Tuesday, 22 April 2025
ค่าฝุ่น

สำรวจค่าฝุ่น 'วันวาเลนไทน์' กรุงเทพฯ ระดับสีแดง 17 พื้นที่ สีส้ม 50 พื้นที่

(14 ก.พ.67) เพจกรุงเทพมหานคร โพสต์กราฟฟิคพร้อมเนื้อหาระบุว่า ศูนย์ข้อมูลคุณภาพอากาศกรุงเทพมหานคร ขอรายงานสถานการณ์ฝุ่น PM 2.5 วันที่ 14 กุมภาพันธ์ 67 เวลา 05.00-07.00 น. ตรวจวัดได้ 54.3-82.9 ไมโครกรัม/ลูกบาศก์เมตร (มคก./ลบ.ม.) พบว่าเกินมาตรฐานจำนวน 67 พื้นที่ เกินมาตรฐานอยู่ในระดับสีแดง มีผลกระทบต่อสุขภาพ (มาตรฐานไม่เกิน 75.1 มคก./ลบ.ม.) จำนวน 17 พื้นที่ ระดับสีส้ม เริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพจำนวน 50 พื้นที่ ดังนี้

อยู่ในระดับสีแดง มีผลกระทบต่อสุขภาพ (มาตรฐานไม่เกิน 75.1 มคก./ลบ.ม.) จำนวน 17 พื้นที่ คือ

1.เขตลาดกระบัง ด้านหน้าโรงพยาบาลลาดกระบังข้างป้อมตำรวจ : มีค่าเท่ากับ 82.9 มคก./ลบ.ม.
2.เขตหนองแขม สามแยกข้างป้อมตำรวจ ถนนมาเจริญ เพชรเกษม 81 : มีค่าเท่ากับ 82.1 มคก./ลบ.ม.
3.เขตบางเขน ภายในสำนักงานเขตบางเขน : มีค่าเท่ากับ 79.9 มคก./ลบ.ม.
4.เขตประเวศ ด้านหน้าห้างสรรพสินค้าซีคอน สแควร์ : มีค่าเท่ากับ 79.8 มคก./ลบ.ม.
5.เขตบางพลัด ภายในสำนักงานเขตบางพลัด : มีค่าเท่ากับ 79.7 มคก./ลบ.ม.
6.เขตทวีวัฒนา ทางเข้าสนามหลวง 2 : มีค่าเท่ากับ 79.4 มคก./ลบ.ม.
7.เขตหนองจอก บริเวณหน้าสำนักงานเขตหนองจอก : มีค่าเท่ากับ 78.8 มคก./ลบ.ม.
8.เขตธนบุรี ริมป้ายรถเมล์บริเวณแยกมไหศวรรย์ : มีค่าเท่ากับ 78.2 มคก./ลบ.ม.
9.เขตบึงกุ่ม ภายในสำนักงานเขตบึงกุ่ม : มีค่าเท่ากับ 77.6 มคก./ลบ.ม.
10.เขตคลองสามวา ภายในสำนักงานเขตคลองสามวา : มีค่าเท่ากับ 77.4 มคก./ลบ.ม.
11.เขตบางบอน ใกล้ตลาดบางบอน : มีค่าเท่ากับ 76.9 มคก./ลบ.ม.
12.เขตบางกอกน้อย บริเวณหน้าสถานีตำรวจรถไฟบางกอกน้อย : มีค่าเท่ากับ 76.2 มคก./ลบ.ม
13.เขตปทุมวัน หน้าห้างสามย่านมิตรทาวน์ : มีค่าเท่ากับ 75.8 มคก./ลบ.ม.
14.เขตมีนบุรี สวนเฉลิมพระเกียรติ ร.9 ตรงข้ามสำนักงานเขตมีนบุรี : มีค่าเท่ากับ 75.7 มคก./ลบ.ม.
15.เขตคันนายาว บริเวณปากทางถนนสวนสยามตัดกับถนนรามอินทรา : มีค่าเท่ากับ 75.7 มคก./ลบ.ม.
16.เขตยานนาวา ใกล้ธนาคารกรุงศรีอยุธยา สำนักงานใหญ่ : มีค่าเท่ากับ 75.4 มคก./ลบ.ม.
17.เขตตลิ่งชัน ถนนพุทธมณฑลสาย 1 ตัดกับถนนบรมราชชนนี : มีค่าเท่ากับ 75.3 มคก./ลบ.ม.

อยู่ในระดับสีส้ม เริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ (มาตรฐานไม่เกิน 37.5 มคก./ลบ.ม.) จำนวน 50 พื้นที่ คือ

18.สวนเสรีไทย เขตบึงกุ่ม : มีค่าเท่ากับ 74.8 มคก./ลบ.ม.
19.เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย ด้านหน้าสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ : มีค่าเท่ากับ 74.8 มคก./ลบ.ม.
20.เขตหลักสี่ ภายในสำนักงานเขตหลักสี่ : มีค่าเท่ากับ 73.9 มคก./ลบ.ม.
21.เขตบางนา บริเวณหน้าห้าง สรรพสินค้าบิ๊กซี บางนา : มีค่าเท่ากับ 72.1 มคก./ลบ.ม.
22.สวนหนองจอก เขตหนองจอก : มีค่าเท่ากับ 72.0 มคก./ลบ.ม.
23.สวนหลวงพระราม 8 เขตบางพลัด : มีค่าเท่ากับ 71.2 มคก./ลบ.ม.
24.เขตจตุจักร บริเวณด้านหน้ามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ : มีค่าเท่ากับ 70.8 มคก./ลบ.ม.
25.เขตคลองสาน บริเวณหน้าห้องสมุดใต้สะพานสมเด็จพระเจ้าตากสิน : มีค่าเท่ากับ 70.7 มคก./ลบ.ม.
26.สวนทวีวนารมย์ เขตทวีวัฒนา : มีค่าเท่ากับ 70.4 มคก./ลบ.ม.
27.สวนธนบุรีรมย์ เขตทุ่งครุ : มีค่าเท่ากับ 70.0 มคก./ลบ.ม.
28.เขตบางซื่อ ภายในสำนักงานเขตบางซื่อ : มีค่าเท่ากับ 69.5 มคก./ลบ.ม.
29.เขตสัมพันธวงศ์ บริเวณหน้าหัวมุม ซุ้มประตูเฉลิมพระเกียรติ (วงเวียนโอเดียน) : มีค่าเท่ากับ 69.2 มคก./ลบ.ม.
30.เขตพระโขนง ภายในสำนักงานเขตพระโขนง : มีค่าเท่ากับ 68.8 มคก./ลบ.ม.

31.เขตดินแดง ริมถนนวิภาวดีรังสิต : มีค่าเท่ากับ 68.3 มคก./ลบ.ม.
32.เขตคลองเตย ภายในสำนักงานเขตคลองเตย : มีค่าเท่ากับ 68.2 มคก./ลบ.ม.
33.เขตบางกะปิ ข้าง ป้อมตำรวจตรงข้ามสำนักงาน เขตบางกะปิ : มีค่าเท่ากับ 68.1 มคก./ลบ.ม.
34.เขตสายไหม ป้ายรถเมล์ด้านหน้าสำนักงานเขตสายไหม : มีค่าเท่ากับ 67.9 มคก./ลบ.ม.
35.สวน 60 พรรษาสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ เขตลาดกระบัง : มีค่าเท่ากับ 67.8 มคก./ลบ.ม.
36.เขตดุสิต ริมสวนหย่อมตรงข้ามสำนักงานเขตดุสิต : มีค่าเท่ากับ 67.6 มคก./ลบ.ม.
37.เขตบางกอกใหญ่ บริเวณสี่แยกท่าพระ แขวงวัดท่าพระ : มีค่าเท่ากับ 67.6 มคก./ลบ.ม.
38.เขตบางขุนเทียน ภายในสำนักงานเขตบางขุนเทียน : มีค่าเท่ากับ 67.0 มคก./ลบ.ม.
39.เขตวังทองหลาง ด้านหน้าปั๊มน้ำมัน เอสโซ่ ซ.ลาดพร้าว 95 : มีค่าเท่ากับ 67.0 มคก./ลบ.ม.

40.เขตดอนเมือง ด้านข้างสำนักงานเขตดอนเมือง : มีค่าเท่ากับ 66.8 มคก./ลบ.ม.
41.สวนเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา เขตบางกอกน้อย : มีค่าเท่ากับ 66.2 มคก./ลบ.ม.
42.เขตราษฎร์บูรณะ ภายในสำนักงานเขตราษฎร์บูรณะ : มีค่าเท่ากับ 66.1 มคก./ลบ.ม.
43.เขตจอมทอง ภายในสำนักงานเขตจอมทอง : มีค่าเท่ากับ 65.0 มคก./ลบ.ม.
44.เขตลาดพร้าว ภายในสำนักงานเขตลาดพร้าว : มีค่าเท่ากับ 65.0 มคก./ลบ.ม.
45.เขตบางรัก ข้างป้อมตำรวจหน้าลานบางรักเลิฟลี่ พลาซ่า : มีค่าเท่ากับ 64.9 มคก./ลบ.ม.
46.เขตทุ่งครุ หน้ามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี : มีค่าเท่ากับ 64.8 มคก./ลบ.ม.
47.สวนกีฬารามอินทรา เขตบางเขน : มีค่าเท่ากับ 64.4 มคก./ลบ.ม.
48.เขตบางแค ภายในสำนักงานเขตบางแค : มีค่าเท่ากับ 64.4 มคก./ลบ.ม.
49.เขตสะพานสูง ภายในสำนักงานเขตสะพานสูง : มีค่าเท่ากับ 64.0 มคก./ลบ.ม.

50.สวนสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ฯ เขตจตุจักร : มีค่าเท่ากับ 63.7 มคก./ลบ.ม.
51.เขตพญาไท หน้าแฟลตทหารบกใกล้โรงพยาบาลวิชัยยุทธ ตรงข้ามกระทรวงการคลัง : มีค่าเท่ากับ 63.6 มคก./ลบ.ม.
52.สวนเบญจกิติ เขตคลองเตย : มีค่าเท่ากับ 62.2 มคก./ลบ.ม.
53.อุทยานเบญจสิริ เขตคลองเตย : มีค่าเท่ากับ 62.2 มคก./ลบ.ม.
54.เขตพระนคร ภายในสำนักงานเขตพระนคร : มีค่าเท่ากับ 61.3 มคก./ลบ.ม.
55.เขตห้วยขวาง ภายในสำนักงานเขตห้วยขวาง (ด้านข้างโรงเพาะชำ) ถนนประชาอุทิศ : มีค่าเท่ากับ 61.0 มคก./ลบ.ม.
56.สวนวชิรเบญจทัศ เขตจตุจักร : มีค่าเท่ากับ 60.9 มคก./ลบ.ม.
57.เขตบางคอแหลม บริเวณป้อมตำรวจสี่แยกถนนตก : มีค่าเท่ากับ 60.9 มคก./ลบ.ม.
58.เขตสาทร สี่แยกหน้าสำนักงานเขตสาทร ซอย ถนนเซนต์หลุยส์ : มีค่าเท่ากับ 60.3 มคก./ลบ.ม.
59.สวนหลวง ร.9 เขตประเวศ : มีค่าเท่ากับ 60.1 มคก./ลบ.ม.
60.สวนบางแคภิรมย์ เขตบางแค : มีค่าเท่ากับ 59.6 มคก./ลบ.ม.

61.เขตวัฒนา ตรงข้าม noble Reveal(ข้าง MK gold restaurants) : มีค่าเท่ากับ 59.4 มคก./ลบ.ม.
62.สวนสันติภาพ เขตราชเทวี : มีค่าเท่ากับ 59.4 มคก./ลบ.ม.
63.สวนจตุจักร เขตจตุจักร : มีค่าเท่ากับ 58.0 มคก./ลบ.ม.
64.เขตราชเทวี ภายในสำนักงานเขตราชเทวี : มีค่าเท่ากับ 56.7 มคก./ลบ.ม.
65.สวนสาธารณะเฉลิมพระเกียรติ 6 รอบพระชนมพรรษา เขตบางคอแหลม : มีค่าเท่ากับ 55.9 มคก./ลบ.ม.
66.เขตภาษีเจริญ หน้ามหาวิทยาลัยสยาม(ประมาณซอยเพชรเกษม 36) ทางเข้ามหาวิทยาลัย : มีค่าเท่ากับ 55.5 มคก./ลบ.ม.
67.สวนลุมพินี เขตปทุมวัน : มีค่าเท่ากับ 54.3 มคก./ลบ.ม.

>> สำหรับข้อแนะนำสุขภาพ :

- คุณภาพอากาศระดับสีแดง : มีผลกระทบต่อสุขภาพ
ประชาชนทุกคน : งดกิจกรรมกลางแจ้ง หากมีความจำเป็นต้องทำกิจกรรมกลางแจ้งให้ใช้อุปกรณ์ป้องกันตนเองทุกครั้ง เช่น หน้ากากป้องกัน PM2.5 หากมีอาการผิดปกติให้รีบไปพบแพทย์ ผู้ที่มีโรคประจำตัว ควรอยู่ในพื้นที่ปลอดภัยจากมลพิษทางอากาศ ให้เตรียมยาและอุปกรณ์ที่จำเป็นให้พร้อมและปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด

- คุณภาพอากาศระดับสีส้ม: เริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ
ประชาชนทั่วไป : ใช้อุปกรณ์ป้องกันตนเอง เช่น หน้ากากป้องกัน PM2.5 ทุกครั้งที่ออกนอกอาคาร จำกัดระยะเวลาในการทำกิจกรรมหรือการออกกำลังกายกลางแจ้งที่ใช้แรงมาก ควรสังเกตอาการผิดปกติ เช่น ไอ หายใจลำบาก ระคายเคืองตา
ประชาชนกลุ่มเสี่ยง : ใช้อุปกรณ์ป้องกันตนเอง เช่น หน้ากากป้องกัน PM2.5 ทุกครั้งที่ออกนอกอาคาร เลี่ยงการทำกิจกรรมหรือการออกกำลังกายกลางแจ้งที่ใช้แรงมาก ให้ปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์ หากมีอาการผิดปกติให้รีบไปพบแพทย์

กรมอุตุนิยมวิทยา พยากรณ์สภาพอากาศในพื้นที่กรุงเทพมหานคร มีอากาศเย็นกับมีหมอกในตอนเช้า อุณหภูมิจะสูงขึ้น 1-2 องศาเซลเซียส ปัจจัยที่เกี่ยวข้อง(คาดการณ์แนวโน้มสภาพอากาศที่ส่งผลกระทบต่อฝุ่นPM2.5 โดยสภาพทางอุตุนิยมวิทยา)

ช่วงวันที่ 14-15 ก.พ. 67 การระบายอากาศอ่อน ประกอบกับอากาศใกล้ผิวพื้นมีลักษณะปิด ส่งผลให้ความเข้มข้นของฝุ่นละอองมีแนวโน้มทรงตัวถึงเพิ่มขึ้น ส่วนในช่วงวันที่ 16-22 ก.พ. 67 การระบายอากาศอยู่ในเกณฑ์ดี อากาศใกล้ผิวพื้นมีลักษณะค่อนข้างเปิดสลับปิด ส่งผลให้ค่าฝุ่นละอองมีแนวโน้มลดลง และคาดการณ์วันนี้ มีอากาศเย็นกับมีหมอกในตอนเช้า อุณหภูมิจะสูงขึ้น 1-2 องศาเซลเซียส

จากการตรวจสอบข้อมูลจุดความร้อน (hotspot) ผ่านดาวเทียม จากหน่วยงาน NASA พบจุดความร้อนที่ดาวเทียมตรวจพบค่าความร้อนสูงผิดปกติจากค่าความร้อนบนผิวโลกบริเวณพื้นที่กรุงเทพมหานคร พบจุดความร้อนที่ดาวเทียมตรวจพบค่าความร้อนสูงผิดปกติจากค่าความร้อนบนผิวโลกบริเวณพื้นที่กรุงเทพมหานคร ในวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2567 จำนวน 3 จุด ดังนี้ จุดที่ 1 เวลา 13.26 น. แขวงแขวงลาดพร้าว เขตลาดพร้าว จุดที่ 2-3 เวลา 13.26 น. แขวงลำผักชี เขตหนองจอก (อยู่ระหว่างประสานตรวจสอบจุดความร้อนกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง)

สำนักสิ่งแวดล้อมได้ประสานแจ้งทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้เพิ่มความเข้มงวดการดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการแก้ไขปัญหาฝุ่นละออง เพื่อเป็นการบรรเทาความรุนแรงของสถานการณ์ฝุ่นละออง PM2.5 และผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นกับสุขภาพอนามัยของประชาชน และขอเชิญชวนส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนและทุกภาคส่วน โดยช่วยกันปรับเปลี่ยน พฤติกรรมและลดกิจกรรมที่อาจก่อให้เกิดฝุ่นละออง เพื่อลดผลกระทบต่อสุขภาพ ‘5 วิธีลดฝุ่น คุณก็ทําได้’ 1. หมั่นทําความสะอาดบ้านด้วยวิธีเช็ดฝุ่น 2. งดเผาขยะ งดจุดธูป 3. ปลูกต้นไม้ช่วยดูดซับมลพิษดักจับฝุ่นละออง 4. เดินทางด้วยระบบขนส่งสาธารณะ และ 5. ดับเครื่องยนต์ขณะจอดรถ ตรวจสภาพเครื่องยนต์ไม่ให้มีค่าควันดํา เกินมาตรฐาน

ชัชชาติ ผนึกหลากภาคี ลุยมาตรการสู้ฝุ่น PM2.5 เล็ง!! สั่งแบนรถ 6 ล้อค่าฝุ่นสูงเข้าเขต กทม.

(29 ต.ค. 67) นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร พร้อมด้วย นายประเสริฐ สินสุขประเสริฐ ปลัดกระทรวงพลังงาน นายธีระพงษ์ วิมลจิตรานนท์ ผู้อำนวยการกองควบคุมคุณภาพอากาศและเสียง กรมควบคุมมลพิษ และนายทองอยู่ คงขันธ์ ประธานสหพันธ์การขนส่งทางบกแห่งประเทศไทยร่วมแถลงข่าวด้วย

นายธีระพงษ์ วิมลจิตรานนท์ กล่าวว่า จากการพยากรณ์คาดว่าในปีนี้ปริมาณของค่าฝุ่น PM2.5 จะมีจำนวนไม่มากเทียบเท่าปีที่ผ่าน ๆ มา 

โดยทางรัฐบาลได้เตรียมความพร้อมในการลดความรุนแรงในการเกิดไฟป่า พร้อมทั้งการเผาในทางเกษตร โดยเฉพาะ ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ข้าว และอ้อยโรงงาน 

นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ เปิดเผยว่า ในรอบปีที่ผ่านมา กทม. ทบทวนทุกอำนาจที่มีเพื่อให้สามารถควบคุมสถานการณ์ฝุ่นได้อย่างเด็ดขาด 

และหากจำกันได้ เมื่อปีที่ผ่านมาทางสภากรุงเทพมหานคร ได้มีการออกข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครเกี่ยวกับการให้รถโดยสารสาธารณะในพื้นที่กรุงเทพมหานครต้องเป็นรถที่ไม่ปล่อยมลพิษเท่านั้น ซึ่งสุดท้ายทางกฤษฎีกาวินิจฉัยว่าขัดหรือแย้งกับกฎหมายอื่น 

ทำให้ในปีนี้ตัดสินใจที่จะใช้อำนาจตาม พรบ.ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ซึ่งให้อำนาจผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครในกรณีเกิดเหตุหรือใกล้เกิดเหตุสาธษรณภัย สามารถออกมาตรการเพื่อกำจัดต้นเหตุได้

โดย กทม. จึงได้ออกประกาศให้ รถบรรทุกห้ามเข้าในพื้นที่ชั้นในของกรุงเทพมหานคร โดยมีหลักการคือ ห้ามไม่ให้รถขนาดตั้งแต่ 6 ล้อขึ้นไปเข้าในพื้นที่วงแหวนกาญจนาภิเษก หรือพื้นที่วงแหวนรัชดาภิเษก ตามแต่ช่วงความรุนแรงของฝุ่น โดยใช้กล้อง CCTV ในการตรวจจับการกระทำความผิด นอกจากนี้ยังมีมาตรการอื่น ๆ เช่น การตั้งด่าน หรือ ตรวจตามไซต์งานก่อสร้าง ฯลฯ

ยกเว้น รถบรรทุก EV-NGV หรือรถบรรทุกที่มีเครื่องยนต์มาตรฐาน EURO 5 ขึ้นไป หรือรถบรรทุกที่มีการเปลี่ยนไส้กรองและน้ำมันเครื่องตั้งแต่ 1 พ.ย. 67 นี้เป็นต้นไป เนื่องจากการปล่อยมลพิษน้อย โดยจะมี Green List หรือบัญชีสีเขียว ซึ่งบันทึกข้อมูลรถดังกล่าว

นายชัชชาติยังได้ย้ำอีกว่า รถที่จะขึ้นทะเบียนคือรถที่มีขนาด 6 ล้อขึ้นไป สำหรับรถทั่วไปยังไม่ต้องลงทะเบียน 

นายประเสริฐ สินสุขประเสริฐ ปลัดกระทรวงพลังงาน ได้เปิดเผยว่า จากปีที่ผ่านมาที่กระทรวงพลังงาน ได้ร่วมมือกับกรุงเทพมหานคร ในการรณรงค์แคมเปญ ‘รถคันนี้ลดฝุ่น’ ซึ่งมีผู้เข้าร่วมมากกว่า 2.6 แสนคัน 

ในปีนี้กระทรวงพลังงานได้ประสานงานกับผู้ประกอบการผู้ค้าน้ำมันที่มีการให้บริการทั้งการเปลี่ยนไส้กรอง และเปลี่ยนน้ำมันเครื่องหลายราย โดยในปีนี้จะดำเนินการต่อเนื่องผ่านการให้ส่วนลดค่าบริการ มากที่สุดถึง 40%

นายทองอยู่ คงขันธ์ ประธานสหพันธ์การขนส่งทางบกแห่งประเทศไทย กล่าวว่า ทางสมาพันธ์พร้อมที่จะดำเนินการตามที่มาตรการของภาครัฐกำหนด และจะช่วยสนับสนุนห่วงโซ่อุปทานของรถบรรทุกไฟฟ้าในประเทศไทยให้เพิ่มมากขึ้นจากที่มีอยู่จำนวนประมาณ 1 หมื่นคัน

‘ธนกร’ วอน!! รัฐบาล เร่งคลอด มาตรการเข้มข้น เพื่อควบคุมฝุ่น PM 2.5 จี้!! ‘ผู้ว่าฯ กทม. - บก.จร.’ ใช้ยาแรง บังคับใช้กฎหมาย ให้เข้มงวดมากขึ้น

(12 ม.ค. 68) นายธนกร วังบุญคงชนะ  สส.บัญชีรายชื่อ พรรครวมไทยสร้างชาติ (รทสช.) กล่าวถึงสถานการณ์ค่าฝุ่น PM 2.5 ในสัปดาห์ที่ผ่านมามีระดับสีส้มและสีแดงบางจุด ว่า ตนขอฝาก ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เร่งประเมินสถานการณ์ และยกระดับมาตรการ รับมือป้องกันผลกระทบให้มีความเข้มข้นขึ้น เพื่อแก้ไขปัญหาฝุ่นดูแลสุขภาพประชาชน ที่แม้ว่าวันนี้ค่าฝุ่น จะอยู่ในเกณฑ์ดี แต่ในช่วงวันที่ 12 - 19 ม.ค. 2568 ความเข้มข้นของฝุ่นละอองมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นสลับลดลง ประกอบกับกรมอุตุนิยมวิทยาคาดการณ์ในช่วงนี้อุณหภูมิจะลดลง 1-2 องศาเซลเซียส ในช่วงเช้ามีอากาศเย็นและลมแรง จากสภาวะอากาศที่แห้ง เสี่ยงต่อการเกิดการลุกไหม้ได้ ขอเจ้าหน้าที่ตรวจสอบความเข้ม เอาผิดผู้ที่จุดไฟเผาป่าหรือบริเวณรกร้าง เพราะถือว่าทำให้เกิดผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมเป็นวงกว้าง

ทั้งนี้อีกสาเหตุหลักของฝุ่นPM 2.5 มาจากรถบรรทุกที่ใช้น้ำมันดีเซลที่ควันดำ รถบรรทุกขนาดใหญ่และกลุ่มของรถสาธารณะขนส่งมวลชน  จึงขอฝากทางกทม. ร่วมกับองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.)กำกับการตรวจรถเมล์ รถในสังกัด ของขสมก. รวมทั้งขอทางกองบังคับการตำรวจจราจร (บก.จร.) ตรวจวัดมลพิษรถยนต์ควันดำ พวกรถบรรทุกขนาดใหญ่ที่ยังพบเห็นการปล่อยควันดำตามท้องถนนอยู่เป็นประจำ ต้องมีการบังคับใช้กฎหมายอย่างเข้มงวดมากขึ้น เพื่อลดผลกระทบทางมลพิษแก่ประชาชน

"เป็นห่วงว่า หากสถานการณ์ฝุ่นPM 2.5 ทั้งในกรุงเทพมหานครและทั่วประเทศทวีความรุนแรงขึ้น จะส่งผลต่อสุขภาพของพี่น้องประชาชนโดยเฉพาะเด็กเล็กและผู้สูงวัย ขอทางรัฐบาล ผู้ว่าราชการ กรุงเทพมหานคร ออกมาตรการใช้ยาแรง คุมเข้มเรื่องควันดำจากรถยนต์  จัดให้มี การเวิร์คฟอร์มโฮมทำงานจากที่บ้านของส่วนราชการในสังกัดที่สามารถควบคุมบริหารจัดการได้  

พร้อมกันนี้ในโรงเรียนขอให้งดกิจกรรมกลางแจ้งปรับเปลี่ยนห้องเรียนให้ปลอดฝุ่นพิษหรือเพิ่มเครื่องฟอกอากาศ เพื่อช่วยดูแลสุขภาพเด็กเล็กและประถมวัยที่มีความเปราะบาง เชื่อว่าหากรัฐบาล ผู้ว่าราชการทุกจังหวัด รวมถึง กทม. ออกมาตรการเข้มข้นจะสามารถลดผลกระทบที่มีต่อสุขภาพพี่น้องประชาชนลงได้มาก" นายธนกร กล่าวทิ้งท้าย


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top