Monday, 21 April 2025
ชัยวัฒน์_ลิ้มลิขิตอักษร

ศาลอาญาฯ พิพากษา ‘ชัยวัฒน์ ลิ้มลิขิตอักษร’ จำคุก 3 ปี ฐานจับกุม ‘บิลลี่’ นักสิทธิมนุษยชนชาวกะเหรี่ยง ผิด ม.157

(28 ก.ย. 66) ที่ห้องพิจารณา 303 ศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบกลาง ถนนเลียบทางรถไฟตลิ่งชัน ศาลนัดฟังคำพิพากษา คดีหมายเลขดำ อท.166/2565 ที่อัยการโจทก์ ยื่นฟ้อง นายชัยวัฒน์ ลิ้มลิขิตอักษร ผู้อำนวยการสำนักอุทยานแห่งชาติ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช และพวกรวม 4 คน ฐานปฏิบัติหน้าที่มิชอบฯ กรณีการหายตัวไปของนายบิลลี่

โดยวันนี้ นายชัยวัฒน์ กับพวกจำเลย รวม 4 คน พร้อมทนาย เดินทางมาศาล ส่วนฝ่ายโจทก์ มี โจทก์ร่วม และทนาย เดินทางมาศาล

ศาลพิเคราะห์แล้ว เห็นว่า มีปัญหาที่ต้องวินิจฉัยข้อแรกว่าจำเลยกระทำผิดมาตรา 157 หรือไม่เห็นว่า จำเลยที่ 1 จับกุมนายบิลลี่พร้อมน้ำผึ้งป่าและรถจักรยานยนต์ที่ด่านตรวจ แต่ไม่ยอมทำบันทึกการจับกุมและนำตัวส่งตำรวจพื้นที่ตามขั้นตอน ถือว่าจำเลยมีความผิด ฐานละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ ส่วนจำเลยที่ 2 ถึง 4 ทำตามที่จำเลยที่ 1 สั่งยังไม่เป็นความผิด

ปัญหาที่ต้องวินิจฉัยต่อว่าจำเลยทั้ง 4 ร่วมกัน กักขัง ข่มขืนใจให้นายบิลลี่ขึ้นรถยนต์หรือไม่เห็นว่า มีพยาน เห็นว่าจำเลยทั้ง 4 พานายบิลลี่ขึ้นรถแต่ไม่มีการขู่บังคับโดยใช้อาวุธ แต่ไม่มีพยานคนใดยืนยันได้ว่าจำเลยปล่อยตัวนายบิลลี่ลงที่บริเวณใกล้กับแยกไฟแดง แต่พยานโจทก์ก็ยังไม่มีการเบิกความให้เห็นว่าจำเลยทั้ง 4 ร่วมกันหน่วงเหนี่ยว กักขัง นายบิลลี่แต่อย่างใด

ปัญหาที่ต้องวินิจฉัย ต่อไปว่าจำเลยทั้ง 4 ร่วมกัน ฆ่านายบิลลี่โดยไตร่ตรองหรือไม่ เห็นว่า ชิ้นส่วนกระดูกที่โจทก์นำสืบ ผลตรวจไม่สามารถบ่งชี้ได้ว่าเป็นกระดูกของนายบิลลี่หรือไม่ และโจทก์ไม่สามารถนำสืบได้ว่านายบิลลี่ ยังมีชีวิตอยู่หรือเสียชีวิต ดังนั้นพยานหลักฐานจึงยังไม่อาจ เชื่อได้ว่าจำเลยทั้ง 4 ร่วมกันฆ่านายบิลลี่

ปัญหาที่ต้องวินิจฉัยข้อสุดท้ายว่าพนักงานสอบสวนมีอำนาจฟ้องจำเลยหรือไม่เห็นว่า ข้อหาที่มีการแจ้งต่อจำเลยเป็นเรื่องเกี่ยวกับความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่พนักงานสอบสวนจะมีอำนาจฟ้องคดี พิพากษาว่า นายชัยวัฒน์ จำเลยที่ 1 มีความผิดฐานละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบกรณีที่ไม่ทำบันทึกการจับกุมนำตัวนายบิลลี่ส่งพนักงานสอบสวนสั่งจำคุก 3 ปีโดยไม่รอลงอาญา ส่วนข้อหาอื่นพิพากษายกฟ้อง และ จำเลยที่ 2-4 พิพากษายกฟ้อง

ภายหลังฟังคำพิพากษา นายชัยวัฒน์ ได้ยื่นคำร้องพร้อมหลักทรัพย์ขอประกันตัวระหว่างอุทธรณ์คดี โดยยังอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาล

‘ชัยวัฒน์’ แจงชัด #Saveทับลาน ช่วยป้องปล่อยผีนายทุนฮุบป่า  ส่วนชาวบ้านดั้งเดิม ได้รับความคุ้มครองให้อยู่กินได้แบบถูก กม.

(10 ก.ค.67) จากกรณีอุทยานแห่งชาติทับลาน เปิดรับฟังความคิดเห็นและการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้เสีย ชุมชนที่เกี่ยวข้อง และประชาชน ในการปรับปรุงแนวเขต ‘อุทยานแห่งชาติทับลาน’ ตามมติคณะรัฐมนตรี (ครม.) มาตราส่วน 1 : 4000 (One Map) ซึ่งหากมีการปรับปรุงแนวเขตอุทยานแห่งชาติทับลานตามแนวเขตใหม่นี้ จะมีผลทำให้อุทยานแห่งชาติทับลานมีเนื้อที่ลดน้อยลงไปประมาณ 265,000 ไร่ จนเกิดกระแสในโลกออนไลน์ได้มีการติดแฮชแท็ก #Saveทับลาน กันในวงกว้าง โดยส่วนใหญ่ได้มีการรณรงค์ให้ลงชื่อคัดค้าน เนื่องจากเกรงว่าหากเรื่องนี้ผ่านแล้วจะต้องสูญเสียพื้นที่ป่าไม้กว่า 265,000 ไร่ และมีการวิพากษ์วิจารณ์ว่าพื้นที่ดังกล่าวอาจจะหลุดไปยังมือนายทุนรายใหญ่ และอาจทำร้ายระบบนิเวศของสัตว์ป่าที่อยู่อาศัยในบริเวณนั้น

ล่าสุดเมื่อวันที่ 10 กรกฎาคม 2567 นายชัยวัฒน์ ลิ้มลิขิตอักษร ผู้อำนวยการสำนักอุทยานแห่งชาติ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช โพสต์เฟซบุ๊ก Chaiwat Limlikhitaksorn ระบุข้อความว่า...

ขอบคุณผู้ร่วมแสดงความคิดเห็น มีทั้งคัดค้าน และตั้งข้อสังเกต
ให้คิดเรื่องการคัดค้าน !!!

สืบเนื่องอ้างว่า ชาวบ้านอยู่มาก่อน หรือ อุทยานแห่งชาติทับลาน ไปประกาศแนวเขต ทับที่ชาวบ้าน ขอให้ข้อเท็จจริง ความถูกต้อง หัวข้อในประเด็น

1. ราษฎร รายใด มีเอกสารสิทธิ เช่น ส.ค.1 / น.ส.3 และ น.ส.3 ก สามารถนำไปออกเอกสารสิทธิที่ดิน เป็นโฉนดที่ดินได้ (ถูกต้องตามกฎหมาย )

2. ราษฎรอยู่มาก่อนประกาศอุทยานแห่งชาติทับลาน เมื่อปี 2524 นั้น ราษฎรต้องดูข้อเท็จจริง ว่า ถ้าท่านไม่มี ข้อ (1) ถือว่า ‘ผิดกฎหมาย’

ขอแสดงลำดับการประกาศการคุ้มครองพื้นที่ป่า ซึ่งมีกฎหมาย บังคับใช้ หากบุคคลใด บุกรุกป่า ถือว่า ‘ผิดกฎหมาย’ ดังนี้

- เป็นป่าตาม พ.ร.บ. ป่าไม้ 2484
- เป็นป่าไม้ถาวร 2506
- เป็นป่าสงวนแห่งชาติ ป่าครบุรี 2509
- เป็นป่าสงวนแห่งชาติป่า แก่งดินสอ ป่าแก่งใหญ่ และป่าเขาสะโตน 2510
- เป็นป่าสงวนแห่งชาติป่าวังน้ำเขียว 2515
- เป็นอุทยานแห่งชาติทับลาน 2524
- เป็นกลุ่มป่ามรดกโลก ดงพญาเย็น-เขาใหญ่ 2548

แนวทางแก้ไข ปัญหาราษฎรที่อยู่อาศัยในพื้นที่ป่าอนุรักษ์ ทั้งอุทยานแห่งชาติ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า และเขตห้ามล่าสัตว์ป่า มี มติ ครม. 30 มิถุนายน 2541 คุ้มครองมิให้ จนท.จับกุมดำเนินคดี รวมถึงผ่อนปรน ผ่อนผันให้ราษฎรทำกินไปพลางก่อน จนกว่าจะมี มติ ครม. หรือ พระราชบัญญัติ เปลี่ยนแปลง เป็นอย่างอื่น เมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน 2562 พ.ร.บ.อุทยานแห่งชาติ 2562 มีมาตรา 64 และ พ.ร.บ.สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า 2562 มี มาตรา 121 ประกาศใช้ โดยทั้งสองมาตรา(ม 64/ 121) มีความว่า ‘ให้สำรวจการถือครองที่ดินของประชาชนที่อยู่ในพื้นที่อุทยานแห่งชาติ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า และเขตห้ามล่าสัตว์ป่า’

ที่สำคัญ และ สำคัญมาก คือ ม 64 และ ม 121 นี้ ออกมาเพื่อคุ้มครองราษฎรที่ทำผิดกฎหมาย ข้อหา ‘บุกรุกแผ้วถางป่า ยึดถือครอบครองที่ดิน’ ในพื้นที่อุทยานแห่งชาติทับลาน และในพื้นที่ป่าอนุรักษ์ทั่วประเทศ

ฉะนั้น : ราษฎรที่อยู่มาก่อน จะได้รับการคุ้มครองให้อยู่อาศัย ทำกิน ได้อย่างถูกตามกฎหมายนี้


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top