Friday, 26 April 2024
ดิจิทัล

‘คุณสมบัติ’ ประธาน INTERLINK ประเดิมต้นปี!เปิดงานสัมมนา ต้อนรับโลกแห่งยุคดิจิทัล

คุณสมบัติ อนันตรัมพร ประธานกรรมการ กลุ่มบริษัท อินเตอร์ลิ้งค์ฯ เปิดงานสัมมนาต้อนรับปี 2022 ในงาน "The Next Innovation of LINK FIBER OPTIC" 

พร้อมนำทีมวิทยากรชั้นนำมาร่วมแลกเปลี่ยนประสบการณ์ เจาะลึกในการเลือกใช้นวัตกรรมโครงข่ายสายสัญญาณเพื่อการเชื่อมต่อเข้าสู่โลกดิจิทัล 

'บิ๊กตู่' ปลื้ม ขับเคลื่อนศก.ไทย ผ่านออนไลน์ 3 วัน ขายสลากดิจิทัล 5.17 ล้านใบหมดแล้ว

เมื่อวันที่ 19 มิ.ย.นายธนกร วังบุญคงชนะ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนต่ว่าการกระทรวงกลาโหม ยินดีที่รัฐบาลสามารถขับเคลื่อนประเทศไทยสู่การใช้ธุรกรรมผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์ ประชาชนมีการปรับตัวหลังจากวิกฤตการณ์โควิด-19 ซึ่งที่ผ่านมารัฐบาลได้มีการกระตุ้นให้คนไทย ก้าวเข้าสู่ระบบ e-payment เพื่อเป็นการเปิดประตูแห่งโอกาสทางเศรษฐกิจและรายได้ที่ไร้ขีดจำกัด ซึ่งถือว่าประสบความสำเร็จเป็นอย่างมาก 

อย่างโครงการคนละครึ่งผ่านแอป 'เป๋าตัง' เป็นต้น และขณะนี้ประชาชนยังได้ให้ความสนใจตอบรับการซื้อขายสลากดิจิทัลเป็นอย่างดี 

'ชัยวุฒิ' โชว์เน็ตประชารัฐ ลดช่องว่างการเข้าถึงดิจิทัลของไทย ในการประชุมรัฐมนตรีดิจิทัลภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก

ชัยวุฒิ เข้าร่วมประชุม เอสเเคป รัฐมนตรีดิจิทัลภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ที่เกาหลีใต้ ส่งเสริมการเชื่อมโยงดิจิทัลคุณภาพสูงราคาเข้าถึงได้ เพื่อเปลี่ยนผ่านสู่เศรษฐกิจดิจอทัลอย่างเท่าเทียม โชว์เน็ตประชารัฐลดช่องว่างการเข้าถึงดิจิทัลของไทย

นายชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม เข้าร่วมการประชุม รัฐมนตรีดิจิทัลของภูมิภาคเอเซียแปซิฟิก Asia - Pacific Digital Ministerial Conference สมัยที่ 1 ที่กรุงโซล สาธารณรัฐเกาหลี จัดโดยกระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (Ministry of Science and ICT) ของสาธารณรัฐเกาหลี ร่วมกับคณะกรรมาธิการเศรษฐกิจและสังคมสำหรับเอเชียและแปซิฟิก (เอสแคป) (Economic and Social Commission for Asia and the Pacific - ESCAP) มี Dr. Lee Jong - Ho (ดร. ลี จอง โฮ) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของสาธารณรัฐเกาหลี ทำหน้าที่ประธานการประชุม 

โดยมีรัฐมนตรี ผู้แทนระดับสูงจากประเทศสมาชิกเอสแคป ที่รับผิดชอบด้านดิจิทัล ร่วมด้วย Ms. Armida Salsiah Alisjahbana (อาร์มิดา ซัลเซียะฮ์ อาลิสจะฮ์บานา) เลขาธิการบริหารคณะกรรมาธิการเศรษฐกิจและสังคมแห่งสหประชาชาติสำหรับเอเชียและแปซิฟิก (เอสแคป) เข้าร่วมการประชุมฯ

โดยในการประชุมฯ ได้มีการหารือสถานะ ความท้าทาย และแนวทางการเปลี่ยนผ่านทางดิจิทัล การลดความเหลื่อมล้ำ และเสริมสร้างความร่วมมือดิจิทัลในระดับภูมิภาค ตามเจตจำนงที่ประเทศสมาชิกเอสแคปให้ไว้ในปฏิญญากรุงเทพฯ ว่าด้วยการเฉลิมฉลองครบรอบ 75 ปี การก่อตั้งเอสแคป รวมทั้งการรับรองปฏิญญาว่าด้วยความร่วมมือทางดิจิทัลเพื่อกำหนดอนาคตร่วมกัน (Ministerial Declaration on Digital Cooperation for Shaping Our Common Future) ซึ่งเป็นเอกสารผลลัพธ์การประชุมในครั้งนี้

นอกจากนี้ รัฐมนตรี/ผู้แทนระดับสูงจากประเทศสมาชิกเอสแคป ได้มีการกล่าวถ้อยแถลงในประเด็นเกี่ยวกับความท้าทายจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 นโยบายและการดำเนินการที่ประเทศของตนดำเนินการเพื่อส่งเสริมการเชื่อมโยงทางดิจิทัลที่มีคุณภาพสูงและราคาเข้าถึงได้ เพื่อมุ่งไปสู่การเปลี่ยนผ่านทางดิจิทัลให้เป็นสังคมดิจิทัลที่ครอบคลุมและเท่าเทียม

'บิ๊กป้อม' เปิดงาน 'Thailand 4.0 ประเทศไทยไปไกลกว่าที่คิด' ชู!! ดิจิทัลไทยก้าวหน้าไม่แพ้ชาติใดในโลก

พล.อ.ประวิตร เปิดงาน 'Thailand 4.0 ประเทศไทยไปไกลกว่าที่คิด' ผลักดันเศรษฐกิจดิจิทัล สู่ผู้นำภูมิภาค เร่งให้ความรู้ ปชช. สร้างภูมิคุ้มกัน ปก.ภัยออนไลน์ ลดเสี่ยงไซเบอร์  

(28 พ.ย. 65) พล.ท.พัชร์ชศักดิ์ ปฏิรูปานนท์ ผช.โฆษก รอง นรม. เปิดเผยว่า พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ได้ไปเป็นประธานพิธีเปิด งานสัมมนาและนิทรรศการเศรษฐกิจดิจิทัล 'Thailand 4.0 ประเทศไทยไปไกลกว่าที่คิด : THAILAND 4.0 THE FUTURE AND BEYOND' ซึ่งจัดขึ้น ณ ห้องประชุมวิภาวดีบอลรูม โรงแรมเซ็นทารา แกรนด์ เซ็นทรัลพลาซา ลาดพร้าว ระหว่างวันที่ 28-29 พ.ย.65 โดยมีกระทรวงดิจิทัล เพื่อเศรษฐกิจและสังคม เป็นเจ้าภาพจัดกิจกรรมดังกล่าว

‘ชัยวุฒิ’ เผย ‘เศรษฐกิจดิจิทัล’ พาศก.ไทยก้าวหน้า ชี้ รัฐบาลหนุนเต็มกำลัง มุ่งยกระดับประเทศอย่างยั่งยืน

‘ดีอีเอส’ จัดสัมมนาและนิทรรศการ ‘Thailand 4.0 ประเทศไทยไปไกลกว่าที่คิด : Thailand 4.0 The Future and Beyond’ มุ่งผลักดันเศรษฐกิจดิจิทัล ยกระดับการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน

กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส) จัดงานสัมมนาและนิทรรศการเศรษฐกิจดิจิทัล ‘Thailand 4.0 ประเทศไทยไปไกลกว่าที่คิด : Thailand 4.0 The Future and Beyond’ โดยมี พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานเปิดงาน พร้อมด้วยนายชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม, ศาสตราจารย์พิเศษวิศิษฏ์ วิศิษฏ์สรอรรถ ปลัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม, นายภุชพงค์ โนดไธสง เลขาธิการคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ร่วมกิจกรรม ในวันที่ 28 - 29 พฤศจิกายน 2565 ณ โรงแรมเซ็นทารา แกรนด์ เซ็นทรัลพลาซา ลาดพร้าว เพื่อมุ่งสู่เป้าหมายสำคัญ ในการส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล สร้างความตระหนักให้แก่ประชาชนนำเทคโนโลยีมาใช้อย่างเกิดประโยชน์สูงสุด เพื่อการพัฒนาประเทศ ก้าวสู่ Thailand 4.0

พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี กล่าวในการเป็นประธานเปิดงานสัมมนาและนิทรรศการเศรษฐกิจดิจิทัล ‘Thailand 4.0 ประเทศไทยไปไกลกว่าที่คิด: Thailand 4.0 The Future and Beyond’ ว่า ปัจจุบันเทคโนโลยีดิจิทัล เข้ามามีบทบาท ในทุกกิจกรรมของประชาชน และยังเป็นเครื่องมือหลัก ในการช่วยให้ การประกอบธุรกิจ เกิดผลสำเร็จ ได้ง่ายขึ้น และที่ผ่านมาประเทศไทยเอง มีความก้าวหน้า ไม่แพ้ชาติใดในโลก ในด้านการส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล ซึ่งไม่เพียงแต่ส่งผลกระทบเชิงบวกต่อการเพิ่ม ขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศเท่านั้น แต่ยังทำให้เกิดพฤติกรรมการใช้ประโยชน์เทคโนโลยีดิจิทัล ในการขับเคลื่อนสังคมอีกด้วย อันเป็นการตอบโจทย์นโยบายของรัฐบาลในการขับเคลื่อนประเทศ เป็น ‘ประเทศไทย 4.0’ ที่มุ่งเน้นการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศด้วยนวัตกรรม รวมทั้งการสร้างความรู้ ความเข้าใจ และสร้างเกราะป้องกันให้ประชาชนรู้เท่าทันภัยคุกคามทางไซเบอร์ ซึ่งเป็นภารกิจที่รัฐบาลได้เล็งเห็นความสำคัญ สอดคล้องกับการจัดงานสัมมนาและนิทรรศการเศรษฐกิจดิจิทัล ‘Thailand 4.0 ประเทศไทยไปไกลกว่าที่คิด : Thailand 4.0 The Future and Beyond’ ที่นับว่าเป็นประโยชน์กับภาคธุรกิจและประชาชนในการสร้างองค์ความรู้ ในการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลได้อย่างถูกต้อง และสร้างสรรค์ รวมถึงเปิดโอกาสให้ประชาชนได้รับรู้เทคโนโลยีสมัยใหม่ และความรู้เกี่ยวกับภัยอันตรายต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้น จากการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อลดความเสี่ยง ในการใช้เทคโนโลยีที่ไม่เหมาะสม สามารถรู้ทันภัยออนไลน์ต่างๆ เกิดความตระหนักรู้ และสามารถใช้เทคโนโลยีดิจิทัลได้อย่างถูกทาง เพื่อเตรียมความพร้อมรองรับการใช้ชีวิตในยุคเศรษฐกิจดิจิทัล 

ด้านนายชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม เปิดเผยว่า เศรษฐกิจดิจิทัล หรือ Digital Economy เป็นเศรษฐกิจรูปแบบใหม่ที่รัฐบาลให้ความสำคัญ เนื่องจากจะเข้ามาขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศให้หลุดพ้นจากกับดักรายได้ปานกลาง ซึ่งจะเข้ามามีบทบาทในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศไทยในอีก 10 - 20 ปี ข้างหน้าต่อจากนี้ด้วย และจากการสนับสนุนของรัฐบาลอย่างต่อเนื่อง จึงเห็นได้ว่า ปัจจุบันเศรษฐกิจดิจิทัลของไทยมีการเติบโตขึ้นจากปีก่อน ๆ เพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงที่ประเทศไทยถูกโจมตีด้วยการแพร่ระบาดของ COVID-19 ที่เข้ามาเป็นแรงผลักดันให้ภาคประชาชน ภาคการศึกษา และกลุ่มธุรกิจอุตสาหกรรมหันมาใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีดิจิทัล 

อย่างไรก็ตาม เป็นที่ทราบกันดีว่า ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีดิจิทัล มักแฝงมาด้วยภัยคุกคามทางไซเบอร์ รัฐบาลได้เล็งเห็นความสำคัญ และได้มุ่งเน้นการสร้างองค์ความรู้ให้กับประชาชนในการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลได้อย่างถูกต้องและสร้างสรรค์ สามารถใช้เทคโนโลยีดิจิทัลได้อย่างถูกทาง

BOI ไฟเขียว!! ลงทุนโครงการขนาดใหญ่ 5 หมื่นล้านบาท เสริมแกร่งโครงสร้างพื้นฐานด้าน ‘พลังงาน-ดิจิทัล’ ไทย

(20 มี.ค.66) พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน วันนี้ โดยที่ประชุมได้อนุมัติส่งเสริมการลงทุนโครงการขนาดใหญ่ รวมมูลค่า 56,615 ล้านบาท เพื่อเสริมความแข็งแกร่งโครงสร้างพื้นฐานในด้านพลังงานของประเทศ เช่น โครงการท่าเทียบเรือขนถ่ายก๊าซธรรมชาติเหลว (LNG) มูลค่าเงินลงทุน 32,710 ล้านบาท และโครงการโรงไฟฟ้าระบบ Cogeneration ซึ่งเป็นโครงการร่วมทุนระหว่างไทยและสิงคโปร์ มูลค่าเงินลงทุน 5,005 ล้านบาท 

รวมทั้งยังได้อนุมัติให้การส่งเสริมกิจการดาต้า เซ็นเตอร์ ขนาดใหญ่ 2 ราย มูลค่าเงินลงทุนรวม 10,371 ล้านบาท โดยหนึ่งในนั้นเป็นโครงการร่วมทุนระหว่างอังกฤษและสิงคโปร์ ซึ่งเป็นกิจการดาต้า เซ็นเตอร์ ที่เน้นความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อมและจะใช้พลังงานหมุนเวียน เพื่อลด Carbon Footprint ด้วย เพื่อตอบสนองการเติบโตอย่างรวดเร็วของอุตสาหกรรมดิจิทัล โดยเฉพาะความต้องการที่เพิ่มสูงขึ้นสำหรับบริการด้านการจัดการและจัดเก็บข้อมูลขนาดใหญ่ขององค์กรทั้งในและต่างประเทศ รวมทั้งการใช้งานแพลตฟอร์มต่าง ๆ อีกด้วย

นอกจากนี้ ที่ประชุมได้อนุมัติให้การส่งเสริมโครงการขนาดใหญ่อื่น ๆ เช่น โครงการผลิตเหล็กแผ่นรีดเย็นเพื่อใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตชิ้นส่วนต่าง ๆ ในอุตสาหกรรมยานยนต์และเครื่องใช้ไฟฟ้า โครงการผลิตโลหะทองคำและเงินภายใต้รูปแบบโลหะผสม และโครงการกำจัดของเสียอุตสาหกรรม มูลค่าเงินลงทุนรวมกว่า 8,500 ล้านบาท โดยโครงการที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนในครั้งนี้ เป็นโครงการที่ช่วยเสริมความแข็งแกร่งด้านโครงสร้างพื้นฐานของประเทศ ทั้งพลังงาน และดิจิทัล 

‘ดีอีเอส’ เดินหน้าพัฒนากฎหมายดิจิทัลแพลตฟอร์ม เพิ่มความปลอดภัย คุ้มครองประชาชน มีผล 21 ส.ค.นี้

‘ดีอีเอส’ ประกาศ กฎหมาย Digital Platform จะมีผลบังคับใช้ในวันที่ 21 สิงหาคมที่จะถึงนี้ พร้อมประกาศให้ผู้ประกอบธุรกิจบริการแพลตฟอร์มดิจิทัลที่เป็นสื่อกลาง อาทิ โซเชียลมีเดีย อีคอมเมิร์ซ sharing economy บริการสืบค้น (search engine) บริการรวมรวมข่าว โฮสติ้ง คลาวด์ แจ้งการประกอบธุรกิจต่อสำนักงานธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ หรือ ‘ETDA’

นายชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส) กล่าวว่า เพื่อรองรับ พ.ร.ฎ.การประกอบธุรกิจบริการแพลตฟอร์มดิจิทัลที่ต้องแจ้งให้ทราบ พ.ศ. 2565 หรือ ‘กฎหมาย Digital Platform’ ที่จะมีผลบังคับใช้ในวันที่ 21 สิงหาคม ที่จะถึงนี้ ซึ่งมีสาระสำคัญที่เกี่ยวข้องกับผู้ให้บริการแพลตฟอร์มดิจิทัล คือ ผู้ประกอบธุรกิจบริการแพลตฟอร์มดิจิทัลที่ที่มีรายได้เกิน 50 ล้านบาทต่อปี กรณีที่ผู้ประกอบธุรกิจเป็นนิติบุคคล หรือเกิน 1.8 ล้านบาทต่อปี กรณีที่ผู้ประกอบธุรกิจเป็นบุคคลธรรมดา หรือมีจำนวนผู้ใช้บริการเกิน 5,000 รายต่อเดือน มีหน้าที่แจ้งให้ ETDA ทราบก่อนการประกอบธุรกิจ และหากเป็นผู้ประกอบธุรกิจซึ่งอยู่นอกราชอาณาจักร แต่ให้บริการแก่ผู้ใช้บริการในราชอาณาจักรมีหน้าที่แต่งตั้งผู้ประสานงานในราชอาณาจักร

โดยกฎหมาย Digital Platform จะกำหนดหน้าที่ให้เหมาะสมกับลักษณะของการให้บริการและผลกระทบที่อาจเกิดจากการให้บริการ และกฎหมายนี้จะมีผลใช้บังคับในวันที่ 21 สิงหาคมนี้ ซึ่งผู้ประกอบธุรกิจบริการแพลตฟอร์มดิจิทัลที่ประกอบธุรกิจอยู่ก่อนวันดังกล่าวจะต้องแจ้งให้ ETDA ทราบภายใน 90 วันซึ่งจะตรงกับวันที่ 18 พฤศจิกายน 2566 หากไม่แจ้งภายในเวลาดังกล่าว จะมีโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

“กฎหมาย Digital Platform กำกับดูแลธุรกิจบริการแพลตฟอร์มดิจิทัล เพื่อให้มีมาตรฐานที่เหมาะสม เพื่อให้ผู้ประกอบธุรกิจบริการแพลตฟอร์มดิจิทัลให้บริการได้อย่างโปร่งใสและเป็นธรรม มีการดูแลผู้ใช้บริการอย่างเหมาะสม และยังเป็นการส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัลได้อย่างยั่งยืน โดยกฎหมายนี้มุ่งเน้นการกำกับดูแลผู้ประกอบธุรกิจบริการแพลตฟอร์มดิจิทัล ดังนั้น ขอย้ำว่าผู้ใช้บริการที่เป็นผู้ขายสินค้าออนไลน์ หรือคนไลฟ์สด หรือคนทำ content เผยแพร่ บนบริการแพลตฟอร์มดิจิทัล ไม่ได้มีหน้าที่ต้องมาแจ้งให้ ETDA ทราบตามกฎหมายนี้แต่อย่างใด” นายชัยวุฒิ กล่าว

อย่างไรก็ตาม เพื่อให้กฎหมายมีความครบถ้วนและสมบูรณ์ยิ่งขึ้น ETDA จึงได้จัดการประชุมรับฟังความคิดเห็นต่อกฎหมายลำดับรองภายใต้ พ.ร.ฎ. Digital Platform (Public hearing) รวม 4 ครั้ง โดยปัจจุบันได้ดำเนินการมาจนถึงครั้งที่ 4 ในวันจันทร์ที่ 26 มิถุนายน 2566 เกี่ยวกับ (ร่าง) คู่มือการพิสูจน์และยืนยันตัวตนเพื่อลงทะเบียนเป็นผู้ใช้บริการ ซึ่งจะช่วยแก้ไขปัญหาที่สำคัญจากการใช้บริการแพลตฟอร์มดิจิทัล เช่น การหลอกลวง การไม่ทราบตัวคนที่ต้องรับผิด เพื่อเป็นการส่งเสริมและสนับสนุนให้ผู้ประกอบธุรกิจจัดทำแนวปฏิบัติที่ดี (Best practice) หรือมีกลไกในการกำกับดูแลตนเองที่เหมาะสม

นอกจากนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส) เปิดโต๊ะหารือ 2 ผู้ให้บริการดิจิทัลแพลตฟอร์ม ‘Pantip – Blockdit’ ถึงวิธีการลงทะเบียนผู้ใช้บริการผ่าน User ID เร่งดัน ‘(ร่าง) คู่มือการพิสูจน์และยืนยันตัวตนเพื่อลงทะเบียนเป็นผู้ใช้บริการ’ สู่การสร้างกลไกการดูแลตนเอง (Self-regulation) และการดูแลผู้ใช้บริการที่เหมาะสม ภายใต้ กฎหมาย Digital Platform Services ด้วย

พร้อมกันนี้ ในที่ประชุมยังได้มีการพูดคุยกันถึงแนวทางการดูแล ป้องกันและแก้ปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นแก่ผู้ใช้บริการ ผ่านกลไกการลงทะเบียนก่อนเข้าใช้งาน เนื่องจาก Pantip และ Blockdit ถือเป็นตัวอย่างผู้ให้บริการ social media ที่มีการใช้กลไกการลงทะเบียนของผู้ใช้บริการ หรือ User ID ที่ดีมาอย่างต่อเนื่องและมีบัญชีผู้ใช้บริการที่ยังใช้งานอยู่ในระบบจำนวนมาก จากพูดคุยพบว่า ทั้ง 2 ผู้ให้บริการได้มีการกำหนดวิธีการลงทะเบียนเข้าใช้งานของผู้ใช้บริการที่ค่อนข้างชัดเจน คือ มีการกำหนดระดับความน่าเชื่อถือ ในการพิสูจน์และยืนยันตัวตนก่อนเข้าใช้งานตามความเสี่ยงของการใช้งาน เช่น ถ้าเป็นการใช้งานขั้นพื้นฐานทั่วไปที่มีความเสี่ยงน้อย ก็จะเน้นลงทะเบียนยืนยันตัวตนด้วย ชื่อ-สกุล อีเมล หรือ เบอร์โทรศัพท์ แต่ถ้าหากเป็นการใช้งานที่มีความเสี่ยงมากๆ เช่น ขายสินค้า ก็จะต้องมีการยืนยันตัวตนด้วยชื่อ ที่อยู่ เลขบัตรประชาชน เบอร์โทรศัพท์ หรือยืนยันตัวตนด้วย Digital ID ที่น่าเชื่อถือ อย่าง Digital ID ที่ออกโดยแอปพลิเคชัน ThaiD ของกรมการปกครอง ซึ่งจากการให้บริการของ 2 แพลตฟอร์ม พบว่า คนไทยส่วนใหญ่ค่อนข้างมีความตระหนักในการใช้ข้อมูลส่วนบุคคลในการลงทะเบียน หรือ สมัครเข้าใช้บริการ โดยเฉพาะการกรอกเลขบัตรประชาชนและเลขโทรศัพท์มือถือ เป็นต้น

โดยข้อมูลที่ได้จากการประชุมร่วมครั้งนี้ จะถูกนำไปเป็นส่วนหนึ่งของข้อเสนอแนะที่จะนำไปปรับปรุง ‘(ร่าง) คู่มือการพิสูจน์และยืนยันตัวตนเพื่อลงทะเบียนเป็นผู้ใช้บริการ’ กฎหมายลำดับรองภายใต้ กฎหมาย DPS (Digital Platform Services) ที่จะมีการเปิดเวทีรับฟังความคิดเห็น Public Hearing ในวันที่ 26 มิถุนายนนี้ เพื่อเป็นแนวทางในการปฏิบัติ แก่ผู้ให้บริการในฐานะผู้ประกอบธุรกิจ ในการพิสูจน์และยืนยันตัวตนผู้ใช้บริการ ผ่านการลงทะเบียนการเข้าใช้งาน เพื่อให้ได้บัญชีผู้ใช้บริการที่มีความน่าเชื่อถือ ระบุตัวตนได้ เพื่อเป็นประโยชย์ในการคุ้มครองผู้บริโภค ลดการฉ้อโกงออนไลน์

โดยเนื้อหาของร่างคู่มือฉบับนี้ จะครอบคลุมทั้ง การจัดประเภทผู้ใช้งานที่ควรพิสูจน์และยืนยันตัวตน กำหนดระดับความน่าเชื่อถือของการพิสูจน์และยืนยันตัวตน List ข้อมูลที่จะต้องเก็บรวบรวม แนวทางการตรวจสอบข้อมูล การแสดงสัญลักษณ์หรือข้อความว่าดำเนินการพิสูจน์และยืนยันตัวตนแล้ว โดย (ร่าง) คู่มือ ฉบับดังกล่าว นับเป็นหนึ่งตัวอย่างของการสร้างกลไกการดูแลตนเอง (Self-regulation) ของผู้ให้บริการแพลตฟอร์มดิจิทัลที่เหมาะสม สอดคล้องตามเจตนารมณ์ภายใต้กฎหมายฉบับนี้
 

‘ชัยวุฒิ’ ร่วมยินดีครบรอบ 5 ปี ‘ทีทรี เทคโนโลยี’ ยกเป็นองค์กรที่มีบทบาทร่วมขับเคลื่อนเทคโนโลยีของไทย

เมื่อวันที่ 8 ก.ย. 66 นายชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์  รองหัวหน้าพรรคพลังประชารัฐ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส) เป็นประธานเปิดงานในพิธีเฉลิมฉลองครบรอบ 5 ปี ของบริษัท ทีทรี เทคโนโลยี จำกัด พร้อมกล่าวว่า รู้สึกเป็นเกียรติอย่างยิ่งที่ได้มาร่วมงานครบรอบ 5 ปีของบริษัทที ทรี เทคโนโลยี ซึ่งเป็นบริษัทที่ประสบความสำเร็จ และมีบทบาทสำคัญในการกำหนดทิศทางการขับเคลื่อนระบบเทคโนโลยีของประเทศไทย ผมขอแสดงความยินดีกับบริษัทที ทรี เทคโนโลยี ในความสำเร็จครั้งนี้ด้วย

ในช่วงระยะเวลาห้าปีที่ผ่านมา บริษัท ที ทรี ได้กลายเป็นสัญลักษณ์แห่งนวัตกรรม การเชื่อมต่อระหว่างความมุ่งมั่นสู่ความเป็นเลิศ และการแสวงหาความรู้อย่างไม่หยุดยั้ง อีกทั้งยังเป็นเครื่องมือที่ช่วยในการส่งเสริมเทคโนโลยีของประเทศไทยให้เจริญรุ่งเรืองและการเชื่อมโยงโครงข่ายให้ถึงกันในทุกมิติ 

‘บริษัท ที ทรี เทคโนโลยี’ มีส่วนร่วมในการพัฒนาเทคโนโลยีอันล้ำสมัยในทุกด้าน ไม่ว่าจะเป็น ฟิกส์บรอดแบนด์ (FBB), โมบาย บรอดแบนด์ (MBB), Internet of things (IoT), และโซลูชั่นระดับองค์กร เทคโนโลยีเหล่านี้ล้วนเป็นรากฐานสำคัญซึ่งจะช่วยขับเคลื่อนธุรกิจอย่างยั่งยืน  และยังแสดงให้เห็นถึงความร่วมมือทางธุรกิจกับภาคส่วนต่างๆ เพื่อผลักดันเศรษฐกิจของประเทศไทยให้เติบโตยิ่งขึ้นควบคู่กับการดำเนินธุรกิจอย่างมีความรับผิดชอบต่อสังคม ต่อสิ่งแวดล้อม และมีการพัฒนาทางด้านเทคโนโลยีอยู่ตลอดเวลา เพื่อตอบสนองต่อความต้องการของผู้บริโภค เพื่อยกระดับศักยภาพของประเทศไทยในโลกยุคดิจิทัลนี้ และสร้างการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศไทย

‘กองทุนดีอี’ หนุนทุกภาคส่วนร่วมต่อยอดเทคโนโลยี 5G เดินหน้าขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมด้วยดิจิทัลครบทุกมิติ

สดช. จัดเวทีสัมมนาเพื่อประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ (ร่าง) มาตรการส่งเสริมการลงทุนและการใช้ประโยชน์เทคโนโลยี 5G หวังนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้อย่างเต็มศักยภาพในทุกมิติ

เมื่อวันที่ 10 ตุลาคม 2566 นายภุชพงค์ โนดไธสง เลขาธิการคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เป็นประธานเปิดงานสัมมนาเพื่อประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ (ร่าง) มาตรการส่งเสริมการลงทุนและการใช้ประโยชน์เทคโนโลยี 5G โดยมีนายธีรวุฒิ ธงภักดิ์ รองเลขาธิการคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ พร้อมด้วยนางสาววรรณศิริ พัวศิริ ผู้อำนวยการศูนย์พัฒนานโยบายดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม สำนักงานคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สดช.) ตลอดจนผู้แทนจากหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชน จำนวนกว่า 200 คน เข้าร่วม ณ โรงแรม PULLMAN BANGKOK KING POWER กรุงเทพฯ

นายภุชพงค์ โนดไธสง เลขาธิการคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ กล่าวว่า สดช. ได้ดำเนินโครงการจัดทำมาตรการส่งเสริมการลงทุนและการใช้ประโยชน์เทคโนโลยี 5G ซึ่งได้ทำการศึกษายุทธศาสตร์ชาติ นโยบายและแผนระดับชาติ แผนงาน มาตรการ โครงการ และแนวปฏิบัติที่ดีของต่างประเทศ รวมถึงข้อมูลด้านกฎหมาย กฎ ระเบียบ และรูปแบบแนวทางในการจัดทำมาตรการฯ โดยผลการดำเนินงานในปัจจุบัน สดช. ได้จัดทำ (ร่าง) มาตรการฯ และเอกสารคู่มือที่เกี่ยวข้อง ประกอบด้วยมาตรการ 3 กลุ่ม ได้แก่ มาตรการสนับสนุนการพัฒนาเมืองอัจฉริยะ (Smart City) มาตรการสิทธิประโยชน์ทางภาษีอากร และมาตรการการเข้าถึงแหล่งเงินทุนสนับสนุน เพื่อกระตุ้นการขับเคลื่อนและผลักดันภาคส่วนที่เกี่ยวข้องสู่การปฏิบัติจริงที่จะก่อให้เกิดการลงทุนและการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยี 5G อย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงสร้างระบบนิเวศด้านการลงทุนให้พร้อมต่อการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยี 5G ในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมของประเทศไทยต่อไป

“ทั้งนี้ สดช. ยังมีภารกิจสำคัญในการกำหนดทิศทางและวางยุทธศาสตร์การขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมไทยด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล รวมทั้งเป็นแกนกลางในการส่งเสริม ประสาน และบูรณาการความร่วมมือจากทุกภาคส่วน เพื่อก่อให้เกิดการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้อย่างเต็มศักยภาพในทุกระดับและทุกมิติของภาคเศรษฐกิจและสังคมไทย โดยที่ผ่านมา สดช. ได้ดำเนินการจัดทำแผนปฏิบัติการว่าด้วยการส่งเสริมการใช้ประโยชน์เทคโนโลยี 5G ของประเทศไทย ระยะที่ 1 ที่ได้สิ้นสุดไปในปีที่ผ่านมา และปัจจุบันอยู่ระหว่างการดำเนินการจัดทำแผนปฏิบัติการดังกล่าว ระยะที่ 2 (พ.ศ. 2566 - 2570) ซึ่งประกอบด้วย 4 ยุทธศาสตร์ ได้แก่ ยุทธศาสตร์ที่ 1 ส่งเสริมการพัฒนาโครงข่าย 5G ประสิทธิภาพสูง ยุทธศาสตร์ที่ 2 ขับเคลื่อนเศรษฐกิจดิจิทัลผ่านเทคโนโลยี 5G ยุทธศาสตร์ที่ 3 สร้างสังคมคุณภาพด้วยเทคโนโลยี 5G และยุทธศาสตร์ที่ 4 พัฒนาระบบนิเวศให้พร้อมต่อการใช้ประโยชน์เทคโนโลยี 5G สำหรับการจัดทำมาตรการส่งเสริมการลงทุนและการใช้ประโยชน์เทคโนโลยี 5G เป็นการดำเนินการที่สอดคล้องและสนับสนุนยุทธศาสตร์ทั้ง 4 ยุทธศาสตร์ของแผนปฏิบัติการว่าด้วยการส่งเสริมการใช้ประโยชน์เทคโนโลยี 5G ของประเทศไทย รวมถึงสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ที่ 1 พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลประสิทธิภาพสูงให้ครอบคลุมทั่วประเทศ ภายใต้นโยบายและแผนระดับชาติว่าด้วยการพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม พ.ศ. 2561-2580 ฉบับทบทวน โดยมีตัวชี้วัดในภาพรวม 3 ตัวชี้วัด ได้แก่ มูลค่าเพิ่มของเศรษฐกิจดิจิทัลมีสัดส่วนต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (Digital Contribution to GDP) ปี พ.ศ. 2570 ไม่น้อยกว่าร้อยละ 30 ขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศใน World Digital Competitiveness Ranking ปี พ.ศ. 2570 อยู่ใน 30 อันดับแรกของโลก หรืออยู่ใน 3 อันดับแรกของอาเซียน และสถานภาพการเข้าใจดิจิทัล (Digital Literacy: DL) ของประชาชนคนไทยมากกว่า 80 คะแนน ในปี พ.ศ. 2570” นายภุชพงค์ฯ กล่าวเพิ่มเติม

ด้านนางสาวสิริกาญจน์ สุขผล ผู้อํานวยการกลุ่มบริหารกองทุน ได้กล่าวถึงบทบาทของกองทุนฯ บนเวทีเสวนา "การส่งเสริมการลงทุนและการใช้ประโยชน์เทคโนโลยี5G" ว่า กองทุนพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมหรือกองทุนดี มีหน้าที่ส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาด้านดิจิทัล เพื่อเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ ซึ่งอยู่ภายใต้นโยบายและแผนระดับชาติว่าด้วยการพัฒนาดิจิทัล โดยการจัดสรรเงินทุนสนับสนุนในแต่ละปีนั้น จะขึ้นอยู่กับงบประมาณที่กองทุนดีอีได้รับมากจาก กสทช. 

ทั้งนี้ ทางกองทุนดีอี จะจัดสรรเงินทุนสนับสนุนอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง โดยแบ่งเป็น 2 ด้าน ส่วนแรก เป็นการสนับสนุนด้านการพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ส่วนที่สอง เป็นการสนับสนุนด้านการวิจัย โดยโครงการที่จะนำเสนอเข้ามานั้น ทางกองทุนฯ อยากให้คำนึงถึงโครงการที่พัฒนาขึ้นมาเพื่อประโยชน์ในเชิงสาธารณะ 

“การนำเสนอโครงการที่ต้องทุนสนับสนุน เพื่อการจะพัฒนาขึ้นนั้น จะต้องส่งผลประโยชน์ต่อมุมกว้าง มีการให้บริการประชาชนในหลากหลายรูปแบบ ยกตัวอย่างกลุ่มคนที่ด้อยโอกาสหรืออยู่ในพื้นที่ห่างไกล อาจจะเป็นผู้ที่ได้รับประโยชน์มากขึ้น ซึ่งเป็นไปตามวัตถุประสงค์ของกองทุนฯ ขณะเดียวกันในส่วนของการวิจัยนั้น จะเน้นไปที่โครงการที่ทำการวิจัยด้วยเทคโนโลยีรูปแบบใหม่ ๆ เช่นการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยี 5G โดยทางกองทุนฯ เปิดกว้างให้กับทุกภาคส่วน ไม่ว่าจะเป็นหน่วยงานภาครัฐภาคเอกชน หรือกลุ่มบุคคลทั่วไป สามารถจะเสนอขอรับทุนได้ โดยเฉพาะการใช้เทคโนโลยี 5G ไปต่อยอดประยุกต์ใช้กับบริการด้านสาธารณสุข ด้านการศึกษาการ การพัฒนากำลังคนดิจิทัล และพัฒนาเมืองปลอดภัยน่าอยู่ หรือ สมาร์ทซิตี้ ซึ่งหน่วยงานที่มีโครงการอยู่ในมือ ต้องการจะพัฒนาขึ้น แต่ยังขาดเงินทุนสนับสนุน ก็สามารถนำเสนอโครงการเข้ามาได้ที่กองทุนฯ ซึ่งจะเปิดรับในช่วงต้นปี ประมาณเดือนมกราคม - กุมภาพันธ์ ของแต่ละปี” นางสาวสิริกาญจน์ กล่าว

‘กองทุนดีอี’ หนุนโครงการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัล เดินหน้าสร้างมิติใหม่การทำธุรกรรมภาครัฐและเอกชน

กองทุนดีอี หนุนโครงการจัดหาระบบการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัล (DOPA-Digital ID) และระบบเปรียบเทียบภาพใบหน้า (Face verification System) ตอบโจทย์เศรษฐกิจและสังคมยุคดิจิทัล สะดวก รวดเร็ว และปลอดภัย

จากแผนพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (พ.ศ. 2561 - 2580) ภายใต้ยุทธศาสตร์ที่ 4 ปรับเปลี่ยนภาครัฐสู่การเป็นรัฐบาลดิจิทัล ซึ่งเป็นการมุ่งเน้นใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในกระบวนการทำงานและการให้บริการภาครัฐ เพื่อให้เกิดการปฏิรูปกระบวนการทำงานและขั้นตอนการให้บริการที่มีประสิทธิภาพ ถูกต้อง รวดเร็ว อำนวยความสะดวกให้ผู้ใช้บริการ สร้างบริการของภาครัฐที่มีธรรมาภิบาลและสามารถให้บริการประชาชนแบบเบ็ดเสร็จ ณ จุดเดียว ผ่านระบบชื่อมโยงข้อมูลอัตโนมัติ การเปิดเผยข้อมูลของภาครัฐที่ไม่กระทบต่อสิทธิส่วนบุคคลและความมั่นคงของชาติผ่านการจัดเก็บ รวบรวม และแลกเปลี่ยนอย่างมีมาตรฐาน ให้ความสำคัญกับการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์และข้อมูล

อีกทั้ง มติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2564 เรื่อง แนวทางการพัฒนาระบบรองรับการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิล หรือ Digital ID ด้วยการพัฒนาระบบพิสูจน์และยืนยันตัวตนด้วยใบหน้าทางดิจิทัล (Face Verification Service - FVS) โดยอนุมัติให้กระทรวงมหาดไทยดำเนินการพัฒนา และจัดให้มีระบบ FVS และดำเนินการให้บริการกับหน่วยงานของรัฐและเอกชน โดยให้กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม เป็นที่ปรึกษาให้คำแนะนำในส่วนงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้ระบบ FVS ที่กระทรวงมหาดไทยพัฒนา มีความมั่นคงปลอดภัย มีความน่าเชื่อถือ สอดคล้องตามกฎหมาย หลักเกณฑ์ และมาตรฐานที่เกี่ยวข้อง

ขณะเดียวกัน มติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2564 เรื่อง การขับเคลื่อนการให้บริการประชาชนผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ (e - Service) งานบริการ Agenda ที่กำหนดให้ส่วนราชการดำเนินการขับเคลื่อนฯ ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 จำนวน 12 งานบริการ โดยระบบการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัล (Digital ID) เป็น 1 ใน 12 งานบริการสำคัญการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัล (Digital ID) และ การพิสูจน์และยืนยันตัวตนด้วยใบหน้าทางดิจิทัล (Face Verification Service - FVS) เป็นโครงสร้างพื้นฐานสำคัญที่จะเชื่อมต่อการยืนยันตัวตนจากทุกภาคส่วนเข้ามาไว้ด้วยกัน แทนระบบเดิมที่ผู้ให้บริการและผู้รับบริการต้องมาเผชิญหน้าและแสดงตนเพื่อยืนยันตัวตนด้วยเอกสารทางราชการ กรมการปกครอง 

จากนโยบายดังกล่าว ทางกองทุนพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (กองทุนดีอี) จึงได้ดำเนินการสนับสนุนงบประมาณในโครงการจัดหาระบบการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัล (DOPA-Digital ID) และระบบเปรียบเทียบภาพใบหน้า (Face verification System) โดยทางกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย เป็นผู้รับผิดชอบโครงการ

สำหรับโครงการนี้ จะเป็นการสร้างมิติใหม่ในการทำธุรกรรมภาครัฐและเอกชน ที่มีความสะดวกรวดเร็ว ผ่านช่องทางดิจิทัลและมีความปลอดภัยเพิ่มมากขึ้น ลดความเสี่ยงในการแอบอ้างหรือปลอมแปลงตัวตน ในกระบวนการยืนยันตัวตนตามระบบเดิม ขณะเดียวกัน ยังเป็นการสนับสนุนการบริการประชาชนในภาครัฐและเอกชนที่จะต้องปรับตัวและวิธีการตอบสนองการบริการแนวใหม่ที่ไม่ต้องเผชิญหน้าหรือมีการเว้นระยะห่างทางสังคม โดยมีกลุ่มเป้าหมาย ในส่วนของประชาชนที่ต้องการใช้สิ่งแทนเอกลักษณ์ดิจิทัล จำนวน 60 ล้านคน และในส่วนหน่วยงานภาครัฐและเอกชนที่มีบริการออนไลน์ที่ต้องพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัล จำนวน 200 หน่วยงาน

ทั้งนี้ ในส่วนของประโยชน์ที่จะได้รับนั้น ในส่วนของประชาชนจะมีบัญชีผู้ใช้งาน (Digital ID) ที่มีระดับความน่าเชื่อถือสูงได้โดยสะดวก และสามารถนำไปใช้ในการเข้าถึงข้อมูล และบริการต่าง ๆ ของรัฐได้ (Single Account) ขณะที่หน่วยงานภาครัฐและเอกชน สามารถนำระบบพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัล (Digital ID) ที่มีระดับความน่าเชื่อถือ มีการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลที่ดี มีระดับความมั่นคงปลอดภัยสูง สอดคล้องกับกฎ ระเบียบ และมาตรฐานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ไปใช้ในการให้บริการผ่านช่องทางดิจิทัล (Digital Service) ของหน่วยงานตนได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งจะสามารถผลักดันประเทศก้าวสู่เศรษฐกิจดิจิทัลได้เร็วยิ่งขึ้นอีกด้วย


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top