Monday, 24 June 2024
ความเท่าเทียมทางเพศ

‘ครูธัญ’ หวั่น!! ความเสมอภาคของผู้คนในแดนกิมจิอาจมืดสนิท!! หลังผู้นำคนใหม่เตรียมยุบ​ 'ก.ความเท่าเทียมทางเพศ'

ธัญวัจน์ กมลวงศ์วัฒน์ ส..แบบบัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล กล่าวถึงผลการเลือกตั้งประธานาธิบดี เกาหลีใต้ ซึ่ง ยูน ซอก-ยอล จากพรรคพลังประชาชน เป็นผู้ชนะการเลือกตั้งล่าสุดอย่างเฉียดฉิว ว่า...

เป็นว่าที่ประธานาธิบดีที่มีนโยบายขวาจัด และสิ่งหนึ่งที่ประกาศต่อสาธารณะ คือ​ การยุบกระทรวงความเท่าเทียมทางเพศ จึงมีความเป็นห่วงอย่างมาก เพราะความเท่าเทียมทางเพศ​ คือ​ ตัวชี้วัดอย่างหนึ่งที่สะท้อนความเสมอภาคของประชาชนและความก้าวหน้าของประเทศ และยอมรับว่า ในปัจจุบันผู้มีอำนาจ มีตำแหน่งสำคัญๆ ยังมีความไม่เข้าใจประเด็นดังกล่าวว่าสำคัญอย่างไรอยู่

Gender หากแปลตรงตัวคือ ‘เพศสถานะ’ หากเราเข้าใจเพียงเท่านี้ก็คงไม่นำพาสู่การแก้ปัญหาใด ๆ แต่หากเราเข้าใจว่าเพศสถานะนั้นคือการกำหนดบทบาททางเพศโดยรัฐ หรือสังคมนิยมชาย #Patriachy ในอดีต เราก็จะพบความไม่เท่าเทียม ทั้งการให้คุณค่าด้านวัฒนธรรม มูลค่าทางเศรษฐกิจ และ ศักดิ์ศรีรวมถึงพื้นที่ของผู้หญิงและความหลากหลาย ดังนั้น Gender = เพศสถานะ = ความไม่เท่าเทียมทางเพศ เราจึงเติมคำว่า Equality ด้านหลังคำว่า Gender เพื่อให้ความไม่เท่าเทียมนั้นถูกทำให้เท่าเทียม จึงเป็นที่มาของคำว่า #GenderEquality”

ธัญวัจน์ กล่าวต่อไปว่า ความคิดการยุบกระทรวงความเท่าเทียมทางเพศ สะท้อนความคิดสังคมที่นิยมความเป็นชายในบุคคลนั้น แม้คนนั้นจะเป็นผู้หญิงก็ตาม ตัวอย่างข่าวที่ออกมาในเกาหลีใต้ คิมกอนฮีภรรยาของ ยูน ซอก-ยอล เคยมีบทสนทนาถึงความไม่เชื่อใน #Metoo หรือประเด็นการส่งเสียงต่อการล่วงละเมิดทางเพศที่เป็นกระแสเกิดขึ้นทั่วโลกเพื่อต่อสู้กับ ‘ความเงียบ’ ที่ถูกกดทับจากผู้ชาย สะท้อนความคิดสนับสนุนอำนาจชายเป็นใหญ่ที่มองว่าเป็นเรื่องผู้ชายเล่นสนุก

คนไทยเท่าเทียมกัน!! ‘ก้าวไกล’ เปิด 10 นโยบายความเท่าเทียมทางเพศ สานต่ออุดมการณ์ 'อนาคตใหม่' สร้างสังคมคนเท่ากัน

‘ก้าวไกล’ เปิดนโยบายเพื่อความเท่าเทียมทางเพศ เนื่องในวันสตรีสากล ชู คำนำหน้านามตามความสมัครใจ - ผ้าอนามัยไม่เก็บ VAT แจกฟรีในโรงเรียน - ตำรวจหญิงทุกสถานี - สมรสเท่าเทียม - ยุติตั้งครรภ์ไม่เกิน 12 สัปดาห์ รับยาฟรี ทุก รพ.สต. - ศูนย์เลี้ยงเด็กใกล้บ้าน ห้องปั๊มนมในที่ทำงาน ด้าน ‘พรรณิการ์’ ชี้ภารกิจสร้างคนเท่ากันของอนาคตใหม่ยังไม่จบ หวัง ‘ก้าวไกล’ สานต่อสำเร็จ

(8 มี.ค. 66) พรรคก้าวไกล ร่วมกับ ศูนย์นโยบายเพื่ออนาคต (Think Forward Center) จัดกิจกรรม “กาก้าวไกล เพศไหนก็คนเท่ากัน” เนื่องในวันสตรีสากล 8 มีนาคมของทุกปี โดยปีนี้ เครือข่าย International Women’s Day ได้กำหนดรูปแบบการจัดงานที่มีชื่อว่า ‘การโอบรับอย่างเท่าเทียม’ (Embrace Equity)

กิจกรรมเริ่มต้น โดยพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ หัวหน้าพรรคก้าวไกล กล่าวเปิดตัวนโยบายเพื่อความเท่าเทียมทางเพศ ยืนยันพร้อมสานต่อภารกิจของพรรคอนาคตใหม่ ในการสร้างประเทศไทยที่ ‘คนไทยเท่าเทียมกัน ประเทศไทยเท่าทันโลก’ โดย 10 นโยบายเพื่อความเท่าเทียมทางเพศของพรรคก้าวไกล ซึ่งเรียงตามช่วงอายุของคนคนหนึ่งตั้งแต่เกิดจนแก่ ประกอบด้วย

1. ผ้าอนามัยไม่เก็บ VAT แจกฟรีในโรงเรียน

ด้วยการยกเลิกการเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) ในสินค้าหมวดหมู่ผ้าอนามัยและของใช้สิ้นเปลืองสำหรับวัยเจริญพันธุ์ และแจกผ้าอนามัยฟรีในสถานศึกษาและโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) เพื่อบรรเทาปัญหาการขาดแคลนผ้าอนามัยและความจนประจำเดือน (Period Poverty) โดยเฉพาะสำหรับผู้มีประจำเดือนในวัย 10-25 ปี

2. ปฏิรูปการสอนเพศศึกษา ส่งเสริมความเสมอภาคทางเพศ

ด้วยการออกแบบหลักสูตรใหม่ ให้การสอนเรื่องเพศศึกษา (Sex education) ให้ความสำคัญกับค่านิยมต่างๆ เช่น ความเข้าใจเรื่องความยินยอม (consent) ความหลากหลายทางเพศ และสอนเรื่องทางกายภาพอย่างตรงไปตรงมา เพื่อให้เยาวชนเข้าใจความสำคัญของการป้องกันการตั้งครรภ์โดยไม่ประสงค์ และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์

3. ตำรวจหญิงทุกสถานี

ด้วยการเพิ่มจำนวนตำรวจหญิง เพื่อให้อย่างน้อยมีเพียงพอต่อการมีพนักงานสอบสวนหญิงประจำทุกสถานีตำรวจ เช่น เพิ่มจำนวนรับให้สูงขึ้น เปิดรับจากบุคคลภายนอกมากขึ้น พิจารณากลับมาเปิดรับนักเรียนนายร้อยหญิง เนื่องจากสถิติของกระทรวงยุติธรรม พบว่าไม่ต่ำกว่า 75% ของผู้หญิงไทยที่เคยถูกคุกคามทางเพศ เลือกที่จะไม่แจ้งความ เหตุผลส่วนหนึ่งคือความไม่สบายใจ เพราะผู้เสียหายสะดวกใจกับพนักงานสอบสวนที่เป็นผู้หญิงมากกว่า นอกจากนี้ ต้องออกแบบกระบวนการอบรมและประเมินตำรวจทุกคนไม่ว่าเพศใด ที่รับผิดชอบคดีคุกคามทางเพศ ให้สามารถดำเนินการด้วยวิธีการและบรรยากาศที่เข้าใจถึงความละเอียดอ่อนของคดีและสนับสนุนให้เหยื่อรู้สึกปลอดภัยในการให้ข้อมูลในกระบวนการยุติธรรมด้วย

4. ปรับปรุงกฎหมายต่อต้านความรุนแรงทางเพศ

ด้วยการแก้ประมวลกฎหมายอาญา และกฎ ก.พ. เพื่อกำหนดนิยามใหม่ของการล่วงละเมิดหรือคุกคามทางเพศ การกระทำอนาจาร และการกระทำชำเราเสียใหม่ เพื่ออุดช่องว่างของกฎหมายให้ครอบคลุมปัญหาที่เกิดขึ้นในสังคมมากขึ้น
 

‘มาดามเดียร์’ ลงใต้ คลุมฮิญาบ ร่วมงานวันสตรีมุสลิม ตอกย้ำความเท่าเทียมทางเพศ-ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์

(9 มี.ค. 66) ที่ ดี อามาน โฮเต็ล แอนด์ รีสอร์ท จ.สงขลา น.ส.วทันยา บุนนาค ประธานคณะทำงานวัตกรรมการเมือง พรรคประชาธิปัตย์ (ปชป.) พร้อมด้วย พล.ต.ต.สุรินทร์ ปาราเร่ ส.ส.สงขลา พรรค ปชป. ร่วมงานวันสตรีมุสลิมต้อนรับเดือนรอมฎอน จังหวัดสงขลา ซึ่งจัดโดยสมาคมสมาพันธ์สตรีมุสลิมประเทศไทย สมาคมสตรีมุสลิม 14 จังหวัดภาคใต้ ร่วมกับสมาคมสตรีจิตอาสา จังหวัดสงขลา

โดย น.ส.วทันยา กล่าวว่า วันนี้เป็นครั้งแรกที่ได้ใส่ผ้าคลุมฮิญาบ จะบอกว่าเมื่อใส่แล้วรู้สึกตื่นเต้น และเวลามองเข้าไป ตนเห็นว่า ผ้าคลุมฮิญาบ หรือวัฒนธรรมการแต่งตัวของสตรีชาวมุสลิม เป็นเครื่องสะท้อนให้เห็นถึงพลังศรัทธาอันแรงกล้าของสตรีชาวมุสลิมที่มีต่อพระอัลเลาะห์ และศาสนาอิสลาม และผ้าคลุมนี้ยังแสดงออกถึงความยำเกรงที่ทำให้สตรีไม่ต้องไปเผชิญกับสายตาหรือความไม่ปลอดภัยที่จะเข้ามาได้ แต่ยังสะท้อนให้เห็นอีกมุมว่าการที่เป็นสตรีเราไม่ได้นำเรือนร่างของความเป็นเพศสตรีออกไปสู่สายตาสาธารณะ แต่เราต้องการให้เขามองข้ามรูปลักษณ์ภายนอกแต่ให้เขามองเห็นศักยภาพของเราจริง ๆ

น.ส.วทันยา กล่าวต่อว่า เมื่อวาน (8 มี.ค.) เป็นวันสตรีสากลโลก ซึ่งในปีนี้จะเห็นว่ากระแสความตื่นตัวของวันสตรีสากลมีมากกว่าปีก่อน ๆ และวันนี้บทบาทของสตรียุคใหม่มีมากยิ่งขึ้น ทั้งทางด้านเศรษฐกิจ และสังคม กระทั่งบทบาทต่อการเมือง ที่คนมักจะมองแต่ผู้ชาย และอย่างตนที่เคยผู้ตัดการทีมฟุตบอลทีมชาติชาย ซึ่งถือว่า เป็นครั้งแรกที่มีผู้หญิงคุมฟุตบอลทีมชาติ

‘ครม.’ ไฟเขียว ‘สมรสเท่าเทียม’ เตรียมส่งสภาฯ พิจารณา 12 ธ.ค.นี้ ยกระดับความเท่าเทียมทางเพศแก่คู่รักเพศเดียวกัน ตามสิทธิขั้นพื้นฐาน

(21 พ.ย. 66) นายคารม พลพรกลาง รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงผลการประชุมคณะรัฐมนตรีในวันนี้ว่า กระทรวงยุติธรรม ได้เสนอร่างพระราชบัญญัติแก้ไขประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ เพื่อให้มีกฎหมายรับรองสิทธิการก่อสร้างครอบครัวของคู่รักเพศเดียวกัน

โดยมีหลักการสำคัญคือ “แก้ไขคำว่า ‘ชาย-หญิง-สามี-ภรรยา’ เป็น ‘บุคคล-คู่หมั้น-คู่รับหมั้น และคู่สมรส’ เพื่อให้มีความหมายครอบคลุมว่า การสมรสต่อไป ‘ชายหญิง’, ‘ชายชาย’ หรือ ‘หญิงหญิง’ สามารถสมรสกันได้ โดยไม่ตัดสิทธิการสมรสเหมือนชายหญิง”

นายคารม ยังชี้แจงขั้นตอนระหว่างนี้ว่า จะต้องมีการแก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวข้องให้สอดคล้องกัน อาทิ เรื่องบำเหน็จ บำนาญ โดยคณะกรรมการกฤษฎีกา จะไปแก้ไขให้สอดคล้องกับการแก้ไขประมวลกฎหมายแพ่งดังกล่าว ซึ่งกระทรวงยุติธรรม ได้ดำเนินการรับฟังความเห็นเรียบร้อยแล้ว โดยหลังการตรวจสอบของกฤษฎีแล้ว ก็สามารถเสนอเข้าสู่สภาผู้แทนราษฎรเพื่อพิจารณาในสมัยประชุมหน้า ที่จะเปิดในวันที่ 12 ธันวาคมนี้


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top