Saturday, 18 May 2024
ชาวประมง

‘ชลน่าน’ คุย ‘สมาคมประมง’ วาง 4 นโยบายแก้ปัญหา เพื่อฟื้นคืนอาชีพ-อุตสาหกรรมประมงไทย

‘ชลน่าน’ หารือ ‘สมาคมการประมงแห่งประเทศไทย’ วาง 4 นโยบายแก้ไขปัญหาประมง เพื่อฟื้นอาชีพและอุตสาหกรรมประมงไทยอย่างต่อเนื่อง ทวงคืนอันดับโลกประมงไทย

(14 พ.ย. 65) นพ.ชลน่าน ศรีแก้ว ส.ส.น่าน หัวหน้าพรรคเพื่อไทย ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร ร่วมด้วยนายวิสุทธิ์ ไชยณรุณ ประธานคณะนโยบายเกษตรพรรคเพื่อไทย นายจักรพงษ์ แสงมณี กรรมการบริหารพรรคและคณะ พูดคุยหารือและรับมอบข้อเสนอจากสมาคมการประมงแห่งประเทศไทยในการแก้ปัญหาประมงอย่างครบวงจร โดยมีนายมงคล สุขเจริญคณา ประธานสมาคมการประมงแห่งประเทศไทย เป็นตัวแทนชาวประมงทั่วประเทศเข้ามอบหนังสือดังกล่าว นพ.ชลน่าน กล่าวว่าพรรคเพื่อไทยได้ลงพื้นไปที่รับฟังปัญหาของสมาคมประมงฯ ที่สำนักงาน และทีมเพื่อไทยไปฟังปัญหาจากชาวประมง ทั้งในเขตจังหวัดสมุทรสาคร สมุทรสงคราม และหลายจังหวัดในภาคใต้ก่อนหน้านี้แล้วส่วนหนึ่ง รวมถึงในวันนี้สมาคมการประมงแห่งประเทศไทย ก็ได้มาพูดคุยและนำเสนอแนวทางแก้ไขปัญหาให้อีกส่วนหนึ่ง ซึ่งถือเป็นความร่วมมือกันอย่างจริงใจที่จะแก้ไขปัญหาประมงของประเทศที่ค้างคามานานหลายปี 

นพ.ชลน่าน กล่าวต่อว่า แม้ปัจจุบัน สหภาพยุโรปจะได้ปลดใบเหลืองแก่ประมงไทยไปแล้ว แต่นโยบายมาตรการและหลักเกณฑ์ต่างๆ ที่บริหารจัดการภาคประมงก็ยังไม่ได้เปลี่ยนแปลงหรือผ่อนคลายลงไป แม้พรรคเพื่อไทยจะเคยนำเสนอประเด็นนี้ไปยังรัฐบาลแต่รัฐบาลก็ยังไม่ได้ผลักดันมาตรการแก้ไขปัญหาใดๆ ที่เป็นรูปธรรมออกมาอย่างจริงจัง ความเดือดร้อนของพี่น้องประมงก็ยังคงอยู่ วันนี้จึงเป็นโอกาสดี ที่ได้พูดคุยและตกผลึกแนวนโยบายและมาตรการเพิ่มเติม เพื่อให้พรรคเพื่อไทย ได้รวบรวมผลิตเป็นพิมพ์เขียวนโยบายแก้ไขปัญหาของพี่น้องประมงในการเลือกตั้งครั้งที่จะมาถึง

“ปัญหา IUU Fishing ของภาครัฐ ที่เร่งรัดแก้ไขดำเนินการอย่างเร่งรีบตั้งแต่ปี 2558 สร้างปมปัญหาต่อเนื่องให้พี่น้องประมง เพราะในวันที่แก้ไขปัญหานั้นพลเอกประยุทธ์ ไม่เคยฟังคำทักท้วงและคำแนะนำของพี่น้องประมงและผู้มีส่วนได้เสีย ดังนั้นหากพรรคเพื่อไทยมีโอกาสบริหารประเทศ เราจะพลิกฟื้นอาชีพประมงและอุตสาหกรรมต่อเนื่อง ด้วยการรื้อกฎหมายที่เป็นปัญหาและอุปสรรคต่อการประกอบอาชีพ แก้ไขหลักเกณฑ์ให้บังคับใช้อย่างเหมาะสม ยุติธรรม และหากอุปสรรคถูกทำลายและการส่งเสริมถูกต้องเหมาะสมก็เชื่อว่า ประเทศไทยจะกลับมาทวงตำแหน่งประมงลำดับต้นๆ ของโลก สร้างรายได้ให้ชาวประมงอย่างที่เคยเป็นอีกครั้ง” นพ.ชลน่าน กล่าว

'เฉลิมชัย'ห่วงใยชาวประมง เร่งดีเดย์สินเชื่อเสริมสภาพคล่อง 5 พันล้านเปิดยื่นกู้ 15 ธันวาคมนี้

'อลงกรณ์' มอบกรมประมงจับมือกรมเจ้าท่าเตรียมเปิดขึ้นทะเบียนเรือประมงเพื่อการท่องเที่ยวเพิ่มช่องทางรายได้ใหม่ให้ชาวประมง

นายอลงกรณ์ พลบุตร ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในฐานะประธานคณะกรรมการฟื้นฟูและพัฒนาศักยภาพการประมงไทยเปิดเผยภายหลังเป็นประธานการประชุมครั้งที่5/2565 ว่า ที่ประชุมได้พิจารณาเห็นชอบตามโครงการ ดังนี้
1) คณะกรรมการฯ เห็นชอบให้สนับสนุนการดำเนินการจัดทำโครงการพัฒนาอุตสาหกรรมอาหารสัตว์น้ำและการเพาะเลี้ยงพันธุ์ปลาสวยงามในการส่งออกต่างประเทศ (Aqua Feed & Ornamental Fish Industry : AFOF) และมอบหมายกรมประมง กรมส่งเสริมการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ประสานกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม และภาคเอกชนที่เกี่ยวข้อง ร่วมประชุมพิจารณาหารือในการสนับสนุนงบประมาณหรือการลงทุนจากภาคเอกชนโครงการนี้ 
2) ที่ประชุมเห็นชอบแนวทางการใช้ประโยชน์เรือประมงเพื่อการท่องเที่ยว โดยมอบหมายกรมประมง กรมเจ้าท่าและหน่วยงานรัฐอื่นๆจัดประชุมหารือในความร่วมมือกับตัวแทนองค์กรประมงเพื่อกำหนดหลักเกณฑ์และแนวทางออกใบอนุญาตทะเบียนเรือประมงเพื่อการท่องเที่ยวสามารถประกอบการทั้งประเภทท่องเที่ยวจับสัตว์น้ำ และการท่องเที่ยวรูปแบบอื่นๆเช่นการดูปลาวาฬบรูดาและการดำน้ำเพื่อเพิ่มรายได้ให้แก่ชาวประมง

นอกจากนี้ ที่ประชุม ยังรับทราบความก้าวหน้าในโครงการ ที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้เร่งรัดดำเนินการเพื่อประโยชน์ของพี่น้องชาวประมง ได้แก่ 
(1) ความก้าวหน้าการดำเนินงานโครงการสินเชื่อเพื่อเสริมสภาพคล่อง ระยะที่ 2 โดยมีวงเงินสินเชื่อรวม 5,000 ล้านบาท คณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบ ให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยกรมประมงดำเนินการ สำหรับวงเงินสินเชื่อแบ่งเป็น (1.1) ธนาคารออมสิน ให้สินเชื่อผู้ประกอบการประมงที่มีเรือประมงขนาดตั้งแต่ 60 ตันกรอสขึ้นไป วงเงินสินเชื่อ 2,000 ล้านบาท โดยสนับสนุนรายละไม่เกิน 10 ล้านบาท (1.2) ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ให้สินเชื่อผู้ประกอบการประมงที่มีเรือประมงขนาดต่ำกว่า 60 ตันกรอส วงเงินสินเชื่อ 3,000 ล้านบาท โดยสนับสนุนรายละไม่เกิน 5 ล้านบาท

ทั้งนี้คณะกรรมการอำนวยการด้านสินเชื่อ ระยะที่ 2 ซึ่งมี อธิบดีกรมประมง เป็นประธานจะมีการประชุม กำหนดหลักเกณฑ์การกู้ยืม ในวันที่ 6 ธันวาคม 2565จากนั้นหน่วยงานในพื้นที่จะทำการเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ให้เกษตรกรชาวประมงมายื่นความประสงค์ขอกู้ยืมภายตั้งแต่วันที่ 15 ธันวาคมนี้ซึ่งเป็นข้อสั่งการของ ดร.เฉลิมชัย 
ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ที่ห่วงใยพี่น้องชาวประมงจึงได้เสนอต่อคณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบและมอบกรมประมงเร่งรัดดำเนินการโดยเร็วเพื่อเป็นสินเชื่อเสริมสภาพคล่องในการประกอบอาชีพ

(2) ความก้าวหน้าการดำเนินงานคณะอนุกรรมการยกร่างพระราชบัญญัติสภาการประมง พ.ศ. .... และ ร่างพระราชบัญญัติกองทุนประมง พ.ศ. ....ซึ่งกรมประมงได้มีการปรับปรุง ร่าง ดังกล่าว และได้จัดทำหน้งสือเสนอรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เพื่อเสนอต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาต่อไป 
(3) รับทราบโครงการน้ำมันเพื่อการประมง เป็นแนวทางแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของชาวประมงพาณิชย์และพื้นบ้านในการลดต้นทุนกการประกอบอาชีพประมง
(4)ความคืบหน้าโครงการนำเรืออกนอกระบบโดยวิธีบริหารจัดการแบบใหม่ให้แล้วเสร็จภายในปีหน้า
(5) ความร่วมมือกับกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเรื่องการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติทางทะเล การส่วเสริมการปลูกป่าโกงกาง การเพาะเลี้ยงสาหร่ายทะเล การเพิ่มหญ้าทะเลที่เป็นอาหารสัตว์น้ำ

‘ก.เกษตร’ มอบของขวัญปีใหม่ให้ชาวประมง เว้นค่าธรรมเนียมเลี้ยงหอยทะเล - สัตว์น้ำในกระชัง

‘เฉลิมชัย’ มอบของขวัญปีใหม่ให้ชาวประมงเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ 67 จังหวัด ‘อลงกรณ์’ เผยรัฐมนตรีเกษตรฯ ลงนามกฎกระทรวงยกเว้นค่าธรรมเนียมเพาะเลี้ยงหอยทะเลและสัตว์น้ำในกระชังแล้ว 

(27 ธ.ค. 65) นายอลงกรณ์ พลบุตร ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในฐานะประธานคณะกรรมการฟื้นฟูและพัฒนาศักยภาพการประมงไทยเปิดเผยวันนี้ว่า ตามที่ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มอบหมายให้หาแนวทางการให้ความช่วยเหลือเกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำซึ่งได้รับผลกระทบจากโควิด-19 และสงครามรัสเซีย-ยูเครน โดยคณะกรรมการฟื้นฟูและพัฒนาศักยภาพการประมงไทยมีมติเห็นชอบให้กรมประมงดำเนินการยกร่างกฎกระทรวงยกเว้นการจัดเก็บค่าธรรมเนียมใบอนุญาตการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในที่จับสัตว์น้ำซึ่งเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินที่มีการเลี้ยงหอยทะเลและการเลี้ยงสัตว์น้ำในกระชังในพื้นที่ทั่วประเทศและเสนอให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์พิจารณา

ล่าสุด ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน ได้ลงนามในกฎกระทรวงดังกล่าวแล้วและนำเสนอคณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบเพื่อให้มีผลบังคับใข้โดยเร็วต่อไป

'นิพนธ์' ยืนยัน พรรคประชาธิปัตย์ ไม่เคยทิ้งชาวประมง แก้ปัญหามาโดยตลอด ล่าสุดตั้งงบประมาณ พันกว่าล้าน เพื่อนำเรือออกนอกระบบ

นายนิพนธ์ บุญญามณี รองหัวหน้าพรรค และผู้อำนวยการเลือกตั้งพรรคประชาธิปัตย์ ได้ถึง 'ยุทธศาสตร์ 3 ส' ของพรรคประชาธิปัตย์ ที่ใช้ในการหาเสียง และเป็น นโยบายในการพัฒนา ประเทศในทุกด้าน ถ้าพรรคสามารถเข้าร่วมรัฐบาลอีกครั้งในสมัยหน้าว่าเป็น 'ยุทธศาสตร์' ที่มีการ ครอบคลุม ทั้งหมด จาก 'ยุทธศาสตร์ 3 ส' คือ สร้างเงิน,สร้างคน ,สร้างชาติ

ส่วนในกรณีของการช่วยเหลือชาวประมง นั้น พรรคประชาธิปัตย์ ซึ่งเป็นผู้รับผิดชอบกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ให้ความสำคัญในเรื่องของอาชีพการทำประมงที่มีผู้ประกอบอาชีพประมงในประเทศ 23 จังหวัด ล่าสุด มีการตั้งงบประมาณ จำนวน 1,806 ล้าน เพื่อนำเรือประมงออกนอกระบบจำนวน 1,007 ลำ เพื่อเป็นการช่วยชาวประมง ที่ไม่สามารถนำเรือไปทำการประกอบการประมงได้ ตามกฎหมาย ไอยูยู ซึ่งการนำเรือที่ไม่ถูกต้องออกนอกระบบ เพื่อเป็นการช่วยให้ได้รับเงินชดเชยเพื่อนำไปประกอบอาชีพประมงหรืออื่น ๆ เป็นการสร้างความสมดุล ระหว่างเรือประมงกับสัตว์น้ำที่มีอยู่ เป็นการสร้างความมั่นคงให้กับอาชีพประมง

‘กรมประมง’ ชวนเจ้าของเรือโหลดแอปพลิเคชัน ‘Fisheries Touch’ ชี้ สามารถติดตามเรือได้ทุกที่ทุกเวลา ล่าสุดเข้าระบบแล้ว 3,000 ลำ

(2 ต.ค. 66) นายบัญชา สุขแก้ว รองอธิบดีกรมประมง รักษาการในตำแหน่งอธิบดีกรมประมง เปิดเผยว่า กรมประมงพัฒนาแอปพลิเคชันขึ้นมาชื่อว่า Fisheries Touch ซึ่งเป็นแอปพลิเคชันที่กรมประมงทำขึ้นเพื่อให้ชาวประมงใช้สำหรับติดตามแสดงตำแหน่ง ทิศทาง ความเร็ว และสถานะของเรือได้อย่าง Real-Time ตลอด 24 ชั่วโมง บนแผนที่อิเล็กทรอนิกส์ทางทะเลก่อนเข้าเขตห้ามทำการประมงต่าง ๆ

เช่น เขตทะเลชายฝั่ง เขตปิดอ่าว เขตอุทยานแห่งชาติ และเขตน่านน้ำประชิดประเทศเพื่อนบ้าน เป็นต้น ระบบจะแสดงแนวกันชน (Buffer Zone) หรือแนวแจ้งเตือนในระยะ 0.5 ไมล์ทะเลด้านนอกของเขตที่ห้ามทำการประมงดังที่กล่าวมา

โดยชาวประมงสามารถเรียกดูเส้นทางการเดินเรือของตัวเองในตลอดเวลาย้อนหลังได้ตามช่วงเวลาที่ต้องการ หากชาวประมงที่มีเรือในกรรมสิทธิ์อยู่หลายลำ และมีการติดตั้งระบบติดตามเรือประมงกับบริษัทผู้ให้บริการต่างบริษัทกัน ก็สามารถดูเรือทุกลำภายในบัญชีผู้ใช้งานเดียวกันได้ ช่วยให้ชาวประมงสามารถติดตามเรือของตนเองผ่านทางออนไลน์ได้จากทุกที่ทุกเวลา

และสามารถแจ้งเตือนไปยังผู้ควบคุมเรือเพื่อแก้ไขปัญหาความสุ่มเสี่ยงที่อาจจะเกิดการทำประมงผิดกฎหมายได้อีกด้วย ถือเป็นการลดการกระทำผิดด้วยความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ได้อย่างมากซึ่งสอดรับกับนโยบายรัฐบาล

ท่านรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (ร้อยเอก ธรรมนัส พรหมเผ่า) ที่พยายามผลักดันการฟื้นฟูชีวิตอุตสาหกรรมประมงให้กลับมาเป็นแหล่งรายได้ ด้วยการอำนวยความสะดวกและลดอุปสรรคในการทำการประมง

สำหรับปัจจุบัน (ข้อมูล ณ วันที่ 15 กันยายน 2566) มีเรือประมงที่ได้เข้าใช้งานแอปพลิเคชัน Fisheries Touch จำนวน 3,323 ลำ จากเรือประมงที่ต้องติดตั้งระบบติดตามเรือทั้งหมด 5,082 ลำ และมีเรือที่ยังไม่ได้ใช้แอปพลิเคชันดังกล่าวนี้อีกมากถึงจำนวน 1,759 ลำ ประกอบกับในห้วงที่ผ่านมา กรมประมงพบว่ามีการรายงานข้อมูลที่มีชาวประมงมีโอกาสสุ่มเสี่ยงที่จะเข้าไปทำการประมงในเขตห้ามทำการประมงต่าง ๆ

ดังนั้น กรมประมงจึงขอแจ้งประชาสัมพันธ์เชิญชวนให้เรือประมงที่ยังไม่ได้เข้าใช้แอปพลิเคชันดังกล่าวให้ดาวน์โหลดและลงทะเบียนเข้าใช้งาน เพื่อป้องกันการทำประมงผิดกฎหมาย

ทั้งนี้ แอปพลิเคชัน Fisheries Touch สามารถใช้งานบน Smart Phone ทั้งระบบ IOS ของ iPhone และ iPad ที่ใช้ Version IOS ขั้นต่ำ 5.0 และระบบ Android ของ Smart Phone และ Tablet ใช้ Version ขั้นต่ำ 4.0.3 ซึ่งใช้งานง่าย สะดวก รวดเร็ว โดยชาวประมงสามารถเข้าไปดาวน์โหลดได้ที่ App Store หรือ Play Store และติดต่อขอรหัสใช้งานได้ที่เจ้าหน้าที่ศูนย์ VMS โทร. 0-2561-3132, 0-2561-2296, 0-2561-2297 หรือทาง Line ID : @114velss


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top