Friday, 18 April 2025
กระบวนการยุติธรรม

‘ศาลปกครองแห่งราชอาณาจักรไทย’ ร่วมพิธีเปิดรับพิจารณาคดีปกครองของคณะศาลปกครอง ในศาลประชาชนสูงสุดแห่งสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว อย่างเป็นทางการ

เมื่อวันที่ 22 ธันวาคม 2564 นายชาญชัย แสวงศักดิ์ ประธานศาลปกครองสูงสุด พร้อมด้วย รองประธานศาลปกครองสูงสุด ได้แก่ นายวรพจน์ วิศรุตพิชญ์ , นายสุเมธ รอยกุลเจริญ , นายประสิทธิ์ศักดิ์ มีลาภ และนายสุชาติ มงคลเลิศลพ (ประธานอนุกรรมการบริหารศาลปกครองดำเนินการภายใต้บันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือทางวิชาการระหว่างสำนักงานศาลปกครองและศาลประชาชนสูงสุดแห่ง สปป.ลาว) ได้เข้าร่วมเป็นเกียรติในพิธีแถลงข่าวการเปิดรับพิจารณาคดีปกครองของคณะศาลปกครองในศาลประชาชนสูงสุดแห่ง สปป.ลาว อย่างเป็นทางการ ผ่านระบบการประชุมทางไกล โดยมีการถ่ายทอดสัญญาณภาพ และเสียงจากนครหลวงเวียงจันทน์ มายังห้องสัมมนา 1 ชั้น 11 อาคารศาลปกครอง ถนนแจ้งวัฒนะ

​โอกาสนี้ นายนพดล เฮงเจริญ อดีตรองประธานศาลปกครองสูงสุด และอดีตประธานคณะกรรมการกำกับและดำเนินงานภายใต้บันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือทางวิชาการฯ นายสมชาย เอมโอช ประธานแผนกคดีบริหารราชการแผ่นดินในศาลปกครองสูงสุด , นายประสาท พงษ์สุวรรณ์ ตุลาการหัวหน้าคณะศาลปกครองสูงสุด , นายอนุชา ฮุนสวัสดิกุล รองอธิบดีศาลปกครองเชียงใหม่ และผู้บริหารสำนักงานศาลปกครอง เข้าร่วมในพิธีดังกล่าวด้วย

​ภายหลังเสร็จสิ้นพิธีแถลงข่าวแล้ว นายชาญชัย แสวงศักดิ์ ประธานศาลปกครองสูงสุด ได้ให้สัมภาษณ์  ต่อสื่อมวลชน โดยได้กล่าวชื่นชมและแสดงความยินดีกับศาลประชาชนสูงสุดแห่ง สปป.ลาว ที่ได้จัดตั้งคณะศาลปกครองในศาลประชาชนสูงสุดแห่ง สปป.ลาว เป็นผลสำเร็จ

 

“เพื่อไทย” จี้ รัฐบาล เร่งกอบกู้ศรัทธาจากประชาชนในกระบวนการยุติธรรมกลับคืนแนะ “บิ๊กตู่ ” มีอำนาจล้นมือ อย่าดีแต่แต่งตั้งก.ก.ขอให้ชัดเจนในการปฏิรูปตำรวจอย่าให้ ปชช. เสื่อมศรัทธา

เมื่อวันที่ 27 มี.ค.ที่พรรคเพื่อไทย น.ส.อรุณี กาสยานนท์ รองเลขาธิการพรรคเพื่อไทย กล่าว ระหว่างการแถลงข่าวประจำสัปดาห์ ว่า ตั้งแต่ปี 2557 ตั้งแต่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรียึดอำนาจมาจากนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี สิ่งแรกที่พลเอกประยุทธ์ประกาศคือการปฏิรูปตำรวจ โดยมีการกำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญฉบับปี 2560 ในมาตรา 258 โดยยืนยันว่าจะทำการปฏิรูปประเทศ ทั้ง 7 ด้าน ทั้งด้านการเมือง การบริหารราชการแผ่นดิน กฎหมาย โดยระบุเรื่องการปฏิรูปตำรวจไว้เป็นหนึ่งในหัวข้อหลัก รวมทั้งการปฏิรูปด้านการศึกษา การปฏิรูปเศรษฐกิจและด้านอื่นๆ 

แต่เกือบ 5 ปีที่ผ่านมา การปฏิรูปด้านต่างๆไม่มีความคืบหน้า มีการแต่งตั้งคณะกรรมการภายในการปฏิรูปจำนวนมาก ตั้งแต่มีการบังคับใช้รัฐธรรมนูญปี 2560 ได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการที่เกี่ยวข้องกับการปฏิรูปตำรวจ ไม่ต่ำกว่า 5 คณะ ได้แก่ ชุดที่ 1 คณะกรรมาธิการปฏิรูปกฎหมายและกระบวนการยุติธรรมของสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) ในช่วงเดือน ต.ค. 2557  ชุดที่ 2 คณะกรรมาธิการปฏิรูปประเทศด้านกฎหมายและกระบวนการยุติธรรมในสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ (สปท.) ในปี 2558  ชุดที่ 3 คณะกรรมการปฏิรูปประเทศด้านกระบวนการยุติธรรม (ตำรวจ) 

ในปี 2560 มีพล.อ.บุญสร้าง เนียมประดิษฐ์ เป็นประธาน ชุดที่ 4 คณะกรรมการแก้ไขร่างกฎหมาย พ.ร.บ.ตำรวจแห่งชาติ ในเดือน มี.ค. 2561 มีนายมีชัย ฤชุพันธุ์ เป็นประธาน และชุดที่ 5.คณะกรรมการพิจารณาร่าง พ.ร.บ.ตำรวจแห่งชาติ ในเดือน มี.ค. 2562  (นายมีชัย ฤชุพันธ์ เป็นประธาน) 

แต่ผ่านมา 4 ปี  11 เดือน 20 วัน มีแต่ความล่าช้า ทำให้เกิดความคลางแคลงและข้อสงสัยว่านายกรัฐมนตรีและทำผิดรัฐธรรมนูญหรือไม่ เนื่องจากมีการระบุอย่างชัดเจนในมาตรา 260 ว่าการปฏิรูปตำรวจต้องแล้วเสร็จภายใน 1 ปี แต่ถึงวันนี้ไม่แน่ใจว่าทำไมถึงแผ่วลงไป ทั้งที่พล.อ.ประยุทธ์มีความมุ่งมั่นแน่วแน่  แต่กลายเป็นว่าภาพที่เห็นในปัจจุบันคือการไม่เร่งรัดให้มีการพิจารณาร่าง พ.ร.บ. ฉบับดังกล่าว  

“ ปัจจุบันร่างพ.ร.บ.ตำรวจ พิจารณาได้เพียง 40 บาทตราจาก 140 มาตราและยังไม่ได้มีการพิจารณาต่อในสภาผู้แทนราษฎร ทำให้เกิดวิกฤติศรัทธาจากประชาชนที่มีต่อระบบและกระบวนการยุติธรรม หลายครั้งจะเห็นว่าประชาชนตั้งคำถามกับตำรวจว่าได้ทำหน้าที่สุดความสามารถแล้วหรือยัง ทำงานได้คุ้มค่ากับภาษีที่จ่ายไปหรือไม่ โดยเฉพาะเมื่อเกิดคดีสำคัญหรือมีผู้เกี่ยวข้องที่มีชื่อเสียงตำรวจได้มีส่วน ในการตรวจสอบทั้งเรื่องของพยานหลักฐานพยานบุคคล ก็ยิ่งมีคำถามเกิดขึ้นมากมาย 

20 กุมภาพันธ์ ของทุกปี กำหนดเป็น ‘วันทนายความ’ หนึ่งในสถาบันด้านกระบวนการยุติธรรม

วันที่ 20 กุมภาพันธ์ของทุกปี ผู้ประกอบวิชาชีพทนายความทั่วประเทศถือเป็นวันทนายความ

วันนี้ในอดีต เมื่อปี 2500 เป็นวันที่ทนายความในขณะนั้นมีแนวความคิดริเริ่มที่ต้องการให้วิชาชีพทนายความ ควรจะมีสถาบันที่เป็นตัวแทนของวิชาชีพทนายความ และเป็นอิสระควบคุมดูแลกันเอง จึงได้ประชุมกันก่อตั้งสมาคมทนายความแห่งประเทศไทยขึ้น โดยจดทะเบียนก่อตั้งเมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2500

ต่อมาสมาคมทนายความแห่งประเทศไทยได้ร่วมกันใช้ความเพียรพยายามเรียกร้องและผลักดันร่างกฎหมาย พระราชบัญญัติทนายความเข้าสู่สภาผู้แทนราษฎร จนกระทั่งเมื่อปี 2528 จึงประสบผลสำเร็จออกประกาศใช้เป็นกฎหมาย โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงลงพระปรมาภิไธย ในพระราชบัญญัติทนายความ พ.ศ. 2528 เมื่อวันที่ 10 กันยายน 2528 และมีผลบังคับใช้มาจนถึงปัจจุบันนี้

‘ส.ว.อุปกิต’ โต้ไม่ได้มอบตัว เพียงชี้แจงข้อเท็จจริง ยันไม่มีการหลบหนี ขอสู้จนได้ความยุติธรรมคืน

‘ส.ว.อุปกิต’ โต้ไม่ได้มอบตัว เพียงแสดงความบริสุทธิ์ใจ ยืนยันไม่หลบหนี 

(28 มี.ค.66) นายอุปกิต ปาจรียางกูร สมาชิกวุฒิสภา กล่าวถึงการเข้าพบพนักงานสอบสวนกรณีถูกกล่าวหาดำเนินคดีและสื่อมวลชนหลายสำนักนำเสนอข่าว เป็นการชิงมอบตัว โดยยืนยันว่า ไม่ใช่การไปมอบตัว เพราะในข้อเท็จจริงเป็นที่รับทราบกันโดยทั่วไปว่า ทั้งนายรังสิมันต์ โรม และนายอัจฉริยะ เรืองรัตนพงศ์ กล่าวหาตนและเข้าไปให้ข้อมูลกับพนักงานสอบสวน รวมถึงพยายามสร้างกระแสเพื่อเร่งรัดกระบวนการยุติธรรม จึงเป็นสิทธิโดยชอบของตนที่จะเดินทางไปชี้แจงข้อเท็จจริง และแสดงความบริสุทธิ์ใจ พร้อมจะให้ความร่วมมือกับกระบวนการยุติธรรม เพื่อปกป้องเกียรติยศ ศักดิ์ศรี ของตนเองและวงศ์ตระกูล

'นายกฯ' ยัน!! แก้รธน. 'ไม่ปรับแก้ 112-ไม่แตะหมวดพระมหากษัตริย์' ลั่น!! นักโทษการเมืองให้เป็นไปตามกระบวนการยุติธรรม

(15 ก.ย.66) นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีและรมว.คลัง ให้สัมภาษณ์ผ่านเพจ THE STANDARD ตอนหนึ่งถึงการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ซึ่งมติคณะรัฐมนตรีมีการตั้งคณะทำงานเพื่อทำประชามติหรือไม่เป็นการซื้อเวลาหรือไม่ ว่า ไม่ใช่การซื้อเวลาแน่นอน เป็นการตั้งคณะทำงานเพื่อรับฟังความคิดเห็นทุกภาคส่วน เราทำประชามติแน่นอน ผ่านกลไกรัฐสภา ที่เป็นตัวแทนประชาชนอยู่แล้ว โดยไทม์ไลน์จะเป็นอย่างไรนั้น สสร.ต้องฟังประชามติก่อน ตอนนี้เริ่มแล้ว

“ยืนยันทำตามไทม์ไลน์ไม่ใช่การซื้อเวลา เราต้องการให้คนเห็นต่างร่วมพูดคุยว่ารัฐธรรมนูญฉบับนี้มีปัญหาอย่างไร โดยสิ่งที่ไม่แก้ คือ หมวดพระมหากษัตริย์ชัดเจน ส่วนเรื่องอื่นก็รอฟังประชามติ ส่วนเรื่อง 112 ยืนยันไม่มีการปรับแก้ ขณะที่นักโทษทางการเมืองก็เป็นไปตามกระบวนการยุติธรรม” นายเศรษฐา กล่าว

'บุ้ง ทะลุวัง' ร่ายยาว!! จดหมายจากเรือนจำ ถึง 'ทักษิณ-เพื่อไทย' ยาหอม!! ปฏิรูปกระบวนการยุติธรรมง่ายมาก แต่สุดท้ายตลบตะแลง

(18 มี.ค. 67) เพจเฟซบุ๊ก ‘ทะลุวัง’ ได้โพสต์ข้อความจากจดหมายของ น.ส.เนติพร เสน่ห์สังคม หรือ บุ้ง แกนนำกลุ่มทะลุวัง ที่ส่งจากเรือนจำ โดยระบุถึงนายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี และพรรคเพื่อไทย มีใจความว่า

“ด้วยวิธีการที่คุณเลือกจะกลับบ้านคือการเอาเสียงของประชาชนไปแลก ทำให้คุณเป็นได้แค่นักการเมืองน้ำเลวคนหนึ่ง จดหมายฉบับนี้อยากพูดถึงคุณทักษิณและพรรคการเมืองที่แสนกลับกลอกของเขาสักหน่อย ถึงจะอดอาหารเอาชีวิตและร่างกายแลกเพื่อให้กระบวนการยุติธรรมถูกปฏิรูปอยู่ แต่ตอนนี้บุ้งก็ได้ข่าวของคุณทักษิณอยู่บ้างจากการที่เพื่อน ๆ เล่าให้ฟัง

“ในสายตาบุ้ง คุณทักษิณเป็นคนที่น่ารังเกียจเหลือเกิน ไม่ว่าจะเคยมีคุณงามความดีอะไร ตอนนี้เกียรติยศและศักดิ์ศรีของคุณไม่ต่างจากสิ่งมีชีวิตปรสิต ส่วนคุณอุ๊งอิ๊งก็น่าเสียดายเหลือเกิน คุณไม่จำเป็นต้องทำตามที่พ่อสั่งทุกอย่างก็ได้นะคะ แต่อนิจจาลูกไม้หล่นไม่ไกลต้น พ่อเป็นยังไงลูกก็เป็นอย่างนั้น

“ครั้งหนึ่งตอนที่ทะลุวังประกาศว่าจะไปเยือนเพื่อไทย คุณทักษิณเคยพูดว่า “อย่าทะลุวังเลยมาทะลุทำเนียบเถอะ” และให้การต้อนรับบุ้งเป็นอย่างดี อีกทั้งยังให้บุ้งและเพื่อน ๆ นั่งคุยกับคนของเพื่อไทยเพื่อฟังคำขอของบุ้ง ถึงแม้จะมัดมือชกไล่สื่อออกจากห้อง ทั้ง ๆ ที่บุ้งต้องการให้เป็นการคุยแบบเปิดก็ตาม

“คนของพรรคเพื่อไทยรับปากกับบุ้งว่า การปฏิรูปกระบวนการยุติธรรมนั้นง่ายมากและจะเป็นสิ่งแรกที่พรรคเพื่อไทยทำ บุ้งดีใจมากนะคะและเชื่อมั่นว่าพรรคเพื่อไทยจะทำตามคำพูด เพราะคนที่ได้รับปากเป็นผู้ใหญ่แล้ว และคนเราจะมีเกียรติมีศักดิ์ศรีได้ก็เพราะรักษาคำพูดของตัวเอง แต่สุดท้ายแล้วโลกของผู้ใหญ่ก็ทำให้บุ้งผิดหวัง เมื่อพรรคเพื่อไทยตอ…ตลบตะแลง กลับกลอกปลิ้นปล้อน อย่างหน้าไม่อาย บุ้งและเพื่อน ๆ ผิดหวังเสียใจ และหมดสิ้นซึ่งศรัทธาในตัวพรรคการเมือง แต่ถึงกระนั้นความหวังที่จะทวงคืนความยุติธรรมให้คนเสื้อแดงและคนตากใบยังไม่หายไปหรอกค่ะ บุ้ง ตะวัน และแฟรงค์ จึงเอาชีวิตเข้าแลก เมื่อความหวังไม่มี เรา 3 คน จึงเลือกสร้างมันขึ้นมาเอง โดยกลั่นจากชีวิตเลือดเนื้อและอุดมการณ์ของพวกเรา

“ที่เล่าเพราะอยากให้คนข้างนอกเข้าใจ ว่าที่เราทำไม่ใช่เพราะพวกเราบุ่มบ่าม ก้าวร้าว ทำอะไรไม่คิด แต่เพราะนักการเมืองทำให้เราผิดหวังซ้ำแล้วซ้ำเล่า และเราไม่เลือกที่จะนอนอยู่บ้านเฉย ๆ แต่เราต้องการสร้างการเปลี่ยนแปลงให้เกิดขึ้นในสังคม

“แน่นอนว่ามันไม่ง่ายหรอกค่ะ ทุกวินาทีที่ผ่านไปในตอนนี้เวลาของพวกเรานับถอยหลังลงทุกที แต่พวกเราแลกได้เพราะเลือกแล้วที่จะทำ

“ขอให้คนข้างนอกที่ไม่หยุดสู้ สู้ต่อไป สักวันชัยชนะต้องเป็นของประชาชน

“บุ้งยังคงยืนยันที่จะอดอาหารจนกว่าข้อเรียกร้องจะสำเร็จ อยากให้ทุกคนเข้าใจบุ้งด้วยนะคะ”

‘ดร.เสรี’ ฟาดใส่!! กระบวนการยุติธรรม ของประเทศ จัดการคนทำผิดกฎหมายไม่ได้ ไม่เป็นที่พึ่งให้ปชช.

(15 ธ.ค. 67) ดร. เสรี วงษ์มณฑา นักวิชาการด้านการตลาดและการสื่อสารโพสต์เฟซบุ๊ก ว่าเวลานี้การที่มีคนทำผิดกฎหมาย ไม่ให้ค่ารัฐธรรมนูญ บดขยี้กระบวนการยุติธรรมจนป่นปี้ แล้วไม่มีความผิดใดๆ เอาโทษไม่ได้ เป็นเพราะอะไร

เพราะเราไม่มีกฎหมายจะจัดการกับเขา?

เพราะกฎหมายเราอ่อน มีช่องโหว่ให้เขารอดได้?

หรือผู้รักษากฎหมายนิ่งเฉยด้วยเหตุผลบางประการ กลัว? เกรงใจ? เป็นหนี้บุญคุณ? ได้รับผลประโยชน์?

ท่านที่มีอำนาจในการใช้กฎหมาย ท่านไม่คิดจะทำหน้าที่ของพวกท่านบ้างเลยหรือ ใจคอท่านจะยอมเห็นประเทศพินาศต่อหน้าต่อตาหรือ

ประชาชนเจ็บช้ำแค่ไหนแล้ว ประเทศชาติย่ำแย่เสื่อมทรุดแค่ไหน พวกท่านไม่เห็นเลยหรือ ทำไมจึงเฉยอยู่ได้

ยังมีองค์กร หรือกระบวนการอันใดที่ประชาชนพอจะพึ่งได้ในการรักษาประเทศให้ดำรงคงมั่นอย่างยั่งยืนอีกบ้าง

หรือท่านมองไม่เห็นการกระทำที่ชั่วร้าย ทำลายประเทศ ท่านไม่รู้ หรือท่านแกล้งไม่รู้ เพราะท่านกลัวว่าท่านจะเดือดร้อน

มีหน้าที่ แต่ไม่ทำหน้าที่ ก็ออกไปดีกว่าไหมคะ


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top