Monday, 7 April 2025
กระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ

‘จีน’ ชี้ ‘อเมริกา’ คือ ‘ตัวอันตราย’ ใหญ่หลวง เป็น ‘เจ้าโลก’ ด้วยการข่มขู่ ประชาคมนานาชาติ

(18 ส.ค.67) อเมริกาคือตัวอันตรายใหญ่หลวงที่สุดของโลก เมื่อเป็นเรื่องเกี่ยวกับความเสี่ยงของความเป็นไปได้ที่จะเกิดความขัดแย้งทางนิวเคลียร์ จากความเห็นของจาง เสี่ยวกัง โฆษกกระทรวงกลาโหมจีน ระหว่างให้สัมภาษณ์กับพวกผู้สื่อข่าวในวันศุกร์ (16 ส.ค.) โดยปักกิ่งกล่าวหาวอชิงตัน ‘มักตัดสินใจต่าง ๆ โดยไร้ความรับผิดชอบ’ ในความพยายามรักษาไว้ซึ่งความเป็นเจ้าโลก ในนั้นรวมถึงผ่านการข่มขู่ประชาคมนานาชาติ ด้วยคลังแสงนิวเคลียร์

ความเคลื่อนไหวครั้งนี้เป็นการแถลงตอบโต้การตัดสินใจของกระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ (เพนตากอน) ที่จะยกระดับกองกำลังอเมริกาในญี่ปุ่น เป็นกองบัญชากองกำลังร่วม ซึ่งบังคับบัญชาของโดยพลระดับ 3 ดาวรายหนึ่งที่อยู่ภายใต้บัญชาการของกองบัญชาการอินโด-แปซิฟิก แห่งกองทัพสหรัฐฯ

ถ้อยแถลงดังกล่าวดำเนินการโดยกระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ เมื่อช่วงปลายเดือนกรกฎาคม ตามหลังการพบปะหารือกันระหว่างเหล่าหัวหน้านโยบายกลาโหมและต่างประเทศของอเมริกาและญี่ปุ่น

ในตอนนั้น ลอยด์ ออสติน รัฐมนตรีกลาโหมสหรัฐฯ ยกย่องพัฒนาดังกล่าว ว่าเป็น ‘การปรับปรุงความสัมพันธ์ด้านการทหารระหว่างเรากับญี่ปุ่น ครั้งเข้มแข็งที่สุดในรอบกว่า 70 ปี’ เขายังบอกด้วยว่าทั้ง 2 ฝ่าย ได้จัดประชุมระดับรัฐมนตรีอีกอย่างน้อย 2 ครั้ง ในด้านการป้องปรามอย่างครอบคลุม ซึ่งมันเป็นสิ่งที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน

ระหว่างการพบปะหารือ สหรัฐฯ ประกาศ "ปกป้องญี่ปุ่นด้วย: แสนยานุภาพต่างๆ ของเราอย่างเต็มพิกัด ในนั้นรวมถึง: แสนยานุภาพทางนิวเคลียร์" ออสติน กล่าวเมื่อเดือนกรกฎาคม

ในวันศุกร์ (16 ส.ค.) จาง เสี่ยวกัง ชี้ว่าวอชิงตันและโตเกียวเล่นไพ่ใช้คำกล่าวอ้างเกี่ยวกับภัยคุกคามด้านการทหารของจีน เป็นข้ออ้างสำหรับความเคลื่อนไหวของพวกเขา "พฤติกรรมต่าง ๆ เช่นนี้รังแต่ยั่วยุการเผชิญหน้าและบ่อนทำลายเสถียรภาพและสันติภาพในภูมิภาค" ทั้งนี้ในถ้อยแถลงเมื่อเดือนกรกฎาคมของเพนตากอน พวกเขายังได้พาดพิงถึงการ "ขยายคลังแสงนิวเคลียร์ของจีน" เช่นเดียวกับหัวข้ออื่นๆ ระหว่างประชุมเกี่ยวกับการขยายขอบเขตการป้องปราม

โฆษกของกระทรวงกลาโหมจีนบอกว่า "สหรัฐฯ เสี่ยงเป็นภัยคุกคามทางนิวเคลียร์ใหญ่หลวงที่สุดต่อโลก เนื่องจากพวกเขาครอบครองคลังแสงนิวเคลียร์ใหญ่ที่สุดในโลก และเดิมตามนโยบายหนึ่ง ๆ ซึ่งอนุญาตให้ใช้อาวุธนิวเคลียร์ก่อน"

ยุทธศาสตร์ป้องกันตนเองแห่งชาติสหรัฐฯ (NDS) ที่เผยแพร่โดยเพนตากอนเมื่อปี 2022 ระบุ รัสเซีย จีน เกาหลีเหนือ และอิหร่าน เป็น 4 ศัตรู สำหรับแผนอาวุธนิวเคลียร์ ซึ่งมันเปิดประตูสำหรับการใช้นิวเคลียร์ชิงโจมตีก่อน โดยอนุญาตให้ใช้อาวุธดังกล่าวเล่นงานศัตรู เพื่อสกัดการโจมตี

เมื่อปี 2018 สหรัฐฯ ประกาศถอนตัวจากสนธิสัญญากองกำลังนิวเคลียร์พิสัยปานกลาง (INF) ที่ทำไว้กับรัสเซีย ซึ่งแบนทั้ง 2 ฝ่ายจากการพัฒนาและประจำการขีปนาวุธศักยภาพติดอาวุธนิวเคลียร์ที่ประจำการบนภาคพื้นบางรุ่น ณ ตอนนั้น วอชิงตันอ้างว่าพวกเขาจำเป็นต้องมีอาวุธดังกล่าว เนื่องจากอย่างน้อย ๆ จีน ก็ไม่ได้เป็นหนึ่งในข้อตกลงทวิภาคี INF

ข้อตกลงทวิภาคีที่มีผลผูกพันฉบับสุดท้ายที่จำกัดคลังแสงนิวเคลียร์ของสหรัฐฯ และรัสเซีย คือข้อตกลง New START ซึ่งมีกำหนดหมดอายุลงในปี 2026 อย่างไรก็ตามเมื่อปีที่แล้ว รัสเซียระงับการมีส่วนร่วมในข้อตกลง New START อ้างถึงนโยบายที่เป็นปรปักษ์ของสหรัฐฯ แต่ประกาศว่าจะยังคงปฏิบัติตามเงื่อนไขหลักของมัน ซึ่งจำกัดอาวุธนิวเคลียร์และระบบปล่อยอาวุธนิวเคลียร์

ในเดือนตุลาคม 2023 เพนตากอนกล่าวหา จีน "ยกระดับขยายคลังแสงนิวเคลียร์อย่างรวดเร็ว" ในขณะที่คณะกรรมาธิการยุทธศาสตร์ของสภาคองเกรสสหรัฐฯ เรียกร้องวอชิงตันให้เตรียมพร้อมสำหรับทำสงครามกับทั้งปักกิ่งและมอสโก และต่อมาในเดือนเดียวกัน อเมริกายังได้แถลงแผนเกี่ยวกับการปรับปรุงระเบิดนิวเคลียร์ของพวกเขาให้มีความทันสมัย

การตัดสินใจและพฤติกรรมที่ไร้ความรับผิดชอบของสหรัฐฯ ก่อผลลัพธ์แผ่ขยายความเสี่ยงทางนิวเคลียร์ และความพยายามรักษาไว้ซึ่งความเป็นเจ้าโลก และข่มขู่โลกด้วยแสนยานุภาพทางนิวเคลียร์ถูกแฉออกมาเต็มตาแล้ว จางกล่าว พร้อมระบุว่าความเคลื่อนไหวล่าสุดในญี่ปุ่น รังแต่ซ้ำเติมความตึงเครียดในภูมิภาค และเพิ่มความเสี่ยงแพร่ขยายนิวเคลียร์และความขัดแย้งทางนิวเคลียร์

‘แพนทากอน’ เตรียมส่ง THAAD พร้อมทหารอเมริกัน เสริมกำลังให้ ‘อิสราเอล’ ย้ำชัด!! ‘สหรัฐฯ’ พร้อมอยู่เคียงข้าง ในการต่อสู้กับภัยคุกคาม จากอิหร่าน

(14 ต.ค. 67) กระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ ออกแถลงการณ์ เตรียมที่จะจัดส่งระบบป้องกันภัยทางอากาศในบรรยากาศระดับสูง หรือ THAAD พร้อมระบบต้านขีปนาวุธ และ กองกำลังทหารอเมริกัน ผนึกกำลังกองทัพอิสราเอล ต้านภัยการโจมตีด้วยขีปนาวุธของอิหร่าน 

โดยนายพล แพท ไรเดอร์ โฆษกประจำแพนทากอน กล่าวว่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ ลอยด์ ออสติน ได้รับคำสั่งตรงจาก ประธานาธิบดี โจ ไบเดน ให้จัดส่งระบบป้องกันขีปนาวุธอันล้ำสมัยของสหรัฐไปเสริมกำลังให้ฝ่ายอิสราเอลทันที ซึ่งความเคลื่อนไหวของรัฐบาลสหรัฐในวันนี้บ่งชี้อย่างชัดเจนว่า สหรัฐฯพร้อมยืนอยู่เคียงข้างอิสราเอลในการต่อสู้กับภัยคุกคามจากอิหร่าน หลังจากที่เตหะรานตัดสินใจยิงขีปนาวุธกว่า 180 ลูกโจมตีกรุงเทล-อาวีฟ ของอิสราเอลเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม ที่ผ่านมา

การส่งกำลังทหารไปยังอิสราเอล ไม่ใช่เหตุการณ์ปกติที่จะเกิดขึ้นบ่อยนักสำหรับสหรัฐอเมริกา ยกเว้นการซ้อมรบร่วมของ 2 ชาติ แต่ความเคลื่อนไหวของสหรัฐฯครั้งนี้ ทางแพนทากอนกล่าวว่า เป็นการปรับเปลี่ยนแผนการครั้งใหม่เพื่อสนับสนุนอิสราเอลและปกป้องพลเมืองสหรัฐฯ จากเมื่อหลายเดือนก่อน ที่กองทัพสหรัฐฯ ได้ส่งทหารอเมริกันไปช่วยเหลืออิสราเอลในการป้องกันเรือรบและการโจมตีทางอากาศในตะวันออกกลางมาก่อนแล้ว แต่นั่นเป็นการตั้งกองหนุนนอกพรมแดนอิสราเอลเท่านั้น

ด้าน พ.ต.ท. นาดาฟ โชชานี โฆษกกองทัพอิสราเอล ได้ออกมาขอบคุณสหรัฐฯ ที่ส่งระบบต้านขีปนาวุธมาสนับสนุนอิสราเอล แม้ยังไม่มีกรอบเวลาที่ชัดเจนว่าระบบ THAAD จะถูกส่งมาถึงอิสราเอลเมื่อใดก็ตาม

THAAD เป็นของระบบป้องกันทางอากาศแบบหลายชั้น ที่มีความสำคัญในกองทัพสหรัฐฯ อีกทั้งยังเพิ่มระบบการป้องกันต่อต้านขีปนาวุธของอิสราเอลที่น่าเกรงขามอยู่แล้วให้มีศักยภาพมากยิ่งขึ้นไปอีก

โดยปกติแล้ว THAAD ต้องใช้กำลังทหารประมาณ 100 นาย ในการควบคุม สำหรับการปฏิบัติการ โดยระบบจะประกอบด้วยเครื่องยิงที่ติดตั้งบนรถบรรทุกได้ 6 เครื่อง ที่จะมีเครื่องสกัดกั้น 8 ชุดในแต่ละเครื่องยิง และเรดาร์ศักยภาพสูงอีก 1 ตัว 

ด้าน อับบาส อารัคชี รัฐมนตรีต่างประเทศอิหร่าน ได้โพสต์ผ่าน X ว่า สหรัฐฯกำลังทำให้ชีวิตกองทหารของตนอยู่ในความเสี่ยงหากคิดจะส่งพวกเขาไปสนับสนุนกองทัพอิสราเอล ในขณะที่อิหร่านพยายามที่จะควบคุมสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในภูมิภาคตะวันออกกลาง และพร้อมปกป้องประชาชน และ ผลประโยชน์ของอิหร่านเช่นกัน 

ด้านนักวิเคราะห์บอกว่า อิหร่านก็พยายามหลีกเลี่ยงการทำสงครามโดยตรงกับสหรัฐฯ แต่หากรัฐบาลสหรัฐฯ ตัดสินใจส่งกองทหารอเมริกันเข้ามาสนับสนุนอิสราเอลอย่างเต็มตัว ก็จะเป็นตัวแปรสำคัญในสถานการณ์ความรุนแรงในตะวันออกกลางที่อิหร่านต้องปรับแผนรับมือใหม่อีกครั้ง 

‘ทรัมป์’ ปรับโครงสร้าง!! คณะที่ปรึกษาโรงเรียนนายร้อยทุกเหล่าทัพ ย้ำ!! ความแข็งแกร่งของกองทัพ ต้องมาก่อนแนวคิด Woke

(12 ก.พ. 68) ข่าวนี้ถือว่าเรื่องที่น่าสนใจมากนะครับเพราะว่า สิ่งที่ใน donald trump กำลังทำอยู่นะตอนนี้คือการล้างหน่วยงานความมั่นคงโดยเปลี่ยนรูปแบบมาให้เป็นแบบใหม่โดยการคัดเลือกบุคคลที่มีความเป็นมืออาชีพ ไม่ใช่เลือกความหลากหลาย นับว่าเป็นความคิดที่ฉันฉลาดมาก

ข้าพเจ้าถือว่าเป็นจุดที่เป็นโมเดลที่น่าสนใจผู้ว่าข้าราชการหรือการเมืองก็ควรฟังเพราะโดยหลักการแล้วนะครับ
ไม่ว่าจะเลือก สส. เลือก สสร. ฯลฯ ต้องมีความเหมาะสมในสายวิชาชีพนั้นๆ
"ประชาธิปไตยที่ดี" ต้องเกิดขึ้นจาก "ความเป็นมืออาชีพ"ครับ

ความเป็นมืออาชีพ ไม่ว่าจะเป็นนักการเมือง ข้าราชการ หรือคณะกรรมการ กรรมาธิการต่างๆ ควรมีลักษณะเฉพาะเจาะจง มีความเป็นมืออาชีพความชำนาญ ไม่ใช่ความหลากหลายครับ 

ลองฟังข่าวนี้ดูครับ

วอชิงตัน – ประธานาธิบดี โดนัลด์ ทรัมป์ ประกาศปรับโครงสร้างคณะที่ปรึกษาของโรงเรียนนายร้อยทุกเหล่าทัพของสหรัฐฯ ไม่ว่าจะเป็น West Point, Annapolis, Colorado Springs และ Coast Guard พร้อมให้เหตุผลว่า การเปลี่ยนแปลงครั้งนี้เป็นไปเพื่อฟื้นฟูหลักการดั้งเดิมของกองทัพ และขจัดอิทธิพลของแนวคิดที่มุ่งเน้นความหลากหลายโดยไม่ได้คำนึงถึงประสิทธิภาพ

ทรัมป์เน้นย้ำว่า "กองทัพอเมริกันต้องกลับมาแข็งแกร่งอีกครั้ง" โดยเขาเห็นว่าการคัดเลือกบุคลากรเพื่อดำรงตำแหน่งสำคัญในกองทัพ ควรยึดหลักความสามารถและความเหมาะสม มากกว่าการกำหนดโควต้าตามเชื้อชาติ เพศ หรืออัตลักษณ์อื่น ๆ ที่อาจส่งผลต่อสมรรถนะโดยรวมขององค์กร
ยกเลิก DEI – กระทรวงกลาโหมเตรียมปรับโครงสร้างครั้งใหญ่

การเปลี่ยนแปลงครั้งนี้เกิดขึ้นในช่วงที่กระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ (Pentagon) กำลัง ยุตินโยบาย Diversity, Equity, Inclusion (DEI) ที่สนับสนุนการจัดสรรโควต้าให้กับกลุ่มที่หลากหลายภายในองค์กรของรัฐ ซึ่งฝ่ายที่สนับสนุนมองว่าเป็นแนวทางที่ช่วยให้กองทัพมีความครอบคลุมมากขึ้น แต่ฝ่ายที่คัดค้าน โดยเฉพาะทรัมป์และผู้สนับสนุนของเขา มองว่า การแต่งตั้งบุคลากรควรยึดตามความสามารถมากกว่าการกำหนดโควต้า

รัฐมนตรีกลาโหม พีท เฮกเซธ ได้กล่าวย้ำในที่ประชุมเจ้าหน้าที่ของกระทรวงกลาโหมว่า "ความแข็งแกร่งของกองทัพไม่ได้เกิดจากความแตกต่าง แต่เกิดจากความเป็นหนึ่งเดียว" พร้อมชี้ให้เห็นว่า การนำแนวคิด Woke มาใช้ในกองทัพอาจส่งผลต่อขีดความสามารถของหน่วยงานด้านความมั่นคง

นอกจากนี้ เฮกเซธยังให้การสนับสนุนการตรวจสอบหน่วยงานด้านกลาโหม โดยให้ Department of Government Efficiency (DOGE) ภายใต้การดูแลของ อีลอน มัสก์ เข้าตรวจสอบงบประมาณและประสิทธิภาพของกองทัพ ซึ่งเป็นหนึ่งในมาตรการที่ทรัมป์ต้องการผลักดัน

‘ทรัมป์’ ปรับนโยบาย!! ตัดงบทหารในญี่ปุ่น-เกาหลีใต้ ลด คชจ.กว่า 1.1 พันล้านดอลลาร์ ผู้เชี่ยวชาญ ชี้!! เป็นกลยุทธ์ กดดันพันธมิตร เพิ่มค่าใช้จ่าย ด้านความมั่นคงมากขึ้น

(22 มี.ค. 68) IMCT News Thai Perspectives on Global News ได้โพสต์ข้อความระบุว่า ...

กระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ (เพนตากอน) กำลังพิจารณาปรับลดขนาดกองทัพอย่างมีนัยสำคัญ ตามนโยบายของรัฐบาลทรัมป์ที่ต้องการลดขนาดรัฐบาลกลาง โดยข้อเสนอสำคัญรวมถึงการระงับการขยายกองกำลังสหรัฐฯ ในญี่ปุ่น (USFJ) ซึ่งจะช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายได้ประมาณ 1.1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ แม้เอกสารจะระบุถึงความเสี่ยงทางการเมืองที่อาจเกิดขึ้น 

แผนการนี้สอดคล้องกับนโยบายที่ผลักดันให้พันธมิตรในอินโด-แปซิฟิกใช้จ่ายด้านการป้องกันประเทศมากขึ้น นักวิเคราะห์ชี้ว่าแผนดังกล่าวแสดงให้เห็นว่า 'กลุ่มเหยี่ยวงบประมาณ' อาจมีอิทธิพลเหนือกว่า 'กลุ่มเหยี่ยวจีน' ในรัฐบาลทรัมป์ โดยอาจส่งผลให้ญี่ปุ่นและเกาหลีใต้ต้องเพิ่มงบประมาณด้านการป้องกันประเทศและเพิ่มขีดความสามารถทางทหารของตนเอง ซึ่งจะเกิดความท้าทายในการประสานงานกับสหรัฐฯ ท่ามกลางภัยคุกคามที่เพิ่มขึ้นจากจีนและเกาหลีเหนือ 

ผู้เชี่ยวชาญเตือนว่า การกระทำดังกล่าวอาจบั่นทอนการยับยั้งร่วมกันของพันธมิตรสหรัฐฯ ที่มีต่อจีน ทำให้ภูมิภาคนี้ไร้เสถียรภาพมากขึ้นเมื่อจีนดำเนินปฏิบัติการในพื้นที่สีเทามากขึ้น ในขณะที่จีน เกาหลีเหนือ และรัสเซียอาจใช้สถานการณ์อันละเอียดอ่อนนี้เพื่อสร้างความแตกแยกระหว่างพันธมิตร


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top