Monday, 13 May 2024
การเรียน

'ก้าวไกล' กางนโยบาย ‘การศึกษาไทยก้าวหน้า’ ชู 'เรียนฟรี - รร.ปลอดภัย - ส่งเสริมเรียนรู้นอกห้องเรียน'

(14 ม.ค.66) ที่ศูนย์เยาวชนเตชะวณิช กรุงเทพมหานคร (บางซื่อ) นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ หัวหน้าพรรคก้าวไกล แถลงเปิดนโยบาย 'การศึกษาไทยก้าวหน้า' ซึ่งเป็นชุดนโยบายที่ 5 จากทั้งหมด 9 ชุดนโยบาย เพื่อขับเคลื่อนภารกิจของพรรค สร้างประเทศที่ 'เท่าเทียม ก้าวทันโลก ประชาชนเป็นเจ้าของ'

พิธา กล่าวว่า พรรคก้าวไกลตั้งใจเปิดนโยบายการศึกษาในวันเด็กแห่งชาติ เพราะทุกปีเรามักคุ้นเคยกับคำขวัญวันเด็กที่ผู้ใหญ่ตั้งขึ้นเพื่อบอกว่าเด็กควรเป็นอย่างไร แต่สำหรับพรรคก้าวไกล เราต้องการพลิกแนวคิดเรื่องการศึกษา จากการศึกษาแบบอำนาจนิยม ที่สั่งให้เด็กต้องเป็นแบบที่ผู้ใหญ่เห็นว่าดี มาเป็นการศึกษาแบบโลกเสรี ที่สร้างพื้นที่ปลอดภัยให้เด็กมีเสรีภาพในการเรียนรู้อย่างเสมอภาคและหลากหลาย การจัดกิจกรรมวันนี้ จึงต้องการให้ผู้ใหญ่ รวมถึงนักการเมือง มารับฟังเด็กเพื่อเข้าใจปัญหาของเด็กและเสนอทางออก ซึ่งเรื่องนี้ควรเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นทุกวัน ไม่ใช่เฉพาะวันเด็ก

พิธากล่าวว่า เราต่างรู้ดีว่าการศึกษาที่ดีคืออะไร การศึกษาที่ดีคือการศึกษาที่ทุกคนเข้าถึงได้ไม่เหลื่อมล้ำ การศึกษาที่มีคุณภาพ ส่งเสริมทักษะที่จำเป็นต่ออนาคตและการใช้ชีวิต และการศึกษาที่ไม่สิ้นสุด ส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต แต่หัวใจสำคัญของนโยบายการศึกษาไทยก้าวหน้าของพรรคก้าวไกลคือการเน้นที่ประสิทธิภาพ เพื่อแก้ปัญหาในการศึกษาไทยที่มีมายาวนาน ไม่ว่าจะเป็น การที่เด็กไทยเรียนหนักเป็นอันดับต้น ๆ ของโลก แต่ผลการประเมินทักษะกลับตามหลังสากล การที่กระทรวงศึกษาธิการได้รับงบประมาณสูงมากทุกปี แต่กลับไม่สามารถลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาในประเทศ เรียนฟรีก็ยังไม่ฟรีจริง หรือคุณครูที่ต้องทำงานหนัก แต่กลับหมดเวลาแต่ละวันไปกับเรื่องที่ไม่เกี่ยวกับการสอน

ธงชาติ ปักคู่ กระเป๋าเป้สะพายหลัง ทำแบบนี้มีความหมายบางอย่าง ในประเทศเนเธอร์แลนด์

ผู้ใช้ TikTok ที่ชื่อว่า movedtoamsterdam ได้โพสต์คลิปสั้น อธิบายความหมายที่ซ่อนอยู่ กับการนำธงชาติ มาปักคู่ กับกระเป๋าเป้สะพายหลัง โดยมีใจความว่า ...

รู้หรือไม่ในประเทศเนเธอร์แลนด์ ถ้าเห็นธงชาติปักอยู่กับกระเป๋า backpack (กระเป๋าเป้สะพายหลัง) มันมีความหมายซ่อนอยู่ ในวัฒนธรรมของประเทศเนเธอร์แลนด์ ถ้าบ้านไหนมีลูกที่กำลังจะเรียนจบม.6 หรือว่า High School เขาก็จะทำแบบนี้เพื่อบอกเพื่อนบ้าน และเพื่อเป็นการแสดงความยินดีกับเด็กคนนั้นที่เรียนจบ แสดงความยินดี ที่ว่าการเรียนการศึกษาที่เรียนมาตลอดมันกำลังจะจบแล้วนะ เพราะว่าในประเทศเนเธอร์แลนด์ การเรียนจบในระดับชั้น ม.6 หรือว่า High School นั้นก็ถือว่าพอแล้ว เขาจะไม่บังคับว่าจะต้องเรียนในมหาลัยต่อ ก็เลยถือว่าการศึกษาที่จะต้องแบกกระเป๋า backpack ไปเรียนนั้นสิ้นสุดลงแล้ว เป็นการแสดงความยินดีแบบน่ารักๆ

แต่จริง ๆ แล้ว ก่อนที่การแสดงสัญลักษณ์แบบนี้จะเป็นที่ยอมรับในวงกว้างนั้น มันก็เคยเกิดเป็นประเด็นขึ้นมาก่อน เพราะว่ามันคือการนำธงชาติมาใช้ หลายคนก็จะมองว่ามันเหมาะสมหรือไม่ แต่สุดท้ายคนในสังคมก็ทำกัน ซึ่งรัฐบาลก็ปล่อยไป ก็ไม่ได้ว่าอะไรเพราะเป็นการกระทำที่ไม่ได้ร้ายแรง ไม่ได้มีพิษมีภัยอะไรต่อสังคม

ทัพเรือภาคที่ 1 ส่งเสริมสนับสนุน การเรียน การสอนและการกีฬา ให้กับเยาวชนในพื้นที่รับผิดชอบ อย่างต่อเนื่อง

สำหรับในครั้งนี้ จัดกิจกรรมที่ โรงเรียนวัดสลักเพชร อำเภอเกาะช้าง จังหวัดตราด ทำกิจกรรม มอบอุปกรณ์การเรียน อุปกรณ์กีฬา ยาและเวชภัณฑ์ กิจกรรมดังกล่าว มีวัตถุประสงค์เพื่อ ส่งเสริม สนับสนุน การเรียน การสอน และการกีฬา ให้กับเยาวชนในพื้นที่รับผิดชอบ อีกทั้งยังเป็นการ ปฏิบัติการจิตวิทยา  และประชาสัมพันธ์หน่วย สร้างภาพลักษณ์ที่ดี เพื่อให้เยาวชน รวมถึง ประชาชน ในพื้นที่รับผิดชอบ มีทัศนคติที่ดี ต่อกองทัพเรือในภาพรวม

โดยมี นาวาเอก อโศก ศรีสวัสดิ์ รองเสนาธิการ ทัพเรือภาคที่ 1 เป็น ประธานในพิธี และ ผอ.นันทิยา บัวตรี ผู้อำนวยการโรงเรียนวัดสลักเพชร อำเภอเกาะช้าง จังหวัดตราด และ คณะครู ได้นำนักเรียน ในการต้อนรับ เข้าร่วมกิจกรรม และรับมอบ อุปกรณ์การเรียน อุปกรณ์กีฬา ยาและเวชภัณฑ์ ดังกล่าว

‘รัสเซีย’ บรรจุ ‘ภาษาจีน’ ในหลักสูตรระดับมหาวิทยาลัย อ้าง!! หวังเพิ่มขีดความสามารถแข่งขันด้านวิทยาศาสตร์

เมื่อไม่นานมานี้ หนังสือพิมพ์วอชิงตันเอ็กแซมมิเนอร์ของสหรัฐฯ รายงานว่า อันเดร เฟอร์เซนโก (Andrei Fursenko) ที่ปรึกษาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของเครมลินซึ่งเคยดำรงตำแหน่งอดีตรัฐมนตรีการศึกษาและเทคโนโลยีรัสเซียกล่าวมีใจความว่า

“จะไม่มีความรุนแรงพวกเราจะหว่านล้อมแต่ในเวลาเดียวกันพวกเราจะมุ่งหน้าสู่แนวทางนี้หากว่าพวกเราต้องการที่จะสามารถแข่งขันได้” เขากล่าวในรายงานของสื่อ RIA Novosti ของรัสเซีย

ทั้งนี้ สื่อยูเครนสกายา ปราฟดา (Ukrainska Pravda) ที่รายงานเช่นเดียวกันระบุว่า ได้มีการบรรจุภาษาแมนดารินเข้าสอนในหลักสูตรตามมหาวิทยาลัยภายในรัสเซีย

เฟอร์เซนโก ชี้ว่า หนทางนี้จะช่วยให้บรรดานักศึกษาสามารถเข้าสู่ความเข้าใจทางสาขาวิทยาศาสตร์มากขึ้น โดยชี้ว่า 30% ของงานวิจัยวิทยาศาสตร์โลกนั้นถูกตีพิมพ์เป็นภาษาจีน

วอชิงตันเอ็กแซมมิเนอร์ชี้ว่า นักศึกษามหาวิทยาลัยรัสเซียชื่อดังอย่างน้อย 1 แห่งออกมาต่อต้านคำสั่งโดยชี้ว่า “แปลกประหลาดและส่งผลร้าย”

ซึ่งเฟอร์เซนโกยืนยันว่า มันมีความสำคัญจากการที่จีนมีชื่อเสียงโด่งดังทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยประธานาธิบดีจีน สี จิ้นผิง มองว่า นี่เป็นหนทางที่จะทำให้ 2 ชาติสหายมีความใกล้ชิดผูกพันมากขึ้น

เฟอร์เซนโกกล่าวในการประชุมฟอรัมการศึกษาเยาวชนรัสเซีย

“พวกเราต้องการที่จะอยู่ในเทรนด์วิทยาศาสตร์กันอยู่หรือไม่? มุ่งไปข้างหน้ากันเถิด” เขากล่าว และเสริมต่อว่า “ปัญหาคือแน่นอนที่สุดมันมีความจำเป็นที่ต้องทำให้มั่นใจว่า ภาษารัสเซียยังคงอยู่ท่ามกลางไม่กี่ภาษาของด้านวิทยาศาสตร์”

ทั้งนี้ ผู้เชี่ยวชาญ ดร.เซอร์เก โพโพป (Dr.Sergei Popov) ได้ให้สัมภาษณ์กับสื่อฝรั่งเศส Le Monde เมื่อต้นปีว่า สำหรับการศึกษาวิทยาศาสตร์พื้นฐาน มีภาษาเดียวเท่านั้นคือภาษาอังกฤษ และจะไม่มีวันเปลี่ยนแปลงในอนาคตระยะใกล้

“ราว 100% ของสิ่งที่ผมได้อ่านและ 90% ของสิ่งที่ผมได้เขียนเป็นภาษาอังกฤษ ซึ่งภาษาจีนที่เป็นคำถามนั้นอาจขึ้นมา แต่พบน้อยกว่าในแวดวงวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี”

สื่อสหรัฐฯ รายงานว่า บรรดานักศึกษารัสเซียประจำสถาบันการศึกษาฟิสิกส์และเทคโนโลยีแห่งมอสโก MFTI (The Moscow Institute of Physics) ได้ออกมาโต้ว่า ความร่วมมือระหว่างนักวิทยาศาสตร์รัสเซียและนักวิทยาศาสตร์จีนไม่ถึงระดับที่จะทำให้การศึกษาภาษาจีนนั้นมีความสำคัญ

ยูเครนสกายา ปราฟดา ชี้ว่า มีการประท้วงเกิดขึ้นในหมู่นักศึกษาเมื่อมีนาคมต้นปี หลังจากทางสถาบันการศึกษาได้สั่งถอดวิชาภาษาต่างประเทศทั้งสเปน เยอรมัน และฝรั่งเศสออกจากหลักสูตร และใส่วิชาภาษาแมนดารินในหลักสูตรสำหรับภาคการศึกษา 2023-24 แทนด้วยเหตุผลด้านค่าใช้จ่าย

และเมื่อมีนาคมต้นปีเช่นเดียวกัน ธนาคารแห่งรัสเซีย (Bank of Russia) กำหนดให้พนักงานของตัวเองต้องเรียนภาษาแมนดาริน โดยอ้างว่าเพื่อการติดต่อทางธุรกิจกับเพื่อนร่วมงานจากจีน

โดยหนังสือพิมพ์มอสโกไทม์สได้รายงานเมื่อวันที่ 29 มี.ค.ว่า เป็นผลมาจากการเผชิญหน้าอย่างตึงเครียดกับตะวันตกหลังเครมลินเปิดปฏิบัติการทางทหารในยูเครน เครมลินได้หันไปมุ่งสู่เอเชียแทน ความต้องการเรียนภาษาแมนดารินเพิ่มขึ้นจากการที่รัสเซียได้เพิ่มการพึ่งพาทางเศรษฐกิจต่อจีน

หนังสือพิมพ์มอสโกแสดงภาพน่ารักของบรรดาสาว ๆ รัสเซียแต่งกายในชุดจีนโบราณสำหรับพิธีน้ำชาอย่างคึกคัก รวมถึงการศึกษาพู่กันจีน

ในขณะเดียวกัน จำนวนนักศึกษาระดับไฮสกูลรัสเซียได้เลือกภาษาจีนเป็นภาษาต่างประเทศในการสอบไล่ปลายปีเพิ่มขึ้นภายใน 1 ปี มาอยู่ที่ 17,000 คน ถึงแม้ว่าภาษาอังกฤษจะยังคงเป็นภาษาต่างประเทศที่เลือกเป็นอันดับ 1 สำหรับเวลานี้

มีนักเรียนรัสเซียตั้งความหวังจะไปศึกษาต่อในจีนหลังมีความหวังน้อยลงในการเข้าสู่สถาบันการศึกษาโลกตะวันตก และมีอีกบางส่วนมองหาลู่ทางที่จะเดินทางไปทำงานในจีนจากเหตุค่าตอบแทนสูงสำหรับชาวยุโรป

10 เมืองแห่งโอกาสในประเทศจีน เหมาะสำหรับศึกษาเรียนรู้-ใช้ชีวิต

การไปเรียนต่อต่างประเทศ อาจจะเป็นฝันของเด็กไทยจำนวนไม่น้อย และประเทศที่เป็นหนึ่งในตัวเลือกอันดับต้นๆ ก็คือ ‘ประเทศจีน’ ด้วยเหตุผลหลายปัจจัย เช่น ชื่นชอบวัฒนธรรม ประเพณี ภาษา ค่าใช้จ่ายอยู่ในระดับที่เอื้อมถึง มีการสอบชิงทุน หรือแม้แต่ได้เรียนในมหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียง 

วันนี้จะพามาดู 10 เมืองแห่งโอกาสในประเทศจีน ที่เหมาะสำหรับการศึกษาเรียนรู้ และใช้ชีวิต หากใครมีแผนไปเรียนต่อที่จีน แต่ยังไม่รู้จะไปที่เมืองไหนดี ก็ลองมาเลือกดูกันได้นะ

‘อนุชา’ แนะเยาวชนเลือกเรียนสอดคล้อง ‘แลนด์บริดจ์’ หวังปั้นแรงงานให้พร้อมขับเคลื่อนเศรษฐกิจภาคใต้

เมื่อวันที่ 3 ก.พ. 67 ที่ห้องสมุด ศูนย์การศึกษาอโศกแคมปัส กรุงเทพมหานคร มีการจัดงานสัมมนาวิชาการหัวข้อเรื่อง ‘Landbridge SEC โอกาสทางเศรษฐกิจและธุรกิจไทยสู่ระดับโลก’ จัดโดยมหาวิทยาลัยนานาชาติสแตมฟอร์ด และทีมไรท์ กลุ่มนักคิดและนักปฏิบัติ จัดภายใต้สโลแกน ‘ทำที่ใช่ ทำในสิ่งที่ถูกต้อง’ โดยได้เชิญ นายอนุชา บูรพชัยศรี สส.บัญชีรายชื่อ พรรครวมไทยสร้างชาติ รองประธานคณะกรรมาธิการการพัฒนาเศรษฐกิจ สภาผู้แทนราษฎร และกรรมาธิการการคมนาคม และนายวิชัย สุดสวาสดิ์ สส.ชุมพร เขต 1 พรรครวมไทยสร้างชาติ มาร่วมกันให้ความรู้กับนักศึกษาปริญญาโท คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยแสตมฟอร์ด ดำเนินรายการโดย ผศ.ดร.เอก ชุณหชัชราชัย รองคณบดีบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยนานาชาติสแตมฟอร์ด และนางรัดเกล้า อินทวงศ์ สุวรรณคีรี รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี

สำหรับ เสวนาดังกล่าว มีเป้าหมายเพื่อสร้างความเข้าใจถึงประโยชน์ของโครงการ ‘แลนด์บริดจ์’ (Landbridge) ที่มุ่งหน้าสู่การพัฒนาเศรษฐกิจภาคใต้ สร้างสะพานข้ามทะเลระหว่างอ่าวไทยและอันดามัน เชื่อมโยงเส้นทางการขนส่ง และคมนาคม เชื่อมต่อของมหาสมุทรแปซิฟิกและมหาสมุทรอินเดียเข้าไว้ด้วยกัน จะช่วยสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจให้กับประเทศไทยอย่างมหาศาล อีกทั้งยังช่วยดึงดูดนักลงทุนต่างชาติเข้ามาลงทุน และส่งเสริมให้มีการจ้างงานจำนวนมาก ทั้งยังแก้ไขปัญหาการจราจรผ่านช่องแคบมะละกา โดยเพิ่มตัวเลือกในการขนส่งสินค้าผ่านแลนด์บริดจ์ เพื่อยกระดับประเทศไทยให้เป็นจุดยุทธศาสตร์ที่สำคัญสำหรับการผลิตและการขนส่งสู่ตลาดโลก

นายอนุชา กล่าวว่า ตนอยากให้ปรับเปลี่ยนแนวคิดว่าโครงการแลนด์บริดจ์ ไม่ใช่เป็นโครงการที่จะนำเสนอในเรื่องคมนาคมขนส่งอย่างเดียว ไม่ใช่ศึกษาเพียงว่า จะมีเรือสินค้าเข้ามาท่าเรือระนอง และท่าเรือชุมพรปริมาณเท่าไหร่ และจะมีการขนส่งระหว่างท่าเรือฝั่งอ่าวไทยและฝั่งอันดามันอย่างไร แต่จากนี้ต้องมาช่วยกันคิด และให้หน่วยงานโดยเฉพาะกระทรวงอุตสาหกรรมศึกษาว่า จากนี้ไป เราจะสนับสนุนใน SEC หรือเขตเศรษฐกิจพิเศษที่จะเกิดขึ้นในภาคใต้ คืออุตสาหกรรมอะไร เพื่อให้คนรุ่นใหม่ได้เตรียมว่า จะเรียนสาขาอะไร

นอกจากนั้น ยังสอดคล้องไปถึงกระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) จะต้องจัดเตรียมบุคลากร เตรียมงบประมาณ เพื่อเข้าไปเสริม กระทรวงแรงงานในการเตรียมพัฒนาฝีมือให้สอดคล้องกันอย่างไร และในส่วนของกระทรวงมหาดไทย ต้องลงพื้นที่เพื่อทำความเข้าใจกับประชาชนในเรื่องการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษภาคใต้ ซึ่งไม่ใช่เฉพาะพื้นที่จังหวัดชุมพรและระนอง แต่รวมถึงจังหวัดสุราษฎร์ธานี และนครศรีธรรมราชด้วย

ด้าน นายวิชัย กล่าวเสริมว่า โครงการแลนด์บริดจ์ เป็นโครงการที่นำความเจริญมาสู่ประเทศ เพราะไม่ใช่แค่จังหวัดชุมพรหรือระนอง แต่เป็นโครงการที่สร้างโอกาสการลงทุนทางเศรฐกิจโดยรวมของประเทศ จังหวัดชุมพร และจังหวัดระนอง เป็นจุดที่มียุทธศาสตร์ด้านภูมิประเทศในการดำเนินโครงการที่ดี ถ้ามองคนชุมพรกับคนระนอง ในเรื่องของธุรกิจและในด้านอุตสาหกรรมมีน้อยมากกับการลงทุนของคนในจังหวัด ปัจจุบันคนในจังหวัดชุมพร โดยเฉพาะในพื้นที่โครงการลงทุนคือ อำเภอพะโต๊ะ อำเภอหลังสวน ประชาชนยังมองเป็นผู้สูญเสียมากกว่า

นายวิชัย กล่าวว่า อยากให้นักศึกษาทุกคนมองมิติในการขับเคลื่อนโครงการ และการลงทุนในการทำธุระกิจ ต้องมองพื้นฐานของประชาชนเป็นที่ตั้ง เพราะการทำธุระกิจบนพื้นฐานของการไม่เข้าใจ และการไม่มีส่วนร่วมของประชาชน และประชาชนขาดความเข้าใจ จะหาความสำเร็จอยาก

“ผมคิดว่า การจะให้โครงการแลนด์บริดจ์ ประสบความสำเร็จภาครัฐต้องทำความเข้าใจกับประชาชนในพื้นที่ให้มากกว่านี้ เช่น ประชาชนในพื้นที่จะได้รับประโยชน์อะไรกับโครงการ ประชาชนจะได้ค่าเยียวยาอะไร เท่าไรกับผลกระทบจากโครงการนี้” นายวิชัย กล่าว

เรียนสาขาไหนดี? จบมา มีงานทำ แถม ‘รายได้สูง’

(26 เม.ย. 67) ผู้ใช้งานเฟซบุ๊ก ‘Sompob Pordi’ โพสต์ข้อความแสดงความคิดเห็นในหัวข้อ ‘เรียนอะไรได้ตังค์เยอะสุด?’ โดยระบุว่า…

โพสต์ที่แชร์มาเป็นของฝรั่ง ในบ้านเขา ปริญญาตรีที่ทำงานได้เงินมากที่สุด 3 สาขา คือ วิศวะคอมพิวเตอร์ ($80,000/ปี) วิศวะเคมี และคอมพิวเตอร์ซายเอนซ์ ($75,000 /ปี) โดยผู้ที่เรียนจบสามสาขานี้จะมีรายได้สูงกว่าผู้ที่เรียนจบสาขาสังคมสองเท่า

ใน 16 สาขาที่ทำเงินสูงสุด เกือบทั้งหมดเป็นวิศวกรรมศาสตร์ แทรกด้วย คณิตศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ เภสัชศาสตร์ การเงิน วิเคราะห์ธุรกิจ

ส่วนสาขาวิชาที่รายได้ต่ำสุดก็ยังเป็นพวก liberal art หรือสายสังคม ประเภท มนุษยศาสตร์ ศิลปศาสตร์ สังคมศาสตร์, เทววิทยา และ สาขาที่เกี่ยวกับการแสดง

ทั้งหมดนี้เป็นของฝรั่ง แต่ในความเป็นจริง ไม่ว่าจะฝรั่ง จีน แขก ไทย ก็ไม่ต่างกันแต่อย่างใด

เพราะเหตุนี้ หากประเทศเล็ก ๆ จน ๆ อย่างเราไม่ต้องการเป็นประเทศเล็ก ๆ จน ๆ ตลอดไป ก็ควรรีบปิดคณะ/มหาวิทยาลัยสายสังคมทิ้งซัก 90% ของปัจจุบัน แล้วเอางบประมาณ ทรัพยากร มาทุ่มให้กับสายอื่นที่มีประโยชน์ ที่คุณค่าทางเศรษฐกิจมากกว่า รวมทั้งสายอาชีวะด้วย

ถ้าทำตามนี้ นอกจากประเทศจะมีความสามารถ มีศักยภาพในการแข่งขันทางเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้น ประชากรที่ฉลาดเท่ากับควาย ที่มีค่าแรงขั้นต่ำเป็นเป้าหมายในชีวิต ที่มีความฝันจะเป็นกาฝากสังคม เกาะกินสวัสดิการ จะลดลงด้วย


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top