Saturday, 5 April 2025
กองทัพเรือไทย

กองทัพเรือไทย ต้อนรับทัพเรือแคนนาดา เยือนประเทศไทย เสริมสร้างความสัมพันธ์

เมื่อวันที่ 29 ก.ย.66 พลเรือโท สุทิน หลายเจริญ ผู้บัญชาการฐานทัพเรือสัตหีบ มอบหมายให้ นาวาเอก มาฆะพงศ์ ดาราพันธุ์ หัวหน้าท่าเรือจุกเสม็ด การท่าเรือสัตหีบ ฐานทัพเรือสัตหีบ ให้การต้อนรับ เรือ HMCS OTTAWA เนื่องในโอกาสเดินทางมาเข้าจอดตามกิจวัตรปกติ ระหว่างวันที่ 29 กันยายน 2566 - 6 ตุลาคม 2566  ณ ท่าเรือจุกเสม็ด การท่าเรือสัตหีบ ฐานทัพเรือสัตหีบ จังหวัดชลบุรี

สำหรับ เรือหลวงของประเทศแคนาดา ที่ชื่อว่า "ออตตาวา" (Ottawa) เป็นหนึ่งในเรือฟริเกต ชั้นฮาลิแฟ็กซ์ ของกองทัพเรือแคนาดา ซึ่งมีทั้งหมด 12 ลำ จะจอดเทียบท่าที่ประเทศไทย อันเป็นส่วนหนึ่งของการเสริมสร้างความสัมพันธ์ด้านความมั่นคงในภูมิภาคอินโด-แปซิฟิก ที่มีอย่างต่อเนื่อง เรือหลวงออตตาวา และเฮลิคอปเตอร์ ประจำการบนเรือ รุ่นไซโคลน ซีเอช-148 (CH-148 Cyclone) ที่พร้อมปฏิบัติการ มีทหารเรือ ทหารบก และนักบิน ซึ่งล้วนได้รับการฝึกฝนขั้นสูงและมีความเป็นมืออาชีพ ประจำเรือ รวม 250 นาย  

เรือหลวงออตตาวา มีการติดตั้งระบบอาวุธและเซนเซอร์สำหรับการปราบเรือดำน้ำ การรบผิวน้ำ

29 กันยายน พ.ศ. 2566 ‘กองทัพเรือไทย’ ต้อนรับ ‘ทัพเรือแคนาดา’ เยือนประเทศไทย เสริมสร้างความสัมพันธ์ด้านความมั่นคงในภูมิภาคอินโด-แปซิฟิก

ย้อนกลับไปเมื่อวันที่ 29 ก.ย. 66 ฐานทัพเรือสัตหีบ ให้การต้อนรับ เรือ HMCS OTTAWA เนื่องในโอกาสเดินทางมาเข้าจอดตามกิจวัตรปกติ ระหว่างวันที่ 29 กันยายน 2566 - 6 ตุลาคม 2566 ณ ท่าเรือจุกเสม็ด การท่าเรือสัตหีบ ฐานทัพเรือสัตหีบ จังหวัดชลบุรี 

สำหรับ เรือหลวงของประเทศแคนาดา ที่ชื่อว่า ‘ออตตาวา’ (Ottawa) เป็นหนึ่งในเรือฟริเกต ชั้นฮาลิแฟ็กซ์ ของกองทัพเรือแคนาดา ซึ่งมีทั้งหมด 12 ลำ จะจอดเทียบท่าที่ประเทศไทย อันเป็นส่วนหนึ่งของการเสริมสร้างความสัมพันธ์ด้านความมั่นคงในภูมิภาคอินโด-แปซิฟิก ที่มีอย่างต่อเนื่อง 

โดยเรือหลวงออตตาวา มาพร้อมกับเฮลิคอปเตอร์ ประจำการบนเรือ รุ่นไซโคลน ซีเอช-148 (CH-148 Cyclone) ที่พร้อมปฏิบัติการ อีกทั้งยังมีทหารเรือ ทหารบก และนักบิน ซึ่งล้วนได้รับการฝึกฝนขั้นสูงและมีความเป็นมืออาชีพ ประจำเรือ รวม 250 นาย พร้อมทั้งมีการติดตั้งระบบอาวุธและเซนเซอร์สำหรับการปราบเรือดำน้ำ การรบผิวน้ำด้วย

นย.เตรียมฝึกร่วม Blue strike ณ ประเทศจีน

พล.ร.ต.โยธิน ธนะมูล ผู้บัญชาการกองพลนาวิกโยธิน หน่วยบัญชาการนาวิกโยธิน (ผบ.พล.นย.) เป็นประธานในพิธีเปิดการฝึกเตรียมก่อนการฝึกผสม กองทัพเรือไทย-กองทัพเรือสาธารณรัฐ ประชาชนจีน (ทร.ไทย - ทร.สปจ.) 'BLUE STRIKE 2025' ณ ค่ายพระมหาเจษฎาราชเจ้า กองพลนาวิกโยธิน อ.สัตหีบ จ.ชลบุรี 

การฝึกผสมระหว่างกองทัพเรือไทยและกองทัพเรือสาธารณรัฐ ประชาชนจีนนั้น เกิดขึ้นครั้งแรกเมื่อวันที่ 13 ธันวาคม 2548 ภายใต้รหัสการฝึก "PASSEX" หรือ "Passing Exercise" ซึ่งเป็นการฝึกการสื่อสารระหว่างเรือ ต่อมาเมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม 2550 ได้มีการหารือร่วมกันถึงการฝึกผสมระหว่างหน่วยบัญชาการนาวิกโยธินของไทย กับนาวิกโยธินของสาธารณรัฐประชาชนจีน โดยในการประชุมร่วมทั้งสองฝ่ายได้บรรลุข้อตกลงร่วมกันเกี่ยวกับการฝึก ซึ่งมีวงรอบในการฝึกทุก 2 ปี และจะมีการผลัดเปลี่ยนกันเป็นเจ้าภาพในการฝึกแต่ละครั้ง 

จากนั้น ในเดือนพฤศจิกายน 2553 จึงมีการฝึกผสมร่วมกันเป็นครั้งแรก ภายใต้รหัสการฝึก BLUE STRIKE 2010 ซึ่งใช้พื้นที่ในการฝึกบริเวณจังหวัดชลบุรี จังหวัดระยอง จังหวัดจันทบุรี และอ่าวไทยตอนบน และฝึกร่วมกันเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน ครั้งนี้นับเป็น ครั้งที่ 6 ไปฝึกที่เมืองจ้านเจียง สาธารณรัฐ ประชาชนจีน ในเร็วๆ นี้

โดยมีวัตถุประสงค์ของการฝึกร่วมฯ เพื่อ

1.สถานียุทธวิธีทหารราบยานเกราะ VN16 และกำลังพลประจำรถของไทย ได้เรียนรู้เทคนิคต่างๆ เพิ่มเติม ซึ่งไม่เคยได้รับการถ่ายทอดความรู้จาก บริษัท ผู้ผลิตยานเกราะฯ อันได้แก่ เทคนิคการขับเทคนิคการใช้อาวุธ การลากจูง การซ่อมแซมชิ้นส่วนชำรุด ตลอดจนการปรนนิบัติบำรุงที่สำคัญทำให้กำลังพล มีความมั่นใจในการปฏิบัติงานกับยานเกราะฯ ทั้งในน้ำและบนบก เพิ่มมากขึ้น /ทำให้เพิ่มประสิทธิภาพและขีดความสามารถในการปฏิบัติงาน
2.การฝึกของทหารราบ ซึ่งทำการฝึกแบบเวียนสถานี ฝ่ายไทยเรียนรู้ และแลกเปลี่ยนความรู้ด้านต่างๆ ทั้งองค์บุคคล องค์วัตถุ และองค์ยุทธวิธี รวมถึงเรียนรู้เทคโนโลยีจาก สปจ. ซึ่งนอกจากสิ่ง ที่ได้กล่าวมาแล้ว สิ่งที่เกิดขึ้นระหว่างการฝึกคือมิตรภาพระหว่าง ทร.ไทย - ทร.สปจ. ดังคำกล่าวที่ว่าไทยจีนพี่น้องกัน ความสัมพันธ์แน่นแฟ้น

ประโยชน์ที่ได้รับ คือ
- เพื่อเสริมสร้างความสัมพันธ์มิตรภาพที่ดีระหว่าง นย.ไทย กับ ทร.สปจ.
- เพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์การปฏิบัติทางยุทธวิธีของหน่วยขนาดเล็ก
- เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ เสริมสร้างทักษะ และประสบการณ์ทางด้านเทคนิคของอาวุธ ยุทโธปกรณ์สมัยใหม่
- เพื่อพัฒนาองค์บุคคล องค์วัตถุ และองค์ยุทธวิธี ให้สอดคล้องกับสถานการณ์ในปัจจุบัน และ วิทยาการสมัยใหม่
- เพื่อเสริมสร้างความเข้าใจและความประสานสอดคล้อง ในการปฏิบัติการรบผสมหน่วย/เหล่า

กองทัพเรือไทย ส่งหมู่เรือฝึก Blue Strike 2025 กระชับความร่วมมือทางทหารกับจีน

พลเรือเอก ณัฏฐพล เดี่ยววานิช ผู้บัญชาการกองเรือยุทธการ เป็นประธานในพิธีส่งหมู่เรือฝึก Blue Strike 2025 ณ เรือหลวงอ่างทอง ท่าเรือแหลมเทียน อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี โดยมี นาวาเอก บุญเกิด มูลละกัน ผู้บังคับหน่วยฝึกนาวิกโยธิน ร่วมให้การต้อนรับ

การฝึกผสม Blue Strike 2025 เป็นการฝึกทวิภาคีระหว่างกองทัพเรือไทยและกองทัพเรือจีน จัดขึ้น ณ เมืองจ้านเจียง สาธารณรัฐประชาชนจีน ระหว่างวันที่ 18 มีนาคม ถึง 10 เมษายน พ.ศ. 2568 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเสริมสร้างความรู้ ความเข้าใจ และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างกองทัพเรือทั้งสองประเทศ มุ่งเน้นการฝึกปฏิบัติการผสมระดับยุทธวิธีทางเรือและนาวิกโยธิน

หมู่เรือฝึกของไทยประกอบด้วย เรือหลวงอ่างทอง กำลังพลนาวิกโยธิน และนักเรียนนายเรือชั้นใหม่ การฝึกในครั้งนี้จะครอบคลุมการฝึกหลากหลายรูปแบบ อาทิ การฝึกแลกเปลี่ยนประสบการณ์ (Cross Training Exercise: CTX) การฝึกแลกเปลี่ยนผู้ชำนาญการเฉพาะทาง (Subject Matter Expert Exchange: SMEE) และการฝึกปฏิบัติการร่วมในทะเล โดยเฉพาะการบรรเทาสาธารณภัย (Humanitarian Assistance and Disaster Relief: HADR) ทั้งในท่าและในทะเล

การเข้าร่วมการฝึกผสม Blue Strike 2025 เป็นการแสดงถึงความมุ่งมั่นของกองทัพเรือไทยในการเสริมสร้างความร่วมมือทางทหารกับมิตรประเทศ และพัฒนาขีดความสามารถของกำลังพลให้มีความพร้อมในการปฏิบัติภารกิจต่างๆ


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top