Sunday, 20 April 2025
กฎหมายระหว่างประเทศ

'รัดเกล้า' เผย!! ไทยพร้อมเป็นเจ้าภาพจัดประชุม AALCO สมัยที่ 62 เล็งยก 'กฎหมายทะเล-การค้าระหว่างประเทศ' ขึ้นถกเพื่อประโยชน์ไทย

(1 ส.ค.67) นางรัดเกล้า อินทวงศ์ สุวรรณคีรี รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ประเทศไทยจะเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมประจำปีขององค์การที่ปรึกษากฎหมายแห่งเอเชียและแอฟริกา (Asian - African Legal Consultative Organization: AALCO) (การประชุมประจำปีของ AALCO) สมัยที่ 62 ระหว่างวันที่ 8 - 13 กันยายน 2567

รองโฆษกประจำสำนักนายกฯ กล่าวว่า AALCO ตั้งขึ้นเมื่อปี 2499 ปัจจุบันมีประเทศสมาชิกจากทวีปเอเชียและแอฟริกา รวม 48 ประเทศ โดยสำนักงานเลขาธิการของ AALCO ตั้งอยู่ ณ กรุงนิวเดลี สาธารณรัฐอินเดีย มีวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนให้กลุ่มประเทศเอเชียและแอฟริกามีบทบาทในการประมวลและพัฒนากฎหมายระหว่างประเทศ และผลักดันพัฒนาการดังกล่าวให้สอดคล้องกับท่าทีและผลประโยชน์ของประเทศในเอเชียและแอฟริกา การประชุมประจำปีของ AALCO เป็นเวทีที่ประเทศสมาชิกจะอภิปรายแสดงความเห็นและท่าทีในประเด็นต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับพัฒนาการของกฎหมายระหว่างประเทศ ซึ่งเป็นที่สนใจของประเทศสมาชิก โดยเฉพาะอย่างยิ่งพัฒนาการในกรอบคณะกรรมาธิการกฎหมายระหว่างประเทศ (International Law Commission: ILC) และคณะกรรมการ 6 (กฎหมาย) ของสมัชชาสหประชาชาติ ซึ่งที่ผ่านมาประเทศไทย ในฐานะสมาชิกของ AALCO ได้ใช้เวทีดังกล่าวในการติดตามพัฒนาการของกฎหมายระหว่างประเทศ และผลักดันท่าทีประเทศไทยในประเด็นที่ประเทศไทยให้ความสำคัญเพื่อให้พัฒนาการของกฎหมายระหว่างประเทศเป็นไปในทิศทางที่สอดคล้องกับท่าทีและผลประโยชน์ของประเทศไทยและประเทศกำลังพัฒนาอื่น ๆ ในทวีปเอเชียและแอฟริกา

การประชุมประจำปีของ AALCO เป็นการประชุมที่มีหัวหน้าคณะระดับรัฐมนตรี โดยมีกำหนดจัดการประชุมในช่วงเดือนกันยายน - ตุลาคม ของทุกปีก่อนการประชุมสมัชชาสหประชาชาติ (United Nations General Assembly: UNGA) โดยในการประชุมประจำปี AALCO สมัยที่ 61 ณ เมืองบาหลี อินโดนีเซีย ที่ประชุมเห็นชอบให้ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมประจำปี ของ AALCO ในสมัยที่ 62 โดย กต. เสนอให้จัดการประชุมประจำปี สมัยที่ 62 ระหว่างวันที่ 8 - 13 กันยายน 2567 โดยไทยเคยเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมประจำปีของ AALCO มาแล้ว 2 สมัย ได้แก่ สมัยที่ 8 เมื่อปี 2509 และสมัยที่ 26 เมื่อปี 2530

ทั้งนี้ AALCO ครั้งที่ 62 จะมีผู้เข้าร่วมการประชุมเป็นผู้แทนระดับรัฐมนตรีหรือเทียบเท่าจากหน่วยงานที่รับผิดชอบด้านกฎหมายระหว่างประเทศของประเทศสมาชิก ผู้แทนประเทศและองค์การระหว่างประเทศ ผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมายระหว่างประเทศจากสาขาต่าง ๆ และผู้แทนจากหน่วยงานของประเทศไทย รวมทั้งสิ้นประมาณ 250 - 300 คน โดยประเด็นที่เป็นประโยชน์ต่อประเทศไทยที่จะหยิบยกขึ้นมาพิจารณา อาทิ เรื่องกฎหมายทะเล และกฎหมายการค้าและการลงทุนระหว่างประเทศ เป็นต้น

‘อาจารย์อุ๋ย’ ชี้!! ‘เมียนมาร์’ ใช้กำลังเกินกว่าเหตุ ยิงเรือประมงไทย ละเมิด!! หลักกฎหมายระหว่างประเทศ จี้!! รัฐบาลดำเนินการตอบโต้

(1 ธ.ค. 67) นายประพฤติ ฉัตรประภาชัย หรืออาจารย์อุ๋ย นักวิชาการด้านกฎหมายและอดีตผู้สมัคร สส. กรุงเทพมหานคร เขตบางกะปิ พรรคประชาธิปัตย์ ได้แสดงความเห็นผ่านเฟสบุ๊กว่า

กรณีที่เรือรบเมียนมายิงเรือประมงไทย 3 ลำ จนทำให้ลูกเรือบาดเจ็บ 2 คน เสียชีวิต 1 คน และจับกุมเรือประมงไทย 1 ลำพร้อมลูกเรือ 31 ไว้นั้น กฎบัตรสหประชาชาติ (UN Charter) มาตรา 51 ให้สิทธิแก่รัฐสมาชิกในการใช้กำลังป้องกันตนเองโดยใช้อาวุธ อย่างไรก็ตาม ไม่ว่าจะมีการรุกล้ำน่านน้ำหรือไม่ ด้วยหลักจารีตประเพณีและคำพิพากษาของศาลระหว่างประเทศว่าด้วยกฎหมายทะเล (International Tribunal for the Law of the Sea) ซึ่งได้เคยวางหลักไว้ในคดี SAINT VINCENT AND THE GRENADINES V. GUINEA ว่า การใช้กำลังอาวุธด้วยการยิงเข้าใส่เรือประมงจนเกิดการบาดเจ็บและเสียชีวิตของลูกเรือ ถือเป็นการกระทำที่เกินกว่าเหตุ และละเมิดหลักกฎหมายระหว่างประเทศ 

ทั้งนี้ ภายใต้หลักกฎหมายระหว่างประเทศ รัฐทุกรัฐจักต้องหลีกเลี่ยงการใช้กำลังอาวุธให้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ เมื่อทำการเข้าจับกุมเรือ แม้ว่าจะเป็นเรือที่ทำผิดกฎหมายก็ตาม เพราะการใช้กำลังอาวุธจะทำให้มีความเสี่ยงอย่างยิ่งที่จะทำให้คนของชาติอื่นต้องบาดเจ็บหรือเสียชีวิต และจะทำให้เกิดความบาดหมางต่อความสัมพันธ์ระหว่างประเทศโดยไม่จำเป็น ซึ่งวิธีที่ยึดถือปฏิบัติกันมาในทางระหว่างประเทศเมื่อพบเรือต่างชาติที่ต้องสงสัย คือการเตือนด้วยเสียงหรืออาณัติสัญญาณในรูปแบบที่เห็นได้ชัดให้เรือต้องสงสัยนั้นหยุด และหากเรือต้องสงสัยนั้นไม่ตอบสนองหรือไม่หยุด เจ้าหน้าที่จึงสามารถเข้าขึ้นเรือและใช้กำลังเข้าควบคุมความสงบเรียบร้อยได้ หรือหากเรือต้องสงสัยนั้นมีการใช้กำลังอาวุธยิงเข้าใส่ เจ้าหน้าที่จึงสามารถใช้อาวุธยิงตอบโต้ได้ หากปรากฎข้อเท็จจริงว่าเจ้าหน้าที่เมียนมายิงเข้าใส่เรือประมงไทยโดยไม่มีการเตือนหรือแจ้งล่วงหน้าให้หยุดเรือจึงเป็นการกระทำที่เกินกว่าเหตุและละเมิดกฎหมายระหว่างประเทศ

ซึ่งรัฐบาลไทยต้องเรียกร้องให้รัฐบาลเมียนมาเยียวยาความเสียหาย และปล่อยตัวลูกเรือที่ถูกจับโดยเร็ว มิเช่นนั้นจะต้องดำเนินมาตรการตอบโต้ (retortion/reprisal) เช่น ส่งทูตกลับประเทศ ปิดน่านน้ำ ปิดชายแดน จำกัดการนำเข้าสินค้า บอยคอตสินค้า ตัดความช่วยเหลือต่าง ๆ กับประเทศเมียนมา ฯลฯ ซึ่งเป็นการกระทำที่ทำได้ตามหลักกฎหมายระหว่างประเทศ ทั้งนี้เพื่อผดุงไว้ซึ่งศักดิ์ศรีของประเทศไทยและเรียกร้องความเป็นธรรมให้กับคนไทยที่ประสบเหตุ อย่างเต็มที่ ด้วยความปรารถนาดี 

‘อาจารย์อุ๋ย’ ชี้!! ‘เมียนมาร์’ ใช้กำลังเกินกว่าเหตุ ยิงเรือประมงไทย ละเมิด!! หลักกฎหมายระหว่างประเทศ จี้!! รัฐบาลดำเนินการตอบโต้

(1 ธ.ค. 67) นายประพฤติ ฉัตรประภาชัย หรืออาจารย์อุ๋ย นักวิชาการด้านกฎหมายและอดีตผู้สมัคร สส. กรุงเทพมหานคร เขตบางกะปิ พรรคประชาธิปัตย์ ได้แสดงความเห็นผ่านเฟสบุ๊กว่า

กรณีที่เรือรบเมียนมายิงเรือประมงไทย 3 ลำ จนทำให้ลูกเรือบาดเจ็บ 2 คน เสียชีวิต 1 คน และจับกุมเรือประมงไทย 1 ลำพร้อมลูกเรือ 31 ไว้นั้น กฎบัตรสหประชาชาติ (UN Charter) มาตรา 51 ให้สิทธิแก่รัฐสมาชิกในการใช้กำลังป้องกันตนเองโดยใช้อาวุธ อย่างไรก็ตาม ไม่ว่าจะมีการรุกล้ำน่านน้ำหรือไม่ ด้วยหลักจารีตประเพณีและคำพิพากษาของศาลระหว่างประเทศว่าด้วยกฎหมายทะเล (International Tribunal for the Law of the Sea) ซึ่งได้เคยวางหลักไว้ในคดี SAINT VINCENT AND THE GRENADINES V. GUINEA ว่า การใช้กำลังอาวุธด้วยการยิงเข้าใส่เรือประมงจนเกิดการบาดเจ็บและเสียชีวิตของลูกเรือ ถือเป็นการกระทำที่เกินกว่าเหตุ และละเมิดหลักกฎหมายระหว่างประเทศ 

ทั้งนี้ ภายใต้หลักกฎหมายระหว่างประเทศ รัฐทุกรัฐจักต้องหลีกเลี่ยงการใช้กำลังอาวุธให้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ เมื่อทำการเข้าจับกุมเรือ แม้ว่าจะเป็นเรือที่ทำผิดกฎหมายก็ตาม เพราะการใช้กำลังอาวุธจะทำให้มีความเสี่ยงอย่างยิ่งที่จะทำให้คนของชาติอื่นต้องบาดเจ็บหรือเสียชีวิต และจะทำให้เกิดความบาดหมางต่อความสัมพันธ์ระหว่างประเทศโดยไม่จำเป็น ซึ่งวิธีที่ยึดถือปฏิบัติกันมาในทางระหว่างประเทศเมื่อพบเรือต่างชาติที่ต้องสงสัย คือการเตือนด้วยเสียงหรืออาณัติสัญญาณในรูปแบบที่เห็นได้ชัดให้เรือต้องสงสัยนั้นหยุด และหากเรือต้องสงสัยนั้นไม่ตอบสนองหรือไม่หยุด เจ้าหน้าที่จึงสามารถเข้าขึ้นเรือและใช้กำลังเข้าควบคุมความสงบเรียบร้อยได้ หรือหากเรือต้องสงสัยนั้นมีการใช้กำลังอาวุธยิงเข้าใส่ เจ้าหน้าที่จึงสามารถใช้อาวุธยิงตอบโต้ได้ หากปรากฏข้อเท็จจริงว่าเจ้าหน้าที่เมียนมายิงเข้าใส่เรือประมงไทยโดยไม่มีการเตือนหรือแจ้งล่วงหน้าให้หยุดเรือจึงเป็นการกระทำที่เกินกว่าเหตุและละเมิดกฎหมายระหว่างประเทศ

ซึ่งรัฐบาลไทยต้องเรียกร้องให้รัฐบาลเมียนมาเยียวยาความเสียหาย และปล่อยตัวลูกเรือที่ถูกจับโดยเร็ว มิเช่นนั้นจะต้องดำเนินมาตรการตอบโต้ (retortion/reprisal) เช่น ส่งทูตกลับประเทศ ปิดน่านน้ำ ปิดชายแดน จำกัดการนำเข้าสินค้า บอยคอตสินค้า ตัดความช่วยเหลือต่าง ๆ กับประเทศเมียนมา ฯลฯ ซึ่งเป็นการกระทำที่ทำได้ตามหลักกฎหมายระหว่างประเทศ ทั้งนี้เพื่อผดุงไว้ซึ่งศักดิ์ศรีของประเทศไทยและเรียกร้องความเป็นธรรมให้กับคนไทยที่ประสบเหตุ อย่างเต็มที่ ด้วยความปรารถนาดี 

‘สถานทูตจีน’ ชี้แจง!! กรณีส่งตัวชาวจีน 40 คนกลับประเทศ ระบุ!! เป็นการบังคับใช้กฎหมายปกติ และสอดคล้องกับกฎหมายระหว่างประเทศ

(2 มี.ค. 68) สถานทูตจีนชี้แจงกรณีส่งตัวชาวจีนกลับประเทศ

• สถานทูตจีนประจำประเทศไทยได้ออกแถลงการณ์ชี้แจงกรณีที่ประเทศไทยส่งตัวชาวจีน 40 คนที่ลักลอบเข้าเมืองโดยผิดกฎหมายกลับประเทศจีน โดยระบุว่าการกระทำดังกล่าวเป็นการบังคับใช้กฎหมายปกติและสอดคล้องกับกฎหมายระหว่างประเทศ

• สถานทูตจีนปฏิเสธข้อกล่าวหาที่ว่าการส่งตัวกลับประเทศครั้งนี้เป็นการละเมิดกฎหมายระหว่างประเทศและอนุสัญญาที่เกี่ยวข้อง โดยยืนยันว่าผู้ที่ถูกส่งตัวกลับเป็นผู้ลักลอบเข้าเมือง ไม่ใช่ผู้ลี้ภัย และการกระทำนี้ได้รับความร่วมมือจากรัฐบาลไทย

• แถลงการณ์ยังตอบโต้ข้อกล่าวหาเรื่องการทรมานและละเมิดสิทธิมนุษยชนหลังจากถูกส่งตัวกลับประเทศจีน โดยยืนยันว่าจีนเป็นประเทศที่ปกครองด้วยกฎหมายและให้ความสำคัญกับการคุ้มครองสิทธิมนุษยชน  และมีกลไกการคุ้มครองสิทธิอย่างเข้มงวด

• สถานทูตจีนอธิบายถึงสถานการณ์ในซินเจียงว่ามีการก่อการร้ายและการแทรกแซงจากต่างประเทศในอดีต  แต่ปัจจุบันสถานการณ์ดีขึ้น  และการกล่าวหาเกี่ยวกับการละเมิดสิทธิมนุษยชนในซินเจียงเป็นการบิดเบือนข้อเท็จจริง

• รัฐบาลไทยได้ส่งเจ้าหน้าที่ไปเป็นสักขีพยานการเดินทางกลับประเทศจีนของชาวจีนกลุ่มนี้ และจีนยินดีที่จะเชิญเจ้าหน้าที่ไทยไปติดตามสถานการณ์ในอนาคตเพื่อยืนยันความปลอดภัยและความเป็นอยู่ของพวกเขา

• สถานทูตจีนเชิญชวนให้บุคคลจากทั่วโลกที่ไม่มีอคติเดินทางไปเยือนซินเจียงเพื่อสัมผัสกับความเป็นจริงด้วยตนเอง  และปฏิเสธข้อกล่าวหาจากต่างประเทศที่กล่าวหาว่าจีนละเมิดสิทธิมนุษยชนในซินเจียง

• ความคิดเห็นในโซเชียลมีเดียแสดงความคิดเห็นที่หลากหลาย  ทั้งเห็นด้วยและไม่เห็นด้วยกับการกระทำของรัฐบาลไทยและจีน  โดยมีการถกเถียงกันเกี่ยวกับประเด็นสิทธิมนุษยชนและการเมืองระหว่างประเทศ


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top