Friday, 17 May 2024
ดินแดนแห่งภูมิคุ้มกัน

จัดโชว์ประเทศไทย ในงาน world expo ที่ญี่ปุ่น เพื่อแสดงศักยภาพ เน้นให้ทั่วโลก เข้าถึงภูมิแบบไทย ดินแดนที่อุดมสมบูรณ์ไปด้วยทรัพยากร

เมื่อวานนี้ (5 เม.ย.67) เพจเฟซบุ๊ก ‘ARCHITECTS 49 LIMITED’ ได้โพสต์ข้อความ เกี่ยวกับ อาคารแสดงประเทศไทย (Thailand Pavilion World Expo 2025) ในงาน world expo 2025 ณ กรุงโอซาก้า ประเทศญี่ปุ่น ภายใต้แนวคิดหลัก ‘ภูมิพิมาน ดินแดนแห่งภูมิคุ้มกัน’ ที่จะเชื่อมต่อชาวโลกให้เข้าถึงภูมิแบบไทย ๆ โดยได้ระบุว่า ...

‘ภูมิพิมาน ดินแดนแห่งภูมิคุ้มกัน’ Thailand Pavilion อาคารแสดงประเทศไทย ในงาน world expo 2025 

อาคารแสดงประเทศไทย (Thailand Pavilion World Expo 2025) ในงาน world expo 2025 ณ กรุงโอซาก้า ประเทศญี่ปุ่น ภายใต้แนวคิดหลัก ‘ภูมิพิมาน ดินแดนแห่งภูมิคุ้มกัน’ ที่จะเชื่อมต่อชาวโลกให้เข้าถึงภูมิแบบไทย ๆ ผ่านบรรยากาศของดินแดนอันอุดมสมบูรณ์ด้วยทรัพยากรและวิถีของผู้คนที่ช่วยสร้างภูมิให้คนไทยมีสุขภาพที่ดีทั้งกายและใจ เป็นการแสดงศักยภาพของประเทศตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน ที่จะทำให้ประเทศไทยเชื่อมโยงกับทั่วโลกได้อย่างแข็งแรงและยั่งยืนในอนาคต 

#ความเป็นไทยในสากล
การออกแบบสถาปัตยกรรมภายใต้แนวคิดหลักข้างต้นที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์การแสดงออกถึงความเป็นไทย เน้นการใช้องค์ประกอบอ่อนช้อยที่สร้างบรรยากาศผ่อนคลายเพื่อสร้างประสบการณ์การชมนิทรรศการที่มีความรู้สึกสนุก, สบาย, ผ่อนคลายซึ่งเป็นความรู้สึกที่เป็นความทรงจำร่วมของผู้คนส่วนใหญ่เมื่อได้มาเยือนประเทศไทย

#อัตลักษณ์ศิลปสถาปัตยกรรมไทย
แนวความคิดในการออกแบบอัตลักษณ์ของสถาปัตยกรรม โดยนำองค์ประกอบของศิลปสถาปัตยกรรมไทยโบราณที่สามารถ สื่อสารความเป็นไทยได้อย่างชัดเจนและเป็นที่จดจำได้ของผู้คนทั่วโลก เช่น รูปทรงหลังคาที่มี 'จอมแห' เป็นเส้นกำกับ, การ ย่อมุมเพื่อลดหลันขนาดขององค์ประกอบ, การใช้ลวดลายจักสานของเหลวมาประกอบเพื่อแสดงถึงเชื่อมโยงของความเชื่อและภูมิปัญญาของคนไทย, การใช้สีสันและรูปแบบวัสดุแบบไทย ๆ ที่มีความละเมียดละเอียด

#จั่วในเงาสะท้อน
ตำแหน่งที่ตั้งของอาคารแสดงประเทศไทยอยู่ในโซน Connecting Lives ของผังแม่บทงาน Expo ด้วยลักษณะของแปลง ที่ตั้ง (Plot Site-A13) เป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้าที่มีสัดส่วนด้านหน้าแคบและลึกไปร้อยกว่าเมตรทางด้านหลัง จึงใช้เทคนิคการสะท้อนของผนังสูงให้กับตัวอาคารที่มีลักษณะเป็นครึ่งจั่วขนาบข้างผนังสูงไปตลอดแนวของแปลงที่ตั้ง เกิดเป็นภาพสะท้อนของจั่วที่สมบูรณ์ทั้งสองข้างจากมุมมองทางเข้าหลักของงาน(Main line of Flow) เพื่อเชิญชวนและนำผู้เยี่ยมชมงานเข้าสู่อาคารแสดงประเทศไทยผ่านบรรยากาศของพืชพรรณสมุนไพรตั้งแต่ลานทางเข้าสู่พื้นที่จัดแสดงนิทรรศการภายใน, พื้นที่กิจกรรมเพื่อสร้างประสบการณ์การมีส่วนร่วม(workshop), พื้นที่จำหน่ายของที่ระลึกและอาหารไทย ต่อเนื่องไปจนถึงทางออกของอาคารในด้านหลังที่มองเห็นต่อเนื่องไปยังพื้นที่สวนป่าขนาดใหญ่ใจกลางงาน (Forest of Tranquility)

#อัตลักษณ์การย่อมุมประยุกต์สัดส่วนไทย
รูปทรงหลังคาของอาคารจัดแสดงประเทศไทยมีความลาดเอียงและสูงต่ำไปตามลักษณะการใช้พื้นที่ภายใน เพื่อรองรับการ จัดแสดงของนิทรรศการและความหนาแน่นของผู้เยี่ยมชมในแต่ละพื้นที่ที่แตกต่างกันออกไป เกิดการใช้พลังงานและทรัพยากรเท่าที่จำเป็นและให้เกิดประโยชน์สูงสุด องค์ประกอบของหลังคาได้นำอัตลักษณ์การย่อมุมมาใช้ในจัดวางชิ้นส่วน วัสดุหลังคา ลดหลั่นให้ลื่นไหลทั้งในแนวยอดสู่ด้านล่างชายคาและแนวด้านหน้าสู่ด้านหลัง การประกอบของชิ้นส่วนย่อยช่วยลดทอนผืนหลังคาผืนใหญ่ของตัวอาคารให้ผู้เยี่ยมชมได้สัมผัสถึงความละเมียดละไมของศิลปสถาปัตยกรรมไทยที่ประยุกต์ใช้กับวัสดุและวิธีการก่อสร้างสมัยใหม่

#datadrivendesign
การวิเคราะห์และนำข้อมูลมาใช้ในการออกแบบเพื่อให้อาคารแสดงประเทศไทยสามารถแสดงออกซึ่งความเป็นไทยได้โดยสอดคล้องกับบริบทที่ตั้งซึ่งแตกต่างทั้งด้านภูมิประเทศและภูมิอากาศให้รองรับการใช้งานและการใช้พลังงานของอาคารได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด แสดงให้ทั่วโลกเห็นถึงศักยภาพของประเทศไทยที่มีภูมิเป็นต้นทุนอันอุดมสมบูรณ์ของประเทศไทย และพร้อมที่จะเชื่อมโยงกับสังคมโลกในอนาคตหลากหลายมิติและยั่งยืน


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top