Friday, 25 April 2025
กองทุนพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม

กองทุนพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ตรวจเยี่ยมติดตามผลงาน นวัตกรรมการแพทย์ คณะแพทยศาสตร์ ม.เชียงใหม่

พร้อมจัดสัมมนาเตรียมความพร้อมผู้สนใจรับทุนฯ ครั้งที่ 2 (ภาคเหนือ) จังหวัดเชียงใหม่ กองทุนพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม สำนักงานคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ได้เยี่ยมชมและติดตามผลงานนวัตกรรมการแพทย์จากคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ พร้อมจัดสัมมนา คลินิกกองทุนพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ภาคเหนือ) ครั้งที่ 2 ระหว่างวันที่ 22-23 ธันวาคม พ.ศ. 2565 จังหวัดเชียงใหม่

เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 22 ธันวาคม 2565 คุณสุรีพร พรโสภณวิชญ์ ผู้อำนวยการบริหารกองทุนพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม พร้อมคณะจากกองทุนพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม สำนักงานคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม เข้าเยี่ยมชมและติดตามผลงานนวัตกรรมด้านการแพทย์ของคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ที่ได้รับการสนับสนุนงบประมาณ ภายใต้กองทุนพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม โดย ผศ.นพ.นเรนทร์ โชติรสนิรมิต ผู้อำนวยการโรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ พร้อมด้วย ผศ.นพ.กฤษณ์ ขวัญเงิน รองคณบดีด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ผศ.ดร.ชาย รังสิยากูล ผู้อำนวยการศูนย์บริหารจัดการมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และรศ.ดร.พญ.ศิริอนงค์ นามวงศ์พรหม ผู้ช่วยคณบดีด้านนวัตกรรมและทรัพย์สินทางปัญญา ร่วมให้การต้อนรับและหารือแนวทางการต่อยอดผลงานนวัตกรรมการแพทย์ดิจิทัล เพื่อต่อยอดการใช้ประโยชน์ของเทคโนโลยี และก่อให้เกิดการพัฒนาดิจิทัลของประเทศที่ครอบคลุมในทุกด้าน โดยกองทุนฯ ได้เยี่ยมชมและติดตามผลงานโครงการที่ได้รับการสนับสนุนงบประมาณ จำนวน 3 โครงการ ได้แก่

1. โครงการจัดตั้งศูนย์บริการทางการแพทย์ทางไกลเพื่อขยายการเข้าถึงการให้บริการประชาชน
2. โครงการนำร่องการพัฒนาย่านเทคโนโลยี 5G ต้นแบบ สำหรับให้บริการประชาชน(5G District) จังหวัดเชียงใหม่ (โครงการ 5G smart health)
3. โครงการนวัตกรรมฟื้นฟูภาวะสมองเสื่อมจากโรคพาร์กินสันด้วยเทคโนโลยีอัจฉริยะผ่านการกระตุ้นสมอง ซึ่งปัจจุบันมีการนำเทคโนโลยี 5G มาใช้ในวงการแพทย์มากขึ้น เพื่อตอบยุทธศาสตร์ของชาติในการใช้เทคโนโลยี 5G มาพัฒนาระบบสาธารณสุขของประเทศไทย และเป็นตัวอย่างในการสร้างระบบสาธารณสุขด้านเทเลเม็ดดิซีนแพลตฟอร์ต (telemedicine platform) กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ร่วมกับคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จึงทำโครงการขนาดใหญ่ร่วมกัน 2 โครงการ คือ โครงการจัดตั้งศูนย์บริการทางการแพทย์ทางไกลเพื่อขยายการเข้าถึงการให้บริการประชาชน และโครงการนำร่องการพัฒนาย่านเทคโนโลยี 5G ต้นแบบ สำหรับให้บริการประชาชน (5G District) จังหวัดเชียงใหม่ (โครงการ 5G Smart Health)

ปัจจุบันโรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ เป็นโรงพยาบาลมหาวิทยาลัย ที่มีแพทย์ พยาบาล และบุคลากรทางการแพทย์ที่มีความเชี่ยวชาญในด้านต่างๆ โดยประชาชนส่วนใหญ่ที่เข้ามารับการรักษาพยาบาลอาศัยในเขตจังหวัดภาคเหนือ ซึ่งส่วนมากอาศัยอยู่ในพื้นที่ห่างไกล ทำให้มีค่าใช้จ่ายในการเดินทางจำนวนมาก ประกอบกับสถานการณ์การระบาดของ โควิด-19 ดังนั้น โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ จึงนำเทคโนโลยี 5G มาประยุกต์ใช้ในการส่งเสริมบริการการแพทย์ฉุกเฉิน ด้วยเทคโนโลยีจำลองภาพเสมือนจริงสามมิติด้วยรถพยาบาล อัจริยะ (AR technology with Smart ambulance) พร้อมบูรณาการแว่นตาอัจฉริยะ (AR consulting glasses) ผ่านเครือข่าย 5G ในการให้คำปรึกษาและรักษาผู้ป่วยบนรถ Smart ambulance แบบ real time ระหว่างโรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ โรงพยาบาลศูนย์ โรงพยาบาลจังหวัด และโรงพยาบาลประจำอำเภอ ในเขตจังหวัดภาคเหนือตอนบนที่ร่วมโครงการ จำนวน 20 แห่ง ทำให้ผู้ป่วยสามารถรับคำปรึกษาจากแพทย์ผ่าน Web Application ได้อย่างครบวงจรโดยไม่จำเป็นต้องเดินทางมารักษาที่โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่

โดยผลลัพธ์ของทั้ง 2 โครงการจะเป็นการสร้าง telemedicine platform ที่บูรณาการระหว่างระบบการแพทย์ทางไกลของโรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กับ โรงพยาบาลศูนย์ โรงพยาบาลจังหวัด และโรงพยาบาลประจำอำเภอในเขตจังหวัดภาคเหนือตอนบน และมีการนำ AR technology และ 5G เทคโนโลยี มาเพิ่มประสิทธิภาพรถพยาบาลฉุกเฉิน  ทำให้บุคลากรทางการแพทย์บนรถพยาบาลฉุกเฉินสามารถปรึกษาและรักษาผู้ป่วยบนรถพยาบาลฉุกเฉินขณะส่งตัวผู้ป่วย ร่วมกับแพทย์เฉพาะทาง ที่ประจำอยู่ ณ โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ ส่งผลให้โรคฉุกเฉินและโรควิกฤติ เช่น โรคหัวใจขาดเลือด โรคเส้นเลือดสมองตีบ เป็นต้น สามารถได้รับการรักษาได้ทันทีโดยแพทย์เฉพาะทางในแต่ละโรค ระหว่างส่งตัวผู้ป่วยทำให้ลดอัตราการตาย และภาวะแทรกซ้อน

โครงการนี้สำเร็จจะเป็นระบบต้นแบบที่ประชาชนได้รับประโยชน์สูงสุด กล่าวคือการเข้ารับการรักษาภาวะฉุกเฉินใน โรงพยาบาลใดในจังหวัดเชียงใหม่ และหรือโรงพยาบาลในภาคเหนือตอนบน (ที่ร่วมโครงการ) ผู้ป่วยทุกท่านจะได้รับการรักษาโดยแพทย์เฉพาะทางเฉพาะโรค ผ่านระบบที่เชื่อมต่อกันแบบไร้รอยต่อ ซึ่งทำให้ผลการรักษาพยาบาลมีความปลอดภัยมากขึ้น

ส่วนโครงการนวัตกรรมฟื้นฟูภาวะสมองเสื่อมจากโรคพาร์กินสันด้วยเทคโนโลยีอัจฉริยะผ่านการกระตุ้นสมอง เกิดจากการวิจัยและพัฒนาร่วมกันระหว่างคณะผู้วิจัยจากคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และ ภาควิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ภายใต้ชื่อ “MoveAlong” เป็นการพัฒนานวัตกรรมช่วยเหลือการเดินในผู้ป่วยโรคพาร์กินสันที่มีภาวะการเดินลำบาก ไม่สามารถช่วยได้ด้วยยา และการรักษาอื่นๆ ทีมนักวิจัยได้มีการพัฒนาอุปกรณ์ช่วยเหลือการเดินที่สร้างเสียงจังหวะกระตุ้นการก้าวขาสำหรับผู้ป่วยพาร์กินสันที่มีปัญหาในการเดิน สามารถเชื่อมต่อระบบปฏิบัติการผ่าน Application บนสมาร์ทโฟน โดยมีการออกแบบอัลกอลิทึมให้สามารถบันทึกสัญญาณจากเซ็นเซอร์ ซึ่งทำหน้าที่ตรวจจับสภาวะการเดินของผู้ป่วยเพื่อผลิตจังหวะเสียง (Tempo) ให้สอดคล้องกับจังหวะการเดินของผู้ป่วย ซึ่งสามารถปรับจังหวะการเดินเฉพาะตัวของผู้ป่วยได้ พกพาง่าย ติดตัวได้ตลอด เบื้องต้นมีการใช้งานจริงกับผู้ป่วยที่ศูนย์โรคสมองภาคเหนือ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และคลินิกเอกชนชีวาแคร์ (ศูนย์เวชศาสตร์ดูแลและฟื้นฟูผู้สูงอายุ) เพื่อเก็บข้อมูลมาวิเคราะห์และปรับปรุงพัฒนาระบบให้สะดวกต่อพฤติกรรมการใช้งานของผู้ป่วยได้มากที่สุด ซึ่งในอนาคตเทคโนโลยีนี้ก็จะถูกนำไปเชื่อมโยงกับระบบการให้บริการการแพทย์ทางไกล (Telemedicine) ของโรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ตามยุทธศาสตร์ในการมุ่งสู่การเป็น Digital Hospital เพื่ออำนวยความสะดวกผู้ป่วยและประชาชนในอนาคต 

‘กองทุนพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม’ พอใจ!! ความคืบหน้าโครงการส่งเสริมวิทย์ฯ เพื่อเด็กไทย

กองทุนพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม สำนักงานคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม เดินทางไปตรวจเยี่ยม โครงการโปรแกรมการชมพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ดิจิทัล (Digital Science Museum Guides Program) เมื่อวันจันทร์ที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566  

(6 ก.พ. 66) นายภุชพงค์ โนดไธสง เลขาธิการคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ 
พร้อมด้วย นายสมบูรณ์ เมฆไพบูลย์วัฒนา ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านการบริหารเทคโนโลยีดิจิทัลและการสื่อสาร และนางสุรีพร พรโสภณวิชญ์ ผู้อำนวยการกองบริหารกองทุนพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม พร้อมเจ้าหน้าที่กองทุนฯ ได้เดินทางไปตรวจเยี่ยม โครงการโปรแกรมการชมพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ดิจิทัล (Digital Science Museum Guides Program ณ องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) โดยงานในครั้งนี้ มี นายสุวรงค์ วงษ์ศิริ รองผู้อํานวยการองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) ให้การต้อนรับ

กองทุนดีอี BDE ลงพื้นที่อุบล สร้างการรับรู้การใช้ประโยชน์ โครงการระบบบริหารจัดการท้องถิ่นชุมชน แบบมีส่วนร่วม

เมื่อวานนี้ (24 ม.ค. 68) นายสมบูรณ์ เมฆไพบูลย์วัฒนา ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านการบริหารเทคโนโลยีดิจิทัลและการสื่อสาร สำนักงานคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (BDE) พร้อมด้วยนางสาววรรณศิริ พัวศิริ ผู้อำนวยการกองบริหารกองทุนพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม BDE ตลอดจนข้าราชการ และเจ้าหน้าที่ สดช. ลงพื้นที่ประชาสัมพันธ์โครงการระบบบริหารจัดการท้องถิ่นชุมชนแบบมีส่วนร่วมสร้างความยั่งยืนด้วยระบบดิจิทัล ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ณ สำนักงานเทศบาลเมืองพิบูลมังสาหาร จังหวัดอุบลราชธานี ซึ่งเป็นโครงการที่ได้รับการสนับสนุนจากกองทุนพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (กองทุนดีอี) โดยได้รับเกียรติจาก ดร.ศิริมาเมธ์วดี ศิรธนิตรา นายกเทศมนตรีเมืองพิบูลมังสาหาร พร้อมทั้งเจ้าหน้าที่เทศบาลเมืองพิบูลมังสาหาร ร่วมให้การต้อนรับ

นายสมบูรณ์ เมฆไพบูลย์วัฒนา สำนักงานคณะกรรมการ ดีอี กล่าวว่า การลงพื้นที่มาเยี่ยมชม โครงการระบบบริหารจัดการท้องถิ่นชุมชนแบบมีส่วนร่วมสร้างความยั่งยืนด้วยระบบดิจิทัล ประจำปี 2566 ของเทศบาลพิบูลมังสาหาร จังหวัดอุบลราชธานี ในครั้งนี้ เป็นหนึ่งในกิจกรรมลงพื้นที่เพื่อประชาสัมพันธ์ โครงการที่ได้รับการสนับสนุนเงินจากกองทุนพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม สืบเนื่องจาก โครงการต่าง ๆ ที่ได้รับทุนสนับสนุนจากกองทุนดีอี ล้วนเป็นประโยชน์ต่อสาธารณชนจำนวนมาก แต่ยังขาดการสร้างการรับรู้และการเข้าถึงของหน่วยงานต่าง ๆ รวมทั้งประชาชนในพื้นที่อยู่ไม่น้อย โดยการลงพื้นที่มีวัตถุประสงค์เพื่อประชาสัมพันธ์โครงการที่ได้รับการสนับสนุนเงินจากกองทุนดีอี ซึ่งเป็นการเปิดโอกาสให้เราได้เรียนรู้เกี่ยวกับระบบบริหารจัดการท้องถิ่นชุมชนแบบมีส่วนร่วมของเทศบาลพิบูลมังสาหาร อันเป็นเทคโนโลยีดิจิทัลที่ช่วยบริหารจัดการข้อมูลได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อสร้างแรงบันดาลใจและเป็นประโยชน์ต่อการนำไปประยุกต์ใช้ในอนาคตได้เป็นอย่างดี

“ผมขอชื่นชมในความมุ่งมั่นและความสำเร็จของ โครงการระบบบริหารจัดการท้องถิ่นชุมชนแบบมีส่วนร่วมสร้างความยั่งยืนด้วยระบบดิจิทัล ประจำปี 2566 ของเทศบาลพิบูลมังสาหาร จังหวัดอุบลราชธานี ที่ได้แสดงให้เห็นถึงวิสัยทัศน์ ความเชี่ยวชาญ ความคิด สร้างสรรค์ของหน่วยงาน และหวังเป็นอย่างยิ่งว่าการลงพื้นที่เพื่อประชาสัมพันธ์โครงการที่ได้รับการสนับสนุนเงินจากกองทุนฯ ครั้งนี้จะทำให้หน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง รวมถึงประชาชนทั่วไปได้รับรู้ และสามารถเข้าไปใช้ประโยชน์จากโครงการที่ได้รับการสนับสนุนจากกองทุนฯ ได้มากยิ่งขึ้น”

สำหรับโครงการดังกล่าว ได้ดำเนินการพัฒนาระบบฐานข้อมูลขนาดใหญ่เพื่อบูรณาการ
การบริหารจัดการท้องถิ่นผ่านแพลตฟอร์มในรูปแบบ 'Application Phibun' โดยมีฟังก์ชันการทำงาน 5 ระบบ ประกอบด้วย ระบบบริหารจัดการเทศบาลเมืองพิบูลมังสาหาร ระบบฝึกอบรมพัฒนามืออาชีพ ระบบจำหน่ายสินค้าออนไลน์ ระบบบริการสาธารณสุขชุมชน และระบบพัฒนาชุมชน เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมสำหรับการดำเนินชีวิตรูปแบบใหม่ (New Normal Life) ของประชาชนในยุคสังคมดิจิทัล

ทั้งนี้ เทศบาลเมืองพิบูลมังสาหาร ได้รับทุนงบประมาณ 36 ล้านบาท จากกองทุนดีอี ดำเนินโครงการระบบบริหารจัดการท้องถิ่น ชุมชนแบบมีส่วนร่วม สร้างความยั่งยืนด้วยระบบดิจิทัล ประจำปี 2566 เพื่อการยกระดับระบบบริหารจัดการท้องถิ่นและสร้างความยั่งยืนในชุมชน พร้อมทั้งบูรณาการการบริหารจัดการท้องถิ่นด้วยเทคโนโลยีมุ่งเน้นการมีส่วนร่วมของชุมชนเพื่อสร้างความยั่งยืน โดยระบบนี้จะขับเคลื่อนผ่านแพลตฟอร์มในรูปแบบของแอปพลิเคชัน(ApplicationPhibun) ซึ่งมีฟังก์ชันการทำงานหลัก 5 ระบบ ได้แก่ 1.  ระบบบริหารจัดการเทศบาลเมืองพิบูลมังสาหาร (E - management) 2. ระบบฝึกอบรมพัฒนาอาชีพ (E - Service)  3. ระบบจำหน่ายสินค้าออนไลน์ (E - market) 4.ระบบบริการสาธารณสุขชุมชน (E - Sata) และ 5. ระบบพัฒนาชุมชน (E - Community)

โดยผลชี้วัดของโครงการดังกล่าว ส่งผลให้เทศบาลเมืองพิบูลมังสาหารบริหารจัดการระบบงานต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ อาทิ การจัดการฐานข้อมูลขนาดใหญ่ของเทศบาลแหล่งข้อมูลของท้องถิ่น เพื่อให้ประชาชน และผู้ที่ต้องการใช้ข้อมูลนำไปใช้งานได้อย่างสะดวกรวดเร็ว ทันสมัย ทั้งยังเป็นการสนับสนุนการตัดสินใจในการบริหารและพัฒนาของผู้นำท้องถิ่นเป็นเครื่องมือในการช่วยประเมินระยะเวลา และประเมินผลการจัดทำงบประมาณรายจ่ายให้เกิดความคุ้มค่าในการทำโครงการใหม่ ๆ

ของหน่วยงานได้มากขึ้น ลดขั้นตอนที่ซับซ้อนและยุ่งยาก ต่อการทำงานของเจ้าหน้าที่และอำนวยความสะดวกต่อการให้บริการประชาชน เป็นองค์กรต้นแบบให้กับหลาย ๆ หน่วยงานในการสร้างสรรค์ และพัฒนานวัตกรรมใหม่ ๆ สามารถนำไปใช้ในชุมชนอย่างยั่งยืน พัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนในเขตพื้นที่เทศบาลเมืองพิบูลมังสาหารให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น รวมถึงเป็นศูนย์กลางในการเสริมสร้าง การมีส่วนร่วมระหว่างภาครัฐกับภาคประชาชน และวิถีการใช้ชีวิตเปลี่ยนแปลงไปการดำเนินชีวิตรูปแบบใหม่ (New Normal Life) มากขึ้น

กองทุนดีอี อนุมัติงบ 2 พันล้านบาท หนุนพัฒนาดิจิทัล 3 ด้านสำคัญ การใช้เทคโนโลยี – ความปลอดภัย – พัฒนาบุคลากรดิจิทัล

บอร์ดกองทุนพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอี) อนุมัติวงเงิน 2,000 ล้านบาท เพื่อสนับสนุนโครงการพัฒนาเทคโนโลยีดิจิทัลที่มีศักยภาพสูง ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 โดยมีเป้าหมายในการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมไทยให้ก้าวหน้าและเติบโตอย่างยั่งยืน พร้อมทั้งเสริมสร้างความมั่นคงในโลกดิจิทัลและเตรียมบุคลากรสู่ยุคดิจิทัลอย่างเต็มตัว

ภายใต้กรอบนโยบาย 3 ด้าน ได้แก่
📌 Digital Technology (High Impact & Scalability)
เน้นการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ประโยชน์ในเชิงธุรกิจและสังคม เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและขยายผลกระทบเชิงบวกอย่างกว้างขวาง ทั้งในภาคอุตสาหกรรม การศึกษา และบริการสาธารณะ โดยมุ่งส่งเสริมการพัฒนาแพลตฟอร์มดิจิทัล การใช้ปัญญาประดิษฐ์ (AI) และอินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่ง

📌 Digital Trust & Security
เสริมสร้างความปลอดภัยและความเชื่อมั่นในโลกไซเบอร์ ด้วยการพัฒนาระบบป้องกันข้อมูลและการรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ เพื่อป้องกันภัยคุกคามดิจิทัลและสร้างความมั่นใจให้กับผู้ใช้งาน

📌 Digital Manpower
มุ่งเน้นการพัฒนาบุคลากรดิจิทัล เพื่อเตรียมความพร้อมและเสริมสร้างทักษะที่จำเป็นสำหรับกำลังคนในยุคดิจิทัล ครอบคลุมทั้งทักษะเชิงเทคนิคและความคิดสร้างสรรค์ เพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจดิจิทัลอย่างมีประสิทธิภาพ

กิจกรรมพิเศษ!
📅 วันที่ 26 กุมภาพันธ์นี้
กองทุนดีอี จัดกิจกรรม "คลินิกกองทุน"
เพื่อให้คำแนะนำและปรึกษาสำหรับผู้ที่สนใจยื่นขอทุน โดยจะแนะนำวิธีการดำเนินการและการเขียนข้อเสนออย่างไรให้มีประสิทธิภาพและน่าสนใจ

เปิดรับข้อเสนอโครงการ ปี 2568
ยื่นได้ตั้งแต่วันนี้ ถึง 10 มี.ค. 2568
เปิดโอกาสให้หน่วยงานภาครัฐ เอกชน สถาบันการศึกษา และผู้ประกอบการดิจิทัล ร่วมส่งข้อเสนอโครงการเพื่อพัฒนาศักยภาพดิจิทัล และต่อยอดไอเดียให้เป็นจริง

🔗 ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติม:
https://defund.onde.go.th
🔗 ระบบยื่นคำขอ ขอรับทุน:
https://defund-rt.onde.go.th/

ร่วมต่อยอดไอเดียสู่ความสำเร็จ ด้วยโอกาสพัฒนาดิจิทัลที่คุณไม่ควรพลาด!
มาร่วมพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมดิจิทัลไปด้วยกัน!


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top