Sunday, 19 May 2024
ตรีนุช

ครูไทยเก่งรอบด้าน!! 'ตรีนุช' ตั้งเป้า ‘อบรมพัฒนา-เพิ่มทักษะ’ ครูไทย หวังลดความเหลื่อมล้ำ-สร้างโอกาสให้ผู้เรียน

(7 มี.ค. 66) น.ส.ตรีนุช เทียนทอง รมว.ศึกษาธิการ เปิดเผยว่า ขณะนี้ใกล้ถึงเวลาที่รัฐบาลจะยุบสภา เพื่อเลือกตั้งในปี 2566 นี้แล้ว ซึ่งในส่วนของงานการศึกษาที่ตนอยากฝากให้มีการทำงานอย่างต่อเนื่องแม้จะมีรัฐบาลชุดใหม่เข้ามาทำหน้าที่แทน โดยเฉพาะนโยบายการสร้างโรงเรียนคุณภาพด้วยการสร้างเครือข่ายโรงเรียนในพื้นที่ของโรงเรียนขนาดเล็ก อีกทั้งวางแผนเร่งดำเนินการคืนอัตรากำลังผู้บริหารและครูโรงเรียนขนาดเล็กให้เพื่อให้ทันเปิดภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 นี้ด้วย โครงการอาชีวะอยู่ประจำเรียนฟรี มีงานทำ เพราะของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ต้องการลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาและสร้างโอกาสให้แก่ผู้เรียนครบทุกมิติอย่างทั่วถึงและเท่าเทียม ซึ่งนโยบายโรงเรียนคุณภาพและโครงการอาชีวะอยู่ประจำถือเป็นนโยบายที่ตอบโจทย์เรื่องดังกล่าวอย่างดีที่สุด รวมถึงการพัฒนากระบวนการเรียนการสอนไปสู่ศตวรรษที่ 21

ต่อคำถามว่า ขณะนี้มีสิ่งใดที่กังวลและยังอยากดำเนินการให้สำเร็จหรือไม่ รมว.ศึกษาธิการ กล่าวว่า ยังมีอยู่แน่นอน ซึ่งก็คือประเด็นเรื่องการพัฒนาครู เพราะนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ต้องการพัฒนาผู้เรียนให้ไปสู่การเรียนรู้ในโลกศตวรรษที่ 21 รวมถึงการเรียนการสอนผ่านกระบวนการคิดวิเคราะห์ด้วย Active Learning ซึ่งครูผู้สอนจะต้องเติมเต็มทักษะเหล่านี้ตามผู้เรียนไปด้วย ดังนั้นจะทำอย่างไรให้ครูได้รับการพัฒนาในเรื่องนี้อย่างตลอดเวลา เพราะการพัฒนาครูตนไม่อยากมีการพัฒนาแล้วจบ ๆ ไปแต่อยากให้มีการพัฒนาครูอย่างต่อเนื่อง ดังนั้นตนมองว่าในระยะยาวอาจศธ.อาจจะต้องมีหน่วยงานกลางหรือศูนย์พัฒนาครูขึ้น เพื่อนำครูเข้ามาอบรมพัฒนาเติมเต็มความรู้ด้านการสอนไม่ว่าจะเป็นทักษะด้านดิจิทัลและภาษา โดยเรื่องการตั้งหน่วยงานกลางพัฒนาครูนั้นมีตัวอย่างของประเทศสิงค์โปรที่มีศูนย์พัฒนาครูทุกรูปแบบ ซึ่งทำได้ดีและครูประเทศสิงค์โปรมีการพัฒนาอยู่ตลอดเวลา ทั้งนี้ หากจะมีการตั้งศูนย์พัฒนาครูขึ้นจะต้องปรับโครงการ ศธ.หรือไม่นั้น ตนมองว่าก็เป็นโจทย์หนึ่งในอนาคตที่อาจจะเป็นเช่นนั้นแต่เราจะกำหนดขอบเขตการปรับโครงสร้างได้มากน้อยแค่ไหนก็คงต้องขึ้นอยู่กับรัฐบาลชุดใหม่ที่จะเข้ามาดำเนินการสานต่อไป

‘ตรีนุช’ กางโรดแมป 60 วัน ยุบ ‘กศน.’ ตั้ง ‘กสร.’ ยกฐานะเป็นนิติบุคคลใต้ ศธ.

(23 มี.ค.66) น.ส.ตรีนุช เทียนทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เปิดเผยว่า ตามที่ พ.ร.บ.ส่งเสริมการเรียนรู้ พ.ศ.2566 ได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา และมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 19 มีนาคม ที่ผ่านมานั้น จากนี้ภายใน 60 วันหลังพ.ร.บ.มีผลบังคับใช้ หรือภายในวันที่ 19 พฤภาคม 2566 พ.ร.บ. ส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย พ.ศ. 25561 จะถูกยกเลิก และยกฐานะสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย (กศน.) จากหน่วยงานภายใต้สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ (สป.ศธ.) เป็น กรมส่งเสริมการเรียนรู้ (กสร.) ที่มีฐานะเป็นนิติบุคคล ภายในกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) มีอำนาจหน้าที่ในการจัดการเรียนรู้ 3 รูปแบบ คือ 1.การเรียนรู้ตลอดชีวิต 2.การเรียนรู้เพื่อการพัฒนาตนเอง และ 3.การเรียนรู้เพื่อคุณวุฒิตามระดับ

น.ส.ตรีนุช กล่าวต่อว่า ศธ.ได้กำหนดภารกิจที่ต้องทำให้เสร็จในกรอบระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด เพื่อให้เกิดการตั้งกรมส่งเสริมการเรียนรู้ที่สมบูรณ์ เช่น กำหนดอำนาจหน้าที่ โครงสร้าง และหน่วยงานภายในของ กสร., ประสาน สป.ศธ.เพื่อออกแบบและแนวทางให้ได้มาซึ่งคณะอนุกรรมการขัาราชการพลเรือน (อ.ก.พ.) กสร. และประสานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ก.ค.ศ.) เพื่อออกแบบและแนวทางให้ได้มาซึ่งคณะอนุกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (อ.ก.ค.ศ. ) กสร., การจัดตั้ง ยุบ รวม เลิก รวมถึงโอนภารกิจ อำนาจหน้าที่ ทรัพย์สิน งบประมาณ สิทธิ หนี้สิน รวมถึงข้าราชการ ลูกจ้างและอัตรากำลังทั้งหมด จากสป.ศธ.ไปขึ้นกับกรมส่งเสริมการเรียนรู้ ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการรวบรวม วิเคราะห์ และเสนอถ่ายโอนเรื่องต่างๆ, เร่งรัดให้มีการจัดทำกฎหมายรอง ตามพ.ร.บ.ส่งเสริมการเรียนรู้ พ.ศ. 2566 เพื่อจัดเตรียมกฎหมาย ประกาศกระทรวง ประกาศกรม และระเบียบกรมไว้ เพื่อให้เกิดการจัดทำให้แล้วเสร็จทันตามกรอบของระยะเวลาในแต่ละมาตรา และ การปฏิรูปหลักสูตรการเรียนรู้ ให้สอดคล้องกับ พ.ร.บ. ส่งเสริมการเรียนรู้ เป็นต้น


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top