Sunday, 19 May 2024
การกระทรวงพลังงาน

พีระพันธ์ุ ชี้!! 3 ข้อ ที่สามารถหนุนลดค่าไฟได้

(9 ธ.ค.66) จากเพจเฟซบุ๊ก ‘พรรครวมไทยสร้างชาติ United Thai Nation Party’ ได้โพสต์ข้อความของ นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค รองนายกรัฐมนตรี และ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน กล่าวถึงค่าไฟฟ้าที่ลดได้จะเกิดจาก 3 ส่วนหลัก ๆ ได้แก่…

1.) การขยายหนี้ กฟผ. ออกไปอีก 1 งวด 2.) การปรับโครงสร้างราคาก๊าซธรรมชาติ และ 3.) การกำหนดราคาขายก๊าซธรรมชาติของ ปตท.

คนไทยต้องทนหรือ?! ‘รมว.พีระพันธุ์’ ชี้ชัด!! สาเหตุทำไมไทยน้ำมันแพง ลั่น!! ถึงเวลารื้อระบบ เร่งสร้างความมั่นคงด้านพลังงาน

นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน กล่าวถึงโครงสร้างราคาพลังงานของประเทศไทย ซึ่งนับเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้ประชาชนต้องจ่ายค่าพลังงานในราคาแพง โดยระบุว่า นโยบายเร่งด่วนของกระทรวงพลังงานภายใต้การกำกับดูแลของตนนั้น จะมุ่งไปที่การทำให้ราคาพลังงานมีความเป็นธรรมกับประชาชน ซึ่งหลายคนมองว่าเป็นเรื่องที่ท้าทาย แต่ตนกลับมองว่าเป็นสิ่งที่ต้องทํา และที่สำคัญต้องทําให้ได้ เพราะในฐานะที่ตนเองก็เป็นประชาชนธรรมดาเหมือนกัน ต้องจ่ายค่าน้ำมันต้องจ่ายค่าไฟเหมือนคนทั่วไป ซึ่งก่อนหน้านี้มีความรู้สึกเหมือนถูกมัดมือชก เพราะไม่เคยรู้ว่าทําไมราคาพลังงานขึ้นลงด้วยสาเหตุใด รู้เพียงแต่ว่า เป็นกลไกของตลาดโลก 

ทั้งนี้ จากการศึกษาและเก็บข้อมูลพลังงาน ทั้งเรื่องน้ำมัน และไฟฟ้า พบเห็นช่องว่างว่า ถ้าหากใช้กลไกอํานาจรัฐเข้าไปปรับโครงสร้าง ยังพอจะช่วยได้นะ แม้คนจํานวนมากจะมองว่าทําไม่ได้ แต่ส่วนตัวมองว่า ที่ผ่านมาไม่เคยมีใครทํามากกว่า พอมีปัญหาทีก็อ้างภาวะตลาดโลก

“ในโครงสร้างที่ประกอบกันมาเป็นราคาน้ำมันหรือค่าไฟฟ้าก็ดี มีส่วนที่เป็นของภาครัฐดูแลอยู่ นอกเหนือจากส่วนที่เป็นภาคเอกชนหรือตลาดโลก ซึ่งในส่วนนี้เราไม่สามารถเข้าไปควบคุมได้ แต่เราเห็นว่ามันมีส่วนของภาครัฐ ซึ่งส่วนของภาครัฐที่ว่านี้ ยกตัวอย่างเช่นในกรณีน้ำมัน ที่มีเรื่องของภาษี มีเรื่องของเงินกองทุน ซึ่งถ้าหากว่าเราสามารถปรับลดในส่วนนี้ลงมาได้ ก็จะสามารถลดราคาตรงนี้ลงมาได้แน่นอน จะมากจะน้อยกว่ากันอีกที แต่ทําให้เห็นว่าถ้าจะลดจริงจังก็สามารถทําได้”

นายพีระพันธุ์ ได้แจกแจงในส่วนของโครงสร้างราคาน้ำมันขายปลีกที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน จะประกอบไปด้วยภาษี และภาษี และกองทุน และกองทุน และภาษี และภาษี และค่าการตลาด 

จากต้นทุนทั้งหมดในส่วนนี้ นอกเหนือจากค่าการตลาด ถือเป็นเรื่องของภาครัฐแทบทั้งหมด ซึ่งในส่วนนี้เองที่ภาครัฐต้องเข้าไปบริหารจัดการ เป็นต้นว่าไปขอเจรจาให้กระทรวงการคลังลดภาษีสรรพสามิตลง ก็จะช่วยทำให้ราคาลงมาได้

แน่นอนว่า จากโครงสร้างราคาน้ำมันแบบปัจจุบัน วิธีการเดียวที่จะปรับลงได้ ณ รูปแบบปัจจุบัน คือ ให้หน่วยงานภาครัฐลดภาษี ซึ่งถือเป็นขั้นตอนแรกหรือมาตรการชั่วคราว ในขณะที่มาตรการขั้นที่สองที่จะดำเนินการต่อไปหลังจากนี้ คือจะสั่งการให้ผู้ค้าน้ำมันแจ้ง ‘ต้นทุนน้ำมัน’ ที่แท้จริง โดยโครงสร้างราคาน้ำมันเป็นแบบนี้ ส่วนหนึ่งถูกกำหนดโดยราคาหน้าโรงกลั่น แน่นอนว่า ปัจจุบันราคาหน้าโรงกลั่นนั้น เป็นราคาที่ภาคเอกชนคิดคํานวณกันเอง ซึ่งทางภาครัฐไม่เคยรับรู้ต้นทุนที่แท้จริงเลย

นายพีระพันธุ์ ตั้งข้อสังเกตว่า ราคาหน้าโรงกลั่น ซึ่งเอกชนเป็นผู้กำหนด และบอกว่า ราคาเท่านี้ แต่แท้จริงแล้วใช่ตัวเลขนี้หรือไม่ หรือ ต่ำกว่านี้ เพราะฉะนั้น หลังจากนี้ จะประกาศให้ทางเอกชนเข้าชี้แจง และแจ้งต้นทุนที่แท้จริง ซึ่งถ้าหากว่าได้ต้นทุนที่แท้จริงแล้ว และตรวจสอบได้ว่า ต้นทุนถูกกว่าที่เคยมีตัวเลขคํานวณกันเอง ทางหน่วยงานของกระทรวงพลังงานก็ต้องหาวิธีการ และคิดสูตรมาคํานวณว่าราคาหน้าโรงกลั่นควรจะเป็นเท่าไหร่ โดยยึดเอาราคาที่แท้จริงมาคิดต้นทุน ตอนนี้กําลังเร่งดําเนินการให้มีการแจ้งราคาที่แท้จริงแล้ว

นอกจากนี้ ในส่วนของกองทุนน้ำมัน จำเป็นต้องรื้อระบบใหม่เช่นกัน เพราะในหลักการบอกว่าให้บริษัทน้ำมันจ่ายเข้ากองทุนน้ำมัน แต่ในปัจจุบันกลับมาเก็บจากประชาชน ซึ่งมองว่าโครงสร้างแบบนี้ไม่ถูกต้อง ไม่เป็นธรรม ดังนั้น จะต้องรื้อใหม่ และไม่ใช่รื้อเพียงแค่โครงสร้างเท่านั้น แต่ต้องรื้อทั้งระบบ

“ยกตัวอย่าง เงินเดือน 100 บาท เราจะได้ไม่เต็ม 100 บาท เพราะต้องเสียภาษี แต่ในขณะที่บริษัทน้ำมัน ขายน้ำมัน 100 บาท ต้องจ่ายทั้งภาษีและจ่ายเข้ากองทุนน้ำมัน แต่เหตุใดยังได้เงินครบ 100 บาท นั่นเป็นเพราะส่วนที่เหลือประชาชนจ่ายบวกไปในราคาน้ำมัน ซึ่งโครงสร้างเป็นแบบนี้มากี่สิบปี เหตุที่เป็นแบบนี้เพราะระบบวางไว้แบบนี้ เป็นการวางแบบผิด ๆ มานานแล้ว ผมเป็นประชาชนที่ต้องแบกรับภาระเหมือนกัน แต่ในขณะเดียวกันผมก็เป็นประชาชนที่ได้รับมอบมาทําหน้าที่นี้ เพราะฉะนั้น จึงต้องทําหน้าที่ประชาชนรื้อระบบให้ถูก นี่คือภารกิจหลักที่ผมจะทํา”

นายพีระพันธุ์ ย้ำว่า การดำเนินการเรื่องกองทุนน้ำมัน เป็นมาตรการชั่วคราวภายใต้โครงสร้างแบบที่เห็นอยู่ทุกวันนี้ ซึ่งในความเห็นของตนนั้นมองว่า โครงสร้างแบบนี้ไม่ถูกต้องและไม่ใช่วิธีการแก้ปัญหาเรื่องพลังงานที่ถูกต้อง ที่ผ่านมามีคนเสนอบอกต้องปรับโครงสร้าง แต่ปรับอย่างไรก็ยังอยู่แบบนี้ เพราะฉะนั้น สำหรับตนไม่ใช่แค่ปรับโครงสร้างแต่ต้องรื้อทั้งระบบเลย ซึ่งจะเป็นมาตรการระยะกลางและยาวที่จะทําต่อไป วันนี้มาตรการบางอย่างแม้จะยังแก้ปัญหาได้ไม่ตรงจุด แต่อะไรที่ทำได้ก็ต้องทำก่อน

“หน้าที่ของผม คือจะรื้อระบบพลังงาน ซึ่งเป็นหัวใหญ่ใจความของประเทศ ระบบที่เป็นอยู่วันนี้มันต่อไปด้วยโครงสร้างที่เป็นปัญหา แม้ว่าจะปรับโครงสร้างแล้ว แต่ระบบยังเป็นแบบเดิม ก็ไม่มีประโยชน์ เพราะฉะนั้นผมจะรื้อใหญ่ เมื่อรื้อตรงนี้แล้วมันจะทําให้ราคาน้ำมันและราคาพลังงานลดลง เมื่อลดพันธะชีวิตที่เราต้องแบกภาระค่าใช้จ่ายพวกนี้ และถูกปลดเรื่องไป เมื่อผมวางระบบใหม่ที่ดี ทำให้ทุกอย่างดีขึ้น มันก็จะช่วยสร้างเรื่องของความเป็นธรรม ความมั่นคงความยั่งยืนในเรื่องพลังงานให้มากขึ้นไม่เป็นอย่างเช่นที่ผ่านมา”

'พีระพันธุ์' ลุยรื้อโครงสร้างพลังงาน ดันไอเดียรัฐบาลกำหนดราคาน้ำมันเอง ลั่น!! ตลาดโลกเป็นเรื่องของ 'ผู้ประกอบการ-รัฐบาล' ไม่ควรดึง ปชช.มาร่วมแบก

(21 เม.ย.67) นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ให้สัมภาษณ์ถึงการประกาศราคาน้ำมันที่รัฐบาลจะต้องดำเนินการเอง ว่า ตนจะทำอย่างนั้น เมื่อไม่สามารถแยกตัวออกจากตลาดโลกได้ แต่สามารถแยกประชาชนออกจากตลาดโลกได้ ตลาดโลกจะเป็นเรื่องของผู้ประกอบการและรัฐบาล ไม่เกี่ยวกับประชาชน นั่นคือสิ่งที่ตนตั้งเป้าไว้ ซึ่งขณะนี้มีช่องทางในการดำเนินการแล้ว และได้ประชุมอยู่ทุกสัปดาห์ จะดำเนินการได้ในรัฐบาลนี้ในช่วงที่ตนอยู่ในตำแหน่งรมว.พลังงาน

เมื่อถามว่าจะเป็นเรื่องยากหรือไม่เพราะมีกลุ่มนายทุน นายพีระพันธุ์ กล่าวว่า ถึงจะยาก แต่ก็ต้องทำ เพราะไม่มีอะไรง่ายอยู่แล้ว ไม่ใช่เรื่องง่ายหรือยากแต่เป็นเรื่องที่มีความตั้งใจจะทำ ดังนั้นถ้าเราตั้งใจจะทำ เรื่องยากก็เป็นเรื่องง่าย ถ้าไม่มีความตั้งใจต่อให้ง่ายแค่ไหนก็ทำไม่ได้

เมื่อถามว่าราคาน้ำมันดีเซลจะมีการตรึงราคาที่ลิตรละ 30 บาทหรือไม่ นายพีระพันธุ์ กล่าวว่า ถือเป็นเรื่องสำคัญ และเป็นปัญหาของระบบโครงสร้างพลังงานปัจจุบัน ซึ่งตนพูดมาตั้งแต่ตอนแรกที่รับหน้าที่ว่าไม่พอใจกับระบบและโครงสร้างพลังงานเช่นนี้ จึงจำเป็นต้องแก้ไข แต่ระหว่างที่แก้ไขก็ต้องยอมรับว่าเป็นโครงสร้างเดิมมาถึง 51 ปี และที่ผ่านมา 51 ปีไม่มีใครคิดจะปรับปรุงและแก้ไขเพื่อประชาชน แต่ตนเองจะลงมือทำ และกำลังทำอยู่ ซึ่งจะทำให้ได้

นายพีระพันธุ์ กล่าวถึงการขยายมาตรการตรึงราคาน้ำมันดีเซลลิตรละ 30 บาทให้ประชาชนและผู้ประกอบการหรือไม่ ว่า เดิม ก่อนรัฐบาลชุดนี้ การรักษาระดับราคาน้ำมัน ใช้กลไกหลักอยู่ 2 กลไกล ถือเป็นอำนาจของกองทุนน้ำมัน กลไก 1 คือการกำหนดเพดานภาษีสรรพสามิต และภาษีต่างๆที่จัดเก็บกับน้ำมัน ถือเป็นอำนาจของคณะกรรมการ ไม่ใช่ของกระทรวงการคลัง แต่เมื่อกำหนดเพดานแล้ว คนมีอำนาจเก็บภาษี คือกระทรวงการคลัง

ส่วนกลไกที่ 2 คือ เงินจากกองทุนน้ำมันฯ แต่เงื่อนไขของกฎหมายปัจจุบัน ไปตัดอำนาจการกำหนดเงินเพดานออก เหลือแต่เพียงอำนาจการใช้เงินกองทุน จึงเป็นสาเหตุที่ทำให้มาแบกภาระที่เงินกองทุนน้ำมัน ทั้งๆ ที่เดิมเป็นอำนาจของคณะกรรมการที่กำหนดว่าควรจะปรับภาษีสรรพสามิตขึ้นลงเท่าไหร่ เมื่อถูกตัดอำนาจออกไป ทำให้เป็นภาระกองทุนน้ำมันที่ต้องใช้เงินอย่างเดียว และตอนนี้ตนเองก็กำลังดำเนินการแก้ไขปัญหาเรื่องนี้อยู่ และย้ำว่าจำเป็นต้องแก้กฎหมาย ซึ่งขณะนี้กำลังร่างฯโดยไม่ต้องกลัวว่าจะร่างกฎหมายช้า ตนเองเป็นผู้ดำเนินการร่างฯเอง

เมื่อถามว่าต้องรออีกนานหรือไม่ นายพีระพันธุ์กล่าวว่า เมื่อไปถึงขั้นสุดท้ายที่ตนได้วางแนวทางไว้ คือ รัฐบาลมีอำนาจในการกำหนดราคา แต่ก่อนจะไปถึงวันนั้นก็ต้องค่อยๆปรับ เพราะว่าโครงสร้างรูปแบบเดิม เป็นแบบนี้มา 51 ปีแล้ว ซึ่งไม่เคยมีการเปลี่ยนแปลง อย่างน้อยตนมาเริ่มเปลี่ยน และกำลังเริ่มทำเป็นครั้งแรกในรอบ 51 ปี ที่มีมาตรการให้ผู้ค้าต้องแจ้งต้นทุน ซึ่งไม่เคยมีมาก่อน ทั้งที่ผ่านมาไม่มีใครเคยรู้ต้นทุน รู้แค่เพียงขาดทุนแล้วนำเงินกองทุนฯไปชดเชยกับสิ่งไหน ซึ่งก็ไม่เคยมีใครทำ แต่ตอนนี้ตนเองทำแล้ว นี่คือสิ่งที่พยายามทำให้เห็นว่าพรรครวมไทยสร้างชาติทำงานจริง รื้อสิ่งที่ไม่ดีให้หมด ซึ่งพยายามทำอยู่


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top