Friday, 3 May 2024
ต่างประเทศ

'อัษฎางค์' ชี้!! 3 ปัจจัยที่ทำให้ฝรั่งดูเจริญกว่าไทย พร้อมเปิดอีกมุม 'ค่าครองชีพ-ค่าแรง-ย้ายประเทศ'

นายอัษฎางค์ ยมนาค นักวิชาการอิสระ โพสต์เฟซบุ๊ก 'เอ็ดดี้ อัษฎางค์ ยมนาค' โดยระบุว่า...

“ค่าครองชีพ ค่าแรง ย้ายประเทศ”

จะเล่าอะไรให้ฟัง จากคนที่มีประสบการณ์อยู่ในออสเตรเลียมากว่า 20 ปี

ผมมาออสเตรเลียครั้งแรกก็ติดใจสิ่งแวดล้อมของประเทศเขา

สิ่งแวดล้อมในที่นี้คือ บ้านเรือน ผู้คน รวมถึงสิ่งแวดล้อมทางการศึกษา

ผมก็กลับไปหอบครอบครัวมาอยู่ออสเตรเลีย อยากให้ลูกโตมาในสิ่งแวดล้อมแบบนี้ 

แต่ไม่ได้ย้ายประเทศ เพราะเมืองไทยมันห่วย รัฐบาลไทยมันห่วย สถาบันพระมหากษัตริย์เอาเปรียบประชาชน ไม่มีเรื่องพวกนี้ 

ผมรักเมืองไทย รักความเป็นไทย และจงรักภักดีต่อสถาบันพระมหากษัตริย์

สิ่งที่น่ารังเกียจที่สุดสำหรับผมเกี่ยวกับเมืองไทย คือ การเมือง 

การเมืองไทยที่มีนักการเมือง (บางส่วนหรือส่วนใหญ่) ที่มักอ้างว่าเป็นตัวแทนประชาชน อ้างว่าเข้ามาทำงานการเมืองเพื่อชาติและประชาชน ทั้งที่เขาทำทุกอย่างเพื่อตนเองและพวกพ้อง

แต่การย้ายประเทศของผม เกิดจากแรงบันดาลใจจากคนรุ่นก่อนๆ และการอยากผจญภัย ซึ่งมันมีอยู่ในตัวมนุษย์ทุกคน 

ย้ายมาอยู่เมืองฝรั่ง เพราะอยากรู้ว่า ฝรั่งเจริญกว่าไทยตรงไหน ได้อย่างไร ก็ลองมาใช้ชีวิตอยู่ในเมืองเขาเลย ให้มันรู้กันไป

>> แค่เพียงไม่กี่เดือน ผมก็ได้คำตอบว่า ฝรั่งเจริญก้าวหน้ากว่าไทยเพราะ...

***หนึ่ง ไม่มีคอร์รัปชัน (จริงๆ มีแต่น้อยกว่าไทยหลายเท่า)

คอร์รัปชัน คือ ปัญหาอันดับ 1 ที่กีดกั้นความเจริญก้าวหน้าของชาติ

***สอง การศึกษาที่มุ่งเน้นให้นักเรียนนักศึกษา หาคำตอบหรือทางแก้ไขปัญหา และคิดค้นสิ่งใหม่ๆ ไม่ใช่ท่องจำบทเรียน ที่เขียนกันไว้มานานแสนนาน มีแต่การจดจำ คัดลอก เลียนแบบ ซึ่งสร้างปัญหาต่อคนไทยอยู่ทุกวันนี้ เพราะลองถ้าเชื่อใครเข้าแล้ว จะเชื่อเขาแบบไม่ลืมหูลืมตา ไม่รู้ถูกรู้ผิด แยกแยะดีชั่วไม่ได้ 

***สาม การสร้างจิตสำนึกให้พลเมืองของเขาเข้าใจใน ”หน้าที่พลเมือง” ตั้งแต่เป็นเด็กน้อย

>> ผมว่า 3 สิ่งนี้คือหัวใจสำคัญ 

พลเมืองต้องรู้จักหน้าที่ของตน ต้องมีจิตสำนึก ต้องแยกแยะผิดชอบชั่วดีได้ ต้องซื่อสัตย์ต่อตนเอง ต่อผู้อื่น ต่อหน้าที่รับผิดชอบของตน

สิ่งเหล่านี้คือ สิ่งที่ผมตามหา และพาครอบครัวโดยเฉพาะลูกน้อยที่จะเป็นอนาคตของประเทศชาติและของสังคมโลก ให้มารับการฝึกฝน อบรม บ่มนิสัย ในสิ่งเหล่านั้น

ผมไม่ได้ย้ายประเทศเพราะ ค่าแรงงานเมืองไทยต่ำ ค่าครองชีพสูง ความเหลื่อมล้ำทางสังคม ต่างๆ นานา

ไม่ได้ย้ายประเทศเพราะ มาอยู่เมืองนอกแล้วจะทำให้กินจิ้มจุ่มได้ 4 หม้อ หรือกินส้มตำได้ 7 จาน ซึ่งผิดกับตอนอยู่เมืองไทยที่กินจิ้มจุ่มได้แค่ 1 หม้อกินส้มตำได้แค่ 1 จาน 

ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในชีวิตผมทันทีที่ย้ายประเทศคือ ผมไม่สามารถเดินมาปากซอยหรือซอยถัดๆ ไปแล้วมีร้านอาหารเป็นร้อยให้เลือกกิน ในราคาที่กินได้ จนถึงดึกดื่นเที่ยงคืน

แต่ผมอยู่เมืองนอก 5-6 โมงเย็น ห้างร้านปิดหมด แหล่งที่จะมีร้านอาหารขายถึงมืดนั้นมีอยู่เป็นจุดๆ ในเขตชุมชนที่ห่างไกลออกไปเท่านั้น

อยากกินบะหมี่หมูแดง ส้มตำ ข้าวมันไก่ ต้องขับรถไปหลายกิโลหรือหลายสิบกิโล ถึงจะมี หรือทั้งเมืองอาจมร้านขายส้มตำเพียงร้านเดียว

คนไทยที่มีรายได้เท่ากับหรือใกล้เคียงกับฝรั่ง คือคนไทยที่ทำงานหามรุ่งหามค่ำ วันละ 2-3 jobs นอนวันละ 4-5 ชั่วโมง จนไม่มีเวลาจะทำกิจกรรมอื่นๆ เลย 

ไอ้เรื่องที่จะออกไปกินจิ้มจุ่มได้ 4 หม้อ หรือกินส้มตำได้ 7 จาน นานๆ จะเกิดขึ้นเสียที ไม่ใช่เพราะไม่มีเงิน แต่เพราะไม่มีเวลา

ถ้ายังนึกภาพไม่ออก ก็ให้นึกถึงภาพแรงงานพม่าที่เข้ามาทำงานในเมืองไทย คนพวกนั้นหาเงินได้มากกว่าคนไทยอีกจำนวนมาก แล้วดูความเป็นอยู่ของเขาซิ ทำงานอย่างเดียว เก็บเงินส่งกลับบ้าน ส่วนชีวิตตัวเอง อยู่อย่างอัตคัดหรืออย่างประหยัดสุดๆ ค่าแรงในเมืองไทยของแรงงานพม่า ก็ทำให้เขามีเงินกินจิ้มจุ่มได้ 4 หม้อเหมือนกัน แต่นานๆ เขาถึงจะมีโอกาสได้กินเสียที

ถามจริงว่า แบบไหนน่าจะมีความสุขมากกว่ากัน ระหว่างหาเงินได้มาก แต่เวลาทั้งหมดในแต่ละวันของชีวิตหมดไปกับการทำงานหาเงิน กับหาเงินได้น้อยนิด แต่เป็นความน้อยที่มีเวลาและเงินมากพอที่ออกไปกินอะไรที่อยากกินได้ตลอดเวลาทุกวัน

ผมมาอยู่ออสเตรเลียไม่กี่ปี ผมก็มีรายได้เป็นแสน ในขณะที่เพื่อนในเมืองไทยยังมีเงินเดือนหลักหมื่นต้นๆ

ผ่านไป 20 กว่าปี เพื่อนๆ ในเมืองไทยที่เคยกินเงินเดือนหมื่นต้นๆ ตอนนี้ บางคนเป็นเจ้าของกิจการ บางคนเป็นผู้อำนวยการ บางคนเป็นรองประธาน บางคนเป็น CEO ไปแล้ว เงินเดือนเป็นแสนเป็นล้านแล้ว

>> มาอยู่เมืองนอกแล้วจะมีอนาคตดีกว่าคนอยู่เมืองไทยจริงหรือ ?

คำตอบ คือ ไม่เสมอไป มีทั้งดีและไม่ดี ก็เหมือนอยู่เมืองไทย มันขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง

คนที่อยู่เมืองนอกจะมีสักกี่คนที่ได้เป็นผู้บริหารใหญ่ในบริษัทฝรั่ง ! ส่วนใหญ่ยังคงมีอาชีพเดิม ทำงานแบบเดิมๆ อย่างที่เคยทำ

>> ชีวิตในเมืองนอก ดีกว่า ในเมืองไทยจริงหรือ ?

ค่าแรงแพง มันหมายความว่า ทุกอย่างก็แพงตามกันไปหมด ไม่ใช่ว่าเราได้ค่าแรงแพงแล้วเราจะจ่ายเงินซื้อของได้ทุกอย่าง

ยกตัวอย่างง่ายๆ สักเรื่องสองเรื่อง

ห้างร้านปิดตั้งแต่เย็นเพราะอะไร เคยรู้กันบ้างมั้ย?

ห้างร้านทั้งใหญ่น้อย ปิด 5 หรือ 6 โมงเย็นเพราะถ้าไม่ปิด เจ้าของธุรกิจต้องจ่ายค่าแรงพนักงานเป็นเท่าตัว พอค่าแรงแพง เจ้าของธุรกิจก็จ่ายไม่ไหว คนจะไปซื้อของก็จ่ายไม่ไหวเหมือนกัน

สมัยแรกๆ ที่มาอยู่ที่นี่ ผมเคยขับรถ(มือสอง)แล้วโดนชน 2 ครั้ง ทั้ง 2 คัน บริษัทประกันไม่จ่ายค่าซ่อมให้ แต่จ่ายเป็นราคาประเมินตามราคาตลาด ให้ไปซื้อคันใหม่ เพราะค่าแรงที่จะซ่อมแพงเหมือนไปซื้อใหม่

ผมเคยทำงาน 2 Jobs ได้เงินเดือนเยอะมาก แต่พอสิ้นปี จ่ายภาษีแล้วตกใจ ปีต่อไป ผมเลิกทำงานแบบนั้นเลย เพราะเหมือนว่า เราทำงานเพื่อจ่ายให้รัฐบาล แล้วรัฐบาลเอาเงินของเราที่ทำงานหามรุ่งหามค่ำนั้น ไปเลี้ยงคนออสซี่ที่ไม่ทำงาน 

เหมือนที่เด็กสามนิ้วเรียกร้องรัฐสวัสดิการนั้นแหละ สวัสดิการ ที่เอาเงินจากคนที่รายได้มาก จากที่เขาทำงานหนัก ไปให้คนมีรายได้น้อย ซึ่งส่วนใหญ่ก็คือคนไม่ยอมไปทำงาน นี่แหละความเท่าเทียมกันกับรัฐสวัสดิการ

แล้วคนไทยในออสเตรเลียทำอย่างไรรู้มั้ย เขาก็หางานที่รับเป็นเงินสด เพื่อหลบภาษี หลบทั้งนายจ้างและลูกจ้าง ซึ่งมันคือการคอรัปชั่น แล้วมันจะหวนไปบั่นทอนประเทศชาติในที่สุด

แจ้งรัฐบาลว่ามีรายได้น้อย เพื่อรับสวัสดิการจากรัฐ แต่แอบทำงานมีรายได้มหาศาล รับทั้งขึ้นทั้งล่องตามวิถีคอรัปชั่นโกงๆ แบบไทย

คนไทยทำกันแบบนี้ไง เหมือนในเมืองไทย พ่อค้าแม่ขายหาเงินกันได้มากๆ ทั้งนั้น แต่แจ้งว่ารายได้ต่ำ เพื่อเลี่ยงภาษี แล้วก็เรียกร้องรัฐสวัสดิการ แต่ไม่มีใครคิด ว่าในเมื่อทุกคนทำแบบนี้ รัฐจะมีรายได้ที่ไหนไปทำรัฐสวัสดิการ

สมัยผมมาแรกๆ ยังเรียนหนังสือ รู้มั้ยมื้อกลางวันผมกิน แมคโดนัลด์ แทบทุกวัน เมืองไทยเป็นของแพงใช่มั้ย เป็นร้านที่คนจนๆ ไม่มีปัญญาเข้าใช่มั้ย

แต่ในเมืองนอก มันคืออาหารราคาถูก อาจจะพูดได้ว่า เหมือนข้าวไข่เจียวหรือข้าวแกงในเมืองไทยดีๆ นั้นเอง

ผมกินแมคโดนัลด์ เพราะมันไม่ถึง 10 เหรียญ ในขณะที่ข้าวผัดกระเพราไข่ดาวกับโค้กสักแก้วต้องมี 20 เหรียญ

20 เหรียญสมัยนั้นคือ 600 กว่าบาท

รู้จัก ‘ทริปเปิ้ลเอ’ บริการช่วยแนะนำเส้นทาง แก่ผู้ขับรถต่างเมือง ในยุคก่อนมีจีพีเอส

สมัยนั้นเขายังอนุญาตให้คนมารับผู้โดยสารเข้ามาถึงที่หน้าประตูทางออก หลังจากที่เครื่องบินไปแตะพื้นธรณีของเมืองโคลัมบัส รัฐโอไฮโอ พอออกมาก็เจอพี่มิก เพื่อนของพี่ชายมารับที่ประตูทางออก และผมก็มุ่งหน้าไปบ้านของพี่อิ๊งค์ ลูกพี่ลูกน้องที่ฝากรถเราไว้ 

ตอนนั้นพี่อิ๊งค์กับครอบครัวกลับมาเยี่ยมบ้านที่กรุงเทพฯ แต่รู้กันก่อนหน้าแล้วว่าเราจะมา พี่อิ๊งค์เลยส่งกุญแจและเอกสารสำคัญเกี่ยวกับรถไปให้กับพี่มิก เมื่อผมมาถึง ก็ขับรถได้เลย แต่ต้องบอกเลยว่าตอนนั้นยังไม่ชินถนนหนทางในประเทศอเมริกาสักเท่าไหร่ จะขับทางไกลที ใจเต้นรัวเป็นเพลง EDM แทบจะเป็นลม โชคดีที่พี่มิกมาด้วย แกเลยให้ขับตาม แต่แกก็ขับเร็วเหลือเกิน เราเลยต้องคอยเร่งไล่ตามให้ทัน ไม่ให้คลาดสายตา 

ผมถอนหายใจซะหมดปอดเมื่อมาถึงบ้านพี่มิกที่เมืองซินซินแนติ (Cincinnati) หลังจากที่จอดรถเสร็จ ผมก็ไปทานอาหารจีนสไตล์อเมริกันที่หวานและเค็มนำ ส่วนใหญ่คนอเมริกันจะชอบสั่งเกี๊ยวทอดไส้ครีมชีสและปูอัดที่เรียกกันว่าปูร่างกุ้ง (Crab Rangoon) หมูแดงในรูปของซี่โครง ข้าวผัดซีอิ๊วดำใส่ต้นหอมและถั่วงอก และหมูชุบแป้งทอดผัดเปรี้ยวหวาน 

ตอนชำระเงินทางร้านจะเอาคุกกี้ทรงอีแปะใส่กระดาษพิมพ์คำคมหรือดวงแบบสั้นมาให้ ซึ่งคุกกี้แบบนี้จะเรียกว่าคุกกี้ดูดวง (Fortune cookie) และคนส่วนใหญ่มักจะไม่ค่อยได้ทานกัน เพราะจะอิ่มจนแน่น จึงแค่หักคุกกี้เพื่ออ่านข้อความที่อยู่บนกระดาษเพื่อความบันเทิง ส่วนคนไทยจะชอบเอาตัวเลขที่อยู่บนกระดาษมาซื้อลอตเตอรี่ เราเองชอบทานคุกกี้แบบนี้เพราะแป้งมีความหวานอ่อนๆ กลิ่นวานิลาเป็นการล้างปากจากอาหารคาว  

พี่มิกรู้ว่าวันรุ่งขึ้นเราต้องขับรถกลับกันมาที่บอสตัน แกจึงพาเราไปแวะที่สำนักงานของทริปเปิ้ลเอ (AAA) เพื่อไปปรึกษาหาเส้นทางที่จะขับมาถึงแมสซาชูเซตส์อย่างเร็วที่สุด ท่านผู้อ่านต้องเข้าใจว่าสมัยนั้นยังไม่มีจีพีเอส เวลาจะขับรถกันไปต่างเมืองทีต้องพึ่งแผนที่ ทางองค์กรทริปเปิ้ลเอ ชึ่งมีชื่อเต็มๆ ว่า American Automobile Association มีบริการช่วยแนะนำเส้นทางขับรถต่างเมืองให้คนที่สมัครเป็นสมาชิกรายปี ซึ่งขณะนี้ตกประมาณ 65 เหรียญสหรัฐ นอกจากนั้นสมาชิกยังสามารถรับสิทธิ์ซื้อประกันรถให้ราคาที่ถูกกว่าท้องตลาดทั่วไป ได้รับบริการลากรถและช่วยเปลี่ยนล้อที่ยางแบน คนทั่วไปจึงนิยมกันเป็นสมาชิกทริปเปิ้ลเอ จนเป็นองค์กรที่ใหญ่โตของสหรัฐฯ และแคนาดา ถึงแม้ว่ายุคนี้จะไม่ต้องพึ่งเรื่องแผนที่เหมือนแต่ก่อน ก็ยังมีประโยชน์กับการขับรถทางไกลอยู่ ถ้าสนใจอยากจะทราบรายละเอียดลองเช็กดูโดยตรงที่เว็บไซต์ https://www.aaa.com/stop 

ขอสัญชาติ...ไม่ง่าย ส่อง15 ประเทศที่ให้สัญชาติแก่ต่างชาติยากที่สุด!! ด้วย ‘ขั้นตอน-เงื่อนไข-เวลา’ 3 ตัวแปรที่อาจทำให้ท้อใจ

 

            

เรื่องนี้ คนที่สนใจอยากจะอพยพไปอยู่ในบ้านอื่นเมืองอื่นคงสนใจ แม้ว่าในปัจจุบันนี้จะมีมากมายหลายประเทศที่ยอมให้สัญชาติแก่ผู้คนที่อพยพมาจากประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก แต่ก็มีรัฐบาลของหลายประเทศเช่นกันที่ชาวต่างชาติจะขอสัญชาติได้ยากยิ่ง หรือแทบจะเป็นไปไม่ได้เลย เพื่อให้สามารถใช้ชีวิตอยู่อย่างถาวรในประเทศนั้น ๆ ได้ ในบทความนี้มี 15 ประเทศที่ขอสัญชาติเพื่อเป็นพลเมืองได้ยากที่สุด
 

                

1. กาตาร์ (Qatar) เป็นหนึ่งในประเทศที่ยากที่สุดในการขอสัญชาติ กระบวนการนี้ยาวนานและมีความซับซ้อน และมีช่องทางน้อยมากที่จะสมัครเป็นพลเมืองได้ พลเมืองส่วนใหญ่เกิดในครอบครัวชาวกาตาร์หรือได้รับสัญชาติผ่านการแต่งงานกับชาวกาตาร์ มิฉะนั้นโดยทั่วไปแล้ว สัญชาติจะให้เฉพาะผู้ที่รัฐบาลจ้างมาติดต่อกันเป็นเวลาหลายปี หรือเป็นผู้ที่มีการลงทุนเป็นจำนวนมากในประเทศเท่านั้น

                   

2. นครรัฐวาติกัน (Vatican City) นครรัฐวาติกันเป็นประเทศที่เล็กที่สุดในโลก มีประชากรเพียง 800 กว่าคน และยังเป็นหนึ่งในประเทศที่ยากที่สุดในการขอสัญชาติอีกด้วย มีเพียงสองวิธีในการเป็นพลเมืองของนครวาติกันคือ (1) เกิดที่นั่น หรือ (2) ได้รับการแต่งตั้งจากสมเด็จพระสันตะปาปา หากคุณไม่ได้เกิดในนครรัฐวาติกัน 

ความหวังเดียวในการเป็นพลเมืองคือการได้รับการแต่งตั้งจากสมเด็จพระสันตะปาปา และนั่นค่อนข้างจะเป็นเรื่องใหญ่เพราะสมเด็จพระสันตะปาปาจะทรงแต่งตั้งบุคคลเป็นพลเมืองสำหรับผู้ที่มีบทบาทเฉพาะภายในวาติกันเท่านั้น เช่น เป็นพระคาร์ดินัลที่อาศัยอยู่ในนครรัฐวาติกันหรือกรุงโรม หรือหากอาศัยอยู่ในนครวาติกันเพราะเป็นพนักงานอย่างเป็นทางการของคริสตจักรคาทอลิก นักการทูต หรือสมาชิกของ Swiss Guard ดังนั้นจึงยากมาก ๆ ที่จะได้เป็นพลเมืองของนครรัฐวาติกัน
                    

3. ลิกเตนสไตน์ (Liechtenstein) เป็นหนึ่งในประเทศที่เล็กที่สุดและร่ำรวยที่สุดในยุโรป โดยอาณาเขตซึ่งตั้งอยู่ระหว่างออสเตรียและสวิตเซอร์แลนด์ มีประชากรเพียง 37,000 คน ข้อกำหนดการเป็นพลเมืองของประเทศนี้เป็นข้อกำหนดที่เข้มงวดที่สุดในโลก ผู้สมัครจะต้องอาศัยอยู่ในลิกเตนสไตน์เป็นเวลาอย่างน้อย 30 ปี หรือหากแต่งงานกับพลเมืองลิกเตนสไตน์ และอาศัยอยู่ในประเทศลิกเตนสไตน์อยู่แล้ว ระยะเวลาก็จะสั้นลงเหลือ 5 ปีของการแต่งงาน และต้องสามารถพิสูจน์ได้ว่า มีความมั่นคงทางการเงิน และได้รวมเข้ากิจกรรมต่าง ๆ กับชุมชน แล้วยังต้องผ่านการทดสอบภาษาด้วย ด้วยข้อกำหนดเหล่านี้ จึงไม่แปลกใจเลยที่การได้รับสัญชาติลิกเตนสไตน์เป็นเรื่องยากมาก ๆ ในความเป็นจริงแล้ว แต่ละปีมีเพียงประมาณ 20 คนเท่านั้นที่ได้รับสัญชาติด้วยการอนุมัติจากรัฐสภาของลิกเตนสไตน์

                  

4. ภูฏาน (Bhutan) เป็นหนึ่งในประเทศที่ยากที่สุดในการขอสัญชาติ ประเทศเล็ก ๆ ที่ไม่มีทางออกสู่ทะเลบนเทือกเขาหิมาลัย มีประชากรเพียง 700,000 คน และมีอัตราการแปลงสัญชาติที่ต่ำมาก นับตั้งแต่ปี ค.ศ. 1949 เป็นต้นมา มีชาวต่างชาติเพียงประมาณ 1,000 คนที่ได้รับสัญชาติภูฏาน ขั้นตอนการเป็นพลเมืองภูฏานนั้นใช้เวลานานและซับซ้อน ผู้ยื่นขอสัญชาติจะต้องอาศัยอยู่ในประเทศอย่างน้อยเป็นเวลา 20 ปี ไม่มีประวัติอาชญากรรม และต้องปฏิบัติตามข้อกำหนดต่าง ๆ ซึ่งรวมถึงไม่มีประวัติการพูดหรือการกระทำการอันเป็นการต่อต้านพระมหากษัตริย์หรือประเทศมาก่อน มีความเชี่ยวชาญในภาษาซองคา และยังต้องผ่านการสอบอันเข้มงวดเพื่อทดสอบความรู้เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม และศาสนาของภูฏาน ถึงกระนั้น ก็ไม่รับประกันการเป็นพลเมือง ด้วยขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของรัฐบาลว่า จะให้สัญชาติแก่ผู้สมัครหรือไม่ เหตุที่การเป็นพลเมืองภูฏานเป็นเรื่องยากมาก ๆ ส่วนหนึ่งเป็นเพราะภูฏานต้องการรักษาวัฒนธรรมอันเป็นเอกลักษณ์ของชาติท่ามกลางกระแสโลกาภิวัตน์ รัฐบาลยังกังวลเกี่ยวกับความเสี่ยงด้านความปลอดภัยที่เกิดจากผู้อพยพ โดยเฉพาะผู้ที่มาจากประเทศเพื่อนบ้าน เช่น อินเดีย และจีน ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลใดก็ตาม เห็นได้ชัดว่า การขอสัญชาติภูฏานไม่ใช่เรื่องที่ง่ายเลย

                 
5. ซาอุดีอาระเบีย (Saudi Arabia) ถือเป็นประเทศที่ขอ Permanent Residence (PR) หรือใบอนุญาตอยู่ถาวรยากที่สุดในโลก มีเหตุผลหลายประการ รวมถึงความจริงที่ว่า ซาอุดีอาระเบียไม่อนุญาตให้ถือสองสัญชาติ และกำหนดให้พลเมืองทุกคนต้องเป็นมุสลิม นอกจากนี้ ซาอุดีอาระเบียมีข้อกำหนดที่เข้มงวดสำหรับผู้ที่ต้องการเป็นพลเมือง ซึ่งรวมถึงอายุขั้นต่ำ 21 ปีและข้อกำหนดในการพำนักในประเทศเป็นเวลาห้าปี

                    
6. คูเวต (Kuwait) เป็นหนึ่งในประเทศที่ยากที่สุดในการขอสัญชาติ สาเหตุหลักเป็นเพราะคูเวตมีมาตรฐานการครองชีพที่สูงมาก ซึ่งพวกเขาต้องการให้เป็นเช่นนั้น 

รัฐบาลมีการคัดเลือกอย่างมากกว่าจะอนุญาตให้ใครเข้ามาในประเทศ และพวกเขามีข้อกำหนดที่เข้มงวดซึ่งต้องปฏิบัติตามจึงจะได้รับสัญชาติ ในการได้รับการพิจารณาให้เป็นพลเมืองคูเวต ต้องได้รับใบอนุญาตมีถิ่นที่อยู่ก่อน นี่อาจเป็นกระบวนการที่ยากในตัวเอง เนื่องจากมีจำนวนใบอนุญาตที่จำกัดในแต่ละปี เมื่อได้รับใบอนุญาตมีถิ่นที่อยู่แล้ว ต้องอาศัยอยู่ในคูเวตเป็นเวลา 20 ปีหรือ 15 ปีสำหรับพลเมืองของประเทศอาหรับอื่น ๆ สามารถยื่นขอสัญชาติได้ แต่ต้องเป็นมุสลิมโดยกำเนิดหรือเปลี่ยนใจเลื่อมใส หากเปลี่ยนศาสนา ต้องผ่านการฝึกฝนด้านศาสนามาแล้วห้าปี และต้องพูดภาษาอาหรับได้อย่างคล่องแคล่ว และแม้ว่าจะมีคุณสมบัติตรงตามข้อกำหนดเหล่านี้ทั้งหมด แต่ก็ไม่มีการรับประกันว่าจะได้รับสัญชาติ การตัดสินใจขั้นสุดท้ายขึ้นอยู่กับรัฐบาลคูเวต และพวกเขาสามารถปฏิเสธใบสมัครขอสัญชาติไม่ว่าด้วยเหตุผลใดก็ตาม
                    

7. สวิตเซอร์แลนด์ (Switzerland) ประเทศซึ่งเป็นที่รู้จักจากภูมิประเทศที่เป็นภูเขาและหมู่บ้านที่งดงาม รวมถึงนโยบายตรวจคนเข้าเมืองที่เข้มงวด การเป็นพลเมืองในสวิตเซอร์แลนด์เป็นเรื่องยากกว่าจะได้มา และกระบวนการอาจใช้เวลายาวนานและค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูง มีข้อกำหนดหลายประการที่ต้องปฏิบัติตามจึงจะมีสิทธิ์ได้รับสัญชาติสวิส ประการแรก ผู้สมัครขอสัญชาติจะต้องอาศัยอยู่ในสวิตเซอร์แลนด์เป็นเวลาอย่างน้อย 12 ปี โดยมีใบอนุญาตทำงานที่เรียกว่าใบอนุญาต C ซึ่งอนุญาตให้อยู่อาศัยและทำงานในประเทศได้ ประการที่สอง เขาต้องแสดงให้เห็นถึงการรวมเข้ากับสังคมสวิสผ่านความรู้ในภาษาประจำชาติและการมีส่วนร่วมในชุมชน ในที่สุดจะต้องผ่านการสอบพลเมืองซึ่งทดสอบความรู้ด้านประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมของสวิส แม้ว่าจะเป็นไปตามข้อกำหนดเหล่านี้ทั้งหมด ก็ไม่มีการรับประกันว่าจะได้รับสัญชาติ เพราะที่สุดแล้วการตัดสินใจจะขึ้นอยู่กับหน่วยงานของรัฐที่ตรวจสอบแต่ละคำขอเป็นกรณีไป

                    
8. จีน (China) หากกำลังคิดว่าประเทศใดยากที่สุดในการขอสัญชาติ คำตอบคือประเทศจีน ในการเป็นพลเมืองจีน ผู้สมัครขอสัญชาติต้องมีเชื้อสายจีน ซึ่งหมายความว่า ต้องมีญาติพี่น้องที่มีสัญชาติจีนอย่างน้อยหนึ่งคน หากไม่มีเชื้อสายจีนแล้วจะไม่มีสิทธิ์ได้รับสัญชาติเลย แม้จะมีข้อยกเว้นบางประการสำหรับกฎนี้ แต่ก็เป็นเรื่องที่ยากมาก ๆ สัญชาติจีนสามารถได้รับจากการแต่งงานกับพลเมืองจีน อย่างไรก็ตามการสมรสจะต้องจดทะเบียนกับหน่วยงานของรัฐบาลจีนเพื่อให้ได้รับการยอมรับ นอกจากนี้ ทั้งคู่ต้องอาศัยอยู่ในประเทศจีนเป็นเวลาอย่างน้อยสองปีก่อนที่จะสามารถยื่นขอสัญชาติได้ หากมีคุณสมบัติตรงตามข้อกำหนด สามารถเริ่มขั้นตอนการสมัครได้โดยส่งเอกสารที่จำเป็นไปยังสถานทูตหรือสถานกงสุลจีนที่ใกล้ที่สุด ขั้นตอนการสมัครอาจใช้เวลาหลายเดือนจึงจะเสร็จสมบูรณ์ (แนะนำให้ใช้บริการทนายความเพื่อช่วยในเรื่องเอกสาร)
                       

9. เกาหลีเหนือ (North Korea) เป็นอีกประเทศที่ยากที่สุดในการขอ Permanent Residence (PR) หรือใบอนุญาตอยู่ถาวร เหตุผลหลายประการรวมถึงข้อเท็จจริงที่ว่าเกาหลีเหนือไม่อนุญาตให้ถือสองสัญชาติ และกำหนดให้พลเมืองทุกคนต้องสละสัญชาติเดิมของตน นอกจากนี้ เกาหลีเหนือยังมีข้อกำหนดที่เข้มงวดสำหรับผู้สมัคร ซึ่งรวมถึงอายุขั้นต่ำ 21 ปี ประวัติอาชญากรรมที่สะอาด และการศึกษาในระดับหนึ่ง นอกจากนี้ ผู้ขอสัญชาติเกาหลีเหนือยังต้องผ่านขั้นตอนการสมัครที่ใช้เวลานานและยุ่งยาก ซึ่งรวมถึงการสัมภาษณ์และการสอบที่ไม่ง่ายเลยอีกด้วย

                      

10. ญี่ปุ่น (Japan) ประเทศหมู่เกาะซึ่งเป็นหนึ่งในประเทศที่ขอสัญชาติได้ยากที่สุดประเทศหนึ่ง กระบวนการนี้ใช้เวลานานและลำบาก และต้องใช้ทั้งเวลาและเงินจำนวนมาก ในการเริ่มต้น ผู้สมัครที่คาดหวังจะต้องอาศัยอยู่ในญี่ปุ่นเป็นเวลาอย่างน้อยห้าปี ในช่วงเวลาดังกล่าว ต้องมีวีซ่าทำงานที่ถูกต้องและไม่มีประวัติอาชญากรรม และยังต้องผ่านการทดสอบภาษาญี่ปุ่นที่เข้มงวดด้วย เมื่อคุณสมบัติครบตามข้อกำหนดเหล่านี้แล้ว จะต้องส่งใบสมัครโดยละเอียดไปยังกระทรวงยุติธรรม ใบสมัครประกอบด้วยลายนิ้วมือ รูปถ่าย และข้อมูลส่วนตัวอื่น ๆ โดยอาจใช้เวลาหลายเดือนหรือหลายปีกว่าจะได้รับการตอบกลับจากกระทรวงว่า ใบสมัครได้รับการอนุมัติหรือปฏิเสธ และแม้ว่าผู้สมัครจะโชคดีพอที่จะได้รับสัญชาติญี่ปุ่น แต่ก็มีข้อจำกัดบางประการที่มาพร้อมกับการขอสัญชาติ ตัวอย่างเช่น ชาวญี่ปุ่นไม่ได้รับอนุญาตให้ถือสองสัญชาติ โดยต้องสละสัญชาติเดิม และสาบานว่าจะจงรักภักดีต่อจักรพรรดิแห่งญี่ปุ่น

‘สี จิ้นผิง’ ยอมรับ!! ผ่านสุนทรพจน์อวยพรปีใหม่ ‘เศรษฐกิจจีน’ กำลังอยู่ในช่วง ‘ยากลำบาก’

(3 ม.ค. 67) CNN ของสหรัฐฯรายงานว่าเมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา ถือเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่ประธานาธิบดีจีน สี จิ้นผิง เข้ารับตำแหน่งในฐานะผู้นำประเทศเมื่อปี 2013 ที่เขาได้ออกมายอมรับถึงสภาพปัญหาวิกฤตเศรษฐกิจจีนว่ามีอยู่จริง

เป็นการเปิดเผยผ่านสุนทรพจน์อวยพรปีใหม่ประจำปี 2024 ในวันอาทิตย์(31 ธ.ค)นี้มีใจความว่า

“มีบางบริษัทกำลังอยู่ในช่วงเวลาที่ยากลำบาก ประชาชนบางคนกำลังมีปัญหาในการหางานทำและเพื่อทำให้สามารถอิ่มท้องและอยู่ได้ไปวันๆ”

และเขาต่อว่า “ทั้งหมดเหล่านี้ยังคงเป็นปราการด่านหน้าอยู่ในใจของผม” ผู้นำจีนชี้ว่า “พวกเราจะทำให้เข้มแข็งและเพิ่มความแข็งแกร่งต่อโมเมนตัมการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจของพวกเรา”

ทั้งนี้ไม่กี่ชั่วโมงก่อนที่สีจะขึ้นกล่าวสำนักงานสถิติแห่งชาติจีน NBS (National Bureau of Statistics) ได้เผยแพร่ดัชนีประจำเดือนผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ PMI(Purchasing Managers Index) ซึ่งดัชนีที่ว่านี้เพื่อสำรวจธุรกิจเอกชนทั่วโลก หากดัชนี PMI สูงกว่า/ต่ำกว่า ระดับ 50 หมายถึง แนวโน้มเศรษฐกิจและภาวะธุรกิจโดยรวมมีทิศทางดีขึ้น/แย่ลง

ซึ่งจากการเปิดเผยแสดงถึงความเคลื่อนไหวทางอุตสาหกรรมจีนลดลงต่ำสุดในรอบ 6 เดือนที่เดือนธันวาคม

สำนักงานสถิติแห่งชาติจีน NBS กล่าวผ่านแถลงการณ์มีใจความว่า ตัวเลขดัชนีอุตสาหกรรมจีนอย่างเป็นทางการตกไปที่ 49 ในเดือนที่ผ่านมา ต่ำกว่า 49.4 ในเดือนพฤศจิกายน

CNN รายงานว่าซึ่งหากตัวเลขดัชนีสูงกว่า 50 แสดงถึงการขยายตัวและหากต่ำกว่า 50 แสดงถึงการหดตัว ซึ่งตัวเลข PMI เดือนธันวาคมยังเป็นเดือนที่ 3 ติดต่อกันแสดงการหดตัวทางอุตสาหกรรม

เกิดขึ้นในช่วงเวลาที่ประเทศที่มีเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับ 2 ของโลกกำลังเผชิญหน้ากับความท้าทายจากปัญหาอุปสงค์(demand) ที่อ่อนตัว การว่างงานเพิ่มขึ้นและความไม่มั่นใจทางธุรกิจ

การกวาดล้างของรัฐบาลจีนทางธุรกิจโดยใช้ข้ออ้างเหตุผลทางความมั่นคงจีนนั้นทำให้นักลงทุนต่างประเทศหนี

ทั้งนี้ในวันเสาร์(30 ธ.ค)ธนาคารกลางจีนได้ประกาศไฟเขียวยกเลิกการควบคุมของผู้ถือหุ้นของบริษัท Alipay ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มดิจิทัลทางการเงินยักษ์ใหญ่ของจีนที่สามารถพบได้ในต่างประเทศรวมในไทย โดย Alipay เป็นของ Ant Group ที่มีเศรษฐีพันล้านจีน แจ็ก หม่า เป็นผู้ก่อตั้งร่วม

ซึ่งการไฟเขียวนี้ CNN หมายความว่า แจ็ก หม่านั้นยกเลิกการควบคุมในบริษัทนี้อย่างเป็นทางการ

‘ไทย’ คว้าอันดับ 63 ‘พาสปอร์ตทรงอิทธิพล’ 2024 อันดับดีขึ้นจากปีก่อน ส่วนอันดับ 1 ครองร่วม 6 ชาติ

(11 ม.ค. 67) ‘ประเทศไทย’ ติดอันดับ 63 ในการจัดอันดับดัชนีพาสปอร์ตของเฮนลี่ย์ (Henley Passport Index) ประจำปี 2567 โดยขยับขึ้นจากอันดับ 64 ในปี 2566 และ 70 ในปี 2565

โดยปัจจุบันพาสปอร์ตของไทยสามารถใช้เดินทางสู่จุดหมายต่าง ๆ โดยไม่ต้องขอวีซ่าได้ทั้งสิ้น 82 จุดหมายปลายทาง เช่น ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ รัสเซีย ตุรกี อิรัก และบราซิล ซึ่งเพิ่มจาก 79 ประเทศในปีที่แล้ว

ขณะที่อันดับ 1 ในปีนี้เป็นการครองอันดับร่วมกันถึง 6 ประเทศด้วยกันคือ ประเทศสมาชิกสหภาพยุโรป 4 ประเทศ ได้แก่ ‘ฝรั่งเศส เยอรมนี อิตาลี และสเปน’ ซึ่งครองอันดับหนึ่งร่วมกับ ‘ญี่ปุ่น’ และ ‘สิงคโปร์’ ขึ้นแท่นพาสปอร์ตที่ทรงอิทธิพลที่สุดในโลก

พลเมืองของประเทศเหล่านี้สามารถเดินทางไปยังจุดหมายต่างๆ โดยไม่ต้องขอวีซ่าได้มากถึง 194 แห่งจาก 227 แห่งทั่วโลก โดยเฉพาะญี่ปุ่นและสิงคโปร์นั้น ครองอันดับ 1 ในดัชนีดังกล่าวมา 5 ปีแล้ว

ทั้งนี้ ดัชนีดังกล่าวจัดอันดับหนังสือเดินทางทั่วโลก โดยประเมินตามจำนวนจุดหมายปลายทางที่ผู้ถือหนังสือเดินทางเข้าประเทศได้โดยไม่ต้องขอวีซ่า

ทางด้านเจ้าของสมญานามเสือเอเชียอย่าง ‘เกาหลีใต้’ ตามมาเป็นอันดับ 2 ร่วมกับ ‘ฟินแลนด์’ และ ‘สวีเดน’ ซึ่งสามารถเดินทางไปยังจุดหมายต่างๆ ได้โดยไม่ต้องขอวีซ่า 193 แห่ง

ส่วนอีก 4 ประเทศสมาชิกของสหภาพยุโรปอย่าง ออสเตรีย เดนมาร์ก ไอร์แลนด์ และเนเธอร์แลนด์ ครองอันดับ 3 โดยสามารถเดินทางไปยังจุดหมายต่างๆ ได้ 192 แห่ง

ขณะที่อันดับที่เหลือใน 10 อันดับแรกส่วนใหญ่ตกเป็นของประเทศในแถบยุโรป โดยพาสปอร์ตของ ‘สหราชอาณาจักร’ ไต่ขึ้นสองอันดับมาอยู่ที่อันดับ 4 ซึ่งสามารถเดินทางไปยังจุดหมายต่างๆ โดยไม่ต้องขอวีซ่าได้ 191 แห่ง เทียบกับเพียง 188 แห่งในปีที่แล้ว

ผู้ถือหนังสือเดินทางของ ‘ออสเตรเลีย’ และ ’นิวซีแลนด์’ ต่างไต่ขึ้นมาอยู่ที่อันดับ 6 ซึ่งสามารถเดินทางไปยังจุดหมายต่างๆ โดยไม่ต้องขอวีซ่าได้ 189 แห่ง ส่วนหนังสือเดินทางของ ‘สหรัฐ’ ยังรั้งอันดับ 7 โดยสามารถเดินทางไปยังจุดหมายปลายทางต่างๆ ได้ 188 แห่งโดยไม่ต้องขอวีซ่า

ทั้งนี้ นับมาเป็นเวลาถึงหนึ่งทศวรรษแล้วนับตั้งแต่ที่สหราชอาณาจักรและสหรัฐร่วมกันครองอันดับ 1 ในดัชนีดังกล่าวเมื่อปี 2557

สำหรับ 10 ชาติในกลุ่มประเทศ ‘อาเซียน’ นั้น นำโดยสิงคโปร์ มาเลเซีย บรูไน ไทย และอินโดนีเซีย 

รู้หรือไม่? ‘หนี้สาธารณะ’ ต่อ GDP ถือตัวชี้วัดอย่างหนึ่งที่ใช้วัดความยั่งยืนทางการคลังของแต่ละประเทศ

รู้หรือไม่? ‘หนี้สาธารณะ’ ต่อ GDP ถือตัวชี้วัดอย่างหนึ่งที่ใช้วัดความยั่งยืนทางการคลังของแต่ละประเทศ 🌏 แล้วประเทศไหนมี ‘หนี้สาธารณะ’ สูงที่สุดในโลกประจำปี 2566 ไปดูกันเลย!! 🪙📈


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top