Sunday, 19 May 2024
ตรีนุชเทียนทอง

ห้ามมีแป๊ะเจี๊ยะ!! 'ตรีนุช' เตือน โรงเรียนดัง ห้ามมีแป๊ะเจี๊ยะเด็ดขาด ลั่น ไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง เด็กทุกคนมีที่เรียนแน่นอน

'ตรีนุช' เตือน โรงเรียนดัง แข่งขันสูง รับนักเรียนปี 65 ห้ามมีแป๊ะเจี๊ยะเด็ดขาด ยึดหลัก โปร่งใส ตรงไปตรงมา คัดเลือกนักเรียนที่มีความสามารถแท้จริง ยันเด็กทุกคนมีที่เรียนแน่นอน

(28..65) นางสาวตรีนุช เทียนทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (รมว.ศธ.) กล่าวว่า ตามที่สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ได้ประกาศปฏิทินรับนักเรียน ประจำปีการศึกษา 2565 โดยก่อนประถมศึกษา รับสมัครวันที่ 12-15 กุมภาพันธ์ 65 จับฉลาก วันที่ 19 กุมภาพันธ์ 65 ประกาศผลวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 65 รายงานตัววันที่ 19 กุมภาพันธ์ 65 และมอบตัววันที่ 26 กุมภาพันธ์ 65

ประถมศึกษาปีที่ 1 รับสมัครวันที่ 23-27 กุมภาพันธ์ 65 จับฉลากวันที่ 5 มีนาคม 65 ประกาศผลวันที่ 5 มีนาคม 65 รายงานตัว 5 มีนาคม 65 มอบตัววันที่ 12 มีนาคม 65

มัธยมศึกษาปีที่ 1 รับสมัครวันที่ 9-13 มีนาคม 65 สอบคัดเลือกวันที่ 26 มีนาคม 65 ประกาศผลวันที่ 30 มีนาคม 65 รายงานตัววันที่ 30 มีนาคม 65 จับฉลากวันที่ 1 เมษายน 65 ประกาศผลจับฉลากและรายงานตัววันที่ 1 เมษายน 65 มอบตัววันที่ 2 เมษายน

มัธยมศึกษาปีที่ 4 ประเภทสอบคัดเลือก สมัครวันที่ 9-13 มีนาคม 65 สอบคัดเลือกวันที่ 27 มีนาคม 65 ประกาศผลวันที่ 31 มีนาคม 65 และรายงานตัววันที่ 31 มีนาคม 65 มอบตัววันที่ 3 เมษายน 65

โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา กรุงเทพมหานคร และโรงเรียนเตรียมศึกษาภูมิภาค รับสมัครวันที่ 19-23 กุมภาพันธ์ 65 สอบคัดเลือกวันที่ 5 มีนาคม 65 ประกาศผลวันที่ 12 มีนาคม 65 รายงานตัววันที่ 15 มีนาคม 65 มอบตัววันที่ 21 มีนาคม 65 นั้น

นางสาวตรีนุช ได้กล่าวว่า ในส่วนการรับนักเรียนในปีการศึกษานี้ของ ม.1 และ 4 ตนขอฝากให้โรงเรียนทุกแห่งมีการดำเนินการที่โปร่งใสและเป็นธรรม อย่าให้มีการเรียกรับเงินเพื่อแลกที่นั่งเรียนเกิดขึ้นอย่างเด็ดขาด โดยเฉพาะโรงเรียนดังที่มีอัตราการแข่งขันสูง ซึ่งการรับนักเรียนจะต้องดำเนินการอย่างตรงไปตรงมา และคัดเลือกผู้เข้าเรียนที่มีความรู้ความสามารถ โดยยืนยันว่าเด็กทุกคนจะมีที่เรียนอย่างแน่นอน เพราะนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เราจะไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง เนื่องจากผู้เรียนทุกคนจะต้องเข้าถึงระบบการศึกษาอย่างเท่าเทียม

‘ตรีนุช’ พร้อมเปิดกว้างเสรีทรงผมนักเรียน ชี้ ให้ รร.กำหนดได้ตามความเหมาะสม

‘ตรีนุช เทียนทอง’ เปิดกว้าง เสรีทรงผมนักเรียน ยอมรับแม้นโยบายจากส่วนกลางไม่ปิดกั้น แต่บาง รร.อาจยังยึดตามระเบียบทรงผมที่ต้องให้เกิดความเหมาะสม ลั่น ศธ.ไม่เห็นด้วยการกล้อนผมลงโทษ นร.

17 พ.ค.2565- นางสาวตรีนุช เทียนทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (รมว.ศธ.) กล่าวถึงการระเบียบทรงผมนักเรียน ว่า กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เปิดกว้างเรื่องการไว้ทรงผมนักเรียน ซึ่งระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ ว่า ด้วยการไว้ทรงผมของนักเรียน พ.ศ. 2563 ข้อ 4 นักเรียนชายจะไว้ผมสั้นหรือยาวก็ได้ กรณีไว้ผมยาวด้านหลังต้องยาวไม่เลยตีนผม ด้านหน้าและกลางตามความเหมาะสม นักเรียนหญิงจะไว้ผมสั้นหรือยาวก็ได้ กรณีไว้ยาวให้เป็นไปตามความเหมาะสมและรวบให้เรียบร้อย และข้อ 7 กำหนดให้สถานศึกษาโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการสถานศึกษาหรือคณะกรรมการบริหารโรงเรียนวางระเบียบเกี่ยวกับการไว้ทรงผมของนักเรียนที่มีความเฉพาะเจาะจงได้
 

‘ตรีนุช’ โชว์สอนประวัติศาสตร์แนวใหม่ ชู ‘สื่อดิจิทัล’ เป็นเครื่องมือหลักสร้างการเรียนรู้

‘ตรีนุช’ จัดเต็ม สอนประวัติศาสตร์แนวใหม่ AR, Podcast, TiKTok, Animation,Live นายกฯ  กำชับ ต้องรู้เรื่องใกล้ตัว

(6 ธ.ค. 65) ที่ตึกสันติไมตรี ทำเนียบรัฐบาล กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) โดยสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ได้จัดนิทรรศการ 'การจัดการเรียนการสอนประวัติศาสตร์' โดยมีพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และ คณะรัฐมนตรี ร่วมชมนิทรรศการ ซึ่งนางสาวตรีนุช เทียนทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (รมว.ศธ.) กล่าวว่า กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ได้ประกาศนโยบายและจุดเน้นเรื่องการจัดการเรียนการสอนประวัติศาสตร์ ประจำปีงบประมาณ 2566 โดยการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอนประวัติศาสตร์ หน้าที่พลเมือง และศีลธรรม ให้มีความทันสมัย น่าสนใจ เหมาะสมกับวัยของผู้เรียน ควบคู่ไปกับการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ของท้องถิ่น และการเสริมสร้างวิถีชีวิตของความเป็นพลเมืองที่เข้มแข็ง ซึ่งจัดนิทรรศการในวันนี้ ศธ.ต้องการสะท้อนให้เห็นถึงการส่งเสริมการจัดการเรียนการสอนประวัติศาสตร์ ใน 4 ส่วน ดังนี้

ส่วนแรก วิชาประวัติศาสตร์ประกาศความเป็นไทย ปรับโครงสร้างเวลาเรียนรายวิชาพื้นฐาน ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2551 โดยได้จัดทำร่างประกาศ ศธ.เรื่อง การบริหารจัดการโครงสร้างหลักสูตรสถานศึกษา 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้ และ 1 รายวิชาพื้นฐานประวัติศาสตร์ ของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน หรือ โครงสร้าง 8+1 เพื่อให้สถานศึกษานำไปใช้ในการส่งเสริมการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ โดยใช้กระบวนการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) ด้วยวิธีการที่หลากหลาย ทั้งในมิติของการจัดการเรียนรู้ การวัดและประเมินผล และการใช้สื่อและแหล่งเรียนรู้

รมว.ศธ.กล่าวต่อไปว่า ส่วนที่ 2 การนำเสนอ Best Practice จากโรงเรียนในสังกัด สพฐ. เช่น โรงเรียนสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่ นำเสนอ 'เรียนรู้ประวัติศาสตร์ใกล้ตัว สู่การสร้างสรรค์ชุมชนอย่างยั่งยืน' ที่มุ่งเน้นการหาความรู้จากชุมชนใกล้ตัวของผู้เรียน และจัดทำสื่อถ่ายทอดประสบการณ์ลงสื่อสังคมออนไลน์ เช่น Podcast, TiKTok, Live เพื่อสร้างการรับรู้ในประวัติความเป็นมาผลิตภัณฑ์ชุมชน จุดเด่น เอกลักษณ์ และความภาคภูมิใจ, โรงเรียนอยุธยาวิทยาลัย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา นำเสนอ 'เรียนรู้อย่างภูมิใจสู่นักประวัติศาสตร์ไทยรุ่นเยาว์' เริ่มต้นจากการศึกษาประวัติศาสตร์ไทยในห้องเรียน ด้วยสื่อ Animation 'The Diary' และ การเรียนรู้ในห้องเรียน ขยายสู่การเรียนรู้จากแหล่งเรียนประวัติศาสตร์รอบโรงเรียน จากการเรียนรู้ เป็นการเห็นคุณค่า สู่ความภาคภูมิใจ และจิตอาสามัคคุเทศก์น้อย

'ตรีนุช' ออกประกาศ ยกเลิกระเบียบทรงผมนักเรียน ให้ทุกฝ่ายของสถานศึกษาพิจารณาตามความเหมาะสม

( 24 ม.ค. 66) นางสาวตรีนุช เทียนทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (รมว.ศธ.) เปิดเผยว่า ตามที่มีเสียงเรียกร้องให้มีการแก้ไขปรับปรุงระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ว่าด้วยการไว้ทรงผมของนักเรียน พ.ศ. 2563 มาอย่างต่อเนื่อง ที่สำคัญการลงโทษเรื่องทรงผมได้ส่งผลถึงร่างกายและจิตใจของนักเรียน ศธ.จึงได้มีหนังสือหารือไปยังสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา กรณีแนวปฏิบัติเกี่ยวกับการไว้ทรงผมของนักเรียน ซึ่งคณะกรรมการกฤษฎีกา (คณะที่ 8) ได้ให้ความเห็นว่า รมว.ศธ.ในฐานะผู้บังคับบัญชาสูงสุดอาจอาศัยอำนาจตามมาตรา 12 ประกอบกับมาตรา 39 (1) แห่ง พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ.2546 กำหนดเป็นนโยบายให้หน่วยงานในสังกัดนำไปปฏิบัติได้

ดังนั้น เมื่อวันที่ 16 มกราคม 2566 ที่ผ่านมา ตนจึงได้ลงนามในระเบียบ ศธ.ว่าด้วยการยกเลิกระเบียบ ศธ.ว่าด้วยการไว้ทรงผมของนักเรียน พ.ศ.2563 และเสนอสำนักงานเลขาธิการคณะรัฐมนตรี เพื่อประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วออกเป็นหนังสือสั่งการหรือหนังสือเวียน กำหนดแนวปฏิบัติเกี่ยวกับการไว้ทรงผมของนักเรียนหรือนักศึกษาไว้อย่างกว้าง ๆ เพื่อให้หน่วยงานในสังกัดที่เป็นผู้กำกับดูแลสถานศึกษา กำหนดให้สถานศึกษาแต่ละแห่งนำหลักเกณฑ์ในเรื่องดังกล่าวไปกำหนดเป็นระเบียบ หรือข้อบังคับของสถานศึกษาแต่ละแห่งเอง

รมว.ศธ.กล่าวต่อไปว่า ขณะนี้ ศธ.ได้ยกร่างแนวนโยบายเกี่ยวกับการไว้ทรงผมของนักเรียนของสถานศึกษา ไว้ดังนี้

1.) การไว้ทรงผมของนักเรียนของสถานศึกษาในสังกัด ศธ. และสถานศึกษาในกำกับดูแลของ ศธ. จะไว้ผมสั้นหรือผมยาวก็ได้ โดยสถานศึกษาอาจกำหนดลักษณะทรงผมได้ตามพันธกิจ บริบท และความเหมาะสมของแต่ละสถานศึกษา

2.) สถานศึกษาในสังกัด ศธ.และสถานศึกษาในกำกับดูแลของ ศธ.อาจดำเนินการกำหนดแนวปฏิบัติเกี่ยวกับไว้ทรงผมของนักเรียนได้ โดยการวางระเบียบหรือข้อบังคับของสถานศึกษา และควรระบุบทอาศัยอำนาจของกฎหมายเฉพาะมาตรา 39 (1) แห่ง พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. 2546

จัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นจากผู้มีส่วนได้เสีย หรือผู้มีส่วนเกี่ยวข้องตามหลักการมีส่วนร่วม เช่น นักเรียน คณะกรรมการสภานักเรียน คณะกรรมการเครือข่ายผู้ปกครอง หรือ ผู้แทนผู้ปกครอง ชุมชนท้องถิ่น บุคคลหรือกลุ่มบุคคลอื่นใดที่หัวหน้าสถานศึกษาเห็นสมควร เป็นต้น

‘ครุสภา’ ผุด!! กรอบแนวคิดมาตรฐานความรู้วิชาชีพครู อบรม 420 ชั่วโมง เสริมดีกรีแม่พิมพ์ฝึกหัดให้ทำงานได้

เมื่อวานนี้ (22 ก.พ. 66) น.ส.ตรีนุช เทียนทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เปิดเผยภายหลังเป็นประธานการประชุมคณะกรรมการคุรุสภา ว่า ที่ประชุมรับทราบความก้าวหน้าการดำเนินงานพัฒนาผู้ได้รับยกเว้นไม่ต้องมีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพควบคุมเป็นการชั่วคราว ให้มีมาตรฐานความรู้วิชาชีพเพื่อเป็นคุณสมบัติในการรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู ทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ ซึ่งการดำเนินงานนี้ มีเป้าหมายว่าจะทำอย่างไรให้ผู้ที่มีความรู้ความสามารถในแต่ละสาขาวิชานั้น ๆ แต่ไม่ได้เรียนจบครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์ สามารถเป็นครู และได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ 

ซึ่งที่ผ่านมา ทางคุรุสภาได้ยกเลิกหลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิต หรือ ป.บัณฑิต ไปแล้ว ดังนั้นครุสภาได้ไปจัดทำหลักสูตรใหม่ เพื่อให้มีความยืดหยุ่นมากขึ้น โดยสถาบันคุรุพัฒนา ได้จัดทำกรอบแนวคิดและมาตรฐานหลักสูตรอบรมมาตรฐานความรู้วิชาชีพครู จำนวน 7 โมดูล (Module) ดังนี้ 

1.) การเปลี่ยนแปลงบริบทของโลก สังคม และแนวคิดของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง 
2.) จิตวิทยาพัฒนาการ จิตวิทยาการศึกษา และจิตวิทยาให้คำปรึกษาในการวิเคราะห์และพัฒนาผู้เรียนตามศักยภาพ 
3.) เนื้อหาวิชาที่สอน หลักสูตร ศาสตร์การสอน และเทคโนโลยีดิจิทัลในการจัดการเรียนรู้

‘ตรีนุช’ นำทีมเปิดงานมหกรรมการเงินเพื่อครูไทย เดินหน้าแก้หนี้ครูใน 8 จังหวัดภาคตะวันออก

(11 มี.ค. 66) นางสาวตรีนุช เทียนทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (รมว.ศธ.) เป็นประธานในพิธีเปิดงานมหกรรมการเงินเพื่อครูไทย 'Unlock a Better Life' สร้างโอกาสใหม่เพื่อชีวิตครูไทยที่ดีกว่า ครั้งที่ 3 ในภาคตะวันออก ระหว่างวันที่ 11-12 มีนาคม พ.ศ. 2566 ณมหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตสระแก้ว จังหวัดสระแก้ว 

นางสาวตรีนุช เทียนทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (รมว.ศธ.) เป็นประธานในพิธีเปิดงานมหกรรมการเงินเพื่อครูไทย 'Unlock a Better Life' สร้างโอกาสใหม่เพื่อชีวิตครูไทยที่ดีกว่า ครั้งที่ 3 ในภาคตะวันออก ระหว่างวันที่ 11-12 มีนาคม พ.ศ. 2566 ณ มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตสระแก้ว จังหวัดสระแก้ว สำหรับครูในภาคตะวันออก 8 จังหวัด ได้แก่ สระแก้ว ปราจีนบุรี นครนายก จันทบุรี ตราด ชลบุรี ฉะเชิงเทรา และระยอง โดยตั้งเป้าหมายแก้ไขปัญหาหนี้สินครูในภูมิภาคนี้กว่า 4,252 ล้านบาท เพื่อให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษามีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น โดยมีผู้บริหารกระทรวงศึกษาธิการและหน่วยงานในพื้นที่เข้าร่วม อาทิ นายสุทิน แก้วพนา รองปลัดกระทรวงศึกษาธิการ นายอัมพร พินะสา เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ว่าที่ร้อยตรี ธนุ วงษ์จินดา เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา นายเชาวเนตร ยิ้มประเสริฐ รองผู้ว่าราชการจังหวัดสระแก้ว รวมถึงผู้บริหารสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ครู และบุคลากรทางการศึกษา เข้าร่วมกว่า 2,000 คน

นางสาวตรีนุช กล่าวว่า ตามที่รัฐบาลได้ตั้งเป้าหมายแก้ไขหนี้ภาคครัวเรือนนั้น กระทรวงศึกษาธิการที่มีบทบาทในการดูแลสวัสดิการและสวัสดิภาพแก่ครูและบุคลากรทางการศึกษา ได้เร่งรัดการขับเคลื่อนตามนโยบายแก้ไขปัญหาหนี้สินครูและบุคลากรทางการศึกษาอย่างเต็มที่ ด้วยกลไกเจรจาลดดอกเบี้ยกับสหกรณ์ออมทรัพย์ครู การปรับโครงสร้างหนี้กับสถาบันการเงิน การจัดตั้งสถานีแก้หนี้ร่วมช่วยแก้ปัญหาลดหนี้สิน และการให้ความรู้ทางด้านวินัยการเงินและการลงทุน เพื่อสร้างความแข็งแรงให้กับครูไทยได้มีสุขภาพทางการเงินที่ดี โดยได้ดำเนินการจัดงานมหกรรมการเงินเพื่อครูไทยในส่วนกลาง เมื่อช่วงสิ้นปี 2565 และขยายผลสู่ทั่วประเทศด้วยงานมหกรรมการเงินเพื่อครูไทย 4 ภูมิภาค ซึ่งได้จัดขึ้นครั้งแรกที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ สำหรับกลุ่ม 4 จังหวัด ได้แก่ กาฬสินธุ์ ร้อยเอ็ด มหาสารคาม และขอนแก่น ซึ่งสามารถช่วยแก้ไขปัญหาหนี้ครูแบบพุ่งเป้าที่กลุ่มลูกหนี้วิกฤติได้กว่า 784,661,570.43 บาท 

นางสาวตรีนุช กล่าวต่อว่า การจัดงานมหกรรมการเงินเพื่อครูไทย สำหรับครูไทยภาคตะวันออกในครั้งนี้ ตั้งเป้าหมายช่วยเหลือครูที่มีปัญหาหนี้สินกว่า 2,000 ราย จำนวนมูลหนี้ประมาณ 4,252 ล้านบาท โดยเป็นกลุ่มลูกหนี้วิกฤติ 205 ราย จำนวนมูลหนี้ประมาณ 173.4 ล้านบาท ซึ่งจะพุ่งเป้าหมายให้ความช่วยเหลือกลุ่มลูกหนี้วิกฤติเป็นสำคัญ เนื่องจากเป็นกลุ่มที่ต้องการความช่วยเหลืออย่างเร่งด่วนที่สุด ซึ่งที่ผ่านมา กระทรวงศึกษาธิการมีการจัดการแก้ไขปัญหาหนี้ครูอย่างเต็มที่ เช่น การเจรจาขอลดดอกเบี้ยจากสหกรณ์ออมทรัพย์ครูที่เป็นเจ้าหนี้รายใหญ่ของครูทั้งประเทศ มีการตั้งสถานีแก้หนี้ครู 558 สถานีเพื่อเป็นกลไกช่วยเหลือครูในระดับเขตพื้นที่ ฯลฯซึ่งได้ดำเนินการมาก่อนหน้านี้แล้ว ทำให้เป้าหมายการแก้ไขปัญหาหนี้ครูในภูมิภาคนี้โดยเฉพาะกลุ่มลูกหนี้วิกฤติมีจำนวนไม่มาก การจัดงานมหกรรมการเงินเพื่อครูไทยในครั้งนี้ จึงเป็นการจัดการปัญหาหนี้ในเชิงรุก ที่จะช่วยให้ครูในกลุ่มที่ยังต้องการความช่วยเหลือสามารถเข้าถึงสิทธิประโยชน์ทางการเงินสำหรับครูมากยิ่งขึ้น

‘ตรีนุช’ กางโรดแมป 60 วัน ยุบ ‘กศน.’ ตั้ง ‘กสร.’ ยกฐานะเป็นนิติบุคคลใต้ ศธ.

(23 มี.ค.66) น.ส.ตรีนุช เทียนทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เปิดเผยว่า ตามที่ พ.ร.บ.ส่งเสริมการเรียนรู้ พ.ศ.2566 ได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา และมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 19 มีนาคม ที่ผ่านมานั้น จากนี้ภายใน 60 วันหลังพ.ร.บ.มีผลบังคับใช้ หรือภายในวันที่ 19 พฤภาคม 2566 พ.ร.บ. ส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย พ.ศ. 25561 จะถูกยกเลิก และยกฐานะสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย (กศน.) จากหน่วยงานภายใต้สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ (สป.ศธ.) เป็น กรมส่งเสริมการเรียนรู้ (กสร.) ที่มีฐานะเป็นนิติบุคคล ภายในกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) มีอำนาจหน้าที่ในการจัดการเรียนรู้ 3 รูปแบบ คือ 1.การเรียนรู้ตลอดชีวิต 2.การเรียนรู้เพื่อการพัฒนาตนเอง และ 3.การเรียนรู้เพื่อคุณวุฒิตามระดับ

น.ส.ตรีนุช กล่าวต่อว่า ศธ.ได้กำหนดภารกิจที่ต้องทำให้เสร็จในกรอบระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด เพื่อให้เกิดการตั้งกรมส่งเสริมการเรียนรู้ที่สมบูรณ์ เช่น กำหนดอำนาจหน้าที่ โครงสร้าง และหน่วยงานภายในของ กสร., ประสาน สป.ศธ.เพื่อออกแบบและแนวทางให้ได้มาซึ่งคณะอนุกรรมการขัาราชการพลเรือน (อ.ก.พ.) กสร. และประสานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ก.ค.ศ.) เพื่อออกแบบและแนวทางให้ได้มาซึ่งคณะอนุกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (อ.ก.ค.ศ. ) กสร., การจัดตั้ง ยุบ รวม เลิก รวมถึงโอนภารกิจ อำนาจหน้าที่ ทรัพย์สิน งบประมาณ สิทธิ หนี้สิน รวมถึงข้าราชการ ลูกจ้างและอัตรากำลังทั้งหมด จากสป.ศธ.ไปขึ้นกับกรมส่งเสริมการเรียนรู้ ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการรวบรวม วิเคราะห์ และเสนอถ่ายโอนเรื่องต่างๆ, เร่งรัดให้มีการจัดทำกฎหมายรอง ตามพ.ร.บ.ส่งเสริมการเรียนรู้ พ.ศ. 2566 เพื่อจัดเตรียมกฎหมาย ประกาศกระทรวง ประกาศกรม และระเบียบกรมไว้ เพื่อให้เกิดการจัดทำให้แล้วเสร็จทันตามกรอบของระยะเวลาในแต่ละมาตรา และ การปฏิรูปหลักสูตรการเรียนรู้ ให้สอดคล้องกับ พ.ร.บ. ส่งเสริมการเรียนรู้ เป็นต้น


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top