Thursday, 25 April 2024
PTT

ท่ามกลางวิกฤติราคาพลังงานที่แผ่ขยายไปทั้่วโลก หลากหลายมาตรการถูกงัดมาใช้รับมืออย่างเต็มที่ ประเทศไหนทำอะไรบ้าง ไปดูกัน

จากสถานการณ์ความขัดแย้งระหว่างรัสเซียและยูเครน ตลอดหลายเดือนที่ผ่านมา ทางสหภาพยุโรปได้ประกาศคว่ำบาตรรัสเซีย ขณะที่รัสเซียได้ตอบโต้โดยการไม่ส่งก๊าซธรรรมชาติและน้ำมันไปให้ในหลายประเทศยุโรป ส่งผลให้เกิดวิกฤติพลังงานในยุโรปและส่งผลกระทบไปทั่วโลกในขณะนี้ 

แม้กระทั่งประเทศในภูมิภาคเอเชีย ต่างก็เผชิญกับความท้าทายจากวิกฤติการณ์พลังงานครั้งร้ายแรงที่สุดในรอบหลายสิบปี ในบางประเทศราคาพลังงานพุ่งสูงเป็นประวัติการ รวมถึงขาดแคลนพลังงาน โดยเฉพาะน้ำมันอย่างหนัก ยกตัวอย่าง เช่น ศรีลังกา เป็นต้น

แน่นอนว่า วิกฤติราคาพลังงานที่พุ่งสูงขึ้น เป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ หลายๆ ประเทศ จึงมีมาตรการประหยัดพลังงานออกมาช่วยบรรเทาสถานการณ์ที่เกิดขึ้น

ไทย – รณรงค์ประหยัดพลังงานผ่านแนวทาง 4ป. 3ช.

สำหรับประเทศไทยเอง มีมาตรการด้านการประหยัดพลังงานออกมาอย่างต่อเนื่อง อาทิ การกำหนดมาตรฐานเครื่องใช้ไฟฟ้า เบอร์ 5 

ล่าสุด ภายใต้แคมเปญ 'ทราบแล้วเปลี่ยน' เป็นการรณรงค์ให้ทุกคนประหยัดพลังงาน ผ่านภาพยนตร์โฆษณาที่สื่อสารออกมาตรงๆ เลยว่า “ไม่ต้องประหยัดพลังงานเพื่อใคร ให้ประหยัดพลังงานเพื่อตนเอง” 

โดยแนะนำเคล็ดลับประหยัดพลังงานที่เรียกว่า 4 ป. 3 ช. ซึ่งเป็นการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้พลังงานที่ทุกคนสามารถทำตามได้ง่ายๆ แต่จะช่วยประหยัดพลังงานได้อย่างมหาศาล ดังนี้...

>> 4 ป. ได้แก่ ปิดไฟ ปรับแอร์ ปลดปลั๊ก เปลี่ยนเป็นเบอร์ 5 
>> และ 3 ช. ได้แก่ เช็กรถ ชัวร์เส้นทาง ใช้รถสาธารณะ

แคนาดา-จัดเก็บภาษีรถยนต์ที่ไม่ประหยัดพลังงาน

รัฐบาลแคนาดา ได้จัดทำข้อตกลงระหว่างรัฐต่าง ๆ ให้ออกมาตรการประหยัดพลังงานของอาคาร และอุปกรณ์พลังงานต่าง ๆ เพื่อสนับสนุนเป้าหมายการอนุรักษ์พลังงานของประเทศ 

ขณะที่ในภาคขนส่งได้ออกกฎหมาย (Green Lavy) เพื่อจัดเก็บภาษีรถยนต์ที่ไม่ประหยัดพลังงาน เช่น รถประเภท Station Wagons รถเอสยูวี เป็นต้น โดยการคำนวณภาษีจะขึ้นอยู่กับอัตราสิ้นเปลืองน้ำมันของรถดังกล่าว

ฝรั่งเศส-ห้ามเปิดไฟป้ายโฆษณาช่วงตี 1 ถึง 6 โมงเช้า

เนื่องจากฝรั่งเศสพึ่งพาก๊าซจากรัสเซียถึง 1 ใน 5 ดังนั้นเมื่อช่วงกลางเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา รัฐบาลได้ประกาศแผนพลังงาน energy sobriety โดยอยู่ระหว่างการดำเนินการร่างแผนงานที่เกี่ยวข้องเพื่อผลักดันให้เกิดมาตรการประหยัดพลังงานในฝรั่งเศส โดยตั้งเป้าหมายลดการใช้พลังงานลงร้อยละ 10 เมื่อเทียบกับปี 2019 ภายในปี 2024

นอกจากนี้ รัฐบาลยังออกมาตรการประหยัดพลังงานโดยให้ห้างร้านต่างๆ ร่วมมือกันปิดประตูเข้าออก ในขณะเปิดเครื่องปรับอากาศและเครื่องทำความร้อน และห้ามเปิดใช้ป้ายโฆษณาที่ใช้ไฟส่องสว่างในทุกเมืองระหว่างช่วงเวลา 1.00 น. ถึง 6.00 น. ซึ่งเป็นมาตรการที่บังคับใช้กับเมืองที่มีประชากรน้อยกว่า 800,000 คน 

เยอรมนี-อาคารสาธารณะ ห้ามเปิดฮีตเตอร์เกิน 19 องศา

ภายหลังสหภาพยุโรปคว่ำบาตรรัสเซีย ทำให้เยอรมนีปรับลดการนำเข้าก๊าซจากรัสเซียลงเหลือเพียง 35% จากเดิมที่พึ่งพาการนำเข้ามากถึง 55% พร้อมทั้งให้คำมั่นว่าจะยุติการนำเข้าทั้งหมด แน่นอนว่า ย่อมส่งผลกระทบต่อพลังงานภายในประเทศอย่างหนัก และรัฐบาลได้ออกมาตรการประหยัดพลังงานสำหรับช่วงฤดูหนาว โดยจะจำกัดการใช้ไฟฟ้าภายในอาคารสาธารณะและอาคารสำนักงานต่างๆ ให้ปิดเครื่องทำความร้อนในห้องที่ไม่คนใช้งาน 

และนับตั้งแต่เดือนกันยายนเป็นต้นไป อาคารสาธารณะนอกเหนือจากโรงพยาบาล จะต้องจำกัดอุณหภูมิเครื่องทำความร้อนอยู่ที่ 19 องศาเซลเซียส

สเปน-แนะเอกชนเลิกผูกเนกไทไปทำงาน ช่วยประหยัดพลังงาน 

นายเปโดร ซานเชซ นายกรัฐมนตรีของประเทศสเปน เรียกร้องให้รัฐมนตรี เจ้าหน้าที่ของรัฐ และพนักงานบริษัทเอกชนเลิกผูกเนกไทไปทำงานเพื่อช่วยประหยัดพลังงาน รวมถึงการรณรงค์ให้บริษัทต่าง ๆ ปิดประตูเพื่อกันความร้อนจากอากาศด้านนอกเข้ามาภายในอาคาร ช่วยลดการทำงานของเครื่องปรับอากาศ

อินเดีย-สิ่งปลูกสร้างใหม่ ต้องเป็นไปตามข้อกำหนดด้านประสิทธิภาพการใช้พลังงาน
.
รัฐบาลอินเดีย ได้ออกมาตรการสำหรับการปลูกสร้างอาคารที่พักอาศัยใหม่ โดยจะกำหนดให้ อาคารที่พักอาศัยปฏิบัติตามข้อกำหนดด้านประสิทธิภาพการใช้พลังงาน ซึ่งคาดว่าจะประหยัดไฟฟฟ้าได้ราว 120,000 ล้านรูปี ภายในยปี 2573 เพื่อลดการผลิตไฟฟ้า 3 แสนล้านหน่วย

INFLUENCER TRIP BY PTT ก้าวผ่าน…สู่อนาคต

#บทพิสูจน์ความตั้งใจในการขยายระบบนิเวศEV
#ขับเคลื่อนทุกวิถีชีวิตด้วยพลังงานแห่งอนาคต

ถือเป็นอีกภารกิจใหญ่ของ ปตท. ในการเป็นอีกส่วนสำคัญเพื่อช่วยขับเคลื่อนประเทศ ด้วยการก้าวสู่เส้นทางธุรกิจแห่งอนาคตอย่าง ธุรกิจด้านพลังงานทางเลือกใหม่ เพื่อแก้ปัญหามลภาวะ และให้ความสำคัญกับการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero GHG Emissions) โดยล่าสุดได้มีการตอกย้ำความชัดเจนนี้อีกครั้ง ผ่านงาน INFLUENCER TRIP BY PTT ก้าวผ่าน…สู่อนาคต ที่จัดขึ้นเมื่อวันที่ 26 ตุลาคม 2565 ณ ปตท. สำนักงานใหญ่ ซึ่งงานนี้พร้อมเพรียงไปด้วยเหล่าบรรดา INFLUENCER มากมาย พร้อมบรรดาสื่อหลากแขนง ที่มารวมตัวพบปะภายในงาน เพื่อพูดคุยและนำพาสังคมไทยก้าวผ่านไปสู่อนาคตอันยิ่งใหญ่

ทั้งนี้ ในช่วงที่ผ่านมา กลุ่ม ปตท. ให้ความสำคัญกับการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero GHG Emissions) อย่างมาก จึงเน้นให้มีการดำเนินธุรกิจด้วยการบริหารจัดการอย่างยั่งยืน ตามเทรนด์หลักที่สำคัญของโลก 2 ด้าน คือ Go Green และ Go Electic ภายใต้วิสัยทัศน์ 'Poweiing Life with Future Energy and Beyond ขับเคลื่อนทุกชีวิตด้วยพลังแห่งอนาคต' 

โดยมุ่งสู่ธุรกิจพลังงานหมุนเวียน ไฟฟ้าและยานยนต์ไฟฟ้าครบวงจร รวมถึงต่อยอดนวัตกรรมและแสวงหาโอกาสทางธุรกิจใหม่ที่ไกลกว่าพลังงาน เพื่อสร้างประโยชน์สูงสุดต่อการพัฒนาเศรษฐกิจ และคุณภาพชีวิตของประชาชน

ทั้งนี้ หากหันมามองด้านธุรกิจยานยนต์ไฟฟ้าที่กำลังได้รับความสนใจในระดับสากลนั้น กลุ่ม ปตท. เล็งเห็นแนวโน้มการใช้งานที่ขยายตัวเพิ่มมากขึ้นทั้งในประเทศและภูมิภาค จึงมุ่งวางรากฐานขยายธุรกิจยานยนต์ไฟฟ้าครบวงจร (EV Value Chain) ให้ครอบคลุมในทุกมิติ เพื่อสร้างระบบนิเวศยานยนต์ไฟฟ้าที่สมบูรณ์ให้กับประเทศไทย รวมไปถึงโครงสร้างพื้นฐาน และการให้บริการแบบครบวงจรของยานยนต์ไฟฟ้า สนับสนุนให้คนไทยใช้พลังงานสะอาด เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมเพื่อขับเคลื่อนประเทศไทยสู่สังคมคาร์บอนต่ำ (Low Carbon Society) บรรลุเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) ในปี 2050 และการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero GHG Emissions) ในปี 2065

นั่นจึงทำให้ ปตท. จัดตั้ง บริษัท อรุณ พลัส จำกัด (ARUN PLUS) ขึ้น เพื่อรองรับการขยายฐานธุรกิจยานยนต์ไฟฟ้า และเป็นแกนหลักในการขับเคลื่อนการพัฒนา EV Ecosystem ทั้งของ ปตท. และของประเทศไทยให้ครบวงจร อีกทั้งทำหน้าที่ประสานการลงทุนกับบริษัทในกลุ่ม ปตท. ตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงปลายน้ำ รวมถึงร่วมลงทุนกับพันธมิตรชั้นนำทั้งในและต่างประเทศ อันจะช่วยสนับสนุนให้เกิดการใช้ EV อย่างแพร่หลายในประเทศไทย พร้อมทั้งขับเคลื่อนไทยให้เป็นฐานการผลิต EV

ขณะที่ บริษัท ฮอริษอน พลัส จำกัด (HORIZON PLUS) บริษัทร่วมทุนระหว่าง อรุณ พลัส และ บริษัท หลินยิ่ง อินเตอร์เนชั่นแนล อินเวสเมนท์ (Foxconn Technology Group) ที่ได้มีการจดทะเบียนก่อตั้งบริษัท JV ARUN PLUS ถือหุ้น 60% Foxconn 40% เกิดขึ้นเพื่อดำเนินธุรกิจผลิตและประกอบรถยนต์ครบวงจรรูปแบบใหม่ด้วยเทคโนโลยี MIH Platform หรือ Open EV Platforn ซึ่งเป็นโครงช่วงล่างของตัวรถยนต์ไฟฟ้าที่มีความยืดหยุ่นสูง สามารถปรับแต่งให้เข้ากับรถยนต์ได้หลายประเภท สามารถช่วยแบรนด์รถยนต์ลดค่าใช้จ่าย, ลดระยะเวลาในการพัฒนา และผลิตรถยนต์แต่ละรุ่นออกมาในราคาที่จับต้องได้ ซึ่งโรงงานผลิตรถยนต์ไฟฟ้าของ HORIZON PLUS นี้ จะตั้งบนพื้นที่ 313 ไร่ ในสวนอุตสาหกรรมโรจนะ อำเภอหนองใหญ่ จังหวัด ชลบุรี เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) (คาดว่าแล้วเสร็จในปี 2024) เฟสแรกจะดำเนินการด้วยงบลงทุนประมาณ 1,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ สำหรับการก่อสร้างโรงงานคาดว่าจะแล้วเสร็จพร้อมผลิต EV สู่ตลาดภายในปี 2567 ในระยะแรกมีกำลังการผลิตที่ 50,000 คัน/ 

ต่อมากับ 'ออน-ไอออน' (on-ion) ผู้ให้บริการธุรกิจสถานีอัดประจุสำหรับยานยนต์ไฟฟ้า (EV Charging Station) ภายใต้ บริษัท อรุณ พลัส จำกัด โดยมุ่งขยายเครือข่ายไปยังพื้นที่ทำเลศักยภาพ อาทิ ศูนย์การค้า, โรงแรม, อาคารสำนักงาน, ร้านอาหาร เป็นต้น และจะให้บริการครอบคลุมทั่วประเทศ เพื่อรองรับการเติบโตของตลาดยานยนต์ไฟฟ้า ด้วยเครื่องอัดประจุไฟฟ้าชนิดกระแสสลับ (AC Charger) รองรับรถยนต์ปลั๊ก- อิน ไฮบริด (Plug in Hybrid) และรถยนต์พลังงานไฟฟ้าแบบแบตเตอรี่ (BEV Battery Electic Vehicle) ทุกรุ่น ทุกแบรนด์ที่มีหัวชาร์จ Type 2 โดยใช้งานผ่าน on-ion Mobile Application รองรับทั้งระบบ Android และ IOS ในการค้นหาสถานี ซึ่งปัจจุบัน on ion EV Charging Station เปิดให้บริการอย่างเป็นทางการแล้วที่...

ปตท. ผนึก ไออาร์พีซี ร่วมพัฒนาธุรกิจ Advanced Business Integration เสริมแกร่งธุรกิจใหม่ที่ไปไกลกว่าพลังงาน

ปตท. ผนึก ไออาร์พีซี ดันการลงทุนและพัฒนาธุรกิจ Advanced Business Integration มุ่งเพิ่มสัดส่วนรายได้ธุรกิจใหม่

เมื่อวันที่ (7 พ.ย. 65) นายนพดล ปิ่นสุภา ประธานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการกลุ่มธุรกิจปิโตรเลียมขั้นปลาย บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) (ยืนกลาง) เป็นประธานในพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือเพื่อศึกษาการลงทุนตามกลยุทธ์ Advanced Business Integration (ABI) ระหว่าง บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) และ บริษัท ไออาร์พีซี จำกัด (มหาชน) โดยนายประสงค์ อินทรหนองไผ่ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่บริหารกลยุทธ์กลุ่มธุรกิจปิโตรเลียมขั้นปลาย บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) (ที่ 2 จากซ้าย) และนายกฤษณ์ อิ่มแสง ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ไออาร์พีซี จำกัด (มหาชน) (ที่ 2 จากขวา) พร้อมด้วย นายจตุรงค์ วรวิทย์สุรวัฒนา ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่แผนกลุ่มธุรกิจปิโตรเลียมขั้นปลาย บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) (ซ้าย) และนายสมเกียรติ เลิศฤทธิ์ภูวดล รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายกลยุทธ์องค์กร บริษัท ไออาร์พีซี จำกัด (มหาชน) (ขวา) ร่วมเป็นสักขีพยาน

ตกผลึกภาษี หน้าที่ของคนไทยทุกคนที่ควรต้องจ่าย ยกเว้นบางชนิด ไม่ใช่ทุกคนที่ต้องแจม

เมื่อพูดถึง ‘ภาษี’ คนจำนวนหนึ่งอาจรู้สึกว่าเป็น ‘ภาระ’ แต่ในอีกมุมหนึ่ง ภาษีนั้นคือ ‘หน้าที่’ ที่คนในสังคมทุกคนจะต้องร่วมกันรับผิดชอบมาก-น้อยแตกต่างกันไป ซึ่งความแตกต่างตรงนี้เองที่ควรจะทำความเข้าใจว่า ใครและคนกลุ่มไหนในสังคมจะต้องเสียภาษีตัวไหน ประเภทไหน เพราะภาษีนั้นมีหลากหลายและไม่ใช่ทุกคนที่จะต้องจ่ายทุกชนิด

โดยก่อนจะเข้าใจถึงภาษีประเภทต่างๆ เราอาจจะต้องไปทำความรู้จักกับหน่วยงานภาครัฐที่ทำหน้าที่เกี่ยวข้องกับการจัดเก็บภาษีเสียก่อน โดยหลักๆ แล้วจะมีอยู่ 4 หน่วยงาน คือ 1. กรมสรรพากร 2. กรมสรรพสามิต 3. กรมศุลกากร และ 4. องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) เช่น องค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) หรือ สำนักงานเขต

เมื่อทำความรู้จักกับหน่วยงานภาครัฐที่ทำหน้าที่จัดเก็บภาษีแล้ว ก็จะทำให้เราพอจะเห็นภาพคร่าวๆ ถึงประเภทของภาษีชนิดต่างๆ ได้ โดยทั้ง 4 หน่วยงานนั้นจัดเก็บภาษีแตกต่างกันไป กล่าวคือ...

กรมสรรพากรจัดเก็บภาษีอากรจากรายได้และการสร้างผลประโยชน์ต่างๆ ของประชากรในประเทศ โดยจะดำเนินการจัดเก็บภาษี 5 ประเภท คือ 1. ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา (Personal Income Tax ; PIT) 2. ภาษีเงินได้นิติบุคคล (Corporate Income Tax; CIT) 3. ภาษีมูลค่าเพิ่ม (Value Added Tax ; VAT) 4. ภาษีธุรกิจเฉพาะ (Specific Business Tax ; SBT) และ 5. อากรแสตมป์ (Stamp Duty ; SD)

โดยในกลุ่มภาษีอากรทั้ง 5 ประเภทนี้ เราจะเห็นมีเพียง 2 ประเภทที่เกี่ยวข้องกับประชาชนทั่วไปโดยตรง นั่นคือ ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ซึ่งจัดเก็บกับบุคคลที่ประกอบอาชีพและทำงานต่างๆ ที่มีรายได้ และ ภาษีมูลค่าเพิ่ม ซึ่งจัดเก็บกับการบริโภคสินค้าต่างๆ เมื่อมีการซื้อ-ขายปลีกและซื้อ-ขายส่ง

ในขณะที่ภาษีอากรชนิดอื่นๆ นั้นก็เป็นภาษีที่ประชาชนหรือบุคคลทั่วไปไม่ได้มีหน้าที่จะต้องเสีย อย่างภาษีเงินได้นิติบุคคล ก็จะต้องเป็นนิติบุคคล (เช่น ห้างหุ้นส่วน หรือ บริษัทจำกัด) ถึงจะมีหน้าที่เสียภาษีประเภทนี้ หรืออย่างกรณีของภาษีธุรกิจเฉพาะนั้นก็ระบุเจาะจงลงไปอีกว่าเป็นธุรกิจต่อไปนี้เท่านั้นที่จะต้องเสียภาษีประเภทนี้ คือ การธนาคาร, การประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ ธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ (Credit Foncier), การรับประกันชีวิต, การรับจำนำ, การประกอบกิจการโดยปกติเยี่ยงธนาคารพาณิชย์, หรือ การขายอสังหาริมทรัพย์เป็นการค้าหรือหากำไร หรืออากรแสตมป์นั้นก็เป็นการจัดเก็บต่อธุรกรรมเฉพาะกรณีไป โดยมี 28 ลักษณะ เช่น ตราสารเช่าที่กับโรงเรือน เช่าซื้อทรัพย์สิน จ้างทำของ กู้ยืมเงิน เป็นต้น

ตอบคำถามอายุของรถ EV สั้นกว่ารถทั่วไปจริงหรือ?

ในยุคปัจจุบัน รถยนต์ไฟฟ้า หรือ EV (Electric Vehicle) นั้น ถือเป็นเทคโนโลยีที่สำคัญอย่างหนึ่งซึ่งถูกพูดถึงอย่างกว้างขวางทั่วโลก ตั้งแต่ในระดับของผู้คนทั่วไป แวดวงธุรกิจต่างๆ วงการวิชาการ ไปจนถึงระดับนโยบายภาครัฐ รวมถึงระหว่างประเทศด้วย นั่นเพราะการตระหนักถึงความสำคัญของประเด็นด้านสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะปัญหาเรื่องพลังงานที่มีอยู่จำกัด หรือที่เรียกว่า Non-Renewable Energy ซึ่งก็คือพลังงานน้ำมัน ที่วันหนึ่งจะหมดไปนั้น ทำให้ผู้คนหลากหลายฝ่ายทั่วโลกพยายามที่จะคิดหาทางออกจากปัญหาการขาดแคลนพลังงานที่จะมาถึงนี้

ความคิดในการผันตัวออกจากการพึ่งพาพลังงานน้ำมันไปสู่พลังงานที่สะอาดและยั่งยืนกว่า จึงนำไปสู่การพูดคุยถึงรถยนต์พลังงานไฟฟ้า เพื่อใช้ทดแทนรถยนต์ทั่วไปที่ใช้น้ำมันเป็นเชื้อเพลิง ซึ่งท้ายที่สุด การพูดคุยในเรื่องนี้ได้ทำให้เกิดการพัฒนาเทคโนโลยีต่าง ๆ จนทุกวันนี้เราสามารถเห็นรถ EV วิ่งอยู่บนท้องถนนได้มากขึ้นเรื่อย ๆ

อย่างไรก็ตาม ในมุมมองของผู้คนทั่วไปที่มีสถานะเป็นผู้บริโภค การเปลี่ยนมาใช้รถ EV นั้นถือว่ามีอุปสรรคอยู่พอสมควร นั่นเพราะความไม่แน่ใจในเรื่องความคุ้มค่าและอายุการใช้งาน ซึ่งส่วนหนึ่งมาจากภาพจำที่เห็นว่าเครื่องใช้ไฟฟ้าทั่วไปนั้นมีอายุสั้น โดยเฉพาะในประเด็นเรื่องแบตเตอรี่ ที่ในกรณีของรถยนต์ทั่วไปนั้นจะต้องมีการเปลี่ยนแบตเตอรี่อยู่ตลอด ๆ จึงอาจทำให้หลายคนมีความคิดว่ารถยนต์ไฟฟ้าหรือ EV นั้นจะมีอายุการใช้งานที่สั้น เช่นเดียวกับเครื่องใช้ไฟฟ้าปกติอื่น ๆ วันนี้ จึงอยากชวนมาเข้าใจถึงข้อเท็จจริงในเรื่องนี้กัน

ก่อนอื่นคงต้องทำความเข้าใจว่ารถยนต์หรือยานยนต์ไฟฟ้า (EV) นั้นถือเป็นเทคโนโลยีใหม่ที่เพิ่งได้รับการพัฒนาขึ้นมาในช่วงไม่กี่สิบปีให้หลังนี้ ในขณะที่รถยนต์เครื่องยนต์สันดาปที่ใช้น้ำมันเชื้อเพลิงนั้น เป็นเทคโนโลยีที่มีการพัฒนาขึ้นมาอย่างยาวนานมากกว่าร้อยปี อีกทั้งยังมีการปรับปรุงพัฒนาขีดความสามารถต่างๆ ให้ดีขึ้นอยู่ตลอดๆ เรียกได้ว่าทุกวันนี้เครื่องยนต์สันดาปมีการพัฒนาจนเกือบจะสมบูรณ์แบบแล้ว ในขณะที่เทคโนโลยี EV นั้นยังคงอยู่ในช่วงแรกเริ่มเท่านั้น

อย่างไรก็ตามการพัฒนาขีดความสามารถของ EV นั้นก็เกิดขึ้นอยู่ตลอดๆ จนปัจจุบันนั้นมีการทดลอง ทดสอบ และตรวจสอบ จนสามารถผลิตและนำรถยนต์และยานยนต์ไฟฟ้ามาใช้ได้จริง และเพื่อให้สามารถแข่งขันได้กับรถยนต์ทั่วไป ที่ใช้เครื่องยนต์สันดาปและน้ำมันเชื้อเพลิงนั้น รถ EV จึงมีความจำเป็นที่จะพัฒนาองค์ประกอบต่างๆ ให้ทัดเทียมได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งคือเรื่องของอายุการใช้งานของแบตเตอรี่ ซึ่งเป็นองค์ประกอบหลักที่สำคัญของ EV 

สถาบันทดลองพลังงานหมุนเวียนแห่งชาติ (National Renewable Energy Laboratory; NREL) ของกระทรวงพลังงาน ประเทศสหรัฐอเมริกา ได้ทำการวิจัยและสรุปเป็นข้อเสนอแนะถึงผู้ผลิต EV ว่า “เพื่อแข่งขันกับรถยนต์ธรรมดา รถยนต์ที่ขับเคลื่อนด้วยไฟฟ้า (Electric-Driven Vehicles; EDVs) และแบตเตอรี่ของ [รถนั้น] จะต้องมีสมรรถนะใช้งานได้ 10 ถึง 15 ปี ในสภาพอากาศและในวัฏจักรการใช้ที่แตกต่างออกไป” [1]

โดยอีกหนึ่งมาตรฐานที่ทางผู้ผลิต EV ต้องยึดถือ โดยเฉพาะผู้ผลิตสัญชาติอเมริกา นั่นก็คือ การรับประกันแบตเตอรี่ ซึ่งเป็นผลมาจากกฎหมายของรัฐบาลกลางของประเทศสหรัฐอเมริกาที่ กำหนดให้แบตเตอรี่ของรถ EV จะต้องได้รับการรับประกันคุณภาพให้มีอายุการใช้งานอยู่ที่ 8-10 ปี หรือเทียบเท่าระยะทาง 100,000-150,000 ไมล์ (ประมาณ 160,000-240,000 กิโลเมตร) [2] ซึ่งแม้ประเทศอื่นอาจจะไม่ได้มีการออกกฎหมายเช่นเดียวกันนี้ แต่ผลของกฎหมายนี้ก็จะเป็นตัวกำหนดมาตรฐานของผู้ผลิตอื่นๆ ด้วยเช่นกัน

หากจะยกตัวอย่างผู้ผลิตที่ถือเป็นหนึ่งในผู้นำเจ้าสำคัญของเทคโนโลยี EV นั่นก็คือ เทสลามอเตอร์ส (Tesla Motors) ซึ่งในปีค.ศ. 2019 อีลอน มัสก์ (Elon Musk) ได้ออกมาให้ข้อมูลว่าแบตเตอรี่ของรถ Tesla Model 3 นั้นสามารถรองรับการใช้งานได้ถึง 300,000-500,000 ไมล์ (ประมาณ 482,000-804,000 กิโลเมตร) เลยทีเดียว [3] ซึ่งเมื่อคำนวณด้วยตัวเลขการใช้รถทั่วไปของชาวอเมริกันจากกระทรวงคมนาคมนั้นเท่ากับ 22-37 ปี [4] อย่างไรก็ตามผู้เชี่ยวชาญกล่าวว่าตัวเลขที่ผู้ผลิตโฆษณาโดยมากแล้วจะต้องจะมีความเกินจริงอยู่ โดยตัวเลขจริงๆ นั้นจะอยู่ที่ 30-37 เปอร์เซ็นต์ [5] อายุการใช้งานของแบตเตอรี่รถ Tesla Model 3 จึงน่าจะอยู่ที่ราว 15-25 ปี

ตัวอย่างของเทสลานั้นถือเป็นกรณีที่ดีที่สุด แต่อย่างไรก็ดี ตามมาตรฐานของฝั่งผู้ผลิตที่ได้กล่าวไปนั้น เราอาจจะอุ่นใจได้ว่าโดยทั่วไปแล้ว รถยนต์ไฟฟ้า หรือ EV นั้นจะมีอายุใช้งานอย่างต่ำคือ 10 ปีโดยประมาณ ซึ่งแน่นอนว่าในความเป็นจริงตัวเลขก็อาจจะมีความแตกต่างไปจากนี้ได้ จากปัจจัยต่างๆ ของผู้ใช้เอง โดย 3 ปัจจัยหลักที่ส่งผลกับอายุการใช้งานของแบตเตอรี่รถ EV นั้นก็คือ ความร้อน พฤติกรรมการชาร์จ และพฤติกรรมการใช้งาน ซึ่งทั้งสามปัจจัยนี้นั้นมีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กัน อย่างความร้อนก็อาจเกิดจากการใช้งานที่หนักเกินไป หรือการชาร์จที่ปล่อยให้แบตเตอรี่หมดบ่อยครั้ง (deep discharges) หรือรวมทั้งการเลี้ยงให้เต็มอยู่ตลอดเวลาเกินไป (Overcharging) [6] อย่างไรก็ตามสิ่งเหล่านี้นั้นสามารถเรียนรู้ให้ไม่เกิดผลเสียได้หากผู้ใช้ทำความเข้าใจและปรับพฤติกรรมให้ถูกต้อง

เปิดบ้านต้อนรับนวัตกรรุ่นใหม่ โครงการ สานพลัง x PTT Group Young Socialpreneur Hackathon

สานพลัง ร่วมกับ กลุ่ม ปตท. เปิดบ้านต้อนรับคนรุ่นใหม่หัวใจพัฒนาธุรกิจเพื่อสังคม ในงาน Open House โครงการสานพลัง x PTT Group Young Socialpreneur Hackathon ร่วมเปิดมุมมองพร้อมรับแรงบันดาลใจการทำธุรกิจเพื่อสังคม พร้อมชวนปล่อยไอเดียนวัตกรรมทางธุรกิจ ชิงรางวัลรวมมูลค่ากว่า 540,000 บาท ขยายเวลารับสมัครถึง 2 มิ.ย. ศกนี้

วันนี้ (20 พ.ค. 2566) - บริษัท สานพลัง วิสาหกิจเพื่อสังคม จำกัด ร่วมกับ กลุ่ม ปตท. จัดงาน Open House โครงการ สานพลัง x PTT Group Young Socialpreneur Hackathon เปิดบ้านต้อนรับนวัตกรรมรุ่นใหม่ ที่สนใจการพัฒนาธุรกิจเพื่อสังคม ร่วมรับฟังรายละเอียดโครงการ โดยได้รับเกียรติจาก ดร. บุรณิน รัตนสมบัติ ประธานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการกลุ่มธุรกิจใหม่และโครงสร้างพื้นฐาน บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) (ปตท.) และ นายวรพงษ์ นาคฉัตรีย์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่บริหารความยั่งยืน ปตท. ในฐานะประธานบริษัท สานพลัง วิสาหกิจเพื่อสังคม จำกัด ร่วมแสดงวิสัยทัศน์และเปิดมุมมองทิศทางของนวัตกรรมเพื่อสังคม ณ อาคารสำนักงานใหญ่ ปตท. 

ดร.บุรณิน รัตนสมบัติ ประธานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการกลุ่มธุรกิจใหม่และโครงสร้างพื้นฐาน ปตท. เผยถึงวิสัยทัศน์และนโยบายการทำงานของกลุ่ม ปตท. ด้านสังคมและความยั่งยืนว่า กลุ่ม ปตท. ตระหนักและเห็นถึงความสำคัญของการพัฒนาประเทศ โดยหนึ่งในการสนับสนุนคือการจัดทำวิสาหกิจเพื่อสังคม (Social Enterprise) เพื่อสร้างรายได้ให้ชุมชนควบคู่ไปกับการแก้ไขปัญหาและยกระดับความเป็นอยู่ของสังคมอย่างยั่งยืน ซึ่ง “โครงการสานพลัง x PTT Group Young Socialpreneur Hackathon” เป็นอีกหนึ่งโครงการภายใต้วิสัยทัศน์ของ ปตท. และบริษัทในกลุ่มที่ผนึกกำลังกับบริษัท สานพลัง วิสาหกิจเพื่อสังคม จำกัด เฟ้นหาไอเดียนวัตกรรมจากนวัตกรรุ่นใหม่ที่เต็มไปด้วยความคิดเเละพลังในการสร้างสรรค์มาช่วยแก้ปัญหาสังคม ชุมชน และสิ่งแวดล้อม

ด้าน นายวรพงษ์ นาคฉัตรีย์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่บริหารความยั่งยืน ปตท. ในฐานะ ประธานบริษัท สานพลัง วิสาหกิจเพื่อสังคม จำกัด กล่าวว่า “สานพลัง” จัดตั้งขึ้นโดยเล็งเห็นจุดแข็งของธุรกิจกลุ่ม ปตท. ในการสร้างวิสาหกิจเพื่อสังคมต้นเเบบ โดยมีโครงการที่เกิดขึ้นภายใต้การดำเนินงานผ่านทางสานพลัง เช่น โครงการ Cafe' Amazon for Chance สร้างอาชีพมอบโอกาสแก่กลุ่มผู้ด้อยโอกาส โครงการ Community Coffee Sourcing ช่วยเกษตรกรชาวเขาที่ทำไร่กาแฟ มีช่องทางในการจำหน่ายเมล็ดกาแฟที่แน่นอนผ่านร้าน Cafe' Amazon โครงการ Upcycling SE จัดการขยะพลาสติกครบวงจร รีไซเคิลสู่สินค้าแฟชั่นและของใช้ประจำวัน โครงการชุมชนยิ้มได้ ยกระดับสินค้าชุมชนให้ทันสมัย ตอบโจทย์ความต้องการของตลาดเพิ่มรายได้ให้วิสาหกิจชุมชน และโครงการ SE Solar Energy Business นำร่องที่ตลาดหัวปลี จ.สระบุรี จับมือชุมชนเปลี่ยนแหล่งที่มาของพลังงานที่ใช้มาเป็นพลังงานสะอาด เป็นต้น

ซึ่งในวันนี้สานพลังได้มองเห็นความสำคัญของการนำนวัตกรรมเข้ามาใช้ตอบโจทย์การพัฒนาเพื่อความยั่งยืน และสามารถขยายผลการแก้ปัญหาในวงกว้าง จึงได้ผนึกกำลังกับกลุ่ม ปตท. ในโครงการสานพลัง x PTT Group Young Socialpreneur Hackathon เพื่อคัดเลือกสุดยอดไอเดียที่จะสามารถเป็นต้นแบบธุรกิจที่แก้ไขปัญหาสังคมได้ โดยจะสนับสนุนและช่วยปั้นไอเดียธุรกิจเพื่อสังคมร่วมกับไรส์ (RISE) สถาบันเร่งสปีดนวัตกรรมองค์กร โดยใช้จุดแข็งของกลุ่ม ปตท. ในการสร้างโซลูชันใน 4 โจทย์หลัก ได้แก่ การพัฒนาเมืองยั่งยืน การมีสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี การพัฒนาเศรษฐกิจท้องถิ่น และการพัฒนาสิ่งแวดล้อม

นอกจากนี้ ผู้เข้าร่วมงานยังได้รับฟังเสวนาในหัวข้อ Powering Life with Social Innovations จากผู้นำรุ่นใหม่ที่มีบทบาทโดดเด่นด้านการพัฒนาสังคม ได้แก่ ด้านการพัฒนาเมืองจาก คุณวริทธิ์ธร สุขสบาย ผู้ร่วมก่อตั้ง Mayday ด้านสิ่งแวดล้อมจาก คุณสุภัชญา เตชะชูเชิด ผู้ร่วมก่อตั้ง Refill Station ด้านสุขภาพและความเป็นอยู่ จาก คุณชาคิต พรหมยศ ผู้ร่วมก่อตั้งและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร YoungHappy  และด้านเศรษฐกิจท้องถิ่นจาก คุณภัทรารัตน์ ตั้งนิสัยตรง ผู้ร่วมก่อตั้งและผู้อำนวยการโครงการ Roots Incubation Program ดำเนินรายการโดย คุณทลปภร ปัญโยรินทร์ ผู้จัดการทั่วไป Social Enterprise Thailand Association  

สำหรับผู้เข้าร่วมโครงการ สานพลัง x PTT Group Young Socialpreneur Hackathon จะมีโอกาสเวิร์กชอปการพัฒนานวัตกรรมเพื่อสังคมในเชิงธุรกิจ โดยมีผู้เชี่ยวชาญจากบริษัทในกลุ่ม ปตท. และองค์กรพันธมิตรชั้นนำระดับประเทศ ร่วมกับไรส์ มาเป็นที่ปรึกษาอย่างใกล้ชิดตลอดโครงการ ซึ่งหากได้รับคัดเลือกเป็น 4 ทีมสุดท้าย จะมีโอกาสได้รับเงินรางวัลและเงินทุนตั้งต้นในการร่วมกระบวนการทดสอบไอเดียธุรกิจ Proof of Concept (POC) กับบริษัทในกลุ่ม ปตท. รวมมูลค่ากว่า 540,000 บาท เพื่อพัฒนาไอเดียให้สามารถออกสู่ตลาดพร้อมแก้ไขปัญหาสังคม ชุมชน และสิ่งแวดล้อมได้จริง โครงการฯ เปิดรับสมัคร ตั้งแต่วันนี้ - 2 มิถุนายน 2566
 

ปตท. ส่ง on-ion เดินหน้าขยายสถานีชาร์จ EV ผนึก SC เจาะกลุ่มที่อยู่อาศัย ตั้งเป้า 400 หัวจ่ายในปี 66

(15 ส.ค. 66) นายเชิดชัย บุญชูช่วย รองกรรมการผู้จัดการใหญ่นวัตกรรมและธุรกิจใหม่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) (ปตท.) พร้อมด้วย นายโทรณ หงศ์ลดารมภ์ Head of EV Charger Business บริษัท อรุณ พลัส จำกัด และนายดิเรก ตยาคี Head of Technology Solutions บริษัท เอสซี แอสเสท คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) (SC Asset) ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือการพัฒนาธุรกิจให้บริการสถานีอัดประจุสำหรับยานยนต์ไฟฟ้า ระหว่าง บริษัท อรุณ พลัส จำกัด และ บริษัท เอสซี แอสเสท คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) เพื่อส่งเสริมการใช้และให้บริการยานยนต์ไฟฟ้า ตอบโจทย์ความต้องการของผู้ใช้รถ EV เติมเต็มพลังงานสะอาดได้แบบไม่ต้องแวะรอชาร์จ

นายเชิดชัย เปิดเผยว่า บริษัท อรุณ พลัส จำกัด ภายใต้แบรนด์ ออน-ไอออน (on-ion) เร่งเดินหน้าขยายธุรกิจสถานีชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า (EV Charging Station) ในพื้นที่โครงการบ้านจัดสรร คอนโดมิเนียม และอาคารสำนักงาน โดยจับมือพันธมิตรผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ครบวงจรอย่าง SC Asset ติดตั้ง EV Charging Station ในเฟสแรก จำนวน 40 เครื่อง ภายใต้โครงการเรฟเฟอเรนซ์ (Reference) โค้บบ์ (COBE) และโครงการอื่น ๆ โดยจะเริ่มโครงการแรกที่เรฟเฟอเรนซ์ สาทร-วงเวียนใหญ่ ใกล้ใจกลางธุรกิจย่านสาทร พร้อมให้บริการช่วงต้นปี 2567 ตอบโจทย์ทุกการอยู่อาศัยที่สะดวกสบาย รองรับความต้องการของผู้ใช้ EV ในเมืองที่เพิ่มสูงขึ้น

“ปตท. มุ่งมั่นเพิ่มศักยภาพความพร้อมการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานระบบนิเวศยานยนต์ไฟฟ้า และเสริมสร้างความมั่นคงด้านพลังงานแห่งอนาคตอย่างต่อเนื่อง โดยมีแผนขยายสถานีชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าพร้อมบริการครบวงจร ภายใต้แบรนด์ on-ion ให้ครอบคลุมครบทุกกลุ่มเป้าหมาย อาทิ พื้นที่ศูนย์การค้า โรงแรม อาคารสำนักงาน ร้านอาหาร และพื้นที่โครงการที่อยู่อาศัยกว่า 400 หัวจ่าย ในปี 2566 เพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อนประเทศไทยสู่เป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero Emissions) ของกลุ่ม ปตท.” นายเชิดชัย กล่าว

นายดิเรก กล่าวว่า SC Asset ได้ร่วมมือกับ on-ion ซึ่งเป็นพาร์ตเนอร์ ที่มีความเชี่ยวชาญเรื่องสถานีชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า กับทางสถาบันนวัตกรรม บริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) มาตั้งแต่ปี 2563 นับว่าเป็นการเพิ่มศักยภาพในการร่วมมือให้แข็งแกร่งยิ่งขึ้น และยังเป็นหนึ่งในกลยุทธ์การพัฒนาสินค้าและบริการของ SC ตามแนวคิด Human-Centric ที่มีลูกค้าเป็นศูนย์กลาง เพื่อค้นหาความต้องการ และโซลูชันต่าง ๆ ด้านที่อยู่อาศัย ตั้งแต่การออกแบบ การก่อสร้าง และพัฒนานวัตกรรมให้ตอบโจทย์ผู้บริโภคซึ่งเทรนด์ปัจจุบันที่มีแนวโน้มการใช้รถยนต์ไฟฟ้ามากขึ้น ในอนาคตการมี EV Charging Station ในโครงการ จะเป็นอีกหนึ่งปัจจัยหลักสำคัญที่ผู้บริโภคตัดสินใจซื้อบ้าน และคอนโดฯ นอกจากจะเป็นประโยชน์ทางตรงที่ผู้บริโภคได้รับแล้ว การนำเทคโนโลยีนี้เข้ามายังเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมที่ช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ทั้งนี้ โครงการของ SC ที่มีการติดตั้ง EV Charging Station ลูกค้าจะสามารถ สั่งชาร์จ ตรวจสอบสถานะการณ์ชาร์จ และ ชำระเงิน ผ่านทางรู้ใจแอป (RueJai App) ได้ทันที

รู้จัก ‘คงกระพัน อินทรแจ้ง’ CEO คนที่ 11 ของ ‘ปตท.

นับถอยหลัง ต้อนรับ ‘นายคงกระพัน อินทรแจ้ง’ สู่ตำแหน่งกรรมการผู้จัดการใหญ่คนใหม่ของบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ที่จะมาแทนคุณอรรถพล ฤกษ์พิบูลย์ ซึ่งจะครบวาระในเดือนพฤษภาคมนี้ 

บมจ.ปตท. (PTT) ถือเป็นผู้นำทางด้านธุรกิจพลังงานยักษ์ใหญ่ของประเทศไทย โดยมีกลุ่มธุรกิจที่ครอบคลุมด้านพลังงานตั้งแต่ต้นน้ำไปจนถึงปลายน้ำและถือเป็นหุ้นที่ผู้ลงทุนให้ความสนใจเป็นอย่างมาก ขณะที่ปัจจุบันมีมูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาด (มาร์เก็ตแคป) เป็นอันดับ 2 ของตลาดหุ้นไทยราว 971,141 ล้านบาท ซึ่งเป็นรองเพียงแค่ บมจ.เดลต้า อีเลคโทรนิคส์ (ประเทศไทย) (DELTA) เท่านั้น 

แน่นอนว่า ผู้บริหารสูงสุด ก็เป็นอีกหนึ่งความน่าสนใจ หากมีการปรับเปรียบเสมอ โดยก่อนหน้านี้ มติบอร์ด ปตท. เห็นชอบตั้ง ‘นายคงกระพัน อินทรแจ้ง’ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บมจ.พีทีที โกลบอล เคมิคอล (PTTGC) ขึ้นมานั่งเก้าอี้ซีอีโอ ปตท. คนที่ 11 ต่อจาก ‘อรรถพล ฤกษ์พิบูลย์’ ที่จะครบวาระ 4 ปี ภายในเดือน พ.ค.นี้

สำหรับ นายคงกระพัน อินทรแจ้ง เป็นใคร? มีประวัติ หรือผลงานเด่นเรื่องไหนบ้าง เชิญติดตาม…

>> เปิดประวัติ คงกระพัน อินทรแจ้ง
สำหรับ ประวัติ นายคงกระพัน อินทรแจ้ง ชื่อเล่น เอ้ ปัจจุบันอายุ 55 ปี สถานะ โสด เป็นกรรมการ (กรรมการที่เป็นผู้บริหาร), เลขานุการคณะกรรมการ, กรรมการบริหารความเสี่ยง และประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่

>> คุณวุฒิการศึกษา / ประวัติการอบรม
- Doctor of Philosophy (Ph.D.) in Chemical Engineering, University of Houston, U.S.A.
- วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต (วิศวกรรมเคมี) (เกียรตินิยมอันดับสอง), จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- หลักสูตรการพัฒนาผู้บริหารระดับสูง, สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (สตช.)
- หลักสูตรผู้บริหารระดับสูง รุ่นที่ 30 (วตท. 30), สถาบันวิทยาการตลาดทุน
- หลักสูตร Leadership Development Program (LDP 3) รุ่นที่ 4, สถาบันพัฒนาผู้นำและการเรียนรู้ กลุ่ม ปตท. บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) หลักสูตรผู้บริหารระดับสูงด้านวิทยาการพลังงาน รุ่นที่ 14 (วพน. 14), สถาบันวิทยาการพลังงาน
- หลักสูตรการป้องกันราชอาณาจักร (ปริญญาบัตร วปอ.) รุ่นที่ 60, วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ
- หลักสูตร Breakthrough Program for Senior Executives, IMD Business Schoolการอบรมหลักสูตรกรรมการ
- หลักสูตร Role of the Chairman Program (RCP) รุ่น 21/2009 สมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย (IOD)
- หลักสูตร Director Certification Program (DCP) รุ่น 119/2009 สมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย (IOD)

ส่วนคุณวุฒิการศึกษาและปรัชญาดุษฎีบัณฑิตสาขาวิศวกรรมเคมี มีประสบการณ์มากกว่า 25 ปี ในการบริหารบริษัทในกลุ่มอุตสาหกรรมปิโตรเคมี และการกลั่นปิโตรเลียมแบบครบวงจร รวมถึงมีความเชี่ยวชาญในด้านการกำหนดกลยุทธ์องค์กร การพัฒนาธุรกิจ การเงินและนักลงทุนสัมพันธ์ การวิจัยและพัฒนา (R&D) การพัฒนาโครงการลงทุนที่สำคัญ การควบรวมกิจการระหว่างประเทศ และการบริหารจัดการกิจการร่วมค้า

มีประสบการณ์ที่หลากหลายในการบริหารจัดการธุรกิจระหว่างประเทศ และเคยดำรงตำแหน่งประธานเจ้าหน้าที่บริหาร (CEO) ของ Emery Oleochemicals Group และกรรมการของบริษัทย่อยในต่างประเทศ ได้แก่ Emery Oleochemicals Group ในประเทศมาเลเซีย Vencorex Holding ในประเทศฝรั่งเศส และ NatureWorks LLC ในประเทศสหรัฐอเมริกา

ในด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ดำรงตำแหน่งประธานร่วม France-Thailand Business Forum โดยมีบทบาทหน้าที่ในการเป็นผู้นำและส่งเสริมในเรื่องเศรษฐกิจความร่วมมือกัน (Economic Collaboration) รวมทั้งการลงทุนและการค้าทั้งสองทาง (Two-way trade and investment) ระหว่างประเทศไทยและฝรั่งเศส

ดำรงตำแหน่งสมาชิกของ United Nations Global Compact (UNGC) และสภาธุรกิจโลกเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน (WBCSD) รวมทั้งกรรมการขององค์กรธุรกิจเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน (TBCSD) โดยได้ปฏิบัติหน้าที่เป็นต้นแบบที่ดีในด้านการพัฒนาอย่างยั่งยืนและความรับผิดชอบในด้าน ESG เพื่อเสริมสร้างคุณค่าการพัฒนาที่ยั่งยืนในระยะยาวให้กับธุรกิจ ทั้งในระดับประเทศ ระดับภูมิภาค และระดับโลก

>> การดำรงตำแหน่งกรรมการ / ผู้บริหารในบริษัท
ส่วนการดำรงตำแหน่งกรรมการ / ผู้บริหารในกิจการที่เป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ประกอบด้วย…

- 21 ต.ค. 2563 - ปัจจุบัน ประธานกรรมการ บริษัท โกลบอลกรีนเคมิคอล จำกัด (มหาชน)
- 1 ต.ค. 2562 - ปัจจุบัน รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ ประจำประธานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการ กลุ่มธุรกิจปิโตรเลียมขั้นปลาย บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน)
- 1 ต.ค. 2562 - ปัจจุบัน กรรมการและเลขานุการคณะกรรมการ, กรรมการบริหารความเสี่ยง และประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน)
- 15 ส.ค. 2562 - ปัจจุบัน กรรมการ และกรรมการบริหารความเสี่ยง บริษัท โกลบอล เพาเวอร์ ซินเนอร์ยี่ จำกัด (มหาชน)
การดำรงตำแหน่งกรรมการ / ผู้บริหารในกิจการที่ไม่ใช่บริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
- 29 ธ.ค. 2564 - ปัจจุบัน ประธานคณะที่ปรึกษา บริษัท PTTGC International (Netherlands) B.V. สำหรับเรื่องธุรกิจและการลงทุนในบริษัท Allnex
- 8 ธ.ค. 2564 - ปัจจุบัน ประธานกรรมการ บริษัท PTTGC International (Netherlands) B.V.
- 1 ก.ย. 2563 - ปัจจุบัน ประธานกรรมการ บริษัท PTTGC International Private Limited

>> การดำรงตำแหน่งในองค์กรอื่น / กิจกรรมพิเศษที่สำคัญ
- 8 พ.ค. 2566 - ปัจจุบัน กรรมการอำนวยการ สมาคมนิสิตเก่าจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์
- 23 ม.ค. 2566 - ปัจจุบัน กรรมการบริหาร ศูนย์เทคโนโลยีพลังงานแห่งชาติ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)
- 25 ก.ค. 2565 - ปัจจุบัน ที่ปรึกษา คณะกรรมการสถาบันวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม อุตสาหกรรมการผลิต (SMI) สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
- 14 มิ.ย. 2564 - ปัจจุบัน กรรมการและกรรมการสรรหาและกำหนดค่าตอบแทน สมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย
- 22 ต.ค. 2563 - ปัจจุบัน กรรมการ สมาคมนักศึกษาสถาบันวิทยาการตลาดทุน
- 30 ก.ย. 2563 - ปัจจุบัน กรรมการ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
- 11 มี.ค. 2563 - ปัจจุบัน อุปนายก (ด้านสนับสนุน) สมาคมกีฬาว่ายน้ำแห่งประเทศไทย
- 30 ม.ค. 2563 - ปัจจุบัน กรรมการ สภาสถาบันผู้ทรงคุณวุฒิ สถาบันวิทยสิริเมธี
- 30 ต.ค. 2562 - ปัจจุบัน กรรมการอำนวยการ สถาบันปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย
- 3 ต.ค. 2562 - ปัจจุบัน กรรมการ องค์กรธุรกิจเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน
- 1 ต.ค. 2562 - ปัจจุบัน กรรมการบริหาร สถาบันวิทยาการพลังงาน
- 15 ส.ค. 2562 - ปัจจุบัน กรรมการ โรงเรียนกำเนิดวิทย์
- เดือน ก.ค. 2560 - ปัจจุบัน ประธานร่วม France-Thailand Business Forum

>> ประสบการณ์การทำงาน (5 ปีย้อนหลัง)
- 1 ต.ค. 2563 - 31 มี.ค. 2565 ที่ปรึกษาในสายงานสมาชิกสัมพันธ์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
- 1 ก.ย. 2563 - 15 ก.พ. 2565 ประธานกรรมการ บริษัท GC International Corporation
- 1 ก.ค. 2558 - 15 ก.พ. 2565 ประธานกรรมการ บริษัท PTTGC America Corporation
- 1 ก.ค. 2558 - 15 ก.พ. 2565 ประธานกรรมการ บริษัท PTTGC America LLC
- 24 ส.ค. 2563 - 25 มี.ค. 2564 กรรมการ มูลนิธิพลังที่ยั่งยืน
- 6 พ.ย. 2562 - 20 ต.ค. 2563 กรรมการ บริษัท โกลบอลกรีนเคมิคอล จำกัด (มหาชน)
- พ.ย. 2562 - ก.ย. 2563 กรรมการ มูลนิธิพลังสร้างสรรค์นวัตกรรม
- ต.ค. 2562 - ก.ย. 2563 กรรมการ มูลนิธิพลังแห่งการเรียนรู้
- 31 ต.ค. 2562 - 31 ส.ค. 2563 กรรมการ บริษัท GC International Corporation
- 9 ก.ย. 2551 - 31 ส.ค. 2563 กรรมการ บริษัท PTTGC International Private Limited
- พ.ค. 2560 - ม.ค. 2563 กรรมการ บริษัท ไทยแท้งค์เทอร์มินัล จำกัด
- ก.ค. 2558 - ก.ย. 2562 กรรมการ และ President & CEO บริษัท PTTGC America Corporation
- เม.ย. 2558 - ก.ย. 2562 กรรมการ บริษัท PTTGC Innovation America Corporation
- ก.พ. 2558 - ก.ย. 2562 กรรมการ บริษัท PTTGC International (Netherlands) B.V.
- ม.ค. 2558 - ก.ย. 2562 กรรมการ บริษัท Vencorex Holding
- พ.ย. 2551 - ก.ย. 2562 กรรมการ บริษัท Emery Oleochemicals (M) Sdn. Bhd.
- พ.ย. 2551 - ก.ย. 2562 กรรมการ บริษัท Emery Specialty Chemicals Sdn. Bhd.
- ก.ย. 2557 - ธ.ค. 2561 กรรมการ และ Vice President บริษัท GC International Corporation (เดิมบริษัท PTTGC International (USA) Inc.)
- ก.ย. 2557 - ธ.ค. 2561 กรรมการ บริษัท NatureWorks LLC
- ต.ค. 2557 - มี.ค. 2560 รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายงาน International Business Operations บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน)
- เม.ย. 2560 - 30 ก.ย. 2562 ประธานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการ กลุ่มธุรกิจปิโตรเคมีขั้นต้น บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน)


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top