Sunday, 19 May 2024
กอบศักดิ์

'กอบศักดิ์' ชี้ ญี่ปุ่นเลือกกดดอกเบี้ย-ค่าเงิน หวังทำสงครามกับนักเก็งกำไร ปลายทางมักจบไม่สวย

(25 ต.ค. 65) ดร.กอบศักดิ์ ภูตระกูล ประธานสภาธุรกิจตลาดทุนไทย และกรรมการรองผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงเทพ โพสต์ข้อความ ผ่านเฟสบุ๊ก Kobsak Pootrakool ระบุว่า

หนทางสู่วิกฤตของญี่ปุ่น !!!!

ถ้าทางการญี่ปุ่นยังเลือกที่จะเดินตามแนวทางปัจจุบัน

กดดอกเบี้ยพันธบัตรรัฐบาลไว้ให้ต่ำ เพื่อช่วยรัฐบาลที่มีหนี้มาก

กดค่าเงินไว้ไม่ให้อ่อนไปกว่านี้

ทั้งหมด คงจบลงด้วยการเกิดวิกฤต

ที่จะเป็นเช่นนี้ ก็เพราะว่า ในเชิงเศรษฐศาสตร์ 3 สิ่งที่อยู่ด้วยกันแล้วจะเป็นเรื่อง ก็คือ ค่าเงินที่คงที่ ดอกเบี้ยที่เลือกกำหนดตามใจฉัน และเงินทุนที่ไหลอย่างอิสระ (Free Flow of Capital)

ทฤษฎีนี้เรียกว่า Impossible Trinity หรือ “สามเป็นไปไม่ได้” ซึ่งถูกคิดค้นโดย Robert Mundell นักเศษฐศาสตร์รางวัลโนเบล และ John Fleming เมื่อช่วงปี 1960-1963

ประเทศไหนก็ตามที่พยายามจะทำใน 3 สิ่งนี้พร้อม ๆ กัน ปัญหาก็จะตามมา

โดยประเทศที่มีค่าเงินคงที่ แต่อยากจะกดดอกเบี้ยให้ต่ำกว่าประเทศอื่น ๆ สิ่งที่จะเกิดขึ้นก็คือ เงินจะไหลออกจากประเทศ จากดอกเบี้ยต่ำ ไปหาประเทศที่มีดอกเบี้ยสูงกว่า นำมาซึ่งเงินสำรองที่จะร่อยหรอลงจนสุดท้าย ก็เกิดวิกฤตค่าเงิน

หรือประเทศที่กดดอกเบี้ยไว้ต่ำกว่าคนอื่น แต่อยากตรึงค่าเงินไว้ ณจุดใดจุดหนึ่ง สุดท้ายก็จะประสบปัญหาเดียวกัน คือเงินไหลออก นำไปสู่แรงกดดันต่อค่าเงินที่ตรึงไว้อย่างต่อเนื่อง ทำให้สุดท้ายเงินสำรองก็ร่อยหรอ และสุดท้ายก็ไม่สามารถคงค่าเงินไว้ได้ กลายเป็นวิกฤตเช่นกัน

สิ่งที่ทางการญี่ปุ่นทำขณะนี้ ก็คือเรื่องนี้

1. โลกที่ญี่ปุ่นอยู่ คือโลกของเงินที่ไหลเวียนอย่างอิสระ

2. อีกด้าน การที่รัฐบาลญี่ปุ่นมีหนี้ภาครัฐเยอะมาก สูงถึง 264% ของ GDP ซึ่งหนี้ส่วนใหญ่ เป็นหนี้ในประเทศ ทำให้ทางการญี่ปุ่นซึ่งขาดดุลการคลังอยู่แล้วถึง 8% ของ GDP และมีภาระดูแลสังคมผู้สูงวัย อ่อนไหวกับอัตราดอกเบี้ยในประเทศอย่างยิ่ง

ไม่น่าแปลกใจ ที่แบงก์ชาติญี่ปุ่นจึงมีหน้าที่พิเศษอีกอย่าง ก็คือ ต้องพยายามช่วยกดดอกเบี้ยพันธบัตรรัฐบาลของญี่ปุ่นเอาไว้ โดยดูแลดอกเบี้ยใน Yield Curve ของญี่ปุ่นที่อายุช่วง 7-10 ปีลงมา ให้ปรับตัวขึ้นไม่มาก เพียงแค่ 0.25% เท่านั้น ในช่วง 1 ปีที่ผ่านมา

ทั้งนี้ แบงก์ชาติญี่ปุ่น ได้ประกาศโครงการรับซื้อพันธบัตรรัฐบาลเพิ่มเติมอย่างต่อเนื่อง และเมื่อวันที่ 20 ตุลาคม ต้องประกาศ Emergency Bond Buying Program อีก 2.5 แสนล้านเยน

3. ค่าเงิน จากเดิมที่ญี่ปุ่นเคยปล่อยให้ค่าเงินเคลื่อนไหวตามกลไกตลาด แต่เนื่องจากช่วงนี้ค่าเงินเยนได้อ่อนค่าลงต่อเนื่อง อ่อนสุดเป็นประวัติการณ์ในรอบ 30 กว่าปี ทางการญี่ปุ่นจึงเริ่มกังวลใจ และเริ่มเข้าแทรกแซงค่าเงินไม่ให้อ่อนไปกว่านี้ ซึ่งตอนนี้ พยายามขีดเส้นไว้ที่ประมาณ 150 เยน/ดอลลาร์

ซึ่งในเรื่องนี้ หากทางการญี่ปุ่นประสบความสำเร็จในการตรึงค่าเงินไว้ที่ 150 เยน/ดอลลาร์ ตามที่ตั้งใจได้ ระบบค่าเงินเยนก็จะทำตัวเหมือนอัตราแลกเปลี่ยนแบบคงที่ หรือใกล้เคียงกับระบบดังกล่าว

ทั้งหมดจะทำให้ญี่ปุ่นเข้าเงื่อนไขของทฤษฎี “สามเป็นไปไม่ได้” หรือ Impossible Trinity

และหมายความต่อไปว่า ถ้ายังคงเดินไปตามทางนี้ เงินดอกเบี้ยต่ำในญี่ปุ่น ก็จะไหลออกไปหาเงินดอกเบี้ยสูงในสหรัฐ โดยมีทางการญี่ปุ่นช่วยดูแลความเสี่ยงเรื่องค่าเงินให้

‘กอบศักดิ์’ จี้ยกเครื่องใหญ่ ‘ตลาดทุน’ ป้องกันเหตุซ้ำรอยโกงหุ้น ‘STARK’

‘กอบศักดิ์’ จี้ยกเครื่องใหญ่ ‘ตลาดทุน’ ป้องกันเหตุซ้ำรอยหุ้น ‘STARK’ ชี้ต้องเอาคนผิดทุจริตมารับโทษ หลังผู้เสียหายมากมูลค่าเกินหมื่นล้าน แนะเพิ่มกลไกการตรวจสอบ เร่งเอาผิดทำให้เกิดความเสียหาย

นายกอบศักดิ์ ภูตระกูล ประธานกรรมการสภาธุรกิจตลาดทุนไทย (FETCO) กล่าวถึงกรณีหุ้นบริษัท สตาร์ค คอร์เปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ “STARK” ที่มีปัญหาการทุจริตและมีผู้เสียหายจำนวนมากว่า ในส่วนแรกคนที่ทำความผิดต้องได้รับความผิด ต้องให้เกิดบทเรียนจากการทำผิดครั้งนี้ คนที่อยู่ในกระบวนการนี้ก็ต้องรับความผิดร่วมกัน

“เราจะยอมรับความผิดในลักษณะนี้ไม่ได้เพราะความเสียหายเป็นหลักหมื่นล้านบาท ความเสียหายมีความกว้างขวางมาก และความเสียหายในครั้งนี้ไม่ใช่นักลงทุนรายย่อยอย่างเดียวแต่เป็นนักลงทุนสถานบันที่มีข้อมูลเพียบ มีนักวิเคราะห์อยู่เยอะไปหมด แต่เขายังพลาดได้ แสดงว่ากระบวนการในครั้งนี้เขามีความตั้งใจอย่างยิ่งที่จะทำให้เกิดความเสียหายตามมา”

นายกอบศักดิ์กล่าวต่อว่าในส่วนนี้ FETCO ได้เข้าไปหารือร่วมกับฝ่ายต่างๆ ในตลาดทุนแล้ว เช่น คณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ว่าจะต้องมีการเดินหน้าแก้ปัญหาอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งให้ข้อมูลอย่างต่อเนื่องกับประชาชนที่ถูกกระทบ ว่าคดีนั้นมีความคืบหน้าอย่างไร เงินที่เสียหายจะได้คืนอย่างไร เท่าไหร่ และเมื่อไหร่ ซึ่งสิ่งนี้เป็นสิ่งที่หลายคนมีคำถามกับเรื่องนี้

นอกจากนี้ในการหารือกันอย่างใกล้ชิดว่าทำอย่างไรไม่ให้เกิดเหตุการณ์แบบนี้ขึ้นก็ต้องมาดูเรื่องของกลไกตรวจสอบเพื่อไม่ให้เกิดเหตุแบบนี้ขึ้นอีก ซึ่งต้องมีการทำงานอย่างใกล้ชิด โดยทุกๆ ครั้งที่เกิดเหตุลักษณะนี้ในตลาดทุน มักจะเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญที่ทำให้เกิดการปรับเปลี่ยนกฎเกณฑ์ และระบบต่างๆ ให้มีกลไกมากขึ้นมาตรวจสอบ เช่น การตรวจสอบ 3 ระดับ ที่เรียกว่า “third line of defense” เพื่อจัดการไม่ให้ปัญหาเกิดขึ้นซ้ำรอย

“มีหลายเรื่องที่ต้องมาดูเรื่องของรายการระหว่างกัน เรื่องของผู้ที่มาทำหน้าที่ในการตรวจสอบรวมทั้งเรื่องของธรรมาภิบาลต่างๆ ซึ่งเรื่องนี้ถือว่าเป็นบทเรียนสำคัญให้กับคนในตลาดทุนเพื่อให้ตลาดทุนไทยไม่เกิดปัญหาแบบนี้ขึ้นอีก” นายกอบศักดิ์ กล่าว


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top