Wednesday, 22 May 2024
การจ้างงาน

"ลุงตู่" เปิดทำเนียบให้ "ออทิสติกไทย" แสดงความสามารถส่งเสริมจ้างงานคนพิการในชุมชน 

วันที่ 1 มีนาคม 2565 "พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา"  นายกรัฐมนตรี เปิดทำเนียบรัฐบาลให้ "นายสุชาติ ชมกลิ่น" รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน นำเสนอประเด็นความคืบหน้าการจ้างงานคนพิการ ตาม”โครงการจ้างงานคนพิการในชุมชน ในส่วนความร่วมมือระหว่างกระทรวงแรงงานและสถานประกอบการ ประจำปี 2565 จำนวน 1,000 ตำแหน่ง”

โดยมี ผู้บริหารกระทรวงแรงงาน ผู้บริหารสถานประกอบการเอกชน และตัวแทนคนพิการ 2 คน คือ”ทิว" และ "หม่อน" ศิลปิน Art Story by Autisticthai ได้เป็นตัวแทนคนพิการทุกประเภทที่ร่วมโครงการจ้างงานชุมชนกระทรวงแรงงานประจำปี 2565  ร่วมแสดงความขอบคุณ ฯพณฯนายกรัฐมนตรี  

โดย "ทิว” ได้มอบผลงานภาพวาดเหมือน ด้วยเทคนิควาดภาพด้วยสีกาแฟ และ “หม่อม”สาธิตการ Sketภาพเพื่อนำเข้าระบบanimation ”โครงการจ้างงานคนพิการในชุมชน กระทรวงแรงงาน" ช่วยให้คนพิการทุกประเภทในพื้นที่ทั่วประเทศ มีเงินเดือนและรายได้ประจำอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน รวมมูลค่ากว่า ปีละ 116 ล้านบาท และกระทรวงแรงงาน ตั้งเป้าหมายขยายกลุ่มเป้าหมายเพิ่ม ร้อยละ 20 ในระยะ 4 ปี

'ทิพานัน' โชว์แผนเดินหน้าพัฒนาบุคลากรในเขต EEC มุ่งสร้าง 'คน-งาน-อาชีพ' กว่า 4.75 แสนตำแหน่ง

น.ส.ทิพานัน ศิริชนะ รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า รัฐบาลได้มีการผลักดันโครงการพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก หรือ EEC อย่างจริงจัง ยกระดับความสามารถในการแข่งขันของภาคการผลิตและภาคบริการ บนฐานของเทคโนโลยีสมัยใหม่ และนวัตกรรม ทั้งนี้ได้มีการเตรียมกำลังคนเพื่อทำงานในพื้นที่ EEC โดยสถาบันการศึกษาผลิตคน เน้นที่ศักยภาพตามความต้องการของสถานประกอบการ (Demand Driven) เพื่อให้เยาวชนและประชาชนมีงานทำ มีรายได้สูงด้วยความสามารถ ซึ่งเริ่มดำเนินการมาตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2561 

น.ส.ทิพานัน กล่าวว่า รัฐบาลโดย พล.อ ประยุทธ์ จันทร์โอชา ได้วางแนวทางเรื่องการพัฒนาบุคลากรให้ตรงความต้องการไว้แล้ว โดยแบ่งออกเป็น 2 แบบ ได้แก่ 

1.) EEC Model Type A ให้สถานศึกษาจัดการศึกษาหลักสูตร ที่ได้รับปริญญา (Degree) หรือ ประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวส.) เน้นการดำเนินการร่วมกันระหว่างสถาบันการศึกษาและสถานประกอบการ เพื่อให้ตรงความต้องการและได้อัตราค่าจ้างที่สูงกว่าปกติ  

2.) EEC Model Type B เป็นการจัดการฝึกอบรมหลักสูตรระยะสั้น ไม่มีปริญญา (Non-Degree) เพื่อพัฒนาบุคลากรแบบเร่งด่วน โดยสถาบันการศึกษาและสถานประกอบร่วมกันออกแบบหลักสูตร โดยมุ่งเน้น การพัฒนาศักยภาพของบุคลากรในภาคอุตสาหกรรมหรือชั้นปีสุดท้ายของการศึกษาในระบบ หรือประชาชนทั่วไปให้มีความรู้และทักษะที่สามารถทำงานในอุตสาหกรรมเป้าหมายได้ทันที

น.ส.ทิพานัน ศิริชนะ กล่าวว่า EEC ได้คาดการณ์เรื่องความต้องการบุคลากรไว้ว่า เมื่อโครงการสำเร็จลุล่วง จะมีสถานประกอบการที่ต้องการแรงงาน ในระดับอาชีวศึกษา 377 แห่ง และระดับอุดมศึกษา 277 แห่ง รัฐบาลจึงเดินหน้าผลักดันสำรวจความร่วมมือจากสถานศึกษา-สถาบันการศึกษา ให้เข้าร่วมเพื่อพัฒนาบุคลากรให้เหมาะสมกับอุตสาหกรรมเป้าหมาย รวมกว่า 941 แห่ง โดยแบ่งเป็นทั้งในพื้นที่ EEC และนอกพื้นที่ EEC โดยในพื้นที่ EEC ตั้งแต่ระดับโรงเรียน 847 แห่ง อาชีวศึกษา 17 แห่ง มหาวิทยาลัย 7 แห่ง ส่วนเครือข่ายสถาบันศึกษานอกพื้นที่ EEC ได้แก่อาชีวศึกษา 61 แห่ง มหาวิทยาลัย 9 แห่ง หน่วยงานภาครัฐ 14 แห่ง ที่จะสามารถรองรับและส่งเสริมหลักสูตรในอนาคตได้ นอกจากเรื่องสถาบันการศึกษายังมีในส่วนของการปกครองส่วนท้องถิ่น ใน 3 จังหวัดคือ ฉะเชิงเทรา ชลบุรี และระยอง ได้แก่ เทศบาล 111 แห่งและองค์การบริหารส่วนตำบล 161 แห่ง ที่จะสามารถเข้าร่วมในการพัฒนาบุคลากรด้วย

ในเบื้องต้นประมาณการความต้องการบุคลากรในพื้นที่ EEC อยู่ที่ 475,688 อัตรา อาทิ อุตสาหกรรมท่องเที่ยวกลุ่มรายได้ดี และท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ 16,920 ตำแหน่ง, อุตสาหกรรมหุ่นยนต์ 37,526 ตำแหน่ง, อุตสาหกรรมดิจิทัล 116,222 ตำแหน่ง, อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ 58,228 ตำแหน่ง,อุตสาหกรรมการแพทย์ครบวงจร 11,538 ตำแหน่ง, อุตสาหกรรมพาณิชย์นาวี 14,630 ตำแหน่ง, อุตสาหกรรมยานยนต์แห่งอนาคต 53,738 ตำแหน่ง, อุตสาหกรรมการบินและโลจิสติกส์ 166,992 ตำแหน่ง โดยแบ่งเป็น ระดับอาชีวศึกษา 253,114 ตำแหน่ง ระดับปริญญาตรี 214,070 ตำแหน่ง และระดับปริญญาโทร-เอก 8,610 ตำแหน่ง


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top