อ ประกอบไปด้วยประธาน 2 รายชื่อ และกรรมการ 4 รายชื่อ ส่วนกระทรวงการคลัง สามารถเสนอชื่อได้ 1 เท่าของผู้ที่หมดวาะระ

กระทรวงการคลังได้เสนอรายชื่อครบโควตา ส่วน ธปท.เสนอกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเพียง 2 คน จากโควตาที่เสนอได้ 4 คน

ที่ผ่านมารัฐบาลได้แสดงความไม่พอใจอย่างชัดเจนต่อธนาคารแห่งประเทศไทย ประเด็นหลัก ทั้งในเรื่องการไม่ลดดอกเบี้ยนโยบาย และการคัดค้านนโยบายการแจกเงิน 1 หมื่นบาท 

“มีการคาดหมายว่ารัฐบาลจะส่งคนของตนเข้าไปเป็นประธานคณะกรรมการธนาคารแห่งประเทศไทย ซึ่งวัตถุประสงค์ก็คงไม่พ้นที่จะใช้ ธปท.เป็นเครื่องมือในการสนองนโยบายของรัฐบาล ซึ่งหากภาพนี้เกิดขึ้น หายนะของเศรษฐกิจไทยก็จะตามมาอย่างแน่นอน เหมือนที่เราเห็นในต่างประเทศที่รัฐบาลเข้าไปแทรกแซงในธนาคารกลาง” นางธาริษา วัฒนเกส อดีตผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย ได้ออกมาเสนอความคิดเห็นไว้

ระเบียบข้อบังคับในการสรรหาประธานกรรมการ หรือกรรมการ ของธนาคารแห่งประเทศไทยก็มีเจตนารมณ์ ป้องกันความเสี่ยงของการที่กรรมการสรรหาจะถูกแทรกแซงจากทางการเมือง กำหนดคุณสมบัติ ต้องไม่มีลักษณะต้องห้าม ‘เป็นหรือเคยเป็นผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง เป็นหรือเคยเป็นผู้ดำรงตำแหน่งใดในพรรคการเมือง หรือเจ้าหน้าที่ของพรรคการเมือง เว้นแต่จะพ้นจากตำแหน่งมาแล้วไม่น้อยกว่าหนึ่งปี’ เพื่อจะได้สรรหากรรมการที่ปลอดภัยจากการถูกแทรกแซง

สำหรับรายชื่อที่มีการเสนอให้เป็นประธานคณะกรรมการ ธปท.คนใหม่ จำนวน 3 รายชื่อ ประกอบด้วย กระทรวงการคลัง เสนอชื่อนายกิตติรัตน์ ณ ระนอง อดีตรองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง

ส่วนอีก 2 ชื่อที่เสนอจาก ธปท.มี 2 คน ได้แก่ นายกุลิศ สมบัติศิริ อดีตปลัดกระทรวงพลังงาน และนายสุรพล นิติไกรพจน์ นายกสภามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และกรรมการอิสระ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน)

ซึ่งเมื่อวันที่ 8 ต.ค.2567 หลังการประชุมคณะกรรมการสรรหาประธานคณะกรรมการธนาคารแห่งประเทศไทย นางวิเรขา สันตะพันธุ์ เลขานุการคณะกรรมการคัดเลือกประธานกรรมการและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการธนาคารแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า ฝ่ายเลขานุการฯ มีความจำเป็นต้องตรวจสอบข้อมูลเพิ่มเติมเพื่อให้มีข้อมูลครบถ้วนสำหรับการพิจารณาของที่ประชุม ฝ่ายเลขานุการฯ จึงขอขยายระยะเวลาเพื่อตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลเพื่อให้การพิจารณาคัดเลือกมีความรอบคอบที่สุด และจะรวบรวมกลับมานำเสนอคณะกรรมการคัดเลือกฯ โดยเร็ว แต่ยังไม่กำหนดวันที่ชัดเจน 

โดยมีรายงานในการประชุม มีมติเคาะเลือก นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง ที่ปรึกษาของนายกรัฐมนตรี (นายเศรษฐา ทวีสิน) ท่ามกลางเสียงคัดค้าน ถึงการนำบุคคลที่เกี่ยวโยงการเมือง เข้ามาแทรกแซงการทำงานของแบงก์ชาติ จากการสรรหาประธานบอร์ดแบงก์ชาติคนใหม่

แม้คณะกรรมการสรรหาฯ ยังไม่ประกาศผลการคัดเลือกอย่างเป็นทางการ แต่การออกมาแสดงพลังคัดค้าน อาจตอกย้ำถึง ความเห็นขัดแย้งเกี่ยวกับคุณสมบัติผู้ได้รับการคัดเลือก

เมื่อหลายฝ่ายพยายามส่งเสียง แสดงการคัดค้าน ที่การเมืองจะเข้ามาแทรกแซงองค์กรของรัฐ ที่ทำหน้าที่ดูแลเสถียรภาพทางเศรษฐกิจการเงินของประเทศ ฝั่งการเมืองจะยอมถอยหรือไม่..? และหากเข้ามากำกับ ควบคุมดูแลการทำหน้าที่ ของ ธปท. ได้สำเร็จ ภาพวิกฤตการณ์ทางการเงินเมื่อปี 40 ของไทย กลับเริ่มลอยเข้ามาในหัว ขอให้เป็นเพียงแค่ฝันร้าย ละกัน 

‘ยูเนสโก’ ขึ้นทะเบียน ‘ต้มยำกุ้ง’ เป็นมรดกวัฒนธรรมฯ นับเป็นรายการที่ 5 ของไทย ที่ได้รับการรับรอง

ข่าวดีของประเทศไทย!! ‘ต้มยำกุ้ง’ ถูกประกาศขึ้นทะเบียนเป็นมรดกวัฒนธรรมฯ จากยูเนสโก เมื่อกลางดึกที่ผ่านมา นับเป็นรายการที่ 5 ของไทย ที่ได้รับการรับรองต่อจาก โขน, นวดไทย, โนราห์, และ ประเพณีสงกรานต์

(4 ธ.ค. 67) เวลา 02.00 น. เวลาในประเทศไทยที่ กรุงอะซุนซิออง สาธารณรัฐปารากวัย องค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO) ได้มีการประชุมคณะกรรมการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการสงวนการรักษามรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ ครั้งที่ 19 (The 19th Session of the Intergovernmental Committee for the Safeguarding of the Intangible Cultural Heritage) โดยที่ประชุมได้ประกาศขึ้นทะเบียน ‘ต้มยำกุ้ง’ เป็นรายการตัวแทนมรดกวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ของมนุษยชาติ (The Representative List of the Intangible Cultural Heritage of Humanity) ในการประชุมฯ

โดยนางสาวแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี กล่าวแสดงความยินดีผ่านระบบวีดิทัศน์ ว่า รู้สึกเป็นเกียรติอย่างยิ่งที่ได้รับเกียรติในโอกาสพิเศษนี้ ในนามของรัฐบาลไทยและคนไทยทั้งประเทศ ขอขอบคุณสาธารณรัฐปารากวัยสำหรับการเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมฯ ในครั้งนี้ รวมถึงคณะกรรมการฯ ที่ได้ขึ้นทะเบียนให้ 'ต้มยำกุ้ง' เป็นรายการตัวแทนมรดกวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ของมนุษยชาติ 

ทั้งนี้การขึ้นทะเบียน 'ต้มยำกุ้ง' ถือเป็นอีกหนึ่งความสำเร็จของอนุสัญญาว่าด้วยการสงวนรักษามรดกวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ ค.ศ. 2003 ในการสร้างความตระหนักรู้ถึงความสำคัญของมรดกวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ โดยต้มยำกุ้งของไทย เป็นเมนูอาหารเพื่อสุขภาพ มีต้นกำเนิดจากภูมิปัญญาและวิถีปฏิบัติอันประณีตของชุมชนริมน้ำในภาคกลางของไทย สืบทอดจากรุ่นสู่รุ่นในทุกระดับของสังคม ไม่ว่าจะเป็นในครอบครัว ชุมชน โรงเรียน และร้านอาหาร จนกลายมาเป็นที่รู้จักไปทั่วโลก ต้มยำกุ้งจึงเป็นเครื่องยืนยันอย่างดีถึงมรดกทางวัฒนธรรม ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของ Soft Power ไทย โดยอาหารไทยจานนี้ยังสะท้อนถึงความเข้าใจในการใช้ชีวิตอย่างสอดคล้องร่วมกับธรรมชาติอย่างลึกซึ้งอีกด้วย ทั้งการใช้สมุนไพรที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ การเพาะเลี้ยงกุ้งน้ำจืด การอนุรักษ์น้ำ ดิน และอากาศ การคัดเลือกและเตรียมวัตถุดิบอย่างพิถีพิถัน และท้ายสุดคือศิลปะการปรุงอาหารไทยที่ผสมผสานรสชาติ และคุณค่าทางโภชนาการอย่างลงตัว

นายกรัฐมนตรีกล่าวต่อไปว่า ความรู้และแนวปฏิบัติเหล่านี้ไม่เพียงช่วยสร้างความมั่นคงด้านอาหาร สุขภาพและความอยู่ดีกินดีของประเทศไทยเท่านั้น แต่ยังช่วยพัฒนาเศรษฐกิจโดยรวม ความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม และความสมานฉันท์ในสังคมอีกด้วย ประเทศไทยจึงมุ่งมั่นในการสร้างความตระหนักรู้ถึงความสำคัญของมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม (Intangible Cultural Heritage – ICH) ทั้งในระดับท้องถิ่น ระดับชาติ และระดับนานาชาติอย่างเต็มที่ และพร้อมร่วมมือกับทุกประเทศเพื่อรักษา (safeguard) ICH ในฐานะทรัพยากรเพื่อการพัฒนาที่ครอบคลุมและยั่งยืนในทั้ง 3 ด้าน - เศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม

พร้อมกันนี้ นายกรัฐมนตรี ยังได้เชิญชวน ลิ้มลองต้มยำกุ้ง ที่ร้านอาหารไทยทั่วโลก หรือค้นหาสูตรอาหารออนไลน์เพื่อทดลองทำต้มยำกุ้งเองที่บ้าน และร่วมเป็นส่วนหนึ่งของการเดินทางอันแสนอร่อยและเต็มไปด้วยรสชาตินี้ด้วยกัน

แน่นอนว่า การขึ้นทะเบียนต้มยำกุ้งในครั้งนี้ทำให้ประเทศไทยได้รับความสนใจมากยิ่งขึ้น ในฐานะประเทศที่มากด้วยประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม ประเพณีและอาหารที่มีทั้งสตรีทฟู้ด อาหารนานาชนิดที่ขึ้นชื่อจนทำให้นักท่องเที่ยวที่เดินทางมาประเทศไทย หรือแม้แต่คนในต่างประเทศที่มีร้านอาหารไทยอยู่ในเมนูอันดับแรก ๆ ที่มักจะสั่งก็คือต้มยำกุ้งของไทย ซึ่งถือเป็นการสร้างมูลค่าให้กับผลิตภัณฑ์เมดอินไทยแลนด์ได้เป็นอย่างดี

ทั้งนี้ ที่ผ่านมาประเทศไทย มีรายการมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม ที่ได้รับการขึ้นทะเบียนรายการตัวแทนมรดกวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ของมนุษยชาติจากยูเนสโกมาแล้ว 4 รายการ คือ  โขน/ นวดไทย/ โนราห์ และ ประเพณีสงกรานต์ในประเทศไทย โดย ต้มยำกุ้ง ถือเป็นรายการที่ 5 ของไทย ที่ได้รับการรับรอง

นอกจากนี้ ยังมีประกาศขึ้นทะเบียน ‘ชุดเคบาย่า’ ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ ซึ่งเป็นรายการที่เสนอร่วม 5 ประเทศ คือ บรูไน อินโดนีเซีย มาเลเซีย สิงคโปร์ และไทย


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top