Saturday, 19 April 2025
คาร์บอนไดออกไซด์

‘อ.เจษฎ์’ เตือน!! อย่าใช้ถังดับเพลิงทำเอฟเฟกต์ควัน เหตุก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ มีอันตรายถึงชีวิต

ดร.เจษฎา เด่นดวงบริพันธ์ อาจารย์ประจำภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์เตือนผ่านทางเพจเฟซบุ๊ก ‘อ๋อ มันเป็นอย่างนี้นี่เอง by อาจารย์เจษฎ์’ ระบุว่า... 

“เอาถังดับเพลิง มาทำเอฟเฟกต์ ต้องระมัดระวัง อย่างสูง”

วันนี้มีคลิปวิดีโอที่ค่อนข้างเป็นไวรัล ออกมาอันนึง เป็นเหมือนพิธีเปิดงาน ที่ด้านหลังฉากมีเจ้าหน้าที่ผู้หญิง เตรียมเอา ‘ถังดับเพลิง’ มาฉีด เพื่อทำเอฟเฟกต์หมอกสวยๆ ตอนประธานกล่าวจบ 

ประเด็นคือ คลิปนี้ไม่ได้เขียนให้รายละเอียดเกี่ยวกับถังดับเพลิงที่ใช้ ไม่ได้หันด้านหน้าของถังมาให้ดูว่าเป็นชนิดที่ใส่สารอะไรไว้ จึงต้องระมัดระวังอย่างสูง ถ้าใครดูแล้วคิดจะเอาไปทำตาม

ปกติถังดับเพลิงที่เราใช้กันตามบ้านเรือนนั้นจะมีหลายประเภท ซึ่ง ‘ถังสีแดง’ ที่เราคุ้นเคยกันนั้น ส่วนใหญ่มันจะเป็นชนิด ‘ผงเคมีแห้ง’ สำหรับดับไฟได้หลากหลายที่มา ไม่ว่าจะเป็นเพลิงไหม้ที่เกิดจากเชื้อเพลิงของแข็ง เพลิงไหม้จากของเหลวติดไฟและก๊าซติดไฟ เพลิงไหม้จากอุปกรณ์ไฟฟ้า เพลิงไหม้จากโลหะไวไฟ เป็นต้น

หรือถ้าเป็น ‘ถังสีเขียว’ ก็มักจะเป็นชนิด ‘น้ำยาเหลวระเหย’ สามารถดับไฟได้หลากหลายที่มาเช่นกัน โดยมีข้อดีที่เมื่อฉีดใช้งาน จะไม่ทิ้งคราบสกปรก ไม่ทำลายอุปกรณ์ไฟฟ้าเสียหาย เหมือนชนิดผงเคมีแห้ง

โลกใบที่สอง ค้นพบวิธีผลิตออกซิเจนจากก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ อาจเปลี่ยนดาวอังคารให้เป็นที่อยู่อาศัยได้

ทีมนักวิทยาศาสตร์ค้นพบวิธีผลิตก๊าซออกซิเจนจากก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ งานวิจัยนี้อาจเปลี่ยนดาวอังคารให้เป็นสถานที่ที่สิ่งมีชีวิตจากโลกสามารถอาศัยอยู่ได้ และอาจนำไปสู่การแก้ไขปัญหาภาวะโลกร้อน

ทีมนักวิทยาศาสตร์นานาชาติจากมหาวิทยาลัยลิสบอน (University of Lisbon), สถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์ (Massachusetts Institute of Technology), มหาวิทยาลัยซอร์บอน (Sorbonne University), มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีไอนด์โฮเวน (Eindhoven University of Technology) และสถาบันดัตช์เพื่อการวิจัยพลังงานขั้นพื้นฐาน (Dutch Institute for Fundamental Energy Research) ได้ตีพิมพ์งานวิจัยชื่อ “พลาสมาสำหรับการใช้ทรัพยากรในแหล่งกำเนิดบนดาวอังคาร” ลงบนวารสารเอไอพี พับลิชชิ่ง (AIP Publishing) ซึ่งเป็นวารสารสำหรับงานวิจัยด้านฟิสิกส์

รายงานวิจัยนำเสนอวิธีผลิตก๊าซออกซิเจนจากชั้นบรรยากาศของดาวอังคารด้วยพลาสมา ซึ่งพลาสมาในทางฟิสิกส์นั้นหมายถึงเป็นสภาวะธรรมชาติลำดับที่สี่ของสสาร และประกอบด้วยอนุภาคที่มีประจุอิสระ เช่น อิเล็กตรอนและไอออน โดยนักวิจัยได้ใช้เครื่องให้กำเนิดพลาสมาในการทดลอง เพื่อไปกระทำกับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) เพื่อแยกออกซิเจนออกจากคาร์บอน จึงทำให้ได้ C และ O2 ซึ่ง O2 ก็คือก๊าซออกซิเจน

‘จีน’ คิกออฟ ‘โรงไฟฟ้าพลังงานสะอาด’ 10,000 ไร่  ลดปล่อยคาร์บอนฯ มากกว่า 1.6 ล้านตันต่อปี

(26 มิ.ย. 66) สำนักข่าวซินหัวรายงานว่า สถานีไฟฟ้าพลังน้ำ-พลังแสงอาทิตย์แบบผสมผสานขนาดใหญ่ในอำเภอหย่าเจียง แคว้นปกครองตนเองกานจือ กลุ่มชาติพันธุ์ทิเบต มณฑลซื่อชวน (เสฉวน) ทางตะวันตกเฉียงใต้ของจีน เริ่มเปิดดำเนินการแล้วเมื่อวันอาทิตย์ 25 มิ.ย. ที่ผ่านมา

สำหรับสถานีไฟฟ้าพลังแสงอาทิตย์เคอลา ซึ่งเป็นโครงการระยะแรกของโครงการพลังน้ำ-พลังแสงอาทิตย์แบบผสมผสานของโรงไฟฟ้าพลังน้ำเหลี่ยงเหอโข่ว (Lianghekou) เป็นสถานีไฟฟ้าพลังน้ำ-พลังแสงอาทิตย์แบบผสมผสานขนาดใหญ่ที่สุดและตั้งอยู่บนที่สูงสุดในโลก

รายงานระบุว่าสถานีแห่งนี้ครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 1,667 เฮกตาร์ (ราว 10,000 ไร่) มีกำลังการผลิตติดตั้ง 1 ล้านกิโลวัตต์ และสามารถผลิตไฟฟ้าเฉลี่ย 2 พันล้านกิโลวัตต์ชั่วโมงต่อปี ซึ่งลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้มากกว่า 1.6 ล้านตันต่อปี

อนึ่ง โรงไฟฟ้าพลังน้ำเหลี่ยงเหอโข่ว มีกำลังการผลิตติดตั้งตามการออกแบบรวม 3 ล้านกิโลวัตต์ ตั้งอยู่บนแม่น้ำหย่าหลงในแคว้นปกครองตนเองกานจือ โดยแอ่งแม่น้ำหย่าหลงเป็นหนึ่งในฐานพลังงานสะอาดของจีน

นักวิทย์ค้นพบ 'วัสดุที่มีรูพรุน' กักเก็บก๊าซคาร์บอนฯ จากอากาศได้ คาดหวังให้เป็นทางออกของปัญหาโลกร้อนในอนาคต

นักวิทยาศาสตร์ต่างยกย่องการค้นพบ ‘วัสดุที่มีรูพรุน’ ซึ่งสามารถกักเก็บก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากอากาศได้ หวังให้เป็นทางออกปัญหาโลกร้อน

งานวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสาร Nature Synthetic พบว่าทีมนักวิทยาศาสตร์ที่มหาวิทยาลัยเเฮเรียต-วัตต์ ในเอดินเบอระ ของสก็อตแลนด์ ได้สร้างโมเลกุลที่มีลักษณะกลวงเป็นรูพรุน เปรียบเสมือนกรงที่สามารถใช้กักเก็บก๊าซเรือนกระจก เช่น 'คาร์บอนไดออกไซด์' และ 'ซัลเฟอร์เฮกซาฟลูออไรด์' ได้

โดย 'ซัลเฟอร์เฮกซาฟลูออไรด์' นับเป็นก๊าซเรือนกระจกที่สลายตัวได้ยากมากกว่าคาร์บอนไดออกไซด์ ซึ่งสามารถอยู่ในชั้นบรรยากาศของโลกได้เป็นเวลาหลายพันปี

ดร.มาร์ค ลิตเติ้ล หนึ่งในผู้ร่วมวิจัยระบุว่า นี่เป็นการค้นพบที่น่าตื่นเต้น พวกเขาต้องการวัสดุที่มีรูพรุนชนิดใหม่ ๆ เพื่อช่วยแก้ปัญหาที่ท้าทายที่สุดของโลกอย่างวิกฤติการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

ดร.ลิตเติ้ลยังบอกด้วยว่า การดักจับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในอากาศโดยตรงมีความสำคัญมากขึ้นเรื่อย ๆ เพราะแม้ในอนาคตเราอาจจะหยุดปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้ แต่ก๊าซเรือนกระจกที่อยู่ในชั้นบรรยากาศของเราจนถึงตอนนี้ก็ยังคงสร้างปัญหาต่อสิ่งแวดล้อมอย่างรุนแรงอยู่ดี

และแม้การปลูกต้นไม้เป็นวิธีดูดซับคาร์บอนที่มีประสิทธิภาพมาก แต่ใช้เวลานานมากกว่าจะเห็นผล จึงจำเป็นต้องมีการแทรกแซงของมนุษย์ในการสร้างวัสดุบางอย่างขึ้นมาเพื่อดักจับก๊าซเรือนกระจกจากสิ่งแวดล้อมได้อย่างมีประสิทธิภาพเร็วขึ้น และการค้นพบครั้งนี้ก็นำไปสู่การค้นพบหนทางใหม่ ๆ ของการแก้ปัญหาโลกร้อนในอนาคต

อย่างไรก็ตาม งานวิจัยดังกล่าวยังคงต้องได้รับการพัฒนาเพื่อให้ได้วิธีการดักจับก๊าซเรือนกระจกที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น พวกเขามีแผนจะใช้ปัญญาประดิษฐ์ หรือ AI เข้ามาช่วยจำลองสถานการณ์เพื่อสร้างการรวมตัวของโมเลกุลให้เป็นวัสดุรูพรุนชนิดใหม่ได้อย่างรวดเร็วและแม่นยำมากขึ้นด้วย


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top