Wednesday, 23 April 2025
คงกระพันอินทรแจ้ง

‘บอร์ด ปตท.’ แต่งตั้ง ‘คงกระพัน อินทรแจ้ง’ นั่งเก้าอี้ ‘CEO ปตท.’ คนที่ 11 มีผล พ.ค. 67

เมื่อวานนี้ (25 ม.ค. 67) ผู้สื่อข่าวรายงานจาก ปตท. ระบุว่า ที่ประชุมคณะกรรมการ บมจ.ปตท. วานนี้ (25 ม.ค.) ได้พิจารณาวาระการสรรหาประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) คนใหม่ต่อจาก นายอรรถพล ฤกษ์พิบูลย์ ที่ครบวาระ 4 ปีในเดือนพฤษภาคม 2567 โดยที่ประชุมมีมติเลือก นายคงกระพัน อินทรแจ้ง ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) หรือ PTTGC ขึ้นมาดำรงตำแหน่ง CEO ปตท.คนที่ 11 จากผู้สมัครทั้ง 5 รายที่เป็นผู้บริหาร ปตท.

ปัจจุบัน นายคงกระพัน อินทรแจ้ง อายุ 55 ปี จบการศึกษาวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต (วิศวกรรมเคมี) (เกียรตินิยมอันดับสอง) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และศึกษาต่อจนจบ Doctor of Philosophy (Ph.D.) in Chemical Engineering, University of Houston, U.S.A.

มีประสบการณ์มากกว่า 25 ปีในการบริหารบริษัทในกลุ่มอุตสาหกรรมปิโตรเคมี และการกลั่นปิโตรเลียมแบบครบวงจร รวมถึงมีความเชี่ยวชาญในด้านการกำหนดกลยุทธ์องค์กร การพัฒนาธุรกิจ การเงินและนักลงทุนสัมพันธ์ การวิจัยและพัฒนา (R&D) การพัฒนาโครงการลงทุนที่สำคัญ การควบรวมกิจการระหว่างประเทศ และการบริหารจัดการกิจการร่วมค้า

มีประสบการณ์ที่หลากหลายในการบริหารจัดการธุรกิจระหว่างประเทศ และเคยดำรงตำแหน่งประธานเจ้าหน้าที่บริหาร (CEO) ของ Emery Oleochemicals Group และกรรมการของบริษัทย่อยในต่างประเทศ ได้แก่ Emery Oleochemicals Group ในประเทศมาเลเซีย Vencorex Holding ในประเทศฝรั่งเศส และ NatureWorks LLC ในสหรัฐอเมริกา

ในด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ดำรงตำแหน่งประธานร่วม France-Thailand Business Forum โดยมีบทบาทหน้าที่ในการเป็นผู้นำและส่งเสริมในเรื่องเศรษฐกิจความร่วมมือกัน (Economic Collaboration) รวมทั้งการลงทุนและการค้าทั้งสองทาง (Two-way trade and investment) ระหว่างประเทศไทยกับฝรั่งเศส

ดำรงตำแหน่งสมาชิกของ United Nations Global Compact (UNGC) และสภาธุรกิจโลกเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน (WBCSD) รวมทั้งกรรมการขององค์กรธุรกิจเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน (TBCSD)

ปัจจุบันดำรงตำแหน่งประธานกรรมการ บริษัท โกลบอลกรีนเคมิคอล จำกัด (มหาชน)
*กรรมการและเลขานุการคณะกรรมการ กรรมการบริหารความเสี่ยง และประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน)

*รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ ประจำประธานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการ กลุ่มธุรกิจปิโตรเลียมขั้นปลาย บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน)

*กรรมการ และกรรมการบริหารความเสี่ยง บริษัท โกลบอล เพาเวอร์ ซินเนอร์ยี่ จำกัด (มหาชน)

รู้จัก ‘คงกระพัน อินทรแจ้ง’ CEO คนที่ 11 ของ ‘ปตท.

นับถอยหลัง ต้อนรับ ‘นายคงกระพัน อินทรแจ้ง’ สู่ตำแหน่งกรรมการผู้จัดการใหญ่คนใหม่ของบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ที่จะมาแทนคุณอรรถพล ฤกษ์พิบูลย์ ซึ่งจะครบวาระในเดือนพฤษภาคมนี้ 

บมจ.ปตท. (PTT) ถือเป็นผู้นำทางด้านธุรกิจพลังงานยักษ์ใหญ่ของประเทศไทย โดยมีกลุ่มธุรกิจที่ครอบคลุมด้านพลังงานตั้งแต่ต้นน้ำไปจนถึงปลายน้ำและถือเป็นหุ้นที่ผู้ลงทุนให้ความสนใจเป็นอย่างมาก ขณะที่ปัจจุบันมีมูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาด (มาร์เก็ตแคป) เป็นอันดับ 2 ของตลาดหุ้นไทยราว 971,141 ล้านบาท ซึ่งเป็นรองเพียงแค่ บมจ.เดลต้า อีเลคโทรนิคส์ (ประเทศไทย) (DELTA) เท่านั้น 

แน่นอนว่า ผู้บริหารสูงสุด ก็เป็นอีกหนึ่งความน่าสนใจ หากมีการปรับเปรียบเสมอ โดยก่อนหน้านี้ มติบอร์ด ปตท. เห็นชอบตั้ง ‘นายคงกระพัน อินทรแจ้ง’ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บมจ.พีทีที โกลบอล เคมิคอล (PTTGC) ขึ้นมานั่งเก้าอี้ซีอีโอ ปตท. คนที่ 11 ต่อจาก ‘อรรถพล ฤกษ์พิบูลย์’ ที่จะครบวาระ 4 ปี ภายในเดือน พ.ค.นี้

สำหรับ นายคงกระพัน อินทรแจ้ง เป็นใคร? มีประวัติ หรือผลงานเด่นเรื่องไหนบ้าง เชิญติดตาม…

>> เปิดประวัติ คงกระพัน อินทรแจ้ง
สำหรับ ประวัติ นายคงกระพัน อินทรแจ้ง ชื่อเล่น เอ้ ปัจจุบันอายุ 55 ปี สถานะ โสด เป็นกรรมการ (กรรมการที่เป็นผู้บริหาร), เลขานุการคณะกรรมการ, กรรมการบริหารความเสี่ยง และประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่

>> คุณวุฒิการศึกษา / ประวัติการอบรม
- Doctor of Philosophy (Ph.D.) in Chemical Engineering, University of Houston, U.S.A.
- วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต (วิศวกรรมเคมี) (เกียรตินิยมอันดับสอง), จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- หลักสูตรการพัฒนาผู้บริหารระดับสูง, สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (สตช.)
- หลักสูตรผู้บริหารระดับสูง รุ่นที่ 30 (วตท. 30), สถาบันวิทยาการตลาดทุน
- หลักสูตร Leadership Development Program (LDP 3) รุ่นที่ 4, สถาบันพัฒนาผู้นำและการเรียนรู้ กลุ่ม ปตท. บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) หลักสูตรผู้บริหารระดับสูงด้านวิทยาการพลังงาน รุ่นที่ 14 (วพน. 14), สถาบันวิทยาการพลังงาน
- หลักสูตรการป้องกันราชอาณาจักร (ปริญญาบัตร วปอ.) รุ่นที่ 60, วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ
- หลักสูตร Breakthrough Program for Senior Executives, IMD Business Schoolการอบรมหลักสูตรกรรมการ
- หลักสูตร Role of the Chairman Program (RCP) รุ่น 21/2009 สมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย (IOD)
- หลักสูตร Director Certification Program (DCP) รุ่น 119/2009 สมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย (IOD)

ส่วนคุณวุฒิการศึกษาและปรัชญาดุษฎีบัณฑิตสาขาวิศวกรรมเคมี มีประสบการณ์มากกว่า 25 ปี ในการบริหารบริษัทในกลุ่มอุตสาหกรรมปิโตรเคมี และการกลั่นปิโตรเลียมแบบครบวงจร รวมถึงมีความเชี่ยวชาญในด้านการกำหนดกลยุทธ์องค์กร การพัฒนาธุรกิจ การเงินและนักลงทุนสัมพันธ์ การวิจัยและพัฒนา (R&D) การพัฒนาโครงการลงทุนที่สำคัญ การควบรวมกิจการระหว่างประเทศ และการบริหารจัดการกิจการร่วมค้า

มีประสบการณ์ที่หลากหลายในการบริหารจัดการธุรกิจระหว่างประเทศ และเคยดำรงตำแหน่งประธานเจ้าหน้าที่บริหาร (CEO) ของ Emery Oleochemicals Group และกรรมการของบริษัทย่อยในต่างประเทศ ได้แก่ Emery Oleochemicals Group ในประเทศมาเลเซีย Vencorex Holding ในประเทศฝรั่งเศส และ NatureWorks LLC ในประเทศสหรัฐอเมริกา

ในด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ดำรงตำแหน่งประธานร่วม France-Thailand Business Forum โดยมีบทบาทหน้าที่ในการเป็นผู้นำและส่งเสริมในเรื่องเศรษฐกิจความร่วมมือกัน (Economic Collaboration) รวมทั้งการลงทุนและการค้าทั้งสองทาง (Two-way trade and investment) ระหว่างประเทศไทยและฝรั่งเศส

ดำรงตำแหน่งสมาชิกของ United Nations Global Compact (UNGC) และสภาธุรกิจโลกเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน (WBCSD) รวมทั้งกรรมการขององค์กรธุรกิจเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน (TBCSD) โดยได้ปฏิบัติหน้าที่เป็นต้นแบบที่ดีในด้านการพัฒนาอย่างยั่งยืนและความรับผิดชอบในด้าน ESG เพื่อเสริมสร้างคุณค่าการพัฒนาที่ยั่งยืนในระยะยาวให้กับธุรกิจ ทั้งในระดับประเทศ ระดับภูมิภาค และระดับโลก

>> การดำรงตำแหน่งกรรมการ / ผู้บริหารในบริษัท
ส่วนการดำรงตำแหน่งกรรมการ / ผู้บริหารในกิจการที่เป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ประกอบด้วย…

- 21 ต.ค. 2563 - ปัจจุบัน ประธานกรรมการ บริษัท โกลบอลกรีนเคมิคอล จำกัด (มหาชน)
- 1 ต.ค. 2562 - ปัจจุบัน รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ ประจำประธานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการ กลุ่มธุรกิจปิโตรเลียมขั้นปลาย บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน)
- 1 ต.ค. 2562 - ปัจจุบัน กรรมการและเลขานุการคณะกรรมการ, กรรมการบริหารความเสี่ยง และประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน)
- 15 ส.ค. 2562 - ปัจจุบัน กรรมการ และกรรมการบริหารความเสี่ยง บริษัท โกลบอล เพาเวอร์ ซินเนอร์ยี่ จำกัด (มหาชน)
การดำรงตำแหน่งกรรมการ / ผู้บริหารในกิจการที่ไม่ใช่บริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
- 29 ธ.ค. 2564 - ปัจจุบัน ประธานคณะที่ปรึกษา บริษัท PTTGC International (Netherlands) B.V. สำหรับเรื่องธุรกิจและการลงทุนในบริษัท Allnex
- 8 ธ.ค. 2564 - ปัจจุบัน ประธานกรรมการ บริษัท PTTGC International (Netherlands) B.V.
- 1 ก.ย. 2563 - ปัจจุบัน ประธานกรรมการ บริษัท PTTGC International Private Limited

>> การดำรงตำแหน่งในองค์กรอื่น / กิจกรรมพิเศษที่สำคัญ
- 8 พ.ค. 2566 - ปัจจุบัน กรรมการอำนวยการ สมาคมนิสิตเก่าจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์
- 23 ม.ค. 2566 - ปัจจุบัน กรรมการบริหาร ศูนย์เทคโนโลยีพลังงานแห่งชาติ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)
- 25 ก.ค. 2565 - ปัจจุบัน ที่ปรึกษา คณะกรรมการสถาบันวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม อุตสาหกรรมการผลิต (SMI) สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
- 14 มิ.ย. 2564 - ปัจจุบัน กรรมการและกรรมการสรรหาและกำหนดค่าตอบแทน สมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย
- 22 ต.ค. 2563 - ปัจจุบัน กรรมการ สมาคมนักศึกษาสถาบันวิทยาการตลาดทุน
- 30 ก.ย. 2563 - ปัจจุบัน กรรมการ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
- 11 มี.ค. 2563 - ปัจจุบัน อุปนายก (ด้านสนับสนุน) สมาคมกีฬาว่ายน้ำแห่งประเทศไทย
- 30 ม.ค. 2563 - ปัจจุบัน กรรมการ สภาสถาบันผู้ทรงคุณวุฒิ สถาบันวิทยสิริเมธี
- 30 ต.ค. 2562 - ปัจจุบัน กรรมการอำนวยการ สถาบันปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย
- 3 ต.ค. 2562 - ปัจจุบัน กรรมการ องค์กรธุรกิจเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน
- 1 ต.ค. 2562 - ปัจจุบัน กรรมการบริหาร สถาบันวิทยาการพลังงาน
- 15 ส.ค. 2562 - ปัจจุบัน กรรมการ โรงเรียนกำเนิดวิทย์
- เดือน ก.ค. 2560 - ปัจจุบัน ประธานร่วม France-Thailand Business Forum

>> ประสบการณ์การทำงาน (5 ปีย้อนหลัง)
- 1 ต.ค. 2563 - 31 มี.ค. 2565 ที่ปรึกษาในสายงานสมาชิกสัมพันธ์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
- 1 ก.ย. 2563 - 15 ก.พ. 2565 ประธานกรรมการ บริษัท GC International Corporation
- 1 ก.ค. 2558 - 15 ก.พ. 2565 ประธานกรรมการ บริษัท PTTGC America Corporation
- 1 ก.ค. 2558 - 15 ก.พ. 2565 ประธานกรรมการ บริษัท PTTGC America LLC
- 24 ส.ค. 2563 - 25 มี.ค. 2564 กรรมการ มูลนิธิพลังที่ยั่งยืน
- 6 พ.ย. 2562 - 20 ต.ค. 2563 กรรมการ บริษัท โกลบอลกรีนเคมิคอล จำกัด (มหาชน)
- พ.ย. 2562 - ก.ย. 2563 กรรมการ มูลนิธิพลังสร้างสรรค์นวัตกรรม
- ต.ค. 2562 - ก.ย. 2563 กรรมการ มูลนิธิพลังแห่งการเรียนรู้
- 31 ต.ค. 2562 - 31 ส.ค. 2563 กรรมการ บริษัท GC International Corporation
- 9 ก.ย. 2551 - 31 ส.ค. 2563 กรรมการ บริษัท PTTGC International Private Limited
- พ.ค. 2560 - ม.ค. 2563 กรรมการ บริษัท ไทยแท้งค์เทอร์มินัล จำกัด
- ก.ค. 2558 - ก.ย. 2562 กรรมการ และ President & CEO บริษัท PTTGC America Corporation
- เม.ย. 2558 - ก.ย. 2562 กรรมการ บริษัท PTTGC Innovation America Corporation
- ก.พ. 2558 - ก.ย. 2562 กรรมการ บริษัท PTTGC International (Netherlands) B.V.
- ม.ค. 2558 - ก.ย. 2562 กรรมการ บริษัท Vencorex Holding
- พ.ย. 2551 - ก.ย. 2562 กรรมการ บริษัท Emery Oleochemicals (M) Sdn. Bhd.
- พ.ย. 2551 - ก.ย. 2562 กรรมการ บริษัท Emery Specialty Chemicals Sdn. Bhd.
- ก.ย. 2557 - ธ.ค. 2561 กรรมการ และ Vice President บริษัท GC International Corporation (เดิมบริษัท PTTGC International (USA) Inc.)
- ก.ย. 2557 - ธ.ค. 2561 กรรมการ บริษัท NatureWorks LLC
- ต.ค. 2557 - มี.ค. 2560 รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายงาน International Business Operations บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน)
- เม.ย. 2560 - 30 ก.ย. 2562 ประธานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการ กลุ่มธุรกิจปิโตรเคมีขั้นต้น บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน)

‘อรรถพล’ ส่งต่อภารกิจ CEO แก่ ‘ดร.คงกระพัน’ สานต่อ-ขับเคลื่อน ปตท. ทุกมิติ มุ่งสู่ความยั่งยืน

(10 พ.ค. 67) นายอรรถพล ฤกษ์พิบูลย์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ส่งต่อภารกิจ CEO ให้กับ ดร.คงกระพัน อินทรแจ้ง ตั้งแต่วันที่ 13 พฤษภาคม 2567 เป็นต้นไป 

โดย ดร.คงกระพัน จะสานต่อการขับเคลื่อน ปตท. ให้เป็นองค์กรแห่งความภาคภูมิใจของคนไทย ผ่านการดำเนินธุรกิจในทุกมิติ สร้างเสถียรภาพทางพลังงาน เพื่อพัฒนาและยกระดับคุณภาพชีวิตของคนไทย พร้อมขับเคลื่อนเศรษฐกิจให้เติบโตควบคู่ไปกับการดูแลชุมชน สังคม และสิ่งแวดล้อม อย่างยั่งยืน

‘คงกระพัน’ ชูวิชั่นปี 68 มุ่งผลักดัน ปตท. ยั่งยืนทุกมิติ ปักหมุดต่อยอดพลังงานสะอาด - ไม่เน้นกำไรระยะสั้น

'คงกระพัน' ชูวิชั่นปี 2568 ดันปตท.ยืนในทุกมิติ ต่อยอดธุรกิจที่มีโอกาส ไม่เน้นกำไรระยะสั้น ตัดใจเลิกธุรกิจที่ไม่ perform มั่นใจก๊าซธรรมชาติ ยังเป็นพลังงานสำคัญ เน้นทำในสิ่งที่ ปตท.ถนัด 

ภายหลังเข้ารับตำแหน่ง ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) ของนายคงกระพัน อินทรแจ้ง ได้ขับเคลื่อน ปตท.ด้วยวิสัยทัศน์ 'ปตท.แข็งแรงร่วมกับสังคมไทยและเติบโตในระดับโลกอย่างยั่งยืน' หรือ 'TOGETHER FOR SUSTAINABLE THAILAND, SUSTAINABLE WORLD'

กลุ่ม ปตท.ได้พลิกโฉมธุรกิจครั้งใหญ่อีกครั้ง จากการบริหารงาน 7 เดือนของ CEO ปตท.ที่มีการตั้งเป้าหมายการทำงานทั้งกลุ่ม ปตท. เพื่อสร้างความแข็งแรงร่วมกับสังคมไทย สร้างการเติบโตทางธุรกิจ ต้องอยู่บนพื้นฐานหลักการของความยั่งยืนอย่างสมดุลทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อมและการกำกับดูแลกิจการที่ดี

ทั้งนี้ ปตท.ถือเป็นบริษัทพลังงานแห่งชาติ ที่สร้างประโยชน์ให้กับประเทศไทยและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกกลุ่มอย่างสมดุล บริหารองค์กรด้วยความโปร่งใส มีการกำกับดูแลที่ดีมีธรรมาภิบาลตาม Vision ปี 2568 สู่เป้าหมายเติบโตในระดับโลกอย่างยั่งยืน

นายคงกระพัน ได้ให้แนวคิดการบริหารธุรกิจ ประกอบด้วย "บริหารธุรกิจแบบยั่งยืนในทุกมิติ” ดังนั้น การที่องค์กรจะดำเนินไปได้ ธุรกิจจึงต้องมีกำไร ซึ่งจะต้องเป็นกำไรที่เหมาะสมและยั่งยืน ไม่เน้นกำไรระยะสั้น รวมถึงธุรกิจต้องเป็นประโยชน์กับประเทศไทย ช่วยสังคมไทย ผู้ประกอบการ SME และเศรษฐกิจของประเทศในภาพรวม

ส่วนการลงทุนต้องเกิดประโยชน์ทั้งกับองค์กรและประเทศ จากสถานการณ์โลกที่ผันผวนและเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ดังนั้น ปตท. จะต้องมีความคล่องตัว มี Agility ธุรกิจใดที่ดี ต้องเร่งต่อยอดขยายผล แต่หากธุรกิจใดที่เคยดี หรือไม่ perform แล้ว ก็ต้องมีความกล้าที่ออกจากธุรกิจอย่างชาญฉลาดและรวดเร็ว

นอกจากนี้ อีกสิ่งสำคัญคือ การสร้างความเชื่อมั่นให้ทุกภาคส่วน การทำธุรกิจและการบริหารจัดการต้องโปร่งใส ทำเรื่องบรรษัทภิบาลอย่างจริงจัง สิ่งสำคัญมาก ๆ คือ “บุคลากร” ซึ่ง ปตท.มีบุคลากรที่เก่ง มีความรู้ความสามารถ ต้องสร้างพลังให้เกิดความร่วมมือร่วมใจพาองค์กรก้าวผ่านทุกความท้าทาย สร้างโอกาสที่ดียิ่งขึ้นเพื่อส่งต่อให้ "ปตท.แข็งแรงร่วมกับสังคมไทยและเติบโตในระดับโลกอย่างยั่งยืน”

อย่างไรก็ตาม จากภารกิจ ปตท.ยังคงมุ่งมั่นสร้างความมั่นคงด้านพลังงาน บริหารต้นทุนราคาที่เป็นธรรมตามนโยบายการเปลี่ยนผ่านด้านพลังงาน พร้อมเดินหน้าในการเพิ่มสัดส่วนพลังงานสะอาดอย่างต่อเนื่องเพื่อรับกับเมกะเทรนด์โลก

'คงกระพัน' เปิดวิชั่น 2568
นายคงกระพัน กล่าวว่า Vision for Opportunity 2025 ของกลุ่ม ปตท. (PTT Group Direction and Strategy) โดยจะเน้นการสร้างความมั่นคงทางพลังงาน สร้างการเติบโตทางธุรกิจ ควบคู่กับการบรรลุเป้าหมายลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกอย่างสมดุล เพื่อบรรลุเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero Emissions) ภายในปี พ.ศ.2593

ดังนั้น ความมั่นคงด้านพลังงานของประเทศถือเป็นสิ่งที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะต้องมีการเตรียมความพร้อม และพัฒนาด้วยการนำนวัตกรรม และองค์ความรู้ใหม่ ๆ มาปรับใช้เพื่อให้ความมั่นคงด้านพลังงานของประเทศไทยมีความมั่นคงยิ่งขึ้นไป รองรับการเติบโตเศรษฐกิจประเทศ

“ปตท.ถือเป็นอีกหนึ่งฟันเฟืองสำคัญที่ดำเนินธุรกิจเพื่อสร้างความมั่นคงด้านพลังงานคนไทย ดังนั้น การเปลี่ยนผ่านพลังงานสู่พลังงานที่สะอาดมากขึ้น สิ่งสำคัญจะต้องสมดุลระหว่างด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม เพราะประเทศไทยยังต้องสร้างการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ การเปลี่ยนผ่านด้านพลังงานที่ราบรื่นจะต้องบาลานซ์ทั้ง 3 องคาพยพ”

จากการที่กลุ่มประเทศอาเซียนมีจำนวนประชากรเกือบ 700 ล้านคน ถือเป็นเขตเศรษฐกิจที่สำคัญ โดยเฉพาะประเทศเพื่อนบ้านอย่างเวียดนาม โดยผลิตภัณฑ์รวมในประเทศ (GDP) ของอาเซียนมีขนาดใหญ่ถึง 6% ของโลก สามารถดึงดูดการลงทุนได้ดีเป็นเขตเศรษฐกิจที่สำคัญ จึงหลีกเลี่ยงไม่ได้ว่าโลกต้องมุ่งไปสู่พลังงานสะอาด

ชี้ก๊าซยังเป็นแหล่งพลังงานสำคัญ
อย่างไรก็ตาม ด้วยข้อจำกัดของพลังงานหมุนเวียนในปัจจุบัน ดังนั้น เชื้อเพลิงก๊าซธรรมชาติ ยังคงเป็นพลังงานที่สำคัญ ส่วนถ่านหินและน้ำมันจะต้องค่อย ๆ ลดปริมาณลงเพราะมีการปล่อยคาร์บอนสูงกว่าก๊าซฯ 

อีกทั้ง แหล่งก๊าซฯ ที่มีมูลค่ามหาศาลที่สำคัญล้วนมีจำนวนมากในบริเวณอ่าวไทย ดังนั้น กลุ่มอาเซียน ทั้งประเทศไทย มาเลเซีย อินโดนีเซีย และเมียนมา ต่างล้วนได้รับประโยชน์ในสินทรัพย์ใต้ท้องทะเลนี้

นอกจากนี้ พลังงานหมุนเวียนในอนาคตที่จะมีมากขึ้นทั้งโซลาร์ ลม และน้ำ ยังคงต้องใช้เวลา โดยประเทศในอาเซียน ยังคงพึ่งพาก๊าซฯ ซึ่งในเอเชียแปซิฟิกยังเป็นแหล่งที่การผลิตยังต่ำกว่าความต้องการ จึงต้องนำเข้าก๊าซฯ ปริมาณมาก ทั้ง ๆ ที่ในอ่าวไทยยังมีใช้เพราะเป็นพลังงานที่ใช้ได้สะดวก โดยประเทศไทยพึ่งพาก๊าซฯ ในอ่าวไทย 50% และนำเข้า LNG และก๊าซฯ ประเทศเพื่อนบ้านโดยเฉลี่ยอีก 50%

“รัฐบาลได้พยายามผลักดันเจรจาการนำทรัพยากรจากพื้นที่ไหล่ทวีปคาบเกี่ยวไทย-กัมพูชา หรือ OCA (Overlapping Claims Area) ซึ่งก่อนหน้านี้ได้มีการเจรจาและใช้มาแล้วกับมาเลเซีย ซึ่งตอนร่วมผลิตไม่สามารถตกลงในเรื่องเขตแดน จึงใช้วิธีร่วมใช้ทรัพยากรมาพัฒนาสร้างเศรษฐกิจความเจริญให้ประเทศได้”

เดินหน้ากักเก็บคาร์บอน-ไฮโดรเจน
ทั้งนี้ จากการนำก๊าซฯ มาผลิตไฟฟ้าจะถือเป็นเชื้อเพลิงฟอสซิลที่สะอาดที่สุดตัวหนึ่งแต่ยังก่อให้เกิดก๊าซเรือนกระจกอยู่ จึงต้องทำในเรื่องของการลดการปลดปล่อยคาร์บอน ซึ่งในช่วงเปลี่ยนผ่านพลังงาน กลุ่ม ปตท. จะดำเนินควบคู่ใน 2 วิธี คือ การพัฒนาโครงการการดักจับและการจัดเก็บคาร์บอน (CCS) และการใช้เชื้อเพลิงไฮโดรเจนเป็นส่วนผสมในกลุ่มอุตสาหกรรมตามแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศ (PDP) สัดส่วน 5% รวมถึงการปลูกป่า เป็นต้น

“เทคโนโลยี CCS เป็นการเอาคาร์บอนในอากาศมาเปลี่ยนสภาพเป็นของเหลวเพื่อเก็บไว้ใต้ดินหรือใต้ทะเลจะช่วยลดโลกร้อน ซึ่งไม่ใช่เรื่องใหม่ ทั้ง สหรัฐอเมริกา ยุโรป และเอเชียล้วนแล้วแต่ใช้เทคโนโลยี CCS มานานแล้ว ส่วนไฮโดรเจนทั่วโลกตื่นตัวมากระยะ 5-10 ปีที่ผ่านมา ได้พัฒนามาใช้มากมายประเทศไทยจึงหลีกเลี่ยงใน 2 เรื่องนี้ไม่ได้หากจะมุ่งไปสู่เป้าหมาย Net Zero ปี 2065"

การที่ประเทศไทยต้องนำเข้าทั้งก๊าซฯ 50% และน้ำมันกว่า 90% และด้วยสภาวะเศรษฐกิจ ภูมิรัฐศาสตร์ และความไม่แน่นอนต่าง ๆ ปตท. จึงมีวิชั่น “แข็งแรงร่วมกับสังคมไทยและเติบโตในระดับโลกอย่างยั่งยืน” อีกทั้ง ปตท.เป็นบริษัทที่จดทะเบียนอยู่ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) จึงต้องสร้างความแข็งแรงและผลกำไร สร้างสมดุลทั้งเศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อม ให้กับประเทศไทยอย่างยั่งยืน

ยึดกลยุทธ์ทำในสิ่งที่ ปตท.ถนัด
ทั้งนี้ จากการเติบโตของ ปตท.จะทำในสิ่งที่ตนเองถนัดเพื่อสร้างความมั่นคงด้านพลังงาน สร้างการเติบโตควบคู่กับการลดก๊าซเรือนกระจก ซึ่งกลุ่ม ปตท.ได้ตั้งเป้าหมาย Net Zero ปี 2050 ผ่าน C3 คือ 

1. ธุรกิจที่มีความยืดหยุ่นต่อสภาพอากาศ Climate-Reilience Business 2. ธุรกิจที่ใส่ใจเรื่องคาร์บอน Carbon Conscious Business 3. การร่วมมือ การสร้างสรรค์ เพื่อทุกคน Coalition, Co-creation & collective Efforts for All

“เพื่อพัฒนาขีดความสามารถ เนื่องจากมีปัจจัยภายนอกที่กระทบต่อธุรกิจจึงต้องสร้างความแข็งแกร่งจากภายใน โดยการยกระดับ Operation & Efficiency ด้วยการนำเทคโนโลยี ดิจิทัล และ AI มาประยุกต์ใช้" 

อีกทั้งต้องทำ Lean Organization ร่วมกับ Digital Transformation ซึ่งต้องเริ่มในวันที่องค์กรยังแข็งแรง เพื่อให้เกิดการยอมรับในทุกระดับ และต้องสร้างความเข้มแข็งด้านวัฒนธรรมองค์กร (Culture) สร้างความตระหนัก ปลูกฝังให้พนักงานกล้าที่จะปรับ และพร้อมที่จะเปลี่ยนเพื่อการเติบโตอย่างยั่งยืน

“ปัจจุบันโลกเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ปตท.ต้องปรับตัว มีความคล่องตัว และมุ่งมั่นรักษาเสถียรภาพและความมั่นคงทางพลังงานให้กับประเทศ ขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยให้เติบโต ควบคู่ไปกับการดูแลสังคม ชุมชน และสิ่งแวดล้อมเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตคนไทย พร้อมมุ่งสู่การเติบโตขององค์กรในระดับโลกอย่างยั่งยืนต่อไป”

‘คงกระพัน’ ติดท็อป 100 ซีอีโอชั้นนำของโลก ด้าน ปตท.ครองอันดับแบรนด์มูลค่าสูงสุดไทย

‘คงกระพัน’ ติดอันดับ 1 ใน 100 ซีอีโอชั้นนำของโลก และ ปตท. เป็นบริษัทเดียวในไทยที่ติดอันดับมูลค่าแบรนด์สูงสุดใน Brand Finance Global 500 ปี 2568

(17 ก.พ. 68) ดร.คงกระพัน อินทรแจ้ง ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) (ปตท.)  ได้รับการจัดอันดับที่ 66 จาก 100 CEO ชั้นนำของโลก และอยู่ในอันดับที่ 4 ของผู้นำในกลุ่มธุรกิจน้ำมันและก๊าซ ที่ส่งเสริมการสร้างมูลค่าแบรนด์องค์กรจาก Brand Guardianship Index 2025 โดย Brand Finance ซึ่งเป็นบริษัทที่ปรึกษาด้านกลยุทธ์และการประเมินมูลค่าแบรนด์ชั้นนำของโลก โดยได้รับคะแนน 76.4 จาก 100 คะแนน ในดัชนี Brand Guardianship Index  ผลการจัดอันดับสะท้อนถึงคุณลักษณะที่สำคัญของ CEO ในด้านต่างๆ ได้แก่ 1) ใส่ใจพนักงานอย่างแท้จริง 2) เป็นแรงบันดาลใจในการสร้างการเปลี่ยนแปลงเชิงบวก 3) มีความน่าเชื่อถือ 4) เข้าใจความต้องการของลูกค้า 5) เป็นผู้นำด้านความยั่งยืน 6) มุ่งเน้นคุณค่าในระยะยาว 7) มีกลยุทธ์และวิสัยทัศน์ที่ชัดเจน 8) เข้าใจความสำคัญของแบรนด์และชื่อเสียงองค์กร และ 9) มีไหวพริบทางธุรกิจ

นอกจากนี้ CEO ปตท.  ยังได้รับการจัดอันดับเป็นที่ 2 ของโลกด้านการรับรู้เรื่องความยั่งยืน ตามผลสำรวจจากกลุ่มตัวอย่างประมาณ 5,000 คน ในกว่า 30 ประเทศ ซึ่งเป็นเครื่องยืนยันถึงความมุ่งมั่นในการเป็นผู้นำที่บริหารธุรกิจอย่างยั่งยืนในระดับโลก  

โดยในปีนี้ ปตท. ยังคงได้รับการจัดอันดับให้เป็นบริษัทเดียวในประเทศไทยที่ติดหนึ่งใน 500 แบรนด์แรกของโลกที่มีมูลค่าแบรนด์องค์กรสูงสุด โดยอยู่ในอันดับที่ 249 สูงขึ้นจากอันดับ 267  ในปี 2567 ที่ผ่านมา นอกจากนี้ ยังได้รับการประเมินมูลค่าแบรนด์สูงกว่าเก้าพันล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือเติบโตกว่าร้อยละ 11 ซึ่งมีเกณฑ์ในการพิจารณา อาทิ ผลการดำเนินงาน ความแข็งแกร่งของแบรนด์ และความยึดมั่นในแบรนด์ที่ตอกย้ำการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืนในทุกมิติ 

Mr. Alex Haigh, Managing Director – Asia Pacific of Brand Finance กล่าวว่า ดร.คงกระพัน แสดงให้เห็นถึงวิสัยทัศน์ และการขับเคลื่อนแบรนด์ด้วยเป้าหมายที่ชัดเจน โดยความมุ่งมั่นในการสร้างคุณค่าระยะยาว การพัฒนาอย่างยั่งยืน และความเป็นเลิศทางธุรกิจ มีส่วนสำคัญอย่างยิ่งในการผลักดันให้ ปตท. เป็นแบรนด์ไทยเพียงหนึ่งเดียวที่ติดอันดับ Brand Finance Global 500 และมีชื่อเสียงระดับสากลในการขับเคลื่อนนวัตกรรมและการพัฒนาอย่างยั่งยืนในภาคพลังงาน

ดร.คงกระพัน กล่าวเพิ่มเติมว่า การได้รับการจัดอันดับบริษัทที่มีมูลค่าแบรนด์สูงสุดของโลกเป็นผลเนื่องมาจากพันธกิจขององค์กรที่ชัดเจนในการมุ่งมั่นรักษาเสถียรภาพและความมั่นคงทางพลังงานให้กับประเทศ พร้อมขับเคลื่อนธุรกิจให้เติบโตอย่างต่อเนื่องบนหลัก “ความยั่งยืนอย่างสมดุล” ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม รวมถึงการกำกับดูแลกิจการที่ดี ภายใต้วิสัยทัศน์ “ปตท. แข็งแรงร่วมกับสังคมไทยและเติบโตในระดับโลกอย่างยั่งยืน” ตลอดจนการสนับสนุนจากคนไทยทุกภาคส่วนที่ให้ความเชื่อมั่นในการดำเนินงานของ ปตท.

นอกเหนือไปจากการดูแลรักษาเสถียรภาพทางด้านพลังงานแล้ว ปตท. ยังคงดูแลสังคม เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตคนไทย และพร้อมช่วยเหลือประเทศชาติในยามที่เกิดภาวะวิกฤติ และดูแลผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกกลุ่มอย่างสมดุล ทั้งนี้ เพื่อเติบโตและมุ่งสู่การเป็นขององค์กรในระดับโลกอย่างยั่งยืน และสร้างมูลค่าแบรนด์ที่แข็งแกร่งยกระดับขีดความสามารถขององค์กรสู่ระดับสากล

‘ปตท.–GPSC-Solar PPM’ สนับสนุนการติดตั้งระบบไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ ณ วัดสระเกศฯ ส่งเสริมการใช้พลังงานจากธรรมชาติ เพื่อลดค่าใช้จ่ายของทางวัด

(23 มี.ค. 68) ดร.คงกระพัน อินทรแจ้ง ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) (ปตท.) พร้อมด้วย นายวรวัฒน์ พิทยศิริ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท โกลบอล เพาเวอร์ ซินเนอร์ยี่ จำกัด (มหาชน) (GPSC) และนายกฤษณ์ พรพิไลลักษณ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท โซลาร์ พีพีเอ็ม จำกัด (Solar PPM) ร่วมถวายระบบ Solar Rooftop ขนาด 100 กิโลวัตต์ แด่พระเดชพระคุณพระพรหมสิทธิ (ธงชัย สุขญาโณ) เจ้าอาวาสวัดสระเกศราชวรมหาวิหาร (วัดภูเขาทอง) เพื่อปรับปรุงระบบไฟฟ้าของวัดให้เป็นระบบไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ สำหรับใช้งานภายในอาคารบำเพ็ญกุศล 1-2 และเมรุ โดยสามารถลดค่าไฟฟ้าของวัดได้ถึงร้อยละ 50 ภายใน 1 เดือน นับเป็นการช่วยลดค่าใช้จ่ายให้แก่วัดและเป็นการสนับสนุนเพื่อสาธารณประโยชน์ให้แก่วัดและชุมชนในพื้นที่อีกด้วย


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top