Tuesday, 14 May 2024
การแข่งขัน

ดีขึ้นทุกด้าน!! ‘IMD’ เผย อันดับขีดสามารถในการแข่งขันไทย ปี 66 ดีขึ้น ไต่จากอันดับที่ 64 มาอยู่ที่ 30 ของโลก ที่ 3 ของอาเซียน

ภาพรวมผลการจัดอันดับระดับโลก ในปี 2566 IMD World Competitiveness Center ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ได้ทำการจัดอันดับความสามารถในการแข่งขันของ 64 เขตเศรษฐกิจทั่วโลก (ประเทศรัสเซียและยูเครน ไม่ได้ร่วมการจัดอันดับในปี 2566 นี้ อย่างไรก็ตาม ประเทศคูเวต ได้เข้าร่วมการจัดอันดับในปีนี้เป็นปีแรก) โดยใช้ข้อมูลจากการสำรวจความเห็นของผู้บริหาร ณ ไตรมาสแรก ปี 2566 และข้อมูลเชิงประจักษ์ (Hard data) ปี 2565 ซึ่งยังคงจัดอันดับโดยประเมินเขตเศรษฐกิจต่างๆ ใน 4 ด้าน ได้แก่

1) สมรรถนะทางเศรษฐกิจ (Economic Performance)
2) ประสิทธิภาพของภาครัฐ (Government Efficiency)
3) ประสิทธิภาพของภาคธุรกิจ (Business Efficiency)
4) โครงสร้างพื้นฐาน (Infrastructure)

ภาพรวมของผลการจัดอันดับในปี 2566 นี้ พบความแตกต่างของการพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันระหว่างเขตเศรษฐกิจที่ใช้นโยบายการค้าเสรี (Open-trade economies) และเขตเศรษฐกิจที่ใช้นโยบายปกป้องทางการค้า (Protectionist economies) อย่างมีนัยสำคัญ โดยเฉพาะใน 3 ประเด็นหลัก ได้แก่ ด้านการเมือง (Politics) ด้านเศรษฐกิจ (Economics) และด้านสังคม (Social) ซึ่งผู้บริหารองค์กรที่จะสามารถนำพาธุรกิจให้ก้าวข้ามผ่านความท้าทายของโลกปัจจุบันได้ จำเป็นที่จะต้องเข้าใจความสัมพันธ์ที่ซับซ้อนระหว่างเงินเฟ้อ (Inflation) ความเสี่ยงจากความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์ (Geopolitical risks) และโลกที่มีความแบ่งแยกแตกต่างกัน (Fragmented world) มากขึ้น นอกจากนี้ ผลการศึกษาของปี 2566 ยังแสดงให้เห็นว่าเขตเศรษฐกิจอย่างไทย อินโดนีเซีย และมาเลเซีย เริ่มเห็นพัฒนาการที่ดีขึ้นของขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศในปีนี้ จากการกลับมาเปิดประเทศ หลังดำเนินนโยบายปิดประเทศเพื่อควบคุมการระบาดของโรคโควิด 19 มาอย่างยาวนาน

ผลการจัดอันดับขีดความสามารถในการแข่งขัน ประจำปี 2566 เดนมาร์กยังคงได้รับการจัดอันดับเป็นเขตเศรษฐกิจที่มีขีดความสามารถในการแข่งขันสูงที่สุด จาก 64 เขตเศรษฐกิจทั่วโลก ต่อเนื่องเป็นปีที่ 2 ติดต่อกันจากความแข็งแกร่งในปัจจัยประสิทธิภาพของภาคธุรกิจ (Business Efficiency) และโครงสร้างพื้นฐาน (Infrastructure) รวมถึงการปรับอันดับดีขึ้นเล็กน้อยของปัจจัยประสิทธิภาพของภาครัฐ (Government Efficiency) ไอร์แลนด์ อันดับ 2 ในปีนี้ ขยับขึ้นมา 5 อันดับจากปีที่แล้ว จากความสำเร็จในการพัฒนาศักยภาพด้านสมรรถนะทางเศรษฐกิจ (Economic Performance) ที่สามารถสร้างเศรษฐกิจที่มีความสามารถในการปรับตัว (Resilient economies) สูง อันดับ 3 สวิตเซอร์แลนด์ จากจุดแข็งด้านประสิทธิภาพของภาครัฐ (Government Efficiency) และโครงสร้างพื้นฐาน (Infrastructure) รวมถึงสมรรถนะทางเศรษฐกิจ (Economic Performance) ที่ปรับอันดับดีขึ้นค่อนข้างมากมาอยู่ที่อันดับ 18 จากอันดับ 30 ในปีก่อน
.
นอกจากนั้น เป็นที่น่าสนใจว่า เขตเศรษฐกิจที่ได้รับการจัดอยู่ในกลุ่มที่มีอันดับสูงสุด 10 อันดับแรกในปี 2566 ส่วนใหญ่ยังคงเป็นเขตเศรษฐกิจขนาดเล็ก (Smaller Economies) ที่มีกรอบการบริหารภาครัฐ (Institutional frameworks) ที่ดี รวมถึงมีระบบการศึกษาที่แข็งแกร่ง (Strong education systems) และมีความสามารถในการเข้าถึงตลาด (Access to markets) และพันธมิตรทางการค้า (Trading partners) ได้ดี เช่น เดนมาร์ก สวิตเซอร์แลนด์ และสิงคโปร์ ทั้งนี้ เขตเศรษฐกิจอื่นๆ ที่ได้รับการจัดอันดับในอันดับ 4-10 ตามลำดับ ในปี 2566 ได้แก่ อันดับ 4 สิงคโปร์ ซึ่งหล่นจากอันดับ 3 ในปีที่แล้ว อันดับ 5 เนเธอร์แลนด์ ดีขึ้น 1 อันดับจากปี 2566 อันดับ 6 ไต้หวัน ขยับขึ้น 1 อันดับจากปี 2566 อันดับ 7 ฮ่องกง ปรับอันดับลง 2 อันดับจากปีก่อน อันดับ 8 สวีเดน ร่วงลง 4 อันดับจากปีที่แล้ว อันดับ 9 สหรัฐอเมริกา ดีขึ้น 1 อันดับจากปี 2566 และอันดับ 10 สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์
.
ยิ่งไปกว่านั้น ผลการศึกษายังพบว่า ประเทศที่มีแหล่งผลิตพลังงานที่มั่นคง (Stable indigenous energy production) ห่วงโซ่อุปทานที่แข็งแกร่ง (Robust supply chains) และดุลการค้าที่ดี (Favorable trade balances) เป็นของตนเอง เช่น จีน ซาอุดีอาระเบีย สวิตเซอร์แลนด์ และไต้หวัน จะสามารถรักษาหรือพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศไว้ได้ จากผลกระทบด้านความผันผวนของเศรษฐกิจโลกที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน
.
ผลการจัดอันดับของไทย


ปี 2566 ในภาพรวม ไทยมีอันดับความสามารถในการแข่งขันอยู่ที่อันดับ 30 จาก 64 เขตเศรษฐกิจทั่วโลก ปรับดีขึ้น 3 อันดับจากอันดับที่ 33 ในปีที่แล้ว โดยมีผลคะแนนสุทธิดีขึ้นจาก 68.67 มาอยู่ที่ 74.54 ในปีนี้

เมื่อพิจารณาปัจจัย 4 ด้านที่ใช้ในการจัดอันดับ ไทยมีขีดความสามารถในการแข่งขันดีขึ้นจากปีที่แล้วในทุกด้าน ไม่ว่าจะเป็น สมรรถนะทางเศรษฐกิจ (Economic Performance) ประสิทธิภาพของภาครัฐ (Government Efficiency) ประสิทธิภาพของภาคธุรกิจ (Business Efficiency) และโครงสร้างพื้นฐาน (Infrastructure) โดยด้านสมรรถนะทางเศรษฐกิจ (Economic Performance) มีอันดับดีขึ้นมากที่สุดถึง 18 อันดับ ตามมาด้วย ด้านประสิทธิภาพของภาครัฐ (Government Efficiency) และด้านประสิทธิภาพของภาคธุรกิจ (Business Efficiency) ที่ต่างขยับอันดับดีขึ้น 7 อันดับ และด้านโครงสร้างพื้นฐาน (Infrastructure) ขยับดีขึ้น 1 อันดับ โดยมีประเด็นสำคัญในแต่ละด้าน ดังนี้

- ด้านสมรรถนะทางเศรษฐกิจ (Economic Performance): ภาพรวมอันดับดีขึ้นจากปี 2565 ถึง 18 อันดับ มาอยู่ที่อันดับ 16 ในปี 2566 สาเหตุหลักจากปัจจัยย่อยการลงทุนระหว่างประเทศ (International Investment) ที่ไทยอันดับดีขึ้นจากปีก่อนถึง 11 อันดับ จากอันดับ 33 ในปี 2565 มาอยู่ที่อันดับ 22 ในปีนี้ จากการที่ในปี 2565 นักลงทุนต่างชาติ มีการลงทุนในไทยรวม มูลค่ากว่า 128,774 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปี 2564 ถึง 46,000 ล้านบาท หรือร้อยละ 56 โดยมีการลงทุนจากประเทศญี่ปุ่นสูงสุดถึง 39,515 ล้านบาท ตามด้วยสิงคโปร์ และสหรัฐอเมริกา และการค้าระหว่างประเทศ (International Trade) ที่ไทยอันดับดีขึ้นถึง 8 อันดับ จากปีก่อนมาอยู่ที่อันดับ 29 เนื่องจากตัวชี้วัด 1.2.12 Exports of commercial services ($bn) และ 1.2.13 Exports of commercial services (%) ซึ่งเกี่ยวเนื่องกับมูลค่าการส่งออกบริการเชิงพาณิชย์ ที่เป็นการขนส่ง เดินทาง รวมถึงบริการและรายได้ที่เกี่ยวข้องอื่น ๆ มีการเปลี่ยนแปลงดีขึ้น จากการที่ไทยกลับมาเปิดประเทศ หลังวิกฤตโควิด 19 ต้อนรับนักท่องเที่ยวต่างชาติ ส่งผลให้ภาคธุรกิจท่องเที่ยวฟื้นตัว

- ด้านประสิทธิภาพของภาครัฐ (Government Efficiency): ภาพรวมอันดับดีขึ้นจากปี 2565 ถึง 7 อันดับ มาอยู่ที่อันดับ 24 ในปี 2566 สาเหตุหลักจากปัจจัยย่อยกรอบการบริหารภาครัฐ (Institutional Framework) และกฎหมายธุรกิจ (Business Legislation) ที่ทั้ง 2 ปัจจัยย่อยนี้ ไทยอันดับดีขึ้นจากปีก่อนถึง 7 อันดับ จากอันดับ 41 และ 38 ในปี 2565 มาอยู่ที่อันดับ 34 และ 31 ตามลำดับในปีนี้ โดยในปีนี้ ตัวชี้วัดที่เป็นจุดแข็งภายใต้ปัจจัยย่อยกรอบการบริหารภาครัฐ (Institutional Framework) ได้แก่ ตัวชี้วัด 2.3.02 Cost of capital อันดับ 11 และตัวชี้วัด 2.3.05 Central bank policy อันดับ 11 และภายใต้ปัจจัยย่อยกฎหมายธุรกิจ (Business Legislation) ได้แก่ ตัวชี้วัด 2.4.16 Labor regulations อันดับ 6 ตัวชี้วัด 2.4.17 Unemployment legislation อันดับ 12 และตัวชี้วัด 2.4.06 Investment incentives อันดับ 14

- ด้านประสิทธิภาพของภาคธุรกิจ (Business Efficiency): ภาพรวมอันดับดีขึ้นจากปี 2565 ถึง 7 อันดับ มาอยู่ที่อันดับ 23 ในปี 2566 สาเหตุหลักจากปัจจัยย่อยผลิตภาพและประสิทธิภาพ
(Productivity & Efficiency) ที่ไทยอันดับดีขึ้นจากปีก่อนถึง 9 อันดับ จากอันดับ 47 ในปี
2565 มาอยู่ที่อันดับ 38 ตามลำดับในปีนี้ โดยตัวชี้วัดที่เป็นจุดแข็งภายใต้ปัจจัยย่อยผลิตภาพและประสิทธิภาพ (Productivity & Efficiency) ได้แก่ ตัวชี้วัด 3.1.08 Large corporations อันดับ 11

- ด้านโครงสร้างพื้นฐาน (Infrastructure): ภาพรวมอันดับดีขึ้น 1 อันดับ จากปี 2565 มาอยู่ที่อันดับ 43 ในปี 2566 สาเหตุหลักจากปัจจัยย่อยโครงสร้างด้านเทคโนโลยี (Technological
Infrastructure) ที่ไทยอันดับดีขึ้นจากปีก่อนถึง 9 อันดับ จากอันดับ 34 ในปี 2565 มาอยู่ที่
อันดับ 25 ตามลำดับในปีนี้ โดยตัวชี้วัดที่เป็นจุดแข็งภายใต้ปัจจัยย่อยโครงสร้างด้านเทคโนโลยี
(Technological Infrastructure) ได้แก่ ตัวชี้วัด 4.2.08 Internet bandwidth speed และตัว
ขี้วัด Investment in Telecommunications ที่ต่างอยู่ในอันดับ 5 ตัวชี้วัด 4.2.15 High-tech
exports (%) อันดับ 11 ตัวชี้วัด 4.2.03 Mobile telephone costs อันดับ 15 ตัวชี้วัด 4.2.04
Communications technology อันดับ 15 และตัวชี้วัด 4.2.11 Public-private partnerships
อันดับ 18

มีรายละเอียดของผลการจัดอันดับในแต่ละปัจจัย ดังนี้

สมรรถนะทางเศรษฐกิจ (Economic Performance)


ในปี 2566 ปัจจัยด้านสมรรถนะทางเศรษฐกิจของไทย มีพัฒนาการของการยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันของไทยอย่างมากจากปีก่อนถึง 18 อันดับ มาอยู่ที่อันดับ 16 จากอันดับที่ดีขึ้นของทุกปัจจัยย่อย ไม่ว่าจะเป็นเศรษฐกิจภายในประเทศ (Domestic Economy) ที่อันดับดีขึ้น 7 อันดับจากปีก่อน มาอยู่ที่อันดับ 44 ในปีนี้ การค้าระหว่างประเทศ (International Trade) ที่อันดับดีขึ้น 8 อันดับจากปีก่อนมาอยู่ที่อันดับ 29 การลงทุนระหว่างประเทศ (International Investment) ที่อันดับดีขึ้นจากปีก่อนถึง 11 อันดับ มาอยู่ที่อันดับ 22 การจ้างงาน (Employment) ที่อันดับดีขึ้น 1 อันดับจากปีก่อน มาอยู่ที่อันดับ 3 และระดับราคาและค่าครองชีพ (Prices) ที่อันดับดีขึ้นจากปีก่อน 4 อันดับมาอยู่ที่อันดับ 27

‘กรณ์’ ชี้!! สิงคโปร์ดีล ‘Taylor Swift’ จัดคอนฯ ไม่ใช่เรื่องแปลก ถือเป็นการแข่งขัน-กระตุ้น ศก.ปกติ แต่ ‘ไม่น่ารัก’ ในสายตาเพื่อนบ้าน

(6 มี.ค. 67) นายกรณ์ จาติกวณิช อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ได้โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก ‘กรณ์ จาติกวณิช - Korn Chatikavanij’ ระบุว่า…

“วันนี้ลูกสาว text มาแจ้งว่าเพื่อนที่สิงคโปร์ชวนไปดู Taylor Swift คืนวันศุกร์นี้ (ค่าตั๋วเท่าไรพ่อไม่กล้าถาม) ลูกสาวดีใจมาก รีบจองตั๋วเครื่องบินซึ่งก็แพงอีก แต่ซื้อตั๋วได้ถูกลงหน่อยโดยยอมเปลี่ยนเครื่องที่หาดใหญ่ ส่วนการนอนคงต้องนอนบ้านเพื่อนเพราะอยู่โรงแรมไม่ไหวแน่

“ทำให้นึกถึงดราม่าระหว่างผู้นำประเทศเรื่องเงื่อนไข ‘exclusivity’ ที่สิงคโปร์เจรจาไว้กับทีมงาน Taylor Swift (ว่าในภูมิภาคนี้ต้องเล่นที่สิงคโปร์เท่านั้น)

“ล่าสุดเห็น ลีเซียนลุง นายกฯ สิงคโปร์ให้สัมภาษณ์ว่ายุทธศาสตร์นี้ “…จากมุมมองสิงคโปร์ ซึ่งไม่เพียงแต่จะทำให้เศรษฐกิจเติบโตเท่านั้น แต่ยังดึงดูดนักท่องเที่ยวและความปรารถนาดีจากทั่วทุกภูมิภาคด้วย ผมไม่เห็นว่าทำไมถึงจะไม่ทำล่ะ” (จาก The Standard)

“ผมเห็นด้วยนะ ถ้าให้ผมเปรียบเทียบ ประเทศต่าง ๆ (เราด้วย) ยังพร้อมแย่งการลงทุนไม่ให้ไปประเทศเพื่อนบ้านด้วยการ ‘ตัดราคา’ ภาษีให้นักลงทุน หรือเราพร้อมสร้าง land bridge เพื่อแย่งลูกค้าจากสิงคโปร์และมาเลเซีย ฯลฯ ทั้งหมดเป็นการแข่งขันทางเศรษฐกิจที่ปกติ…แม้จริงอยู่อาจจะถูกคนมองว่า ‘ไม่น่ารัก’ ก็ตาม

“ตามจริงอะไรที่กลุ่ม ASEAN ทำด้วยกันได้เราควรทำ หากแข่งกันทุกเรื่อง เราทุกคนจะเสียประโยชน์ แต่การชิงไหวชิงพริบคงต้องมีบ้างเป็นธรรมดา

ส่วนกระแส Taylor Swift ช่วงนี้ ทำให้คนรุ่นผมนึกถึงระดับความคลั่งสมัยที่ Michael Jackson มาทัวร์ไทย (มาพีคที่บ้านเราเลยด้วย) ทุกรุ่นก็มี moment ของเขา เที่ยวนี้สิงคโปร์เขาคว้า moment นั้นได้ คราวหน้าหากเราเตรียมตัวให้ดี โอกาสอาจจะเป็นของเรา

‘จีน’ เตือน ‘สหรัฐ’ หลังตั้งกำแพงกดดันทุกทาง ชี้!! ผลลัพธ์ไม่สวย ซ้ำจะย้อนทำร้ายตัวเอง

ไม่นานมานี้ สหรัฐฯ ได้เพิ่มความพยายามในการต่อต้านและกดดันในหลาย ๆ ด้าน ตั้งแต่การของบประมาณเพิ่มเติมเพื่อใช้ในการ ‘แข่งขันกับจีน’ และเพิ่มการขายอาวุธยุทโธปกรณ์ให้กับไต้หวัน ไปจนถึงการพยายามชักชวนให้ประเทศต่าง ๆ ในเอเชียให้เข้าสู่ข้อตกลง เพื่อการจำกัดการส่งออกด้านเทคโนโลยีให้กับจีน 

โดยทางจีนได้ออกมาเคลื่อนไหวพร้อมระบุว่า ความเคลื่อนไหวทั้งหมดนี้ล้วนแล้วแต่เป็นผลเสียต่อความสัมพันธ์ทวิภาคีระหว่างจีนกับสหรัฐฯ รวมทั้งภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก กระทั่งลามไปทั่วโลก

Wang Wenbin โฆษกกระทรวงการต่างประเทศของจีน

ด้วยการแข่งขันที่ดุเดือด ทำให้งบประมาณของสหรัฐฯ สำหรับปีงบประมาณ 2025 ถูกนำไปจัดสรรใช้เป็นทุนเพื่อ ‘เอาชนะจีน’ และติดอาวุธให้กับภูมิภาคไต้หวันของจีน

เมื่อวันอังคารที่ผ่านมา (12 มี.ค.) Wang Wenbin โฆษกกระทรวงการต่างประเทศของจีน ย้ำว่า การแข่งขันไม่ใช่ลักษณะที่แท้จริงของจีน ความสัมพันธ์ของสหรัฐฯ และการแข่งขันระหว่างประเทศสำคัญ ๆ จะไม่สามารถแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ที่จีนและสหรัฐฯ กำลังเผชิญอยู่ ความพยายามของสหรัฐฯ ที่จะ ‘เอาชนะจีน’ ไม่ใช่การแข่งขันที่ไม่เป็นพิษเป็นภัย แต่เป็นการแข่งขันที่เลวร้าย โดยสหรัฐฯ วางกับดักคู่แข่งไว้ทุกดอก Wang 

โฆษกกระทรวงการต่างประเทศของจีน กล่าวเสริมว่า “มันกลายเป็นการพนันที่ไม่มีข้อจำกัด ซึ่งทำให้ผลประโยชน์พื้นฐานของประชาชนของทั้งสองประเทศและแม้แต่อนาคตของมนุษยชาติกลายเป็นเดิมพัน และมันจะผลักดันเฉพาะจีนและสหรัฐฯ ไปสู่การเผชิญหน้าและความขัดแย้งที่รุนแรงขึ้นเรื่อย ๆ”

คำของบประมาณของรัฐบาลสหรัฐฯ สำหรับปีงบประมาณ 2025 ประกอบด้วยเงินทุนบังคับจำนวน 4 พันล้านดอลลาร์ในช่วงห้าปี เพื่อ ‘ใช้เครื่องมือทั้งหมดที่เราจัดการเพื่อเอาชนะจีนให้ได้’ คำของบประมาณยังรวมถึง ‘คำขอเงินทุนครั้งแรก’ จำนวน 500 ล้านดอลลาร์ เพื่อเพิ่มเติมอาวุธยุทโธปกรณ์ที่จะมอบให้กับไต้หวัน 

รายงานของสื่อแห่งหนึ่งระบุ เมื่อวันอังคาร (12 มี.ค.) ว่า Wang ยังกล่าวถึงการคัดค้านอย่างแข็งขันของจีนต่อความสัมพันธ์ทางทหารระหว่างสหรัฐฯ และเกาะไต้หวัน และความพยายามของสหรัฐฯ ที่จะติดอาวุธให้กับเกาะแห่งนี้ 

“เราขอเรียกร้องให้สหรัฐฯ ปฏิบัติตามหลักการจีนเดียว และหยุดแทรกแซงกิจการภายในของจีน จีนจะใช้มาตรการต่าง ๆ เพื่อปกป้องอธิปไตยและบูรณภาพแห่งดินแดนของตนอย่างแน่วแน่และมั่นคง” เขากล่าว

Gina Raimondo รัฐมนตรีกระทรวงพาณิชย์ของสหรัฐฯ

นอกเหนือจากการของบประมาณแล้ว รัฐบาลสหรัฐฯ ยังได้เพิ่มความพยายามที่เห็นได้ชัดว่ามีเป้าหมายเพื่อเพิ่มการปราบปรามทางเทคโนโลยีต่อจีนให้เข้มข้นยิ่งขึ้น ในขณะที่นำคณะผู้แทนธุรกิจของสหรัฐฯ ไปยังฟิลิปปินส์ Gina Raimondo รัฐมนตรีกระทรวงพาณิชย์ของสหรัฐฯ ส่งสัญญาณว่าสหรัฐฯ ‘จะทำทุกวิถีทาง’ เพื่อปราบปรามความสามารถทางเทคโนโลยีของจีน 

ตามรายงานของ Bloomberg โดย Raimondo ได้ประกาศที่ฟิลิปปินส์ว่า บริษัทสหรัฐฯ เตรียมประกาศการลงทุนมูลค่ารวมมากกว่า 1 พันล้านดอลลาร์ในฟิลิปปินส์ ตามรายงานของ Reuters รัฐมนตรีกระทรวงพาณิชย์ของสหรัฐฯ กล่าวว่า ความมุ่งมั่นของสหรัฐฯ ในการขยายการค้าและการลงทุนในฟิลิปปินส์ยังขยายไปถึง ‘ภูมิภาคอินโดแปซิฟิกที่ใหญ่กว่า’ อีกด้วย แม้ว่าเธอจะย้ำว่าสหรัฐฯ ไม่ได้พยายามแตกแยกกับจีนก็ตาม

“ภยันตรายต่อโลก การมีส่วนร่วมของรัฐบาลสหรัฐฯ ในการแข่งขันประเทศใหญ่ เช่น จีน ซึ่งจะมีผลรวมเป็นศูนย์ นอกจากไม่เพียงที่เป็นการเสี่ยงต่อการเผชิญหน้าระหว่างสองประเทศที่มีเศรษฐกิจใหญ่ที่สุดในโลกเท่านั้น แต่ยังดึงดูดประเทศต่าง ๆ ในภูมิภาคและทั่วโลกให้เข้าร่วมการเผชิญหน้าแบบกลุ่มมากขึ้น ในเวลาที่โลกต้องการความร่วมมือมากที่สุด” ผู้เชี่ยวชาญชาวจีนตั้งข้อสังเกต 

นอกจากนี้ เพื่อเน้นย้ำการรณรงค์ที่เข้มข้นขึ้นของวอชิงตันเพื่อควบคุมจีนในการแข่งขันในประเทศใหญ่ ๆ รัฐบาลสหรัฐฯ ยังผลักดันพันธมิตรของตน รวมถึงเนเธอร์แลนด์ เยอรมนี เกาหลีใต้ และญี่ปุ่น ให้เข้มงวดข้อจำกัดด้าน Chip คอมพิวเตอร์กับจีน และกำลังพิจารณาเพิ่มผู้ผลิต Chip ของจีนรายอื่น อาทิ ChangXin Memory Technologies Inc เข้าสู่รายการควบคุมตามที่ Bloomberg อ้าง 

ในขณะเดียวกัน สภาคองเกรสแห่งสหรัฐอเมริกากำลังเร่งร่างกฎหมายที่จะบังคับให้บริษัท ByteDance ของจีนขาย TikTok ซึ่งเป็นแอปพลิเคชันยอดนิยม หรือเผชิญกับการแบนในสหรัฐฯ ซึ่งเป็นการเคลื่อนไหวที่ผู้เชี่ยวชาญของจีนกล่าวว่า เป็นการเคลื่อนไหวของวอชิงตันที่มีลักษณะเป็นการตีโพยตีพายอีกครั้งในการต่อต้านกดดันบริษัทจีน

Apple store ย่านใจกลางเมืองของนครเซี่ยงไฮ้

การต่อต้านและกดดันอย่างเข้มข้นของนักการเมืองสหรัฐฯ การรณรงค์เพื่อกดดันจีนสะท้อนให้เห็นถึงปัญหาภายในประเทศที่เพิ่มขึ้นภายในสหรัฐฯ รวมถึงการครอบงำทางเศรษฐกิจและเทคโนโลยีทั่วโลก ซึ่งประเทศนี้ไม่สามารถจัดการในลักษณะที่มีประสิทธิผลใด ๆ ได้ เนื่องจากการแบ่งพรรคแบ่งพวกและความผิดปกติของรัฐบาล ตามการระบุของนักวิเคราะห์ชาวจีน ที่สำคัญกว่านั้น ความพยายามดังกล่าวจะไม่ขัดขวางการเติบโตทางเศรษฐกิจและเทคโนโลยีของจีน เนื่องจากธุรกิจต่าง ๆ รวมถึงบริษัทของสหรัฐฯ ที่ขับเคลื่อนโดยกลไกตลาด ไม่ใช่การเมือง จะยังคงลงทุนและดำเนินการในตลาดจีนต่อไป 

ผู้เชี่ยวชาญกล่าวว่า ผู้บริหารธุรกิจสหรัฐฯ จำนวนมากเดินทางเยือนจีนและขยายการลงทุนในจีน ข้อจำกัดทางการเมืองต่อธุรกิจของสหรัฐฯ จะส่งผลเสียต่อผลประโยชน์ของสหรัฐฯ เท่านั้น ตัวอย่างที่ชัดเจนของบริษัทสหรัฐฯ ที่ขยายการลงทุนในจีน เช่น Apple บริษัทเทคโนโลยียักษ์ใหญ่ของสหรัฐฯ ประกาศเมื่อวันอังคารถึงแผนที่จะเปิดห้องปฏิบัติการวิจัยแห่งใหม่ในนครเซินเจิ้น มณฑลกวางตุ้งทางตอนใต้ของจีน และอัปเกรดห้องปฏิบัติการวิจัยในนครเซี่ยงไฮ้ เรื่องนี้เกิดขึ้นไม่นานหลังจากที่บริษัทเพิ่งประกาศเปิดร้านใหม่ในย่านใจกลางเมืองของนครเซี่ยงไฮ้
 


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top