Friday, 18 April 2025
ความยั่งยืน

‘นายกฯ’ ชู 3 แนวทาง แก้วิกฤติสภาพภูมิอากาศ บนเวทีเอเปค ‘ความยั่งยืน-การค้าการลงทุนที่เปิดกว้าง-ความเชื่อมโยงศก.’

(18 พ.ย.66) ที่ศูนย์ประชุมมอสโคนีเซ็นเตอร์ (Moscone Center) นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีและรมว.คลัง เข้าร่วมการประชุมผู้นำเขตเศรษฐกิจเอเปคในรูปแบบ Retreat (APEC Economic Leaders’ Retreat (Session II)) หัวข้อ ‘Interconnectedness and Building Inclusive and Resilient Economies’ และร่วมรับรองเอกสารผลลัพธ์การประชุมผู้นำเขตเศรษฐกิจ เอเปค ครั้งที่ 30 โดยนายกฯ กล่าวถ้อยแถลงเป็นลำดับที่ 18 ต่อจากผู้นำจีนไทเป ประธานาธิบดีเวียดนาม นาง Kristalina Georgieva กรรมการผู้จัดการกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (International Monetary Fund: IMF) นำเสนอภาพรวมเศรษฐกิจโลกใน ค.ศ. 2023

นายกฯ กล่าวว่า ท่ามกลางความไม่แน่นอนของโลก ประเทศไทยยังคงมุ่งมั่นอย่างเต็มที่ต่อระบบการค้าพหุภาคีและเอเปค เพื่อมุ่งสู่ประชาคมเอเชีย-แปซิฟิก ที่เปิดกว้าง ยืดหยุ่นและสงบสุข โดยได้มีการหารือและสนทนาเกี่ยวกับวิธีการต่อสู้กับปัญหาสภาพภูมิอากาศ ซึ่งเห็นพ้องกับผู้นำทุกคนว่า ถึงเวลาที่ต้องลงมือให้บรรลุเป้าหมายดังกล่าว โดยเสนอ 3 มุมมอง ที่เป็นประโยชน์ต่อเอเปค คือ 1.ให้ความสำคัญกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และสานต่อพัฒนาการเป้าหมายกรุงเทพฯ ว่าด้วยเศรษฐกิจ BCG ที่ปีนี้เอเปคมีความก้าวหน้าอย่างมาก โครงการมากกว่า 280 โครงการ ตอบสนองต่อเป้าหมายฯ นี้ ขณะที่ ABAC เดินหน้าผลักดันการจัดทำ BCG Pledge การจัดการประชุม Sustainable Future Forum ครั้งแรก เพื่อกระตุ้นธุรกิจและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอื่น 

2.เปิดการค้าและการลงทุนอย่างเติบโตและรุ่งเรือง เอเปคสนับสนุนระบบการค้าพหุภาคีที่ยึดกฎเกณฑ์ โดยมีองค์การการค้าโลก (WTO) เป็นแกนกลาง เป็นกุญแจสำคัญ รวมถึงการมีส่วนร่วมไปสู่ผลลัพธ์ที่มีความหมายในการประชุมรัฐมนตรีครั้งต่อไป (The Thirteenth Ministerial Conference (MC13))

นายกฯ กล่าวว่า ไทยผลักดันความพยายามอย่างต่อเนื่องในเรื่องเขตการค้าเสรีเอเชีย-แปซิฟิก (FTAAP) เพื่อความก้าวหน้าในการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจในระดับภูมิภาค และไทยจะเร่งเจรจา FTA อื่นในเชิงรุก รวมทั้งยกระดับการเจรจาที่มีอยู่เพื่อรับมือกับความท้าทายทางการค้าที่จะเกิดขึ้นใหม่ 3. เสริมสร้างความเชื่อมโยง เพื่อเศรษฐกิจและห่วงโซ่อุปทานที่มีความยืดหยุ่น โดย ไทยกำลังเดินหน้าโครงการแลนด์บริดจ์ (Landbridge) เชื่อมมหาสมุทรแปซิฟิกและมหาสมุทรอินเดีย และยังรวมทั้งยังได้อนุมัติวีซ่าฟรี ส่งเสริมการท่องเที่ยว และสนับสนุนความต่อเนื่องของบัตรเดินทางสำหรับนักธุรกิจเอเปค (APEC Business Travel Card) ให้ครอบคลุมมากขึ้น เพื่อสนับสนุน MSMEs และสตาร์ตอัปอีกด้วย ทั้งนี้ยินดีกับสหรัฐฯ ในการเป็นเจ้าภาพการประชุมที่เป็นประโยชน์ครั้งนี้ โดยไทยพร้อมร่วมประสานความร่วมมือกับเปรูเพื่อสานต่อความสำเร็จนี้ต่อไป  

‘EGCO Group’ ชูแผนขับเคลื่อนสู่ความยั่งยืน มุ่งเป้า ‘ปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์’

(19 ธ.ค. 66) บริษัท ผลิตไฟฟ้า จำกัด (มหาชน) หรือ EGCO Group ขับเคลื่อนสู่ความยั่งยืนในทุกมิติ ร่วมสนับสนุนการจัดการประชุมวิชาการนานาชาติด้านความหลากหลายทางชีวภาพ ปี 2023 (International Conference on Biodiversity: IBD 2023) พร้อมร่วมจัดบูธนิทรรศการ ตลอดจนแลกเปลี่ยนประสบการณ์และเป้าหมายการดำเนินงานด้านความยั่งยืนในเวทีสัมมนา ในหัวข้อ ‘EGCO Group บนเส้นทางของความยั่งยืน สู่เป้าหมายการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์’ เพื่อร่วมแสดงพลังกับเครือข่ายองค์กรทั้งในและต่างประเทศในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและความหลากหลายทางชีวภาพและการแก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโลก ซึ่งการประชุมวิชาการนานาชาติครั้งนี้จัดขึ้น ณ อาคารหอรัชมงคล สวนหลวง ร.9 กรุงเทพฯ โดยมีผู้เข้าร่วมงานทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติรวมกว่า 600 คน

นายเทพรัตน์ เทพพิทักษ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ EGCO Group เปิดเผยว่า ภายใต้การดำเนินธุรกิจบนวิสัยทัศน์ “เป็นบริษัทไทยชั้นนำที่ดำเนินธุรกิจพลังงานอย่างยั่งยืน ด้วยความใส่ใจที่จะธำรงไว้ซึ่งสิ่งแวดล้อมและการพัฒนาสังคม” EGCO Group ให้ความสำคัญกับการดูแลสิ่งแวดล้อมและความหลากหลายทางชีวภาพในทุกพื้นที่ที่ดำเนินกิจการรวม 8 ประเทศ ทั้งในประเทศไทยและประเทศในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ด้วยความเชื่อขององค์กรที่ว่า ‘ต้นทางที่ดี จะก่อกำเนิดผลลัพธ์ปลายทางที่ดี’ โดยมุ่งเน้นการควบคุมและลดผลกระทบเชิงลบจากกิจการและเพิ่มผลกระทบเชิงบวกต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม ประกอบกับการตระหนักถึงความสำคัญของปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ ซึ่งธุรกิจของ EGCO Group เป็นธุรกิจต้นทางที่ต้องพึ่งพาทรัพยากรธรรมชาติเป็นเชื้อเพลิงในการผลิตไฟฟ้า จึงกำหนดกลยุทธ์ทางธุรกิจ ‘Cleaner, Smarter, and Stronger to Drive Sustainable Growth’ เพื่อสนองตอบและมีส่วนร่วมต่อเป้าหมายดังกล่าว และก้าวข้ามข้อจำกัดสู่ยุคเปลี่ยนผ่านทางพลังงานอย่างมั่นคงและยั่งยืน

นายวรพงษ์ สินสุขถาวร ผู้จัดการฝ่ายแผนงาน EGCO Group ในฐานะวิทยากรบรรยายพิเศษบนเวทีแลกเปลี่ยนความรู้ด้านวิชาการภายในงานนี้ กล่าวว่า EGCO Group ได้กำหนดเป้าหมายเพื่อขับเคลื่อนองค์กรสู่สังคมคาร์บอนต่ำไว้ที่ 3 ระยะ ได้แก่ เป้าหมายระยะสั้น คือ การลดการปล่อยปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ต่อหน่วยไฟฟ้าที่ผลิตได้ (Carbon Emissions Intensity) ลง 10% และการเพิ่มสัดส่วนการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนเป็น 30% ภายในปี 2030 เป้าหมายระยะกลาง คือ การบรรลุความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutral) ภายในปี 2040 และเป้าหมายระยะยาว คือ การบรรลุการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero) ภายในปี 2050 

ภายใต้เป้าหมายดังกล่าวนี้ EGCO Group ได้วางโรดแมปการดำเนินกิจการจะต้องไม่ก่อให้เกิดความสูญเสียต่อความหลากหลายทางชีวภาพสุทธิ (No Net Loss) และมุ่งมั่นลดผลกระทบต่อระบบนิเวศและความหลากหลายทางชีวภาพจากกิจกรรมตลอดทั้งวงจรชีวิตของโครงการโรงไฟฟ้า รวมทั้งไม่ประกอบกิจการโครงการโรงไฟฟ้าใหม่ใกล้กับพื้นที่ที่เป็นเขตป้องกันขององค์การระหว่างประเทศเพื่ออนุรักษ์ธรรมชาติ (The International Union for Conservation of Nature: IUCN) หรือเป็นพื้นที่ที่ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก (World Heritage areas) ตลอดจนหลีกเลี่ยงการตัดไม้ทำลายป่าสำหรับโครงการโรงไฟฟ้าใหม่ทั้งหมด (No Gross Deforestation) และมุ่งดำเนินธุรกิจโดยไม่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อพื้นที่ป่าไม้สุทธิ (Net Zero Deforestation) โดย EGCO Group ได้ส่งเสริมการอนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและความหลากหลายทางชีวภาพในพื้นที่ป่าต้นน้ำที่สำคัญของประเทศไทยผ่าน ‘มูลนิธิไทยรักษ์ป่า’ องค์กรสาธารณกุศลที่ EGCO Group ก่อตั้งและสนับสนุนการดำเนินงานมาอย่างต่อเนื่องกว่า 20 ปี

‘BDMS’ ครองอันดับหนึ่ง ดัชนี DJSI ปี 2023 ผู้นำด้านความยั่งยืน กลุ่มการบริการทางการแพทย์

ด้วยความมุ่งมั่นในการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืนทั้งมิติสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล คำนึงถึงผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่ม ส่งผลให้ BDMS ขึ้นที่ 1 ผู้นำด้านความยั่งยืนของโลก ปี 2023 ในกลุ่มการบริการทางการแพทย์ (Health Care Providers & Services) ทั้งในระดับโลก (DJSI World) เป็นปีแรก และกลุ่มตลาดเกิดใหม่ (DJSI Emerging Markets) ต่อเนื่องเป็นปีที่ 3 ด้วยคะแนนอันดับ 1 มิติด้านสังคม ของกลุ่มธุรกิจการบริการทางการแพทย์ จากการประเมินของ S&P Global 

ดัชนี DJSI นี้ เน้นการประเมินความยั่งยืนของธุรกิจใน 3 ด้าน ได้แก่ การรักษาสิ่งแวดล้อม การดูแลสังคม และการกำกับดูแลบนหลักธรรมาภิบาล ซึ่งเป็นหลักดำเนินธุรกิจที่ BDMS ให้ความสำคัญมาโดยตลอด ตามกลยุทธ์ขององค์กรที่สอดคล้องกับการพัฒนาอย่างยั่งยืน อาทิ การสร้างนวัตกรรมทางการแพทย์อย่างต่อเนื่อง (BDMS Innovative Healthcare) การบริการแพทย์ทางไกลเพื่อสุขภาพใจ (BeDee Tele Mental Health) และการบริหารจัดการด้านสิ่งแวดล้อม (BDMS Green Healthcare) เป็นต้น

กลยุทธ์ BDMS Innovative Healthcare ที่นับเป็นความสำเร็จด้านนวัตกรรมที่น่าภาคภูมิใจนั้น ได้แก่ การสนับสนุนงานวิจัยเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกเทียม ด้วยเทคนิคใหม่ที่ไม่ตัดกล้ามเนื้อ หรือ Direct Anterior Approach Hip Replacement (DAA) วิธีใหม่นี้ช่วยลดระยะเวลาฟื้นตัวของผู้ป่วยได้มากกว่าร้อยละ 50 ทำให้ยกระดับคุณภาพชีวิตให้แก่ผู้เข้ารับการรักษา 

ทั้งนี้ BDMS ได้จัดตั้งโครงการอบรมเทคนิคนวัตกรรมการผ่าตัดดังกล่าว โดยมีแพทย์ที่ผ่านการอบรมแล้วกว่า 180 ราย ใน 170 โรงพยาบาล พร้อมทั้งสนับสนุนการเผยแพร่องค์ความรู้นี้ไปสู่เวทีวิชาการในระดับนานาชาติ 

สำหรับนวัตกรรมการบริการการแพทย์ทางไกล BDMS ได้พัฒนา BeDee Tele Mental Health เพื่อดูแลสุขภาพใจ โดยร่วมกับมูลนิธิเวชดุสิตฯ ขยายโอกาสในการดูแลสุขภาพให้กับพนักงานในเครือ ฯ และ นักศึกษาหลักสูตรวิทยาการสุขภาพ ซึ่งจะเป็นกำลังสำคัญในอุตสาหกรรมบริการการแพทย์ในอนาคต 

ในส่วนของ BDMS Green Healthcare นั้น เป็นการตระหนักถึงความสำคัญในการบริหารจัดการ ด้านสิ่งแวดล้อม โดยมีเป้าหมายการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์จากการดําเนินงานสุทธิให้เป็นศูนย์ ภายในปี ค.ศ. 2050 หรือ พ.ศ. 2593 (BDMS Net Zero 2050)  

BDMS มีพันธกิจสำคัญคือ “ผู้นำบริการด้านสุขภาพที่ยกระดับความเป็นอยู่ที่ดีบนวิถีแห่งความยั่งยืน” ซึ่งสอดคล้องกับหลักการดำเนินธุรกิจยั่งยืนตามแนวทาง ESG ทั้งด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล อีกทั้งมุ่งเน้นสร้างประสบการณ์อย่างมีคุณค่าแก่ผู้ใช้บริการด้วยความเป็นเลิศด้านนวัตกรรม ลดความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงการให้บริการด้านสุขภาพได้ด้วยมาตรฐานที่ทัดเทียมระดับสากล โดยความสำเร็จที่เกิดขึ้นนั้น ล้วนเป็นผลมาจากความร่วมมือร่วมใจของทุกภาคส่วนที่พร้อมขับเคลื่อนองค์กรไปสู่เป้าหมายเดียวกัน

เกียรติยศแห่งความสำเร็จ! PTT คว้า 2 รางวัลใหญ่ในงาน SET Awards 2024 ตอกย้ำความมุ่งมั่นสู่อนาคตที่ยั่งยืน และก้าวล้ำไปอีกขั้นของนวัตกรรม

(4 พ.ย. 67) รางวัลเกียรติยศแห่งความสำเร็จด้านความยั่งยืน (Sustainability Awards of Honor)
4 ปีต่อเนื่อง (ปี 2021 – 2024)

รางวัลเกียรติยศแห่งความสำเร็จด้านนวัตกรรม (SET Awards of Honor)
-ปี 2021 จากผลงานการพัฒนานวัตกรรม วัสดุปิดแผลไบโอเซลลูโลสคอมพอสิต Innaqua
-ปี 2022 จากผลงานนวัตกรรม PTT EV Charger and Charging Platform 
-ปี 2023 จากผลงานตัวเร่งปฏิกิริยา PTT SCR
-ปี 2023 จากผลงานนวัตกรรม เครื่องแลกเปลี่ยนความร้อนไมโครสเกล หรือ PTT MicroHX

CLICK ON CLEAR
สำหรับรางวัล SET Awards จัดขึ้นโดย ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เพื่อยกย่องบริษัทจดทะเบียนที่มีความโดดเด่นในการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืนในภาพรวมโดยคำนึงถึงสิ่งแวดล้อม สังคม และบรรษัทภิบาล ถือเป็นอีกหนึ่งรางวัลอันทรงเกียรติของตลาดทุนไทย


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top