Sunday, 19 May 2024
จับตัวประกัน

4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2522 กลุ่มหัวรุนแรงชาวอิหร่านเข้ายึดสถานทูตสหรัฐฯ จับนักการทูต - พลเมืองสหรัฐฯ เป็นตัวประกันนาน 444 วัน

ช่วงเช้าตรู่ของวันที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2522 (ค.ศ. 1979) นักศึกษาชาวอิหร่านราว 300 - 500 คน ได้บุกฝ่ากองกำลังของนาวิกโยธินสหรัฐฯ ที่คุ้มกันอยู่ที่สถานทูตสหรัฐอเมริกาประจำกรุงเตหะราน เข้าไปจับกุมตัวประกัน เพื่อเรียกร้องให้รัฐบาลอเมริกันส่งตัวพระเจ้าชาห์ โมฮัมเมด เรซา ปาห์เลวี (Mohammad Reza Pahlavi) ที่กำลังรักษาโรคมะเร็งอยู่ที่สหรัฐฯ กลับไปดำเนินคดีในอิหร่าน 

โดยเหตุการณ์ในตอนแรก กลุ่มนักศึกษาได้จับเจ้าหน้าที่อเมริกัน 52 คน เป็นตัวประกัน และยืนยันว่า รัฐบาลสหรัฐฯ จะต้องส่งตัวพระเจ้าชาห์กลับมา แต่สหรัฐฯ ปฏิเสธคำเรียกร้องโดยอ้างว่า พระเจ้าชาห์กำลังรักษาตัวอยู่ นักศึกษาจึงเรียกร้องให้รัฐบาลอิหร่านตัดความสัมพันธ์กับสหรัฐฯ ทันทีและยกเลิกการขายน้ำมันให้

ขณะที่ทางสหรัฐอเมริกา ประธานาธิบดี จิมมี่ คาร์เตอร์ ได้ตอบโต้ด้วยการให้อายัดทรัพย์สมบัติของอิหร่านทั้งหมดในสหรัฐฯ (ประมาณ 2 แสนล้านบาท) และก็ได้ส่งกองทัพเรือเข้าไปประชิดที่ทะเลอาหรับ

อย่างไรก็ตาม หลังจากได้เจรจาเพื่อให้ปล่อยตัวประกันอย่างต่อเนื่อง จนถึงวันที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2524 อิหร่านจึงได้ปล่อยตัวประกันที่จับไว้ กินระยะเวลารวม 444 วัน

วิกฤตดังกล่าวยังนำไปสู่การคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจของสหรัฐฯ ต่ออิหร่าน ซึ่งทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างทั้งสองประเทศอ่อนแอลงจนถึงปัจจุบัน

ย้อนอดีตการยึดสถานทูตสหรัฐฯ ในประเทศอิหร่าน เมื่อ ‘เตหะราน’ เชื่อ ‘สหรัฐฯ’ กำลังเข้ามาแทรกแซง ปท.

มองต่างมุม ‘กรณีการยึดสถานทูตสหรัฐฯ ณ กรุงเตหะราน ประเทศอิหร่าน’

การยึดสถานทูตสหรัฐฯ ณ กรุงเตหะราน ของนักศึกษาอิหร่าน เมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2522 นั้น รัฐบาลสหรัฐฯได้ยืนยันว่า กิจกรรมของสถานทูตสหรัฐฯในอิหร่านเป็นเรื่องปกติ โดยอธิบายว่า การเคลื่อนไหวของนักศึกษามหาวิทยาลัยชาวอิหร่านที่ยึดสถานทูตว่าไร้เหตุผลและละเมิดกฎหมายระหว่างประเทศ อ้างตามหลักกฎหมายระหว่างประเทศแล้ว ในอนุสัญญาเวียนนาปี 1963 มีข้อปฏิบัติที่เกี่ยวข้องกับสถานทูตต่างประเทศ และเอกสิทธิ์คุ้มครองของสถานทูตต่างประเทศ

อย่างไรก็ตาม อนุสัญญายังได้ระบุด้วยว่า เมื่อสถานทูตของประเทศใดที่ได้รับเอกสิทธิ์คุ้มครองนี้ จะต้องปฏิบัติตามในสองประเด็นนี้ด้วย

อุปกรณ์สื่อสารภายในสถานสหรัฐฯซึ่งทางการอิหร่านเชื่อว่า 
มีขีดความสามารถในการดักฟังการสื่อสารของทางการอิหร่าน

ประเด็นแรกคือ การเคารพต่อกฎหมายของประเทศเจ้าบ้านที่สถานทูตนั้น ๆ ตั้งอยู่ ดังนั้นแม้ว่า สถานทูตสหรัฐฯจะมีเอกสิทธิ์คุ้มครอง แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าสถานทูตสหรัฐฯจะสามารถละเมิดกฎหมายของประเทศเจ้าบ้านได้

Operation Eagle Claw ยุทธการกรงเล็บอินทรี เพื่อช่วยเหลือตัวประกันอเมริกัน
แต่ไม่ประสบความสำเร็จ และกลับต้องประสบความสูญเสียอย่างหนักแทน
อ่านได้ที่ https://www.facebook.com/doctoryothin/posts/pfbid0PS3swT2M1fRC5JnuEFE3APpDQjagekjPAf7XM8wMNo93ZX5Go2cv3VBad8rtvmJal

ประเด็นที่สองคือ เจ้าหน้าที่ทางการทูตอเมริกันไม่สมควรอย่างยิ่งที่จะเข้าไปยุ่งเกี่ยวกับกิจการภายในของประเทศเจ้าบ้าน เจ้าหน้าที่ทางการทูตอเมริกันได้ละเมิดประเด็นเหล่านี้ในอิหร่านมาหลายปีแล้ว (เป็นเรื่องที่เจ้าหน้าที่ทางการทูตอเมริกันยังคงปฏิบัติอยู่จนทุกวันนี้)

เริ่มจากประการแรกรัฐบาลสหรัฐฯให้การสนับสนุนการก่อรัฐประหารในอิหร่าน ปี พ.ศ. 2496 จนเกิดการเปลี่ยนรัฐบาลของอิหร่าน ประการต่อมา มีเอกสารหลายร้อยฉบับที่พิสูจน์ถึงการแทรกแซงกิจการภายในของอิหร่านโดยรัฐบาลสหรัฐฯ

แม้ว่า การยึดสถานทูตสหรัฐฯ ณ กรุงเตหะราน จะไม่ใช่เรื่องที่ถูกต้อง แต่ขบวนการนักศึกษาอิหร่านเชื่อว่า อาคารนั้นไม่ใช่สถานทูตจริง ๆ เพราะกิจกรรมมากมายหลายอย่างในอาคารนั้นบ่งบอก และหลายคนเชื่อว่าหากไม่ยึดสถานทูตสหรัฐฯ อาจเกิดการรัฐประหารในอิหร่านขึ้นซ้ำอีก ยิ่งไปกว่านั้น รัฐบาลอเมริกันยังคงสนับสนุนชาห์ปาเลวีต่อ แม้หลังจากการล่มสลายของระบอบการปกครองของพระองค์จนกระทั่งสิ้นพระชนม์


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top