Sunday, 19 May 2024
กอบศักดิ์ภูตระกูล

'กอบศักดิ์' ชี้ 3 ปัจจัยเสี่ยงในโลกเศรษฐกิจ หากเหตุ 'รัสเซีย-ยูเครน-พันธมิตร' ปะทุ!!

นายกอบศักดิ์ ภูตระกูล อดีตรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี และรองผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงเทพ โพสต์เฟซบุ๊กถึงปัจจัยเสี่ยงด้านเศรษฐกิจหากเกิดสงครามระหว่างรัสเซีย - ยูเครน ว่า ...

ถึงเวลาที่เราต้องคิดเรื่อง Plan B ในกรณีของยูเครน !!!

ไม่มีใครอยากให้เกิดความขัดแย้ง ไม่อยากให้เกิดสงคราม อยากให้มีทางลงสวยๆ ที่ทุกคนตกลงยอมความกันได้ 

แต่จากสัญญาณต่างๆ ที่ออกมา ในช่วง 1 สัปดาห์ที่ผ่านมา 

1.) การอพยพคนออกจากยูเครนของสถานทูตต่างๆ ซึ่งล่าสุด อิสราเอล ที่มีหน่วยข่าวกรองดีที่สุดประเทศหนึ่ง กำลังเร่งนำคนอิสราเอลออกยูเครนภายในวันอังคารที่จะถึงนี้ เช่นกัน 

2.) การเคลื่อนไหวของกองทัพและยุทโธปกรณ์ของรัสเซียรอบๆ ยูเครน

3. การประชุมล่าสุด 62 นาทีระหว่างประธานาธิบดี Biden และ Putin ก็ไม่ได้มี breakthrough ซึ่งส่งผลอะไรที่จับต้องได้ในเชิงการเปลี่ยนใจ แต่ได้เป็นโอกาสในการส่งสัญญาณเตือนตรงๆ ว่า US will react decisively and impose swift and severe costs if Russia invade Ukraine.  

ทั้งหมดหมายความว่า เราควรจะเตรียมคิดไว้เบื้องต้นว่า จะต้องปรับตัวอย่างไร หากสถานการณ์ที่ยูเครนลุกลามมากขึ้น

สิ่งที่จะตามมาในเชิงเศรษฐกิจ ที่เราต้องรับมือ เมื่อปัญหาเริ่มลุกลามขึ้น คือ

1.) ความผันผวนของสินทรัพย์เสี่ยง ทั้งในส่วนหุ้น และ สินทรัพย์ทางเลือก

2.) ราคาน้ำมันและราคา Commodities บางตัวที่จะเพิ่มขึ้น (น้ำมันอาจจะทะลุ 100 ดอลลาร์/บาร์เรล) จากการที่รัสเซียเป็นหนึ่งในผู้ผลิตรายใหญ่ของโลกในน้ำมัน ก๊าซ ที่ยุโรปพึ่งพา และเป็นแหล่งผลิตสินค้า Commodities บางตัว เช่น พาลาเดี่ยม ที่จะมีนัยไปถึงการผลิต Chip ในตลาดโลก  

ทั้งหมดนี้ จะมีผลต่อเนื่องไปยังปัญหา Global supply disruption รวมทั้ง เพิ่มแรงกดดันต่อเงินเฟ้อและทิศทางนโยบายการเงินของประเทศต่างๆ 

3.) การไหลเวียนของ Fund Flows ในโลกไปยัง Safe Haven ต่างๆ ทั้งในส่วนของ ทองคำ พันธบัตรรัฐบาล โดยเฉพาะ ตลาดพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐที่มีความลึกมีสภาพคล่องที่ดี และจะส่งผลไปถึงค่าเงินดอลลาร์ต่อไป

'กอบศักดิ์' ชวนคิด!! สงครามค่าเงิน เกมสงครามคู่ขนาน แนวรบที่น่าติดตามจากสงคราม 'ยูเครน-รัสเซีย'

นายกอบศักดิ์ ภูตระกูล อดีตรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี และรองผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงเทพ โพสต์เฟซบุ๊กส่วนตัว ระบุว่า สงครามค่าเงิน กับ รัสเซีย

อีกแนวรบที่น่าติดตาม จากสงครามยูเครน-รัสเซีย คือ สงครามค่าเงิน

เรียกว่าเป็น สมรภูมิ ที่ต่อสู้กันรุนแรงมากอีกสมรภูมิหนึ่ง

ซึ่งเป็นสนามรบที่จะมีนัยต่อไปอีกมาก เพราะค่าเงินที่สูงขึ้น หมายความว่า ต้นทุนของสินค้าต่างๆ ในรัสเซีย จะเพิ่มสูงขึ้น และจะมีนัยไปต่อถึงเงินเฟ้อที่ล่าสุดสูงถึง 8.73% ให้เพิ่มขึ้นได้อีก 7-10% สร้างความลำบากในการครองชีพให้กับคนรัสเซีย และบั่นทอนเสถียรภาพทางการเมืองของรัสเซีย

ล่าสุด สู้กันมา 4 วัน ยังสู้กันไม่จบ

ตั้งแต่วันจันทร์เป็นต้นมา ค่าเงินวิ่งอยู่ระหว่าง 120 รูเบิล/ดอลลาร์ และ 97 รูเบิล/ดอลลาร์ หรือเหวี่ยงขึ้นลงประมาณ 15-20%

หมัดที่ออกกันมา ก็เรียกว่าไม่ธรรมดา

เริ่มจากการ Sanctions ปกติ ที่ทำให้ค่าเงินอ่อนจาก 70 รูเบิล/ดอลลาร์ เป็น 85-90 รูเบิลต่อดอลลาร์

ตามมาด้วยการประกาศ Freeze เงินสำรองของรัสเซียที่อยู่ในโลกตะวันตก เมื่อเสาร์อาทิตย์ที่ผ่านมา 

ทำให้เงินสำรองรัสเซียที่สะสมไว้ตั้งแต่หลังการผนวกไครเมีย ที่เคยอยู่ที่ 3.5 แสนล้านดอลลาร์ เมื่อปี 2015 เพิ่มเป็น 6.43 แสนล้านดอลลาร์ ในปัจจุบัน บางส่วนไม่สามารถนำออกมาสู้ศึกค่าเงินได้ 

ไม่น่าแปลกใจ หลังมาตรการดังกล่าว ค่าเงินรูเบิลทิ้งดิ่งจาก 85 รูเบิล/ดอลลาร์ไปสู่ระดับ 117 รูเบิล/ดอลลาร์ ทันที

และก็หมุนเวียน ขึ้นลงอยู่ระหว่าง 97-120 รูเบิล/ดอลลาร์

หลายคนถามว่า "ถ้าเงินสำรองถูกยึดแล้ว รัสเซียสู้อย่างไร"

คำตอบ "มาตรการ Capital Control" ในรูปแบบต่างๆ ที่ถูกทยอยออกมาอย่างต่อเนื่อง
- ปิดตลาดหลักทรัพย์ ไม่ให้นักลงทุนขาย เงินก็ติดอยู่ในนั้น
- การประกาศห้ามไม่ให้นักลงทุนต่างประเทศ ขายสินทรัพย์ในรัสเซีย
- การบังคับให้ผู้ส่งออก ต้องเอาเงินตราต่างประเทศ 80% ที่ได้มา ออกมาขายในตลาด ไม่ให้เก็บไว้
- การออกค่า Commission 30% สำหรับการแลกเปลี่ยนเงิน
- ล่าสุด คือการที่กำลังจะจ่ายชำระคืนหนี้ไม่ได้ ซึ่งอาจจะต้องประกาศหยุดการชำระหนี้ 

การกลับมาของรัสเซีย ในสงครามค่าเงินรูเบิล จาก 177 สู่ 95/US ความสำเร็จ ที่สหรัฐฯ และ NATO ไม่อยากเห็น

นายกอบศักดิ์ ภูตระกูล อดีตรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี และรองผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงเทพ โพสต์ข้อความเฟซบุ๊ก ระบุว่า ความสำเร็จของรัสเซีย ในสงครามค่าเงินรูเบิล

วันนี้ ขอนำกลับไปตรวจอีกแนวรบหนึ่ง ที่รัสเซียสามารถรุกคืบ ยึดพื้นที่กลับคืนมาเรื่อยๆ ในช่วง 1 เดือนที่ผ่านมา

จากค่าเงินรูเบิลที่เคยร่วง ระเนระนาด ไปแตะ 177.26 รูเบิล/ดอลลาร์

ล่าสุด ค่าเงินรูเบิลกลับมาอยู่ที่ 95 รูเบิล/ดอลลาร์ !!!!

ถ้านับจากช่วงก่อนสงครามรัสเซีย-ยูเครนเปิดฉาก ที่ 77-78 รูเบิล/ดอลลาร์ ค่าเงินรูเบิลได้อ่อนค่าลงไปเพียงประมาณ 20% เท่านั้น

หลายคนคงสงสัยว่าทำไม? ทำไมรัสเซียถึงสามารถรุกคืบกลับมาได้

ทั้งๆ ที่สหรัฐและพันธมิตรได้ Freeze เงินสำรองระหว่างประเทศของรัสเซียไปบางส่วนแล้ว

คำตอบอยู่ที่ มาตรการ Capital Control และ Exchange Control ของธนาคารกลางรัสเซียที่ประกาศใช้ในช่วงที่ผ่านมา

- ไม่ให้ต่างชาติขายสินทรัพย์ในรัสเซีย และไม่ให้เอาเงินออก

- ให้ผู้ส่งออกต้องนำเงินตราต่างประเทศที่ได้มา 80% ขายสู่ตลาด

- คนที่อยากแลกเงินรูเบิลเป็นเงินตราต่างประเทศต้องจ่ายค่าคอม 30%

ทั้งหมดนี้ ทำให้รัสเซียไม่ค่อยมีเงินไหลออกจากประเทศ 

ซึ่งเมื่อรวมกับเงินจาก Current account ที่ปกติแล้วจะเป็นบวก (ปีที่แล้ว +5% ของ GDP) จากน้ำมันและก๊าซที่ยังสามารถขายให้ยุโรปและคนอื่นๆ ตลาดค่าเงินรูเบิลจึงเริ่มมีเสถียรภาพมากขึ้นเรื่อยๆ 

ยิ่งมีเสถียรภาพ คนรัสเซียยิ่งมั่นใจ ไม่ไปต่อแถวแลกเงิน

โดยมีเจ้ามือใหญ่ กระเป๋าใหญ่ (เพราะพิมพ์แบงก์เอง) คือ ธนาคารกลางของรัสเซีย กำกับภาพรวม กำหนดกฎเกณฑ์ที่ทำให้รัสเซียได้เปรียบ  

นับเป็นความสำเร็จ ที่สหรัฐและ NATO ไม่อยากเห็น 

เพราะหมายความว่า "นิวเคลียร์เศรษฐกิจ" ที่ต้องการทำให้ เงินเฟ้อรัสเซียพุ่ง บริษัทรัสเซียล้มละลายจากหนี้ต่างประเทศ (เหมือนไทยปี 40) คนตกงาน ต้องปิดแบงก์ นำไปสู่ Financial Sector Meltdown ไม่เป็นไปตามแผน  

นับว่าแนวรบนี้ รัสเซียสำเร็จในการยึดพื้นที่คืน

ทำให้สหรัฐและพันธมิตร ต้องไปหามาตรการอื่นๆ มา Sanctions เพิ่มเติม

‘กอบศักดิ์’ ชี้เฟดขึ้นดอกเบี้ย 0.50% ไม่ฉุดตลาดหุ้น หลัง ปธ.เฟด ส่งสัญญาณไม่ใช้ยาแรงขึ้นดอกเบี้ย 0.75%

‘กอบศักดิ์’ ชี้เฟดขึ้นดอกเบี้ย 0.50% ไม่กระทบตลาดหุ้น เหตุมี ‘ประโยคทอง’ ของประธานเฟดช่วยให้ตลาดสบายใจ ส่งสัญญาณไม่ใช้ยาแรงขึ้นดอกเบี้ย 0.75%

วันที่ 5 พฤษภาคม 2565 ดร.กอบศักดิ์ ภูตระกูล อดีตรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี และกรรมการรองผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงเทพ โพสต์เฟซบุ๊ก ระบุ ถึงการประชุมธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ล่าสุดว่า เมื่อคืนนี้หลายคนคงไม่ยอมนอน รอลุ้นว่า เฟดจะตัดสินใจอย่างไร และคงสงสัยว่า ทำไมตลาดหุ้น Dow Jones ถึงสุดท้ายแล้วขึ้นถึง 932 จุด เพราะตั้งแต่เช้า ตลาดแกว่งไปมาเล็กน้อย Dow Jones บวกลบไม่ถึง 100 จุด

เมื่อคืนนี้ก็ได้ติดตาม ‘ลุ้น’ ไปพร้อมกับทุกคน สำหรับผลการประชุมออกมาตอนช่วงตี 1 บ้านเรา โดยรวมต้องบอกว่า ‘ตามคาด’ เฟดขึ้นดอกเบี้ย 0.5% และจะถอนสภาพคล่องกลับในอัตราเดือนละ 9.5 หมื่นล้านดอลลาร์ ที่อาจดีกว่าคาดเล็กน้อย ก็คือ ‘ไม่เริ่มเลย’ แต่จะรอไปเริ่ม 1 มิถุนายน และช่วง 3 เดือนแรก เฟดจะลองดูดสภาพคล่องกลับประมาณ 4.75 หมื่นล้านดอลลาร์ (หรือครึ่งหนึ่ง) ของระดับที่ตั้งใจไว้ก่อน

จากที่นโยบายเฟดออกมาดีกว่าคาดเล็กน้อย ตลาดจึงปรับตัวเล็กน้อยเช่นกัน แกว่งตัวบวกขึ้นไปอีกนิด

แต่เมื่อถึงเวลาที่ทุกคนรอคอย และเป็นหมัดเด็ด เป็น Highlight ของเมื่อคืนนี้ ตอนตี 1 ครึ่ง คือ การแถลงข่าวของประธานเฟด ตลาดก็กลับมาที่เดิม คือ บวกประมาณ 90 จุด จากนั้นก็ถึงช่วงสำคัญ และถึง ‘จุดเปลี่ยน’ ที่ทำให้ตลาดกลับมาคึกคัก

โดยมีการส่งสัญญาณว่า กรรมการเฟดยังคิดจะขึ้น 0.5% อีก 2-3 ครั้งในช่วงการประชุมข้างหน้า แต่ไม่ใช่ขึ้นแค่ครั้งนี้และครั้งหน้า ตามที่ทุกคนคาดการณ์กัน

ไม่น่าแปลกใจ ด้วยคำพูดที่แรงและแนวการขึ้นดอกเบี้ยที่น่าจะมากกว่าตลาดคาดไว้เล็กน้อยเช่นกัน ในช่วงการอ่านแถลงการณ์ ตลาดก็ค่อย ๆ ตก จากที่บวก 90 จุด ก็กลายมาเป็นลบเล็กน้อย

สิ่งที่น่าติดตามที่สุดระหว่างการแถลงข่าวเมื่อคืน อยู่ที่ช่วงถามตอบ ซึ่งเป็นครั้งแรกในรอบ 2 ปี ที่เฟดเชิญนักข่าวมาที่อาคาร และได้ซักถามกันต่อหน้าเป็นเวลาเกือบ 40 นาที

โดย ‘ประโยคทอง’ ที่ทำให้ตลาดเปลี่ยนจากที่เคยซึม ๆ กลายเป็นกระทิงเปลี่ยว ทำให้เหวี่ยงขึ้นมาประมาณ 1,000 จุด เป็นผลจากคำถามที่ 2 ที่นักข่าวจาก CNBC ที่ถามถึงการขึ้นดอกเบี้ยของเฟดว่า ‘มีโอกาสไหมที่เฟดจะขึ้นดอกเบี้ยที่ 0.75%’


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top